งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อิศรญาณภาษิต หม่อมเจ้าอิศรญาณ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อิศรญาณภาษิต หม่อมเจ้าอิศรญาณ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อิศรญาณภาษิต หม่อมเจ้าอิศรญาณ

2 ประวัติผู้แต่ง หม่อมเจ้าอิศรญาณ
เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ เป็นกวีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมไม่มีปรากฏแน่ชัด เคยทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงมี พระสมณฉายาว่า “อิสสรญาโณ”

3 ที่มาของเรื่อง มีเรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งทรงทำอะไรแปลกๆจนถูกผู้คนตำหนิ และมองว่า สติไม่ดี ด้วยความน้อยพระทัยจึงทรงนิพนธ์เพลงยาวฉบับนี้ขึ้นใน ลักษณะประชดประชันเสียดสี และเป็นสุภาษิตที่คมคาย

4 จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อเป็นคำสั่งสอนเตือนใจให้คิดก่อนที่จะกระทำสิ่งใด เป็นคำสอนสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสังคม เป็นคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่าง มีความสุข

5 ลักษณะคำประพันธ์ กลอนเพลงยาว (เพราะขึ้นต้นด้วยวรรครับ) จำนวน ๒๖ บท

6 กลอนเพลงยาว

7 ลักษณะคำประพันธ์กลอนเพลงยาว
บางครั้งเรียกว่า “กลอนสังวาส” หรือ “กลอนเพลงยาวสังวาส” ในการส่งสัมผัสมีลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกลอนสุภาพ แต่มีที่บังคับ คือ บทขึ้นต้นต้องมี ๓ วรรค โดยขึ้นต้นที่วรรครับในบทแรก ส่วนบท ต่อไปก็มี ๔ วรรคตลอด และต้องจบด้วยคำว่า “เอย” ในสมัยก่อนชายหญิงนิยมเขียนถึงกันในเชิงชู้สาวแต่แต่งเป็นทำนอง จดหมาย ใช้เล่าเรื่องราวต่างๆ หรือใช้เป็นจดหมายเหตุ สุภาษิต

8 เนื้อเรื่อง เริ่มต้นเรื่องด้วยการบอกจุดประสงค์ในการแต่งว่าตั้งใจให้เป็น เทศนาโวหารสำหรับอบรมสั่งสอนจิตใจคน เพื่อให้ผู้ประพฤติ เจริญรุ่งเรือง และสอดแทรกคำสอนต่างๆไว้ในบทประพันธ์ โดยสอนว่าผู้ชายเปรียบเหมือนข้าวเปลือก ผู้หญิงเปรียบเหมือน ข้าวสารต่างก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขอให้นึกถึงใจเขาใจเรา และ ควรรักกันไว้ดีกว่าเกลียดชังกัน เราควรทำดีต่อผู้อื่นแม้แต่ผู้ที่กระทำผิดก็อย่าไปหักหาญน้ำใจหรือ ตัดรอน จะรักสั้นหรือรักยาวก็ให้รู้อยู่ว่าอย่าให้เกินขนบธรรมเนียม ทั้ง เขาและเราก็ล้วนแต่ตายทั้งนั้น

9 ควรทำความดีไว้อย่าให้แหงนหน้าดูฟ้าแล้วละอายแก่เทวดา อย่า คิดว่าบุญกรรมที่ทำนั้นน้อย ทำบ่อยๆก็สะสมได้มาก ควรคิดก่อนทำและคอยเดินตามผู้ใหญ่ จะใช้ใครก็ควรอ่อนน้อม ถ่อมตน ให้รู้จักประมาณตนอย่าทำอะไรเกินกำลัง ให้รู้จักประเมินกำลัง ของศัตรูที่มีอำนาจ เพราะเราอาจเพลี่ยงพล้ำได้ เวลาจะใช้คนต้องรู้จักชื่นชม ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส มีใจหนัก แน่น ไม่ควรโอ้อวดความรู้ ไม่ควรทำอะไรเกินหน้าผู้อื่น เพราะอาจมีคน ชังมากกว่าคนรัก คนเราเกิดมามีบุญวาสนาแตกต่างกัน ฉะนั้นจะทำสิ่งใดก็ควร ระมัดระวัง เป็นมนุษย์ปุถุชนมีรักมีชังไม่จีรังยั่งยืน

10 อิศรญาณภาษิต

11 คุณค่าความงาม ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๓.คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม

12 ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ๑.๑ โครงเรื่อง ๑.๒ แก่นเรื่อง

13 ๑.๑ โครงเรื่อง ลักษณะเนื้อหาเป็นเทศนาโวหารทั้งหมด
เริ่มเรื่องโดยการกล่าวเชิงเสียดสีว่าแต่งขึ้นสำหรับผู้มีใจลุ่มหลงมัวเมา และจึงกล่าวต่อว่ามนุษย์เราไม่อาจอยู่คนเดียวตามลำพังได้จำเป็นต้อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เนื้อหาต่อมาเป็นคำสอนเรื่องต่างๆในลักษณะ ของการเตือนสติและการชี้แนะว่าควรประพฤติปฏิบัติเช่นไรให้เป็นที่ พอใจของผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า บางตอนเน้นเรื่องการ เห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น ทั้งนี้ลักษณะการสอนบางตอน เป็นการบอกกล่าวโดยตรง แต่บางตอนก็สอนโดยใช้คำประชดเหน็บ แนม

14 ๑.๑ โครงเรื่อง (ต่อ) เนื้อหาส่วนใหญ่จะสั่งสอนให้รู้จักปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ ไม่หลงใหล กับคำเยินยอ ให้รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด รู้จักเคารพผู้อาวุโส ทำตาม คำแนะนำของผู้ใหญ่ และรู้จักการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

15 ๑.๒ แก่นเรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม บุคคลจำเป็นต้องรู้จักประพฤติปฏิบัติตนให้ เหมาะสม

16 ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒.๑ ลักษณะการประพันธ์ ๒.๒ ศิลปะการประพันธ์

17 ๒.๑ ลักษณะการประพันธ์ กลอนเพลงยาว
ซึ่งมีข้อบังคับทางฉันทลักษณ์เหมือนกลอนสุภาพหรือกลอนแปด แต่ ต่างกันที่กลอนเพลงยาวจะขึ้นต้นด้วยวรรครับ และลงท้ายบทด้วยคำว่า “เอย” ไม่จำกัดจำนวนบทในการแต่ง

18 ๒.๒ ศิลปะการประพันธ์ ๑. ใช้คำง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ดี ๒. มีการใช้โวหารเปรียบเทียบให้เห็นจริง ๓. ใช้คำมีความหมายแฝงให้ตีความ ๔. มีการเขียนสำนวนโวหาร เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ฟังหูไว้หู ฯลฯ

19 ๓. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม
สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดมาต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และให้รู้จักฟังหูไว้หู สะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมให้ความเคารพผู้อาวุโสหรือทำตามคำสอน ของผู้ใหญ่ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมสมัยนั้นมีความเชื่อความศรัทธาในทางศาสนา โดยการกล่าวถึงบุญ กรรม โลภ ลาภ บาป ตัณหา

20 ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ความรู้จากคำสั่งสอนต่างๆ เริ่มตั้งแต่ให้รู้จักตนเอง ให้รู้จักจิตใจของ ผู้อื่น ให้รู้จักพึ่งพากัน ให้รู้จักพูด และรู้จักให้เชื่อฟังผู้ใหญ่ การประพฤติตนในสังคมให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือยศศักดิ์ และ ไม่ควรทำอะไรเกินฐานะ

21 จบ


ดาวน์โหลด ppt อิศรญาณภาษิต หม่อมเจ้าอิศรญาณ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google