กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม หลักสูตร การสร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ สำหรับคนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส (เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
จรรยาบรรณ ทางวิชาชีพและ เชิงสังคม อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อ การพัฒนาเด็กและ ครอบครัว ม. มหิดล สถาบันแห่งชาติเพื่อ.
การรักษาความปลอดภัยข้อมูลขั้นพื้นฐาน
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
นางหทัยรัตน์ หงษ์ทอง ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหาร และพิธีการบิน.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (Computer-Aided Design)
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
Microsoft Publisher.
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
ระบบบริการประชาชน กรมทางหลวงชนบท
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
เนื่องจากข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานสรรพสามิต พื้นที่ และพื้นที่สาขา บางคนยังไม่ยังรู้และไม่เข้าใจในการ ใช้งานระบบผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประกอบกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
กลุ่มเกษตรกร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
การสร้างสรรค์และผลิตเครื่องมือการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร 1
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
เรื่อง การใช้งานระบบ Survey license
สาเหตุที่ต้องมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านของการศึกษา.
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
SMS News Distribute Service
ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา
กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff พ.ศ
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม หลักสูตร การสร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ สำหรับคนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส (เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ)

ความหมาย และความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ “สื่อสิ่งพิมพ์” มีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือ วัตถุใดๆ ด้วยวิธีการต่างๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือนต้นฉบับขึ้น หลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้ผู้อื่นได้ เห็นหรือทราบ ข้อความต่างๆ”

ตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) 1. สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ หนังสือสารคดี ตำราแบบเรียน หนังสือบันเทิงคดี

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) 2. สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ (Newspapers) วารสาร นิตยสาร จุลสาร

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) 3. สิ่งพิมพ์โฆษณา โบชัวร์ (Brochure) ใบปลิว (Leaflet, Handbill) แผ่นพับ (Folder) ใบปิด (Poster) สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ สิ่งพิมพ์มีค่า สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มา

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญใน ด้านการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องาน สื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) บทบาทสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ใน สถานศึกษา โดยทั่วไปซึ่งทำให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหักสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตได้ teen.mthai.com

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ใน งานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซอง จดหมาย ใบเสร็จรับเงิน /ใบส่งของ โฆษณาหน้าเดียว นามบัตร เป็นต้น

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน และงานที่เกี่ยวกับหลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่นใบนำฝาก ใบถอน ธนบัตร เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ (ต่อ) บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อ สิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว แผ่นพับ จุลสาร

หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 1. ทิศทางการและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement) 2. เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony) – การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ – การสร้างความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ องค์ประกอบ – การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด 3. ความสมดุล (Balance) – สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) – สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) – สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance)

หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 4. สัดส่วน (Proportion) 5. ความแตกต่าง (Contrast) – ความแตกต่างโดยขนาด – ความแตกต่างโดยรูปร่าง – ความแตกต่างโดยความเข้ม 6. จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition)

โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 1. Microsoft Word 2. Adobe Photoshop 3. Illustrator 4. Adobe PageMaker 5. Microsoft Office Publisher

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมโองการโปรด เกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฏหมาย ว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของ คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบ คอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรือ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อ ถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ ของบุคคลอื่น (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสีย ค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราช กิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่น จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบใน ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบ คอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของ ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่ สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้น ในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูล คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของ ประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึง สามแสนบาท

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อ นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการ ที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิด เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอัน ลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำ ความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของ ตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็น ผู้เสียหาย

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และ (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็น ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายใน ราชอาณาจักร

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและ สอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ การกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบ คอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงาน เจ้าหน้าที่

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าว ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร ทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อัน เป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วย ก็ได้ (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่ เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือ ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการ ทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่ง อนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุ อันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอัน เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการ กระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้อง ด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์ นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้า ในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนา บันทึก รายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขต อำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมี เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่ เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงาน เจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัด ไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขต อำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้ง เดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึด หรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืน ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรือ อายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการทำ ให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่ง ราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้ มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม วรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือ สั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมี ชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่ มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไข ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรง ตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูล คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มา ตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบหรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาต จากศาล

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสอง หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผย ข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่ หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็น พยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจาก การจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อย กว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทาง คอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและ เฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่ จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บ รักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้ เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติ ตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตาม มาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ ห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรี แต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมี คุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมี อำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธี

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงาน สอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรี มีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการ ดำเนินการตามวรรคสอง มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม แบบที่รัฐมนตรีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

การใช้โปรแกรม Microsoft Publisher ทำความรู้จักกับโปรแกรม Microsoft Publisher 2010 Publisher เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะการใช้งาน ได้ง่ายและรวดเร็วในการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์อย่างมืออาชีพ ด้วย Publisher มี ความสามารถในการสร้าง การออกแบบ และจัดทำเอกสารการตลาด ทางการสื่อสารแบบมืออาชีพ สำหรับงานพิมพ์ และการทำจดหมายเวียนหรือ จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์

คุณลักษณะและประโยชน์ของ Publisher 2010 Microsoft Publisher 2010 ช่วยในการสร้างสิ่งพิมพ์และเอกสาร การตลาดหลากหลายชนิดที่มีคุณภาพรพดับมืออาชีพรวมทั้งปรับแต่งสิ่งพิมพ์ ตามความต้องการ และสามารถใช้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยง่าย เมื่อ Publisher 2010 คุณจะสามารถสื่อสารสิ่งที่คุณต้องการจะบอกกล่าวออกมาในรูปแบบ ของสิ่งพิมพ์หลากหลายชนิด ซึ่งจะช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาให้กับคุณ ไม่ว่าคุณจะสร้างแผ่นพับ จดหมายข่าว ไปรษณียบัตร บัตรอวยพร หรือ จดหมายข่าวทางอีเมล คุณก็สามารถสร้างผลงานคุณภาพได้โดยไม่จำเป็น ต้องมีประสบการณ์ด้านการออกแบบกราฟิกทำงานได้อย่างใจด้วย Publisher 2010

ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่สามารถสร้างได้ 1. ใบปลิว (Advertisements)16. กระดาษหัวจดหมาย (Letter Head) 2. สร้างสิ่งพิมพ์ด้วยกระดาษเปล่า ด้วยตัวเองทั้งหมด (Blank)17. การพิมพ์ข้อความตัดปะลงสินค้า ซองจดหมาย สิ่งพิมพ์ ฯลฯ (Label) 3. ใบประกาศนียบัตร (Award Certificate)18. หนังสือพิมพ์ จดหมายแจ้งข่าว (News letters) 4. แบนเนอร์ (Banners)19. ใบปลิวแบบพับเป็นรูปทรง (Paper Folder Project) 5. แผ่นพับ (Brochures)20. ไปรษณียบัตร (Postcards) 6. นามบัตร (Business Card)21. สิ่งพิมพ์พิเศษต่าง ๆ (Programs) 7. แบบฟอร์มเพื่อใช้ในบริษัท/หน่วยงาน22. รูปแบบสำเร็จรูปของสิ่งพิมพ์ (Quick Publication) 8. สร้างปฏิทินแบบต่าง ๆ (Calendar)23. แบบฟอร์มประวัติส่วนตัว (Resumes) 9. ประเภทแคตตาล็อกแนะนำสินค้า (Catalogs)24. ป้ายเตือน สัญลักษณ์ต่างๆ (Signs) 10. การสร้างสื่อส่งทางอีเมล ( )25. เอกสารสำหรับการออกแบบเว็บเพจ (Website) 11. พิมพ์ข้อความบนซองจดหมาย (Envelopes)26. บัตรอภินันทนาการ (Compliments cards) 12. สิ่งพิมพ์สำหรับโฆษณาสินค้า (Flyer)27. ที่ขั้นหนังสือ (Bookmarks) 13. ใบประกาศเล็กๆ แนบสิ้นค้า (Gift Certificates)28. หนังสือ (Book) 14. การ์ดอวยพร (Greeting card)30. ป้ายโฆษณา (Posters) 15. การสร้างการ์ดเชิญ31. บัตรกำนัน (Tickets)

การเปิดใช้งานโปรแกรม 1. คลิกปุ่ม Start 2. คลิกเลือก All Programs 3. คลิกเลือก Microsoft Office > Microsoft Publisher 111 2222 3333

แม่แบบสิ่งพิมพ์ เมื่อเปิดโปรแกรม จะมีแม่แบบให้เลือกสร้างสิ่งพิมพ์ได้ดังนี้

เริ่มสร้างสิ่งพิมพ์จากแม่แบบ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง สร้าง 3. เลือกประเภทสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างเลือก จดหมายข่าว 1111 2222  3

เริ่มสร้างสิ่งพิมพ์จากแม่แบบ (ต่อ) 1. เลือกรูปแบบตัวอย่างที่ต้องการ ตัวอย่างเลือก จดหมายข่าววันหยุดชุด ‘ฤดูหนาว’ 2. คลิกดาวน์โหลด 1111 2222

เริ่มสร้างสิ่งพิมพ์จากแม่แบบ (ต่อ) จะได้สิ่งพิมพ์ที่พร้อมสำหรับ การปรับแต่งด้วยข้อความและ รูปภาพของผู้ใช้เอง

หน้าต่างโปรแกรม 1111 2222 3333 4444  5555 6666 9 11  7777 8888  10

การปรับแต่งสิ่งพิมพ์ เมื่อคลิกบนพื้นที่สิ่งพิมพ์ จะปรากฏเครื่องมือสำหรับ ปรับแต่งสิ่งนั้น ๆ เช่น เมื่อคลิกรูปภาพ จะปรากฏ เครื่องมือรูปภาพ 

การเปิดไฟล์งาน วิธีที่ 1 เปิดไฟล์งานที่เคยเปิดใช้ก่อนหน้านี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง ล่าสุด 3. คลิกเลือกไฟล์สิ่งพิมพ์ ที่ต้องการเปิด 1111 2222 3333

การเปิดไฟล์งาน (ต่อ) วิธีที่ 2 เปิดไฟล์งานที่เคยเปิดใช้ก่อนหน้านี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง เปิด 3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ ที่เก็บไฟล์ 4. คลิกเลือกไฟล์สิ่งพิมพ์ ที่ต้องการเปิด 5. คลิกปุ่ม เปิด 1111 2222 3333 4444 5

การสร้างสิ่งพิมพ์ใหม่แบบกำหนดเอง 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง สร้าง 3. เลือกแม่แบบเปล่า เช่น 8.5 x 11”เปล่า หรือ ขนาดของหน้าเปล่า เพิ่มเติม 4. ใส่ข้อความ รูปภาพ ตกแต่ง สิ่งพิมพ์ที่ต้องการด้วยตนเอง 1111 2222 3333 4444

การแทรกรูปภาพลงในชิ้นงานสิ่งพิมพ์ 1. คลิกแท็บ แทรก 2. คลิกคำสั่ง รูปภาพ 3. คลิกตำแหน่งที่จัดเก็บรูปภาพ 4. คลิกเลือกภาพที่ต้องการ 5. คลิกปุ่ม แทรก12 3333 4444 5555

ปรับแต่งรูปภาพ เมื่อแทรกรูปภาพแล้วสามารถปรับแต่งได้ที่เครื่องมือรูปภาพ แท็บ รูปแบบ

การบันทึกไฟล์งาน เมื่อสร้างงานสิ่งพิมพ์เรียบร้อยแล้วให้ทำการบันทึกไฟล์งานในรูปแบบของ ไฟล์ Microsoft Publisher 2010 (.pub) เพื่อสามารถนำกลับมาเปิด แก้ไขได้ในภายหลัง มีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง บันทึกเป็น 3. คลิกเลือกตำแหน่ง ที่ต้องการจัดเก็บ 4. ตั้งชื่อไฟล์งาน 5. คลิกปุ่ม บันทึก 1111 2222 3333 4444 5555

การสั่งพิมพ์ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง พิมพ์ 3. ตั้งค่าการพิมพ์ 4. คลิกปุ่ม พิมพ์ 1111 2222 3333 4444

การสร้างแผ่นพับ (Brochure) การสร้างแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์มีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง สร้าง 3. คลิกเลือก แผ่นพับ 1111 3333 2222

การสร้างแผ่นพับ (Brochure) ต่อ 4. เลือกรูปแบบ ตัวอย่าง เลือก แผ่นพับทางธุรกิจแบบสามทบ (วิชาการ) 5. คลิกปุ่ม ดาวน์โหลด 4444 5555

การสร้างแผ่นพับ (Brochure) ต่อ 6. คลิกกล่องข้อความเพื่อใส่ข้อมูลของตนเอง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 7. ชื่อผลิตภัณฑ์/บริการ 8. โลโก้ 9. ที่อยู่ และข้อมูล การติดต่อ 7777  8  6666 9

การสร้างแผ่นพับ (Brochure) ต่อ 10. คลิกหน้า 2 เพื่อปรับแต่งข้อความในแผ่นพับเพิ่มเติม เช่น 11. ใส่หัวเรื่องหลัก แนะนำผลิตภัณฑ์ หรือบริการ 12. ใส่หัวเรื่องรอง ข้อความเพิ่มเติม 13. ใส่รูปภาพประกอบ 10  11   12  13 

การสร้างนามบัตร (Business Card) การสร้างนามบัตรเพื่องานธุรกิจมีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง สร้าง 3. คลิกเลือก นามบัตร 1111 3333 2222

การสร้างนามบัตร (Business Card) ต่อ 4. คลิกเลือกรูปแบบนามบัตร ตัวอย่างเลือก กรอบรูปถ่าย 5. กำหนดชุดสี แบบอักษร เลือกข้อมูลธุรกิจ และกำหนด ขนาดกระดาษ 6. ดูตัวอย่าง 7. คลิกปุ่ม สร้าง 7777 4444 5555 6666

การสร้างนามบัตร (Business Card) ต่อ 8. คลิกที่กล่องข้อความเพื่อระบุข้อมูลธุรกิจตามคำแนะนำ 9. ใส่โลโก้องค์กร 10. ใส่ภาพประกอบ 8888 10 9999

การสร้างนามบัตร (Business Card) ต่อ เมื่อปรับแต่งนามบัตรเรียบร้อยแล้ว สามารถสั่งพิมพ์นามบัตรแบบหลาย ชุดต่อแผ่นได้ดังดังนี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง พิมพ์ 3. เลือกหน้า: แบบ หลายชุดต่อแผ่น 4. ดูตัวอย่างก่อนพิมพ์ 5. เลือกเครื่องพิมพ์ 6. คลิกปุ่ม พิมพ์ 1111 2222 3333 5555 6666 4444

การสร้างปฏิทิน (Calendar) การสร้างปฏิทินด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง สร้าง 3. คลิกเลือก ปฏิทิน 1111 3333 2222

การสร้างปฏิทิน (Calendar) ต่อ 4. คลิกเลือกแบบปฏิทิน ตัวอย่าง ริ้วละเอียด 5. กำหนดชุดสี แบบอักษร ข้อมูลธุรกิจ ขนาดหน้ากระดาษ 6. ตั้งวันที่ในปฏิทิน 6.1 เลือกวันที่เริ่ม วันที่สิ้นสุด 6.2 กดปุ่ม ตกลง 7. ดูตัวอย่าง 8. คลิกปุ่ม สร้าง 6.1  4444 5555 7777 6666 8888 6.2 

การสร้างปฏิทิน (Calendar) ต่อ 9. คลิกรูปภาพ ปรับแต่งหรือเปลี่ยนเป็นภาพของตนเองได้โดย 9.1 คลิกภาพที่ต้องการ 9.2 ใช้เครื่องมือรูปภาพปรับแต่ง 10. ใส่คำอธิบายภาพ 9.1  9.2  10

การสร้างปฏิทิน (Calendar) ต่อ 11. เปลี่ยนโทนสี คลิกที่แท็บ การออกแบบหน้า เลือกโทนสีที่ต้องการ ตัวอย่างเลือกแบบ ฤดูร้อน 11

การสร้างใบปลิว (Paper Folding Project) การสร้างปฏิทินด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม 2. คลิกคำสั่ง สร้าง 3. คลิกเลือก ใบปลิว 1111 3333 2222

การสร้างใบปลิว (Paper Folding Project) ต่อ 4. เลือกแม่แบบใบปลิว ตัวอย่างเลือก แบบ เส้นคั่นแบบเรียบ 5. กำหนดชุดสี แบบอักษร ข้อมูลธุรกิจ และอื่นๆ 6. คลิกปุ่ม สร้าง 4444 5555 6666

การสร้างใบปลิว (Paper Folding Project) ต่อ 7. คลิกเพื่อแทรกรูปภาพ 8. คลิกกล่องข้อความเพื่อ เพิ่มข้อมูลผลิตภัณฑ์ 9. ใส่โลโก้ 10. เพิ่มข้อมูลที่อยู่และ ข้อมูลการติดต่อ 7777 8888 9999  10

กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม Q & A

กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม Thank You!