งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA

2 ความหมายของ“การเงิน”และ“การเงินธุรกิจ”
ความหมายของการเงินว่า การเงินเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบริหารเงิน ความหมายของการเงินธุรกิจในภาวะปัจจุบัน คือ การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินในองค์การ การเงินและการเงินธุรกิจมีหลักการที่เหมือนกัน คือ เกี่ยวกับวิธีการจัดหาเงินทุน คือ พิจารณาว่าธุรกิจจะได้เงินมาโดยวิธีใด เป็นจำนวนเท่าใด และเวลาใด จึงจะดีที่สุด

3 สิ่งที่คาดหวังของกิจการ
กำไรสูงสุด (Profit Maximization) เป็นเป้าหมายของธุรกิจโดยคำนึงถึงกำไรรวมที่ธุรกิจสามารถหามาได้สูงสุด โดยการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่พื่อก่อให้เกิดค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ความมั่งคั่งสูงสุด (Wealth Maximization) เป็นเป้าหมายของธุรกิจที่กว้างกว่ากำไร สูงสุดโดยให้ความสำคัญถึงความมั่นคงของกิจการซึ่งจะมีผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญของกิจการ มูลค่ากำไรต่อหุ้นสูงสุดจะให้ความหมายที่มากกว่ากำไรสูงสุด

4 จุดมุ่งหมายของกิจการ
กล่าวไว้ว่า ในการดำเนินธุรกิจอาจมีจุดมุ่งหมาย หลายประการพอสรุปได้ ดังนี้ 1. กำไร (Profit 2. ความสามารถทำกำไร (Profitability) 3. รายได้ต่อหุ้น (Earning per share) 4. ความมั่งคั่งสูงสุด (Wealth Maximization)

5 เป้าหมายของผู้จัดการ
ผู้บริหารทางการเงินเพื่อผลประโยชน์ของกิจการตามที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสังคมโดยส่วนรวมด้วย คือ ผู้จัดการทำงานให้ได้ผลดีต่อเจ้าของทุน ลูกค้า พนักงานของธุรกิจและสังคม ส่วนรวมซึ่งอาจแบ่งออกได้ ดังนี้ การบริการ (Service) ความเจริญเติบโตของธุรกิจ (Growth) ความสามารถทำกำไร (Profitability) การดำรงอยู่ของธุรกิจ (Concerning) ความพอใจ (Satisficing)

6 บทบาทที่เป็นหัวใจสำคัญของการเงิน
ธุรกิจไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ต้องมีผู้รับผิดชอบจัดการด้านการเงินซึ่งมีระดับในการ รับผิดชอบที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดของธุรกิจและความสามารถของผู้บริหารการเงิน 1.เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น (OWNER PREFERENCE) 2.วัตถุประสงค์ของธุรกิจ(FIRM OBJECTIVES) 3.ทัศนคติและการตัดสินใจ (ATTITUDES AND DECISIONS) 4.สังคม (SOCIETY)กฎหมาย (LEGSL)เศรษฐกิจ(ECOOMIC) และสภาพแวดล้อม(ENVIRONMENTT) 5. นโยบายเพื่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์(POLICIES TO ACHIEVE

7 หน้าที่หลักของฝ่ายการเงินในองค์การธุรกิจ
หน้าที่หลักในองค์การธุรกิจที่การเงินต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง คือ 1. การเงินและการลงทุน 2. การบัญชีและการควบคุม 3. การพยากรณ์และการวางแผนระยะยาว 4. การกำหนดราคา การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายราคา 5. หน้าที่อื่น ๆ เช่น การให้กู้ยืมเงิน การประกันภัย และแผนการจูงใจ

8 หน้าที่ของผู้บริหารการเงิน (Financial Manager)
หน้าที่ของผู้บริหารการเงินไว้ว่า ในปัจจุบันหน้าที่ของความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงินได้พัฒนาและก้าวหน้าขึ้นมาก เดิมหน้าที่ของผู้บริหารเงินเพียงบันทึกรายการทางการเงินทั้งหมดให้เป็นไปตามความเป็นจริง ซึ่งอาจแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารงานการเงินได้ ดังนี้ 1. วางแผนและควบคุมทางการเงิน 2. จัดการควบคุมเกี่ยวกับทรัพย์สินของธุรกิจ 3. ตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน 4. ตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างของเงินทุน 5. จัดการเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินของกิจการ ราคาหุ้น และทรัพย์สินของกิจการ

9 สรุป นอกเหนือจากหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้จัดการการเงินจำเป็นจะต้องรอบรู้ในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น บัญชี เศรษฐศาสตร์ เป็นพื้นฐานอีกด้วย และปัจจุบันนี้ได้นำวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) มาใช้เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า การตัดสินใจทางการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งและเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารชั้นสูง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการตัดสินใจทางการเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของกิจการ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google