งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

IV. ลัทธิการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "IV. ลัทธิการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 IV. ลัทธิการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์
- สังคมนิยม - เสรีนิยม - อนุรักษ์นิยม - ชาตินิยม - อนาธิปไตย - ประชาธิปไตย

2 ประเภทลัทธิทางการเมือง
1. ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ ทำให้เสรีภาพบุคคลสำคัญน้อยลง ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ลัทธินาซี (Nazism) ลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxism) คอมมิวนิสต์ (Communism)

3 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ลัทธิฟาสซิสต์เป็นศักดินานิยมแบบใหม่ที่มีรากฐานลัทธิ ศักดินาเดิม โดยระบบเผด็จการเกิดขึ้นศตวรรษที่ 20 โดยมี ลักษณะ - ชาตินิยม -ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ - ทหารนิยม “Fasces” ภาษาละติน = มัดของแขนงไม้ สัญลักษณ์ : ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน : อำนาจ : ความเชื่อฟังในสมัยโรมันโบราณ “Fascio” ภาษาอิตาเลียน มัด = ความสัมพันธ์ใกล้ชิด (กลุ่ม/ขบวนการ) ความหมายทหารโรมัน

4 ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)
ลัทธิฟาสซิสต์บูชาชาติ รัฐ จิตสมบูรณ์ (พระเจ้า) ลด ความสำคัญเอกชน/ไม่นับถือมนุษย์ ยึดถือนามธรรมร่วม (พระเจ้า จิต ชาติ เชื้อชาติ รัฐ และผู้นำ) มากกว่าสภาพ ความเป็นอยู่แท้จริงมนุษย์ ความเป็นมา : ความคิดจิตนิยม (Idealism Geong Wilhelm Friedrich Hegel, ) : ภายหลัง WW.I ระบบประชาธิปไตยในประเทศอิตาลี และเยอรมันล้มเหลว ระบบฟาสซิสต์มีบทบาทสำคัญแทนที่ โดยได้รับการสนับสนุน - ชนชั้นกลาง - ชนชั้นสูง (นักอุตสาหกรรม)

5 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
: ระหว่างนั้น Giovanni Gentile และ Alfredo Rocco พัฒนาลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ = ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ พื้นฐานความคิด - ประชาชนไม่มีความสามารถ ขาดความรู้และมีอารมณ์ แปรปรวน ปกครองตนเองไม่ได้ - ประชาชนต้องถูกปกครองโดยกลุ่มชนชั้นนำ (elite) ที่มี คุณลักษณะสูงกว่ามวลชนทั่วไป มีความสามารถ สติปัญญา กำลังใจและจริยธรรม

6 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
- ประเทศที่ประชาชนไม่มีประสบการณ์แบบประชาธิปไตย ปกครองระบบ เผด็จการอำนาจนิยม - ประเทศที่ประชาชนมีประสบการณ์แบบประชาธิปไตยบ้าง ปกครอง ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ Benito Mussolini ได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ 1922 นำ แนวคิด Hegel เป็นปรัชญาพรรค และพัฒนาเป็นลัทธิฟาสซิสต์ โดยการ ประยุกต์แก้สถานการณ์เศรษฐกิจ บังคับให้เกิดสามัคคีและสันติในชาติ ยุตินัดหยุดงานและการต่อสู้ระหว่างแรงงานกับนายจ้าง ภายหลัง W.W.I ลัทธิเสื่อมลงเพราะอิตาลีและเยอรมันแพ้ แต่ลัทธิ ฟาสซิสต์ยังคงอิทธิพลต่อประเทศด้อย/กำลังพัฒนา

7 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สาระสำคัญของลัทธิฟาสซิสต์ 1. ต้องการให้บุคคลเชื่อโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล สั่งสอน ให้เชื่องมงาย ยึดถือ - ชาติและผู้นำ - จงรักภักดีและผูกพันต่อระบบการปกครอง ทำให้ - ประชาชนเป็นกลไกการปกครอง - สิทธิบางประการถูกจำกัด - รักษาความมั่นคงและปลอดภัยชาติ - ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

8 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
2. มนุษย์มีความไม่เท่าเทียมกัน ตามสภาพความเป็นจริงมนุษย์ไม่ เท่าเทียมกัน - ร่างกายและพฤติกรรม ความเชื่อแบบประชาธิปไตยถึงความเท่าเทียมผิด ชายสูงกว่า หญิง ทหารสูงกว่าพลเรือน ชาติเหนือเอกชน มาตรฐานที่ถูกมาใช้ตัดสิน ฐานะเหนือกว่า = อำนาจ 3. พฤติกรรมนิยมความรุนแรงและโฆษณาชวนเชื่อ : การแบ่งใน สังคมมี 2 ประเภท - เพื่อน (Friend) - ศัตรู (Enemy) บุคคลใดไม่ใช่เพื่อน = ศัตรูทั้งหมด ศัตรูต้องถูกทำลายหมดทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ เกิดสถาบันของการใช้กำลังรุนแรง

9 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
4. รัฐบาลโดยชนชั้นนำ : ผู้นำประเทศ/รัฐบาลเป็นชนชั้นนำกลุ่มน้อยที่ เลือกสรรแล้ว - ผู้ที่มีความสามารถ ฝึกฝนเป็นโดยเฉพาะ - ชนกลุ่มน้อยฐานะสูงในสังคม - ทราบความต้องการและสนองความต้องการชุมชนได้ สร้างฐานะตนเอง ชนชั้นผู้นำต้องผูกขาดอำนาจ ผู้ที่มีความสามารถ : การ กระทำถูกต้องเสมอ 5. การปกครองแบบเบ็ดเสร็จ : อำนาจเด็ดขาดเป็นอำนาจสูงสุด ครอบคลุมชีวิตประชาชนในชาติ กิจการ/ระบบทุกอย่างอยู่ภายใต้รัฐ ควบคุม - สิทธิสตรีต้องถูกกำจัด - อำนาจ + ความรุนแรงเป็นเครื่องมือควบคุมการปกครองประเทศ

10 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
6. ความนิยมเชื้อชาติ : ชนชั้นนำการปกครองตามอุดมการณ์ ผู้ที่มี ฐานะเหนือชนชั้นอื่น - ชนชั้นนำมีอำนาจบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและนำเอา เจตนารมณ์ตนไปปฏิบัติ - ชนชั้นนำเป็นบุคคลที่เชื้อสายบริสุทธิ์ ความสามารถ พิเศษ - ประเทศที่มีชนชั้นนำเป็นประเทศมหาอำนาจฐานะ เหนือกว่าประเทศอื่น - ผู้นำจะต้องเพิ่มฐานะ อำนาจและชื่อเสียงเผ่าพันธุ์และ ขยายเผ่าพันธุ์ทั่วโลก

11 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
7. ความไม่เห็นด้วยกับกฎหมายและพฤติกรรมระหว่างประเทศ : - รากฐานความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ความ รุนแรงและเชื้อชาตินิยม - จักรวรรดินิยมและสงครามทั้งหมดเป็นหลักการและ เครื่องมือรัฐ เน้น สงครามและอุดมคติ

12 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ลัทธินาซี (Nazism) Nazism เป็นชื่อย่อในภาษาเยอรมันของพรรคสังคม ชาตินิยมคนงานเยอรมัน (National Socialist German Worker Party) ตั้งขึ้น 1919 ถูก Adolf Hitler ช่วงชิง เป็นหัวหน้าพรรค 1921 : Nazism เป็นลัทธิฟาสซิสต์รุนแรง ความเป็นมา ระบอบเผด็จการที่ตั้งขึ้นเพื่อสนธิสัญญาแวร์ซายน์ แนวคิดเด่น Nazism : เชื้อชาติ สังคมกว้าหน้าเกิดจากการต่อสู้เลือกผู้เหมาะสมให้มี ชีวิตอยู่ อารยัน (Aryan) เหมาะที่สุด

13 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สาระสำคัญของลัทธินาซี 1. การกำจัดแนวคิดปัจเจกชนนิยมสวัสดิภาพของชาติ สำคัญกว่าประชาชน 2. การกำจัดแนวคิดทางประชาธิปไตย ผู้นำรัฐเป็นคน เข้มแข็ง มีระเบียบวินัย 3. การกำจัดแนวคิดความเสมอภาคมนุษย์โดยธรรมชาติ ธรรมชาติสร้างมนุษย์แตกต่างกัน 4. การกำจัดเหตุผลมนุษย์ อุดมคติ จินตนาการสำคัญ มากกว่า 5. หลักความภักดีต่อชาติบุคคลเป็นประโยชน์ต่อรัฐและ สังคมต้องเข้าใจเจตนารมณ์ของชาติ

14 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สาระสำคัญของลัทธินาซี 6. หลักการเหยียดผิว เผ่าพันธุ์เยอรมันเป็นชาติเจริญ 7. หลักการบุคคลความสามารถบุคคลเกิดโดยกำเนิด 8. อำนาจสำคัญสุดอำนาจเป็นแนวทาง (Means) สู่ ปลายทาง (Ends) 9. ความสำคัญเชื้อชาติสายโลหิตและเชื้อชาติสำคัญ สร้างวัฒนธรรม รักษาวัฒนธรรมและทำลายวัฒนธรรม 10. หลักจักรวรรดินิยมยกย่องการขยายดินแดน จำเป็น แก่รัฐ “สงคราม”

15 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ลัทธิมาร์กซิสม์ (Marxism) Communist : Karl Marx ( ) เป็นลัทธิการ เมือง เศรษฐกิจ สังคม เชื่อว่ามนุษย์จะมีความสุขอย่างเต็มที่ ด้วยการล้มเลิก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคล ชนชั้น ฐานะทางสังคม สถาบันทางสังคม ความเชื่อทางศาสนา รัฐและการปกครอง มนุษย์จะได้รับบริการและวัตถุจำเป็นต่างๆ ในการยังชีพ โดยเท่าเทียมกัน

16 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบคอมมิวนิสต์ - ทำลายความคิดและสถาบันของชนชั้นมั่งมี/กระฎุมพี - ทำให้รัฐและการปกครองเดิมสิ้นสุดลง คาดว่าจะปกครองอยู่ในโลกดั้งเดิม ศ.19 แต่ Marx ผู้ให้กำเนิดลัทธิ ผลงานการผสานอิทธิพลจากแนวความคิด ของนักปราชญ์ทางสังคมนิยมและเสรีนิยมในยุคก่อน : นับตั้งแต่ปี 1840 เป็นต้น ความบกพร่องของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ความวุ่นวายและยุ่งยากทางการเมือง แนวความคิดสังคมนิยมที่มีอยู่เดิม ความรู้สึกรุนแรงของนักคิดที่ต้องแก้สังคม

17 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
: ปี 1848 : สันนิบาตแห่งความยุติธรรม - Marx & Engels : The Communist Manifesto : ระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ระดับต่ำ = สังคมนิยม การปกครองและการเป็นเจ้าของ การผลิตโดยชนชั้นกรรมาชีพ ไม่มีการกดขี่เหลืออยู่ ระดับสูง = คอมมิวนิสต์ การปกครองที่มีภาวะสมบูรณ์ แบบ การดำรงชีวิตโดยเสรี ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับกฎหมาย อำนาจรัฐ รัฐบาลหรืออำนาจบังคับใด

18 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
- ทุกคนทำตามความสามารถแต่ละคนก็จะได้รับเท่าที่ จำเป็นตามความต้องการ - บุคคลอยู่ในสภาพที่ไม่มีรัฐ ชีวิตสมบูรณ์สุด พัฒนาการสังคม สังคมเดิมบกพร่อง : ระบบทาส นายทุน ศักดินา เป็นยุคการกดขี่ โดยผู้ที่มีฐานะสูงกว่าปฏิบัติต่อผู้ที่มีฐานะต่ำ กว่า ไม่เห็นข้อบกพร่องตนเอง ชั่วร้าย ต้องต่อสู้และปฎิวัติ สังคมนิยม : การปกครองที่ชนชั้นกรรมมาชีพมี อำนาจอย่างสมบูรณ์ เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ Marx ถือว่า ไม่มีการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ รัฐบาลของชนชั้นใช้ แรงงาน สังคมไม่มีชนชั้น พร้อมเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ใน อนาคต

19 ลัทธิทางการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/ นิยมเสรีภาพ
สังคมคอมมิวนิสต์ : สังคมที่ปราศจากชนชั้นทั้งสิ้น บุคคลสมบูรณ์เต็มทีทั้งความสามารถ ความสำนึกรับผิดชอบ และความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่จำเป็นต้องมีรัฐ/อำนาจรัฐ ไม่ จำเป็นต้องมีกฎหมาย มนุษย์ไม่มีการเบียดเบียน กดขี่ข่มเหงกันและกัน

20 ประเภทลัทธิทางการเมือง
2. ลัทธิทางการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/นิยมเสรีภาพ : อำนาจรัฐมีไม่มาก มีขอบเขตจำกัด แต่เสรีภาพบุคคลสำคัญมาก ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservatism)

21 1. ให้คุณค่ากับความคิดเห็นที่มีเสรีภาพ บุคคลมีสิทธิ
ลัทธิทางการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/นิยมเสรีภาพ ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิเสรีนิยมเป็นลัทธิที่นิยมเสรีภาพบุคคล/ที่เรียกกันว่า แบบเสรีภาพนิยม สาระสำคัญ : 1. ให้คุณค่ากับความคิดเห็นที่มีเสรีภาพ บุคคลมีสิทธิ ตามธรรมชาติเกี่ยวกับ - ชีวิต - ทรัพย์สิน - โอกาสประกอบการ 2. รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจและสังคมของ บุคคลให้เป็นไปตามธรรมชาติ

22 3. เสรีภาพการแสดงออกบุคลิกภาพตนเองเป็นสิ่งที่มี
ลัทธิทางการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/ นิยมเสรีภาพ ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) 3. เสรีภาพการแสดงออกบุคลิกภาพตนเองเป็นสิ่งที่มี ความหมายและสำคัญ 4. เกิดแข่งขันและต่อสู้ ผู้แข็งแรงและมีความสามารถ สูงย่อมได้รับประโยชน์ 5. บุคคลแสดงออกความคิด สติปัญญาและการกระทำ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

23 ลักษณะพื้นฐานทั่วไปของลัทธิเสรีนิยม
ปัจเจกบุคคลนิยม (individualism) เสรีภาพ (liberty or freedom) ฉันทานุมัติ (consent) ลัทธิเสรีนิยม เหตุผล (reason) รัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ความเสมอภาค (equality) ขันติธรรม (toleration)

24 ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism)
ลัทธิที่นิยมเสรีภาพบุคคล/ที่เรียกกันว่า แบบ เสรีภาพนิยม นักคิดที่สำคัญ จอห์น ล๊อค (อังกฤษ) มองเตสกิเออ (ฝรั่งเศส) รุสโซ (ฝรั่งเศส)

25 ลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservatism)
ลัทธิการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/นิยมเสรีภาพ ลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservatism) ลัทธิการเมืองที่ให้ความสำคัญกับอดีต ไม่นิยมการปฏิรูป หากจะมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามสภาพสังคม โดยต้องไม่ทำลายคุณธรรมที่ดีงามที่ได้ยึดถือกันมาก่อน เหตุผลมิได้เป็นหลักสำคัญประการเดียว แต่หลักประเพณีที่ได้ยึดถือกันมาแต่เดิมนั้นเป็นเครื่อง พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้ได้ ควรจะนำมาเป็นเครื่องยึด เหนี่ยวการกระทำทั้งหลายในสังคม

26 องค์ประกอบพื้นฐานของลัทธิอนุรักษ์นิยม
ประเพณี (Tradition) ลัทธิปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ (Human imperfection) อนุรักษ์นิยม อินทรียภาพ (Organicism) ลำดับชั้นที่สูงที่ต่ำ (Hierarchy) อำนาจหน้าที่ (Authority) ทรัพย์สิน (Property)

27 ประเภทอนุรักษ์นิยม 1. อนุรักษ์นิยมแนวอำนาจนิยม
(Authoritarian Conservatism) 2. อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์ (Paternalistic Conservatism) ประเภทอนุรักษ์นิยม 3. อนุรักษ์นิยมแนวเสรีภาพ (Libertarian Conservatism) 4. อนุรักษ์นิยมขวาใหม่ (The Conservatism New Right)

28 ลัทธิการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/นิยมเสรีภาพ
ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) Demos = ประชาชน Kratein = อำนาจ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรืออำนาจสูงสุด ในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน” ระบอบประชาธิปไตยเริ่มต้นประมาณ 500 ปีก่อน คริสตกาลบริเวณหุบเขากรีก ชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ที่เป็นนครรัฐกรีก

29 ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy)
ระยะแรก : ระบอบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) - พลเมืองชายทุกคนที่บรรลุนิติภาวะ (20 ปี) - สามารถจับอาวุธป้องกันประเทศได้ มีสิทธิเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิก สภาประชาชนที่มีหน้าที่เป็นสถาบันสูงสุดในการแสดงเจตน์ จำนงของรัฐ

30 “อำนาจสูงสุดในการกำหนดการปกครองอยู่ที่ประชาชน”
ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ระยะปัจจุบัน : ระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทน (Representative Democracy) จำนวนประชากรของแต่ละรัฐหรือแต่ละประเทศมีเพิ่มขึ้น อาศัยการให้สิทธิของพลเมืองเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่แทนตัวในรัฐสภา เจตจำนงของ รัฐสภาถือว่าเป็นความต้องการประชาชน อำนาจการปกครอง “อำนาจสูงสุดในการกำหนดการปกครองอยู่ที่ประชาชน”

31 ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy)
อุดมการณ์สำคัญ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ของบุคคลด้วยความเสมอภาคและสิทธิ/เสรีภาพ" สิทธิ/เสรีภาพ สิทธิ : เป็นอำนาจอันชอบธรรม/ความสามารถที่ จะกระทำการได้โดยชอบธรรมสิทธิของบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับโดยตามธรรมเนียมประเพณี/ กฎหมาย

32 เสรีภาพ : เป็นความมีอิสระในการกระทำการใดๆ ได้
ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) เสรีภาพ : เป็นความมีอิสระในการกระทำการใดๆ ได้ ตามความปรารถนา แต่การกระทำนั้นต้องไม่ละเมิดกฎหมาย หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ความเสมอภาค หลักการสำคัญอุดมการณ์ประชาธิปไตย “คนทุกคน มีความเท่าเทียมกันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเหมือนกัน” 1. ความเสมอภาคทางการเมือง 2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย 3. ความเสมอภาคในโอกาสสังคม 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ 5. ความเสมอภาคทางสังคม

33 1. ความเสมอภาคทางการเมือง บุคคลทุกคนมีสิทธิ
ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ความเสมอภาค 1. ความเสมอภาคทางการเมือง บุคคลทุกคนมีสิทธิ ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมการเมืองเท่าๆ กัน 2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย ทุกคน ต้องได้รับการปฏิบัติด้วยกฎหมายอย่างเสมอภาคกัน โดย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน 3. ความเสมอภาคในโอกาส สังคมต้องเปิดโอกาส ให้ทุกคนทัดเทียมกันทั้งการใช้ความสามารถ แสวงหาความ เจริญก้าวหน้า เลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสการรับบริการตามสิทธิตนเอง

34 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ สภาพของทุกคนมี
ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ความเสมอภาค 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ สภาพของทุกคนมี วามใกล้เคียงกันในฐานะทางเศรษฐกิจที่มีการกระจาย รายได้ (Income Distribution) อย่างเป็นธรรมเพื่อมิให้ ช่องว่างระหว่างชนชั้น 5. ความเสมอภาคทางสังคม คนทุกคนจะต้องได้รับ การเคารพว่า ความเป็นคนอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันใน ฐานะเกิดมนุษย์ร่วมโลกเดียวกันสิทธิ/เสรีภาพ

35 ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy)
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย - ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) - ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

36 1. ปรัชญาของระบอบประชาธิปไตย 1) ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
2) การใช้อำนาจมุ่งเพื่อการมีชีวิตที่ดีของ ประชาชน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง 36

37 2. ระบอบประชาธิปไตยโดยตรงและโดยตัวแทน
1) ระบอบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) อาทิ นครรัฐเอเธนส์ - ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง - ไม่มีการเลือกตั้งตัวแทน 2) ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน (Representative Democracy) - ประชาชนเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจแทนตน - การเลือกตั้งต้องสุจริต เที่ยงธรรม และโปร่งใส 37

38 3. บริบทของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน
3. บริบทของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน 1) อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน 2) ประชาชนเป็นผู้เลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ปกครอง (โดยประชาชน) 3) การใช้อำนาจการปกครองต้องเพื่อประโยชน์ของประชาชน (เพื่อประชาชน) 4) การเลือกตั้งตัวแทนต้องกระทำโดยสุจริต เที่ยงธรรมและโปร่งใส 5) การเลือกตั้งที่ไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม และไม่โปร่งใส ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย 6) ประชาชนมีอำนาจในการตรวจสอบและ ถอดถอน 38

39 4. หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
1) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) อำนาจอธิปไตยของปวงชน VS. ความอยู่ดีกินดีของประชาชน 39

40 2) หลักเสรีภาพ (Liberty)
(1) เสรีภาพทางการเมือง (2) เสรีภาพในทรัพย์สิน (3) เสรีภาพในการนับถือศาสนา (4) เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย (5) เสรีภาพในการประกอบอาชีพ

41 (1) กฎหมายต้องมีที่มาที่ชอบธรรม
3) หลักความเสมอภาค (Equality) (1) ความเสมอภาคทางการเมือง (2) ความเสมอภาคทางสังคม (3) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ 4) หลักกฎหมาย (Rule of Law) (1) กฎหมายต้องมีที่มาที่ชอบธรรม (2) การบังคับใช้กฎหมายจะต้องมีความเสมอภาค (3) ประชาชนจะต้องได้รับความคุ้มครองจากกระบวนการ ยุติธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

42 หลักเสียงข้างมากและสิทธิของเสียงข้างน้อย (Majority Rule and Minority Right)
(1) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (2) การเคารพเสียงข้างน้อย

43 1) รูปแบบการควบอำนาจ (Fusion of Power or Parliamentary System)
2.5 รูปแบบทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 1) รูปแบบการควบอำนาจ (Fusion of Power or Parliamentary System) (1) ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง (2) ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้จัดตั้งฝ่ายบริหาร (3) ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการยื่นกระทู้และ การขออภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร (4) ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการยุบสภานิติบัญญัติ (5) ประมุขของประเทศและหัวหน้าฝ่ายบริหารจะแยก ออกจากกัน

44 (1) รัฐบาลอาจไม่มีเสถียรภาพเพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจและการยุบสภา
จุดอ่อนของรูปแบบควบอำนาจ (1) รัฐบาลอาจไม่มีเสถียรภาพเพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจและการยุบสภา (2) รัฐบาลอาจบริหารประเทศไม่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารต้องทำทั้งหน้าที่บริหารและหน้าที่นิติบัญญัติพร้อมๆกัน (3) ถ้าพรรคเดียวมีเสียงข้างมากเกิน 2 ใน 3 จะทำให้เกิด “เผด็จการจากการเลือกตั้ง (Elected Dictator)” (4) ระบบการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ อ่อนแอ ถ้าฝ่ายค้านมีเสียงน้อยมากในสภา (5) ในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงสูง เพื่อให้มีเสียงมากพอในการจัดตั้งรัฐบาล

45 2) รูปแบบแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power or Presidential System)
(1) ประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง (2) ประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหารโดยตรง (3) ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการอภิปรายฝ่ายบริหาร (4) ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา (5) หัวหน้าฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ จะเป็นคนเดียวกันหรือแยกจากกันก็ได้

46 จุดแข็งของรูปแบบแบ่งแยกอำนาจ
(1) หัวหน้าฝ่ายบริหาร (ผู้นำประเทศ) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งประเทศ จึงมีความชอบธรรมในการเป็นผู้นำของประชาชน (2) ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอิสระซึ่งกันและกัน ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร (3) กระบวนการตรวจสอบมีความเข้มแข็ง เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจในการตรวจสอบฝ่ายบริหารได้เต็มที่ ทั้งการพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่ง (Impeachment) และการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายบริหาร (4) ทั้งรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติมีเสถียรภาพสูง เพราะไม่มีการยุบสภาและการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

47 (5) ระบบการเมืองมีขีดความสามารถสูงในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ
(5) ระบบการเมืองมีขีดความสามารถสูงในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ (6) การไต่สวนสาธารณะของฝ่ายนิติบัญญัติมีความโปร่งใส ทำให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบด้าน (7) การเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญของประเทศต้องผ่าน การไต่สวนสาธารณะโดยวุฒิสภา ทำให้ผู้เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญต้องเป็นผู้ที่มีประวัติและผลงานดีเด่นจริงๆ

48 รูปแบบผสม (Mixed System or Powerful Executive)
(1) ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง (2) ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภาแห่งชาติได้ทุกกรณีเมื่อสภามีอายุครบหนึ่งปี

49 ประธานาธิบดีมีอำนาจในการนำประเด็นทางการเมืองไปให้ประชาชนลงมติ
(5) ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สภาสูงได้รับการเลือกตั้งทางอ้อม โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกสภาจังหวัด และสมาชิกสภาเทศบาลสภาผู้แทนราษฎรและสภาสูงมีอำนาจเท่ากัน ยกเว้นอำนาจในการพิจารณางบประมาณและอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลให้เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร

50 จุดแข็งของรูปแบบผสม (1) ผู้นำประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชนและมาจากการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิ เสียงข้างมาก (2) ผู้นำประเทศมีเสถียรภาพสูง เพราะฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ (3) ผู้นำประเทศสามารถยุบสภาได้ ทำให้ฝ่ายบริหารมี อำนาจถ่วงดุลกับสภาได้สูง ถ้าหากฝ่ายบริหาร ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภา

51 (4) ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจ
(4) ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีได้ แต่ไม่กระทบต่อเสถียรภาพของ ผู้นำประเทศ (5) ผู้นำประเทศมีนายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนในการ รับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ (6) หากมีประเด็นขัดแย้งทางการเมือง ผู้นำประเทศ สามารถใช้การลงประชามติเป็นกลไกในการแก้ไข ปัญหาได้


ดาวน์โหลด ppt IV. ลัทธิการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google