งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หลังน้ำลด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หลังน้ำลด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หลังน้ำลด
การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หลังน้ำลด กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย

2 แผนฟื้นฟูด้านสาธารณสุขจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้ที่กรุงเทพมหานคร
การจัดการสภาพแวดล้อม คุณภาพอาหารและน้ำดื่ม การจัการบริการเพื่อฟื้นฟูด้านสภาพร่างกายและจิตใจ การจัดบริการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพโรคภายหลังภาวะอุทกภัย การเผยแพร่ความรู้ในการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูส่วนราชการต่างๆ ในสำนักอนามัย

3 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยหลังน้ำลด
การสำรวจสภาพแวดล้อมและโครงสร้างอาคารบ้านพักอาศัย การสำรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า การกำจัดขยะ การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ การทำความสะอาดถังน้ำสำรองที่อยู่ใต้ดิน การกำจัดแหล่งแมลงและพาหะนำโรค การจัดากรแหล่งน้ำท่วมขัง

4 สำรวจสภาพแวดล้อมและโครงสร้างบ้าน
สำรวจสภาพแวดล้อมรอบบ้านโดยระมัดระวังอันตรายจากสิ่งของมีคม และสัตว์มีพิษ สำรวจความเสียหายโครงสร้างบ้าน ฝ้าเพดานที่เปื่อยยุ่ยให้เลาะออกและติดตั้งใหม่ โครงสร้างไม้ที่เกิดการบวมและบิดตัว ควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อน จึงทาสีใหม่ โครงสร้างที่เป็นเหล็ก ให้ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมดแล้วจึงทาสีใหม่พร้อมยากันสนิม

5 สำรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า
ก่อนเข้าบ้านสำรวจไฟฟ้ารั่วหรือไม่ เช่น ใช้ไขควงเช็คไฟต่อกับไม้ ให้ผู้ตรวจสอบอยู่บน ที่แห้ง และไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสน้ำ หากไม่แน่ใจว่าอาจจะเกิดไฟฟ้ารั่ว ให้รีบตามผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้า หรือช่างไฟมาตรวจเช็ค สำรวจระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องปั๊มน้ำ และสวิทช์ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้าน ก่อนเสียบปลั๊ก หรือก่อนเปิดใช้ ควรให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้า หรือช่างไฟตรวจเช็คก่อน

6 สำรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า
การช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด จะต้องไม่สัมผัสร่างกายผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง ควรหาวัสดุ ที่เป็นฉนวน เช่น ผ้าแห้ง เชือกแห้ง เป็นต้น ดึง หรือผลักออกไป เพราะหากไปสัมผัสร่างกายผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด กระแสไฟฟ้าจะเข้าสู่ตัวผู้ช่วยเหลือ สำรวจวาล์วแก๊สหุงต้ม หากได้กลิ่นแก๊สรั่วไม่ควรเข้าใกล้ และควรโทรแจ้งตัวแทนจำหน่าย

7

8 การกำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูล
สวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง แว่นตาและหน้ากากอนามัยก่อนกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล เก็บขยะ และซากสิ่งต่างๆ ที่เน่าเสียจากน้ำท่วมขัง ใส่ในถุงดำ หรือถังขยะโดยแยกขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ฯลฯ เพื่อง่ายต่อการกำจัด ตรวจสอบว่าส้วมเต็ม ราดน้ำไม่ลง หรือท่ออุดตันหรือไม่ ให้ใช้จุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและลดกลิ่นเหม็น เช่น จุลินทรีย์ย่อยสลายขององค์การเภสัชกรรม หรือจุลินทรีย์ ที่ขายตามร้านสุขภัณฑ์ หรือประสานงานกับสำนักงานเขตให้สูบสิ่งปฏิกูลในถังบำบัดสิ่งปฏิกูล ทำความสะอาดห้องน้ำ และห้องส้วมด้วยผงซักฟอก น้ำยาคลอรีน หรือน้ำยาทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรค

9 การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ
การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ

10 วัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด
ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว น้ำยาทำความสะอาด/น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีน น้ำยาซักผ้าขาว เป็นต้น น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำ ไม้ถูกพื้น แปรงขัดพื้น ถุงมือพลาสติก รองเท้าบูท หรือรองเท้ายางชนิดหุ้มเลยเข่า

11 วัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด
ถุงใส่ขยะ/ ถุงดำ ถังขยะ สารไล่แมลง หรือสัตว์พิษ เช่น ตะไคร้หอม ผ้าหรือหน้ากากปิดปาก จมูกที่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ ไปฉาย ฯลฯ

12 การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ
การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ สวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง แว่นตาและหน้ากากอนามัยก่อนทำความสะอาด ทำความสะอาดทั้งพื้นบ้าน ผนังหลังน้ำลดทันทีโดยขัดด้วยผงซักฟอกและน้ำ เช็ดฆ่าเชื้อด้วยน้ำผสมคลอรีน หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของสารฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำยาซักผ้าขาวในอัตราส่วน ๑ ฝา ผสมน้ำ ๑ ลิตร (ขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่) หรือ ตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์นั้นๆ (ควรระมัดระวังในการผสมสารทำความสะอาด หรือน้ำยาซักผ้าขาว โดยอ่านฉลากและคำเตือนก่อนใช้) เช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดคราบเชื้อรา เปิดหน้าต่าง และประตูไว้หลังทำความสะอาด ติดต่อกันอย่างน้อย ๗ วัน เพื่อระบายอากาศกำจัดความชื้น และทำให้ภายในบ้านแห้งสนิท

13 การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ
การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จมน้ำ อุปกรณ์สิ่งของที่จมน้ำ เช่น ตู้ เตียง ที่นอน โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ขนย้ายออกมาตรวจสอบสภาพการใช้งานข้างนอกบ้านทุกชิ้นก่อนล้างทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกและน้ำ รวมทั้งฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาว ๑ ถ้วยตวงในน้ำ ๕ แกลอน แล้วตากแดดให้แห้ง วัสดุที่ดูดซับน้ำไว้ไม่สามารถทำให้แห้งได้ หรือสิ่งของที่มีเชื้อราปนเปื้อนควรทิ้ง ซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาซักผ้า แล้วนำมาต้มฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้

14 การทำความสะอาดถังน้ำสำรองที่อยู่ใต้ดิน
ล้างถังน้ำสำรองที่อยู่ใต้ดินโดยใช้น้ำสะอาดล้าง ขัดด้วยแปรงที่มีด้ามยาวให้ทั่วถังแล้วสูบน้ำออก ใช้น้ำคลอรีนฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อย ๒๐ ลิตร (ใช้คลอรีนชนิดผง ๑ ช้อนชา ผสมในน้ำ ๑ แก้ว คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสนำไปผสมน้ำ ๒๐ ลิตร : ขณะเตรียมคลอรีนต้องสวมผ้าปิดปาก จมูก ถุงมือยางและแว่นตาทุกครั้ง) ล้างให้ทั่วถัง ทิ้งไว้ ๓๐ นาที สูบน้ำออก ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนสูบน้ำออก แล้วจึงปล่อยน้ำประปาใหม่เข้าสู่ถัง

15 การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและพาหะนำโรค
ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนน้ำท่วม โดยการฉีดน้ำล้างและใช้น้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและพาหะนำโรค จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้และอุปกรณ์ในบ้านให้เป็นระเบียบ กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของหนูโดยการทำความสะอาดสถานที่ กำจัดขยะมูลฝอยและจัดเก็บวัตถุดิบและอาหารที่ปรุงเสร็จให้สูงกว่าพื้นและปิดมิดชิด สำรวจแหล่งน้ำขังที่อาจเป็นแหล่งวางไข่ของยุง ถ้าพบให้กำจัด เทน้ำทิ้ง และล้างทำความสะอาดภาชนะ แล้วคว่ำไว้ รวบรวมเศษอาหารใส่ถุงและมัดให้มิดชิดใส่ในถังที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันแมลงและหนู

16 การจัดการแหล่งน้ำท่วมขัง
น้ำท่วมขังและน้ำเน่าเสียอาจใช้ EM หรือจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษขององค์การเภสัชกรรม (GPO Mekaklean Plus) ใส่ในแหล่งน้ำเสียในอัตราส่วน ๑ กรัม ต่อ น้ำเสีย ๑ ลูกบาศก์เมตรโดยอาจใช้ซ้ำได้ทุก ๗ วัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น หากต้องการกำจัดกลิ่นเหม็นอย่างเดียว อาจใช้เพียงครั้งเดียว

17 วิธีการกำจัดเชื้อราจากน้ำท่วม
การสำรวจว่ามีเชื้อราหลังน้ำท่วมหรือไม่ อาจทำได้ 2 ทาง ดูด้วยตาเปล่า เช่น พบเห็นผนังมีรอยเปื้อน หรือมีลักษณะเชื้อราขึ้น ดมกลิ่น กลิ่นเชื้อราเป็นกลิ่นเหม็นอับทึบ หรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน วิธีการปฏิบัติ สิ่งของหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดให้ทิ้งไปเลย โดยเฉพาะวัสดุที่มีรู้พรุนซึ่งไม่สามารถชะล้างทำให้แห้งได้จะกลายเป็นแหล่งเพระเชื้อราต่อไป รีบทำความสะอาดพื้นและผนังโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดภายใน ชั่วโมง ในระหว่างทำความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้แห้ง

18 ส้วมถุงมือยาง หน้ากากอนามัย (ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็น หน้ากาก N95) แว่นตา
ล้างด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน แล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยา 0.5 % Sodium Hypochorite (น้ำยาซักผ้าขาว) ผสมน้ำยาซักผ้าขาว 1 ถ้วยตวง (240 mL) ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วปล่อยให้แห้ง ข้อควรระวัง ห้ามผสมน้ำยาซักผ้าขาวกับแอมโมเนีย หรือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านชนิดอื่น เพราะจะทำให้เกิดไอสารพิษได้ (Toxic Fumes) และควรปฏิบัติตามข้อปฏิบัติคำแนะนำของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว หรือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านอย่างเคร่งครัด การป้องกันที่จะไม่ให้เกิดเชื้อราภายในบ้านอีก ด้วยการตรวจสอบซ่อมท่อน้ำหรือส่วนอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดความชื้นขึ้นภายในบ้าน

19 คลอรีนฆ่าเชื้อโรค คลอรีน เป็นสารเคมีที่นิยมใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโรคซึ่งสามารถทำลายเชื้อโรคได้มากว่า 99% คลอรีนผง ความเข้มข้น 60% คลอรีนน้ำ ความเข้มข้น 2% (หยดทิพย์) เมื่อผสมคลอรีนแล้ว ให้นำไปราดบนพื้นที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จึงล้างออก ส่วนโต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ ชั้นวางของต่างๆ ใช้ผ้าชุบน้ำผสมคลอรีนพอหมาดๆ เช็ดทำให้ทั่ว *** อาจใช้สารฆ่าเชื้อที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอรีน เช่น น้ำยาซักผ้าขาว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นหรือสุขภัณฑ์

20 การใช้สารทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การเตรียมสารละลายโซดาซักล้าง (โซเดียมคาร์บอเนต, Na2Co3) แบบความเข้มข้นอ่อน (Mild Solution): ใช้ผงสารโซดาซักล้าง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำประปา (หรือน้ำสะอาด) ครึ่งลิตร (500 มิลลิลิตร) แบบความเข้มข้นปานกลาง หรือทั่วไป (Regular Solution) : ใช้ผงโซดาซักล้าง ½ ถ้วยตวง ผสมน้ำประปา (น้ำสะอาด) ครึ่งลิตร (500 มิลลิลิตร) แบบความเข้มข้นสูง (Strong Solution) : ใช้ผงซักล้าง 1 ถ้วยตวง ผสมกับน้ำประปา (น้ำสะอาด) ครึ่งลิตร (500 มิลลิลิตร) หมายเหตุ ถ้าใช้น้ำร้อนจะสามารถละลายผงสารโซดาซักล้างเร็วขึ้น ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวซีเมนต์ หรือ กระเบื้อง โดยใช้น้ำยาซักล้างแบบเข้มข้นปานกลาง ราดลงบนรอยเปื้อนหรือผิวสกปรก แล้วขัด ถู ด้วยอุปกรณ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม จากานั้นล้างด้วยน้ำเปล่าอีก ครั้ง

21 การใช้สารทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
น้ำส้มสายชู 5 % น้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ สามารถทำความสะอาดกำจัดแบคทีเรียบบพื้นผิวทำงานหรืออ่างน้ำทั่วไป สามารถใช้น้ำส้มสายชูแทนสารเคมีแรงๆ สำหรับทำความสะอาดในพื้นที่ หรือท่ม่เสษอาหารติดอย่างเหนียวหนึบ ขจัดคราบไขมันบนหม้อ กะทะ หรือถ้วยชาม ขจัดปัญหาท่อระบายน้ำอุดตัน ดับกลิ่นท่อล้างจาน เทาน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยลงในท่อล้างจานทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วราดน้ำทำความสะอาด

22 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หลังน้ำลด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google