งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.2/4 ในรายวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รัตติกาล ก้อนแปง วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

2 ความสำคัญของปัญหา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเป็นหลักสูตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในงานอาชีพตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ นำไปปฏิบัติงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกวิถีการดำรงชีพและการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับตนเพื่อสร้างสรรค์ความจริญต่อชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ รายวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นรายวิชาชีพสาขางาน ที่นักศึกษาระดับ ปวช.สาขางานการท่องเที่ยวทุกคนต้องเรียน แต่การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่า นักศึกษายังมีผลการเรียนไม่บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการบรรยายควบคู่ไปกับการปฏิบัติ นักศึกษายังไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการออกแบบแบบย้อนกลับ (Backward Design) ในรายวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวช.2/4 แผนกการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระดับสติปัญญาของผู้เรียน และการใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริงของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสาระการเรียนรู้ ด้านกระบวนการเรียนรู้ จึงถึงด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำผลการประเมินในสภาพจริงไปใช้จัดกลุ่มนักศึกษาให้ตรงกับศักยภาพ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบแบบย้อนกลับ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบแบบย้อนกลับในรายวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบแบบย้อนกลับ

4 กรอบแนวคิดการวิจัย การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การกำหนดความรู้ความสามารถของผู้เรียน ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา กำหนดการแสดงออกของผู้เรียนที่เป็นหลักฐานที่ชัดเจน และยอมรับได้ว่าผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนด ความพึงพอใจของนักศึกษา ออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดการเรียนการ นำหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นไปใช้จัดการเรียนการสอน ทบทวน แก้ไข และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5 สรุปผลการวิจัย จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบแบบย้อนกลับ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ (µ = 24.61, S.D. = 53.45) และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ (µ = 49.54, S.D. = 6.64) มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6 สรุปผลการวิจัย จากการประเมินผลความของพึงพอใจของนักศึกษา พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบแบบย้อนกลับ ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (µ = 4.51, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุดในด้าน กระบวนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเวลา (µ = 4.82, S.D. = 0.52) รองลงมา ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน (µ = 4.79, S.D. = 0.48) เนื้อหาที่ใช้จัดการเรียนรู้มีความถูกต้องในด้านวิชาการ (µ = 4.74, S.D. = 0.57) เนื้อหาที่จัดจัดการเรียนรู้มีความน่าสนใจ (µ = 4.62, S.D. = 0.55) เครื่องมือวัดผลมีปริมาณข้อเหมาะสม (µ = 4.59, S.D. = 0.82) เครื่องมือวัดผลมีความยากง่ายเหมาะสม (µ = 4.53, S.D. = 0.71) เครื่องมือวัดผลสามารถวัดผลได้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (µ = 4.41, S.D. = 0.70) เนื้อหาที่ใช้จัดการเรียนรู้มีความน่าสนใจ (µ = 4.32, S.D. = 0.68) กระบวนการจัดการเรียนรู้มีลำดับเป็นขั้นตอน (µ = 4.29, S.D. = 0.75) และเครื่องมือวัดผลการเรียนมีความเหมาะสม (µ = 4.03, S.D. = 0.94)


ดาวน์โหลด ppt การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google