งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๒ ฉบับได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ เมื่อวันที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๒ ฉบับได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ เมื่อวันที่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๒ ฉบับได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘

2 สภามหาวิทยาลัยกำหนดพันธกิจและนโยบายการ บริหารและพัฒนามหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๒ (ประกาศสภา มข.ที่ ๖/๒๕๕๗ ลว ๒ ก.ค.๕๗) สภามหาวิทยาลัยกำหนดพันธกิจและนโยบายการ บริหารและพัฒนามหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๒ (ประกาศสภา มข.ที่ ๖/๒๕๕๗ ลว ๒ ก.ค.๕๗) ข้อเสนอทิศทางกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อเสนอทิศทางกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รับฟังความคิดเห็นจากประชาคม ภายในและภายนอก จำนวน ๖ กลุ่ม รับฟังความคิดเห็นจากประชาคม ภายในและภายนอก จำนวน ๖ กลุ่ม สรุป/ปรับปรุง จัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ เสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มาและกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ๑๑ ก.พ. – ๒ มี.ค. ๒๕๕๘ มีนาคม ๒๕๕๘ ๗ เมษายน ๒๕๕๘ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

3 กรอบแนวคิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ ผลการ ดำเนินงาน ของ มข. World ranking university วิกฤตน้ำ อาหาร พลังงาน การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ประชาคม อาเซียน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ การประกัน คุณภาพ การศึกษา แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มข. พ.ศ. ๒๕๕๙ -๒๕๖๒ SWOT Analysis นโยบาย ทิศทาง ของรัฐ กรอบแผน อุดมศึกษาระยะ ยาว ๑๕ ปี 21 st learning skills การเพิ่มขึ้น ของประชากร โลก ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ปรัชญา การก่อตั้ง มข.

4 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริบทใหม่ของโลกใน ๒๐ ปีข้างหน้า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร : การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบต้องปรับตัว และเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสวัสดิการสังคมในการรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงปัญหาจำนวนแรงงานที่จะขยายตัวช้าลง การเกิดประชาคมอาเซียน : ทำให้เกิดตลาดในภูมิภาค ที่มีขนาดใหญ่ เกิดการเคลื่อนย้าย แรงงาน ความรู้ การลงทุนและอื่นๆ การเพิ่มขึ้นของประชากรและ ประชากรผู้สูงอายุของโลก : การเพิ่มของประชากรและการ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของ ประชากรที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหาร พลังงาน น้ำ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ : วิกฤตการขาดแคลนพืชอาหารและพืชพลังงาน การ ขาดแคลนทรัพยากรน้ำและพลังงาน และการ เปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อการพัฒนาภาคเกษตร และด้านอื่นๆ ที่สำคัญ ปัจจัยภายในประเทศไทย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ : การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศ (Digital Economy) นโยบาย ทิศทางการพัฒนาประเทศ และแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ : การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง ยั่งยืน พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย กรอบแผนอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ :ยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยเพื่อ ผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฯ : พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถ ในการวิจัยของประเทศให้สูงขึ้น สร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่า ให้เกิดการเรียนรู้และต่อ ยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ ทักษะนักศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ : ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะสารสนเทศ สื่อและ เทคโนโลยี ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม นโยบายรัฐบาลฯ : การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ ความคาดหวังต่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5 ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยในอีก ๔ ปีข้างหน้า ๑.การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อสร้างศักยภาพด้านการแข่งขัน ผลิตบัณฑิตให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในสาขาที่เป็นความ เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ ทางวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบที่พร้อม ทำงาน การพัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ บุคลากรหลายกลุ่มและหลายช่วงวัยเข้ามาเรียนรู้ เน้นการพัฒนาหลักสูตรแบบ บูรณาการสาขาวิชา และเป็นหลักสูตรที่เป็นความเชี่ยวชาญของ มหาวิทยาลัยและเป็นความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะหน่วยงานทางวิชาการยังมีทิศทางการพัฒนา ตนเองให้เป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามา พัฒนาระบบการเรียนรู้ให้นักศึกษา และบุคคลภายนอกมาเรียนรู้ได้ตลอดเวลาโดย พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางด้านการเรียนการสอนในลักษณะของ Smart Campus

6 ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยในอีก ๔ ปีข้างหน้า (ต่อ) ๒. การวิจัย ยังคงเดินหน้าโดยการนำเอาปัญหาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ประเทศมาเป็นโจทย์วิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้กับท้องถิ่นและประเทศ อาทิ ปัญหาทางด้านความยากจน คุณภาพชีวิต ปัญหาด้านสุขภาพ และคุณภาพ การศึกษาในโรงเรียน โดยการวิจัยที่เป็นรูปแบบบูรณาการสาขาวิชา ทั้งการวิจัย พื้นฐาน (Basic research) และการวิจัยประยุกต์ (Applied research) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ระดับประเทศและนานาชาติเพื่อสร้างบรรยากาศของการวิจัยและขับเคลื่อนให้ การวิจัยก้าวไปสู่ระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้น และมีการนำผลงานวิจัยไปต่อ ยอดในทางอุตสาหกรรม และการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำไปใช้ใน การพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งเสริมการวิจัยที่นำเอา ศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสานมาผสมผสานกับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ สร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ต้นทางของเกษตรกร

7 ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยในอีก ๔ ปีข้างหน้า (ต่อ) ๓. การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากลให้มากขึ้น เน้นการสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ผลงานด้านการ วิจัยและด้านวิชาการของคณาจารย์เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และทำให้บัณฑิตที่สำเร็จ การศึกษาสามารถที่จะทำงาน ในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างในระดับนานาชาติ และทำให้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐานในระดับสากลและเป็นสถาบันการศึกษา ของกลุ่ม ประเทศอาเซียน ๔. การบริหารจัดการองค์กร พัฒนาระบบบริหารจัดการของระบบสนับสนุนการดำเนินงานของภารกิจต่างๆให้มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลเพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยที่ทันสมัย มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล ดำเนินการปรับ โครงสร้างองค์กร การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อรองรับการเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ทั้งทางด้าน โครงสร้างพื้นฐานทางทางด้านถนน และการจราจร การจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อม การลดการใช้ พลังงาน และการผลิตพลังงานสะอาด การจัดการพื้นที่ให้มีทั้งพื้นที่การศึกษา พื้นที่สาธารณะเพื่อ นันทนาการ พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดูแลและห่วงใยสังคมรอบด้าน โดยมี เป้าหมายเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์ที่มีสุขภาวะที่ดีให้บุคลากรที่อาศัยและทำงานอยู่ใน มหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข ๕. การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ทั้งทางด้าน โครงสร้างพื้นฐานทางทางด้านถนน และการจราจร การจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อม การลดการใช้ พลังงาน และการผลิตพลังงานสะอาด การจัดการพื้นที่ให้มีทั้งพื้นที่การศึกษา พื้นที่สาธารณะเพื่อ นันทนาการ พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดูแลและห่วงใยสังคมรอบด้าน โดยมี เป้าหมายเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์ที่มีสุขภาวะที่ดีให้บุคลากรที่อาศัยและทำงานอยู่ใน มหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข

8 World Class Research University วิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย “ได้รับการยอมรับจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรระหว่างประเทศ มีผลของการจัดอันดับ ของมหาวิทยาลัยอยู่ในลำดับที่สูง คือ อันดับ ๑ ใน ๘๐ ของเอเชีย และ อันดับ ๑ ใน ๔๐๐ ของโลก เมื่อ พิจารณาจากคุณภาพบัณฑิต คุณภาพงานวิจัย ความเป็นนานาชาติ และความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย จากการจัดอันดับจากองค์กรประเมินคุณภาพทั้งภายในประเทศและนานาชาติ รวมถึงการพัฒนาตนเองให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ มหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการที่ดี มหาวิทยาลัยคุณภาพ มหาวิทยาลัยของชุมชน”

9 การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เป้าหมายของการบริหารใน ๔ ปีข้างหน้า ๑.การได้รับรองคุณภาพและการจัดอันดับใน ระดับชาติและระดับสากลของคุณภาพ งานวิจัย การเรียนการสอน คุณภาพของ บัณฑิต และความเป็นนานาชาติ ๒.การได้รับการยอมรับในเรื่องของการใช้ ประโยชน์จากการใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาและ แก้ปัญหาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อย่างเป็นรูปธรรม ๓.ความมีชื่อเสียงของสถาบันในระดับชาติและ ระดับนานาชาติ (Employee Reputation and Academic Reputation) ๔.การเป็นองค์กรที่บริหารโดยใช้หลัก ธรรมาภิบาล การประหยัดพลังงาน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็น สีเขียว ๔ ปี ข้างหน้า รับรอง คุณภาพ การใช้ ประโยชน์ จาก งานวิจัย ความเป็น นานาชาติ องค์กร บริหาร จัดการที่ดี

10 เป้าหมายหลักตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 1.การได้รับรองคุณภาพและ การจัดอันดับในระดับชาติ และระดับสากลของ คุณภาพงานวิจัย การเรียน การสอน คุณภาพของ บัณฑิต และความเป็น นานาชาติ ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร้อยละ 90 ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตทั้งด้านความสามารถเชิงวิชาชีพ และคุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 85 ร้อยละของนักศึกษาต่างชาติระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาต่อจำนวนนักศึกษาทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นร้อย ละ 5 ภายในปี 2562 ร้อยละของนักศึกษาแลกเปลี่ยนทุกระดับตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ที่ไปต่างประเทศและมาประเทศไทยต่อ จำนวนนักศึกษาทั้งหมดเพิ่มเป็นร้อยละ 5 ภายในปี 2562 ผลการประเมินในระดับสาขาวิชาที่ได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 5 สาขาวิชาภายในปี พ.ศ.2562 ( 1 ใน 400 ของโลก) 2. การได้รับการยอมรับใน เรื่องของการใช้ประโยชน์ จากการใช้งานวิจัยเพื่อ พัฒนาและแก้ปัญหาเชิง พื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อย่างเป็นรูปธรรม จำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข สุขภาพ ด้านการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลงานวิจัยในการแก้ไขปัญหา เช่น การลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพของ ครอบครัวของผู้รับผลจากการใช้ผลงานวิจัย คุณภาพของการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลง จำนวนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 500 รายการ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2562 จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงในระดับนานาชาติ ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS/ISI มีสัดส่วนมากกว่า ร้อยละ 10 เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2562 ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ใน refereed journal หรือในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือระดับนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ จำนวนชุมชนที่ได้รับการบริการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างบูรณาการสาขาวิชาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 10 ชุมชนต่อปี จำนวนผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับการออกแบบและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปวัฒนธรรมอีสาน และจำนวนผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์ หรือได้รับการยกย่องในระดับ ชาติ หรือนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 40 ผลิตภัณฑ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคอีสานที่ได้รับ การพัฒนา ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง ภายในปี 2562

11 เป้าหมายหลักตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 3. ความมีชื่อเสียงของสถาบันใน ระดับชาติและระดับนานาชาติ (Employee Reputation and Academic Reputation ความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ ทั้ง Acadamic reputation และ Employer reputation ในระดับ World Ranking ไม่น้อย กว่าร้อยละ 40 จาก Baseline ปี 2013 4. การเป็นองค์กรที่บริหารโดยใช้หลัก ธรรมาภิบาล การประหยัดพลังงาน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้ เป็นสีเขียว ปริมาณไฟฟ้ารวมที่ใช้ในปี 2562 ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้า รวมในปี 2557 ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยขอนแก่นในแต่ละวันได้รับการจัดการ ทั้งหมด และของเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่มากกว่าร้อยละ 80 รายได้จากการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพย์สิน และทรัพย์สิน ทางปัญญา เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จาก Base line ของแต่ละปี

12 เสาหลักของยุทธศาสตร์ (Strategic Pillar) เสาหลักที่ ๑: Green and Smart Campus เสาหลักที่ ๒: Excellence Academy เสาหลักที่ ๓: Culture and Care Community เสาหลักที่ ๔: Creative Economy and Society รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย หมายเหตุ : ที่มาเสาหลักของยุทธศาสตร์ มาจาก ประกาศสภา มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ ๖ / ๒๕๕๗ เรื่อง พันธกิจและนโยบายในการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ( พ. ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ )

13 แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๑๐ ยุทธศาสตร์ ๓๙ กลยุทธ์ ๒๐๒ มาตรการ/โครงการ พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๒

14 รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย เสาหลักที่ ๑: Green and Smart Campus ๐๔ พัฒนา วนค. เป็นประตูสู่ GMS ๐๓ สร้างความเป็น เลิศในการ บริหารจัดการ ๐๒ เป็นอุทยานการ เรียนรู้ตลอด ชีวิตของสังคม ๐๑ พัฒนาสู่การเป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว ๓ กลยุทธ์ ๑๗ มาตรการ/โครงการ ๖ กลยุทธ์ ๒๕มาตรการ/โครงการ ๗ กลยุทธ์ ๓๗ มาตรการ/โครงการ ๓ กลยุทธ์ ๑๓ มาตรการ/โครงการ เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

15 ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาสู่การเป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีบรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เกื้อหนุนให้ เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาองค์ความรู้ และการ ทำงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เป็น ปัจจัยดึงดูดให้ผู้เรียนมาเลือกเรียนที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์

16 พัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : มข. เป็นพื้นที่สาธารณะที่ให้ประชาชนเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อการออกกำลัง กาย นันทนาการ จึงจำเป็นต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยให้น่า อยู่ ถูกสุขลักษณะในลักษณะของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยใช้ ความรู้เชิงวิชาการเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๑.ปริมาณไฟฟ้ารวมที่ใช้ในปี ๒๕๖๒ ลดลงร้อยละ ๒๐ เมื่อเทียบกับการ ใช้ไฟฟ้ารวมในปี ๒๕๕๗ ๒.ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นใน มหาวิทยาลัยขอนแก่นในแต่ละวัน ได้รับการจัดการทั้งหมด และของ เสียที่นำกลับมาใช้ใหม่มากกว่า ร้อยละ ๘๐ ๓.มีพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะ เพิ่มขึ้นทุกปีภายในปี ๒๕๖๒ ไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ ทั้งหมด ๔.การสูญเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ ลดลงเป็นศูนย์ภายในปี ๒๕๖๒ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๑.ปริมาณไฟฟ้ารวมที่ใช้ในปี ๒๕๖๒ ลดลงร้อยละ ๒๐ เมื่อเทียบกับการ ใช้ไฟฟ้ารวมในปี ๒๕๕๗ ๒.ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นใน มหาวิทยาลัยขอนแก่นในแต่ละวัน ได้รับการจัดการทั้งหมด และของ เสียที่นำกลับมาใช้ใหม่มากกว่า ร้อยละ ๘๐ ๓.มีพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะ เพิ่มขึ้นทุกปีภายในปี ๒๕๖๒ ไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ ทั้งหมด ๔.การสูญเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ ลดลงเป็นศูนย์ภายในปี ๒๕๖๒ กลยุทธ์ พัฒนาพื้นที่และสิ่งแวดล้อมให้เป็นแคมปัสที่เขียว และสะอาด (Green and Clean Campus) จัดทำผังเฉพาะพื้นที่บริเวณโซนการศึกษา ที่พักอาศัย การกีฬา อุทยานการเรียนรู้ ฯลฯ การจัดการขยะและน้ำเสีย อนุรักษ์พลังงาน/รณรงค์สร้างจิตสำนึกการประหยัด อนุรักษ์ ดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม ๑ พัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) สร้างมาตรฐานการจัดการด้านพลังงาน จัดทำข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ จัดตั้ง สำนักนวัตกรรมพลังงาน ๒ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยให้สมบูรณ์ จัดทำแผนการตรวจสอบอาคาร การบำรุงรักษาการซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสภาพผิวจราจร วงเวียน สัญญาณไฟ ปรับปรุงพื้นที่ลานจอดรถ เพิ่มเส้นทางจักรยาน ทางเดินเท้าที่มีหลังคาคลุม ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า สุขาภิบาล รณรงค์สร้างจิตสำนึกวินัยจราจร ๓

17 เป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๒ มหาวิทยาลัยเป็นอุทยานการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ที่สร้างแรงบันดาลใจในการที่ จะเรียนรู้และจุดประกายความคิด สร้างสรรค์ให้กับเยาวชนและสังคม (Smart Campus) เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์

18 เป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคม เป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคม (Smart Campus) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ เพื่อให้ มข. เป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย จึงมุ่งเน้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย และรองรับการบริหารจัดการทุกภารกิจ ตลอดจนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้ เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๑.นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถเรียนรู้ผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ในทุก พื้นที่ในมหาวิทยาลัย ๒.มีแหล่งเรียนรู้ที่สามารถ ให้บริการทั้งบุคคลภายในและ ภายนอกได้ ไม่น้อยกว่า ๕ แห่ง ๓.จำนวนผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกไม่น้อย กว่าปีละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน (Baseline หอสมุด ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ คน) ๔.ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ แหล่งเรียนรู้ทุกประเภทไม่น้อย กว่าร้อยละ ๘๕ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง และปลอดภัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT / เพิ่มประสิทธิภาพของ Wifi พัฒนาสำนักนวัตกรรมการเรียนการสอนให้เป็น Production House กลยุทธ์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้และการพักอาศัยที่นำสมัย พัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) พัฒนาและปรับปรุงหอพักให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ ปลอดภัย การพัฒนาหอสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต ปรับปรุงระบบกายภาพ พัฒนาเทคโนโลยีที่รองรับการจัดการสารสนเทศ การพัฒนาอุทยานศิลปวัฒนธรรม (Culture Park) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรม พัฒนาระบบพิพิธภัณฑ์เสมือน การพัฒนาอุทยานการเกษตร (Agro Park) พัฒนาพื้นที่ฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์ ผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม / พัฒนาแหล่งเรียนรู้พลังงานสะอาด การพัฒนาอุทยานการกีฬา (Sport Park) จัดตั้งศูนย์ฝึกสอนด้านกีฬาประเภทต่างๆ / เพิ่มพื้นที่และอุปกรณ์ Fitness ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

19 สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มี ประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล มี บุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยี และสารสนเทศที่ทันสมัยที่เชื่อมโยง ทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย และมี แนวทาง วิธีการหารายได้เพื่อการ พึ่งตนเอง เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ cloudwars.info รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

20 สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ พัฒนาระบบการให้บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และมีธรรมาภิบาล ทั้งทางด้านการบริหารงบประมาณ บุคลากรและการบริหารกระบวนงาน ให้มี ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน รวมถึงการปรับโครงสร้างและระบบงานเพื่อเข้าสู่ การเป็นมหาวิทยลัยในกำกับของรัฐ และการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๑.มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้า มาใช้ในกระบวนการทำงานใน หน่วยงานของมหาวิทยาลัยไม่น้อย กว่าร้อยละ ๘๐ ๒.กระบวนการทำงานในหน่วยงานของ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในแต่ละ ภารกิจมีประสิทธิภาพ คือ มีความ รวดเร็ว ลดขั้นตอนและระยะเวลาใน การปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๓.อาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ ๗๐ (Baseline ปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๕๙.๒๔) และ อาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่ม เป็นร้อยละ ๗๕ (Baseline ปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๖๖.๗๘) ภายในปี ๒๕๖๒ ๔.มีบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงและ ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศเข้ามา ทำงานในมหาวิทยาลัยปีละ ๒๕ คน ๕.มีการพัฒนาวิสาหกิจของ มหาวิทยาลัยเพื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น แห่งละไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี กลยุทธ์ พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ ทบทวนการจัดโครงสร้าง และปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ (BPR) และการก้าวไปสู่การเป็น ม.ในกำกับของรัฐ พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่ ม.วิจัยชั้นนำระดับโลก พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลที่สร้างแรงจูงใจ /สนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และศึกษาต่อ ป.เอก การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่ดีและได้มาตรฐานสากล พัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพ /สนับสนุนหลักสูตรที่มีความพร้อมเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน การสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านชุมชนสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร ปรับปรุงประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กร และการจัดทำแผนด้านชุมชนสัมพันธ์ จัดหารายได้จากการบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพย์สิน และทรัพย์สินทางปัญญา ปรับวิสาหกิจของ มข. ให้มีประสิทธิภาพ จัดหารายได้จากการจัดการศึกษา ผลงานวิจัย ทรัพย์สินของ มข. และการระดมทุน พัฒนาระบบบริหารจัดการศิษย์เก่าสัมพันธ์ สร้างความเข้มแข็ง และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับศิษย์เก่า พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ติดตั้งระบบ CCTV / เตรียมความพร้อมบุคลากรในการให้บริการเหตุฉุกเฉิน ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

21 พัฒนาวิทยาเขตหนองคายให้เป็นประตูสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ยุทธศาสตร์ที่ ๔ วิทยาเขตหนองคายมีความเข้มแข็ง ทั้งด้านวิชาการ วิจัย และบริหารจัดการ พร้อมที่จะเป็นประตูสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ให้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ chaoprayanews.com รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

22 พัฒนาวิทยาเขตหนองคายให้เป็นประตูสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ พัฒนาให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายให้สามารถจัด การศึกษาได้อย่างมีคุณภาพที่สามารถใช้องค์ความรู้เพื่อพัฒนาภูมิภาค หรือ ชุมชนที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ได้ และทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.ร้อยละผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ต่อปี ๒.จำนวนนักศึกษาใหม่ที่รับเข้า ศึกษาในหลักสูตรและอัตราการ คงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของจำนวนรับในแต่ละปี ๓.ร้อยละคณาจารย์ที่ดำรง ตำแหน่งวิชาการเพิ่มขึ้น ไม่น้อย กว่าร้อยละ ๒๐ ต่อปี ของ Base line ปี ๒๕๕๗ ๔.จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำงาน ในตลาดอาเซียน หรือ GMS ไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๕ กลยุทธ์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการ ปรับปรุงโครงสร้างให้รองรับการบริหารจัดการแนวใหม่ พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น คล่องตัว พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น คล่องตัว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพด้านวิชาการและวิจัย พัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพด้านการสอน พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ฯ การตั้งกลุ่มวิจัย พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ฯ การตั้งกลุ่มวิจัย การพัฒนาศํกยภาพการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การพัฒนาศํกยภาพการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา และสิ่งอำนวยความ สะดวกในด้านการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของบัณฑิต ปรับกระบวนการรับเข้าให้มีความหลากหลาย ปรับกระบวนการรับเข้าให้มีความหลากหลาย สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคธุรกิจและเอกชนในพื้นที่ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคธุรกิจและเอกชนในพื้นที่ พัฒนาระบบจัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ พัฒนาระบบจัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ๑ ๒ ๓

23 เสาหลักที่ ๒: Excellence Academy เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศทางศิลปวิทยาการ ๐๕ เป็นองค์กรที่ เป็นเลิศด้าน การผลิต บัณฑิต ๕กลยุทธ์ ๒๘ มาตรการ/โครงการ ๔ กลยุทธ์ ๒๘ มาตรการ/โครงการ ๐๖ เป็นองค์กร ที่เป็นเลิศ ด้านการวิจัย ๐๗ พัฒนา มหาวิทยาลัย ไปสู่ความเป็น สากล ๒ กลยุทธ์ ๑๕มาตรการ/โครงการ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

24 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต ยุทธศาสตร์ที่ ๕ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม อย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ ศตวรรษที่ ๒๑ เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

25 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางวิชาการและ วิชาชีพมีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบที่พร้อมทำงาน มีความรู้ ความสามารถใน การคิด วิเคราะห์ปัญหาในสภาพความเป็นจริงและสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การ สร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ความต้องการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ ตลาดแรงงานอาเซียน สังคม ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.ร้อยละของบัณฑิตที่มีงาน ทำทั้งในประเทศและ ต่างประเทศภายในระยะเวลา ๑ ปี ค่าเป้าหมาย ร้อยละ ๙๐ ในร้อยละ ๙๐ นี้ เป็นผู้ที่ ทำงานในตลาดแรงงาน อาเซียน ร้อยละ ๑๐ ๒.ความพึงพอใจของนายจ้าง ที่มีต่อบัณฑิต ทั้งทางด้าน ความสามารถเชิงวิชาชีพและ คุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ ๘๕ ขึ้นไป การพัฒนาหลักสูตรที่สามารถผลิตบัณฑิตออกไปเป็นผู้นำของสังคม พัฒนาหลักสูตร Honors Program / สนับสนุนให้หลักสูตรสอนด้วยภาษาอังกฤษ เพิ่มหลักสูตรบัณฑิตศึกษาโดยเน้นหลักสูตรที่บูรณาการและหลักสูตรนานาชาติ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาสื่อการเรียนรู้และบทเรียนออนไลน์ / สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษากับสถานศึกษา และผู้ประกอบการ พัฒนาระบบการรับเข้าที่มีความหลากหลาย จัดสรรโควตานักเรียนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคน และผู้ที่พิการ / สนับสนุนทุนการศึกษา และประชาสัมพันธ์เชิงรุกในต่างประเทศ พัฒนานักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม จัดกิจกรรม Social Enterprise เพื่อพัฒนานักศึกษา / สร้างเสริมประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศ พัฒนาการเป็นผู้ประกอบการใหม่ให้แก่นักศึกษา สร้างจิตวิญญาณและปลูกฝังการเป็นผู้ประกอบการ สนับสนุนนักศึกษา/ศิษย์เก่า เข้าสู่โครงการบ่มเพาะธุรกิจ กลยุทธ์ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

26 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและ นานาชาติ และมีศักยภาพในการสร้าง ผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

27 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ พัฒนาองค์ความรู้ สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ด้วยการวิจัยที่เน้น การเอาโจทย์ปัญหาจากพื้นที่จริงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือในการวิจัยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพและศักยภาพในการวิจัยให้สูงขึ้น ได้รับการยอมรับ การอ้างอิง และการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.จำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ใน เชิงการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๕ ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข สุขภาพ ด้าน การแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนา คุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา ๒.จำนวนโครงการที่ใช้ผลงานวิจัยไป แก้ปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ที่เป็น ที่ยอมรับในระดับประเทศ ๓.จำนวนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ที่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ รายการ เมื่อ สิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ๔.จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และ อ้างอิงในระดับนานาชาติ ในวารสารที่อยู่ ในฐานข้อมูล SCOPUS/ISI มีสัดส่วน มากกว่า ร้อยละ ๑๐ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ๕.ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ใน refereed journal หรือใน ฐานข้อมูลระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ ๖.ร้อยละของจำนวนผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษาที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ เพิ่มขึ้น สร้างความเข้มแข็งในงานวิจัยที่เป็นความโดดเด่นของ มข.ไปสู่ระดับสากล สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหรือนักวิจัยชั้นนำของโลก / สนับสนุนการวิจัย เชิงบูรณาการระหว่างศาสตร์ พัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ การพัฒนานักวิจัยใหม่ รุ่นกลาง อาวุโสอย่างต่อเนื่อง โดยมีระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย สนับสนุนให้อาจารย์ นักวิจัยไปทำงานวิจัยร่วมกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ นวัตกรรม และนำไปใช้ประโยชน์ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและสร้างบรรยากาศการวิจัยที่เอื้อต่อการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อม ทันสมัย จัดตั้งสำนักนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเครื่องมือวิจัย พัฒนาวารสารระดับนานาชาติ นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การสร้างมูลค่าและการใช้ประโยชน์เพื่อสังคม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนให้มีกองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดำเนินการเชิงรุกในการยื่นขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ๑ กลยุทธ์ ๒ ๓ ๔

28 พัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นสากล ยุทธศาสตร์ที่ ๗ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับการ ยอมรับ เป็นที่รู้จักในความเป็นเลิศด้าน วิชาการและการวิจัย บุคลากรและ นักศึกษามีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

29 พัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นสากล ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกโดยผ่าน กระบวนการทำวิจัย เขียนบทความวิจัย เขียนตำราร่วมกัน จัดการเรียนการ สอนในลักษณะของการการทำหลักสูตรร่วม รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยน นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษามีความ พร้อมที่จะวิจัยร่วมในต่างประเทศ โดยใช้กลยุทธ์และวิธีการทำงานร่วมกัน ระหว่างฝ่ายวิชาการฯ ฝ่ายวิจัยฯ บัณฑิตศึกษา คณะต่างๆ และศิษย์เก่า ของแต่ละมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.ร้อยละของนักศึกษาต่างชาติระดับปริญญาตรีและ บัณฑิตศึกษาต่อจำนวนนักศึกษาทั้งหมดเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ ๕ ภายในปี ๒๕๖๒ ๒.ร้อยละของนักศึกษาแลกเปลี่ยนทุกระดับตั้งแต่ ๓ เดือนขึ้น ที่ไปต่างประเทศและมาประเทศไทยต่อ จำนวนนักศึกษาทั้งหมดเพิ่มเป็นร้อยละ ๕ ภายในปี ๒๕๖๒ ๓.ความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ ทั้ง Acadamic reputation และ Employer reputation ในระดับ World Ranking ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๔๐ จาก Baseline ปี 2013 ๔.ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านภาษาอังกฤษตาม เกณฑ์ KEPT (KEPT, Khon Kaen University English Proficiency Test) ร้อยละ ๖๐ ๕.มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสี่ยง ๒๐๐ อันดับแรกของโลก ๑๐ แห่ง ๖.ผลการประเมินในระดับสาขาวิชาที่ได้รับการจัด อันดับในระดับนานาชาติ ไม่น้อยกว่า ๕ สาขาวิชา ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ( ๑ ใน ๔๐๐ ของโลก) จัดสภาพแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นสากล พัฒนาสิ่งแวดล้อมความเป็นนานาชาติในทุกมิติ พัฒนาหอพักสำหรับนักศึกษานานาชาติ เตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่อาเซียนและสากล สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาระดับนานาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ พัฒนาหลักสูตรนานาชาติในสาขาที่เป็นความเชี่ยวชาญของ มข. เพิ่มสัดส่วนอาจารย์/นักวิจัยชาวต่างประเทศ / เพิ่มสัดส่วนนักศึกษานานาชาติ ทั้งในระดับ ป.ตรี และ บัณฑิตศึกษา เตรียมความพร้อมของนักศึกษา บุคลากรและอาจารย์เพื่อเข้าสู่อาเซียนและสากล พัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา พัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากรให้มีศักยภาพความเป็นพลโลก พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านภาษาอังกฤษ และเทคนิคการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ๑ กลยุทธ์ ๒ ๓

30 เสาหลักที่ ๓: Culture and Care Community ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ห่วงใยและดูแลชุมชนในมิติต่างๆ ๓ กลยุทธ์ ๑๕มาตรการ/โครงการ ๒ กลยุทธ์ ๑๐ มาตรการ/โครงการ ๐๘ เป็นศูนย์กลาง การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ๐๙ เป็นองค์กรที่มีความ ห่วงใยต่อสังคม รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

31 เป็นศูนย์กลางการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๘ เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และประยุกต์ใช้ศิลปะ และวัฒนธรรมไทยเพื่อรักษาคุณค่าและเพิ่ม มูลค่าในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

32 เป็นศูนย์กลางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๘ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่นทางด้าน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าที่สามารถนำไปสร้างศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์ ต่อยอด และ จัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการบูรณาการความรู้ทางด้านศิลปะและ วัฒนธรรมของภูมิภาคอีสานเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ วิชาการ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.จำนวนงานวิจัยด้าน ศิลปะและวัฒนธรรมที่ เพิ่มขึ้น และจำนวน บทความวิจัยที่ได้รับการ ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งใน ระดับชาติและนานาชาติ ร้อยละ ๕ จากฐาน งานวิจัยทั้งหมดของ มหาวิทยาลัย ๒.จำนวนโครงการที่ได้รับ การยอมรับว่าเป็นผู้นำใน การอนุรักษ์และ ประยุกต์ใช้ศิลปะและ วัฒนธรรมอีสาน ไม่น้อย กว่า ๕ โครงการ กลยุทธ์ พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่สำคัญของภูมิภาค สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ การอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างคุณค่าศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สนับสนุนการศึกษา วิจัยบูรณาการองค์ความรู้ และเพิ่มคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิ ปัญญาท้องถิ่น พัฒนา มข.ก้าวสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาไทยและวรรณคดีด้วยการวิจัย สนับสนุนให้มีการบูรณาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน งานวิจัย บริการวิชาการ และ กิจกรรมนักศึกษา จัดสัมมนาวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ๑ ๒

33 เป็นองค์กรที่มีความห่วงใย ต่อสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๙ เป็นผู้นำด้านบริการวิชาการแก่สังคม ด้วยวัฒนธรรมขององค์กรที่กอปรด้วย ความห่วงใย ความใส่ใจ และการดูแล ชุมชนและสังคม เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

34 เป็นองค์กรที่มีความห่วงใยต่อสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๙ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงองค์ความรู้ในมิติต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นพัฒนาขึ้นมา ไปช่วยแก้ปัญหาให้ชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและเกิดการบูรณา การกับการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างจิตวิญญาณของการมี “จิต อาสา” ให้แก่นักศึกษาผ่านกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการสร้างอุทยานการ เรียนรู้ด้านต่างๆ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.มีศูนย์การเรียนรู้และการ ให้บริการในกลุ่มเด็กเล็กก่อน วัยเรียน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส อย่างน้อย ประเภทละ ๑ แห่ง ๒.จำนวนชุมชนที่ได้รับการ บริการจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่าง บูรณาการสาขาวิชาต่างๆ ไม่ น้อยกว่า ๑๐ ชุมชนต่อปี ๓.ให้บริการพัฒนาทรัพยากร มุนษย์แก่หน่วยงานต่างๆ ทั้ง ในแง่ของการฝึกอบรมและให้ คำปรึกษาไม่น้อยกว่า ปีละ ๑๐ หน่วยงาน ความห่วงใยต่อสังคมภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและชุมชนภายนอก ปลูกฝัง รหัสวัฒนธรรม มข. และจิตวิญญาณในการทำงานที่อุทิศเพื่อสังคม พัฒนา ดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ อปท. ในการพัฒนาพิ้นที่ ชุมชน พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรที่นำเสนอทางเลือกที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินโครงการ อำเภอ มข. พัฒนา และขยายพิ้นที่โครงการ ละว้า ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำในสังคม เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย พัฒนาเด็กก่อนวันเรียน สนับสนุนให้ มข. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จัดทำหลักสูตรอบรมทั้งระยะสั้น ระยะยาวที่เป็นศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสภาวิชาชิพในสาขาต่างๆ ดำเนินการอบรมและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ ๑ ๒ ๓

35 เสาหลักที่ ๔: Creative Economy and Society ๓ กลยุทธ์ ๑๔ มาตรการ/โครงการ เป็นองค์กรที่สร้างองค์ความรู้ตามพันธกิจสู่การ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์ ๑๐ ศูนย์กลางของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของ ภูมิภาค รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

36 ศูนย์กลางของเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่ผสมผสาน กับศิลปะ และวัฒนธรรมของภูมิภาค เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริขัย

37 ศูนย์กลางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ : แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานถือว่าเป็น ศิลปวัฒนธรรม และความรู้ที่โดดเด่น มีศักยภาพที่จะนำไปวิจัยและพัฒนา ต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจ จำเป็นต้องอาศัยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิจัย เทคโนโลยีและการออกแบบเพื่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ ๑.มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีพื้นที่จะนำเอา ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ และภูมิปัญญา อีสานมาเรียนรู้และสร้างสรรค์ให้เกิด มูลค่าเพิ่ม ซึ่งพื้นที่อาจหมายถึงพื้นที่ สิ่งแวดล้อมทางด้านแลกเปลี่ยน เรียนรู้และ กิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม (เป้าหมาย ภายใน ๔ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีพื้นที่ สร้างสรรค์ Creative Space ที่ชัดเจนอย่าง น้อย ๑ พื้นที่) ๒.จำนวนผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับการ ออกแบบและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากศิลปวัฒนธรรมอีสาน และจำนวน ผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ ได้รับการจดลิขสิทธิ์ หรือได้รับการยกย่อง ในระดับชาติหรือนานาชาติ ไม่น้อยกว่า ๔๐ ผลิตภัณฑ์ และมีแหล่งท่องเที่ยว ทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคอีสานที่ได้รับ การพัฒนา ไม่น้อยกว่า ๑๐ แห่ง ภายในปี ๒๕๖๒ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรบุคคลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ สนับสนุนหลักสูตรเฉพาะทาง/หลักสูตรระยะสั้น ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแขนงต่างๆ ศึกษาวิจัย และพัฒนาเชิงลึกในสาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทุนวัฒนธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยศิลป์และศาสตร์ของมหาวิทยาลัย บ่มเพาะผู้ประกอบการที่มีความพร้อมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนา มข. ให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของภูมิภาค การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนสอนที่บูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทางด้าน ศิลปวัฒนธรรม การออกแบบ สถาปัตยกรรม ทั้งหลักสูตรเฉพาะทางและหลักสูตรระยะสั้น พัฒนาหลักสูตรที่บูรณาการความรู้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมฯ ส่งเสริมให้คณาจารย์ และนักวิจัย นักศึกษาทำงานร่วมกัน จัดให้มีห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ ๑ ๒ ๓

38 แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ. ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ การนำแผน ยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติ จัดทำคำรับรอง การปฏิบัติราชการ รายไตรมาส รอบ ๓ เดือน รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน รอบ ๑๒ เดือน

39 ขอขอบพระคุณ


ดาวน์โหลด ppt แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๒ ฉบับได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ เมื่อวันที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google