ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
6
ชื่อเรื่องวิจัย ความสุขมวลรวมของครูและนักเรียนวิทยาลัย
เทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ชื่อผู้วิจัย อาจารย์พิมพ์ใจ เขียวขาว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
7
ความเป็นมาและปัญหาวิจัย
จากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งเน้นการสร้างระบบจัดการ เพื่อใหเกิดการบริโภคสูงสุด จะเป็นแรงผลักดันมนุษย์ให้เกิดการแข่งขันและการบริโภค จนละเลยเรื่องของจิตใจและศีลธรรมเพราะเป็นเรื่องคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ มีความเชื่อว่าหากบริโภคมากก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้น โดยมองข้ามการทํางานที่ซับซ้อนในจิตใจของมนุษย์ พื้นฐานของความเชื่อเรื่องระบบตลาดทําให้เกิดความเขาใจผิด คือยังไม่เขาใจว่าอะไรทําให้มนุษย์มีความสุขอย่างแท้จริง
8
ความเป็นมาและปัญหาวิจัย (ต่อ)
หากพิจารณาถึงหลักธรรมทางศาสนาและการปฏิบัติของแต่ละศาสนาแล้ว จะพบว่าความสุขเป็นประสบการณ์ที่เกิดจากภายในจิตใจมนุษย์ของทุกคน หากได้รับการพัฒนาจิตใจก็จะพบความบริบูรณ์ ความพึงพอใจ เกิดการแบงปันกับผู้อื่น ปราศจากการแข่งขันพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (นาวาตรีภูวดล ศิริพงษ์ รน., 2553)
9
ความเป็นมาและปัญหาวิจัย (ต่อ)
จากปัญหาดังกล่าววิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ได้คำนึงถึงความสุขของครูและนักศึกษา จึงได้ดำเนินการสำรวจในเรื่องความสุขมวลรวมของครูและนักศึกษา เพื่อที่วิทยาลัยจะได้ทราบถึงระดับความสุขมวลรวมของครูและนักศึกษา
10
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objectives)
1. เพื่อศึกษาระดับความสุขมวลรวมของครูและนักศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) 2. เพื่อเป็นแนวในการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความอยู่เย็นเป็นสุขของครูและนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน
11
กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยได้กรอบแนวคิด ดังนี้
12
ผลการวิจัย ปัจจัยส่วนบุคคลของครูและนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ( SBAC ) พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ มีอายุต่ำกว่า ปี คิดเป็นร้อยละ นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ มีระดับการศึกษาปวช. คิดเป็นร้อยละ มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ มีรายได้พอกับรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านตนเอง คิดเป็นร้อยละ ไม่ได้ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 55.04
13
ผลการวิจัย (ต่อ) ความสุขมวลรวมของครูและนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บริหารธุรกิจ ( SBAC ) โดยรวม พบว่า ความสุขมวลรวมของครูและนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ( SBAC ) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย= 0.71)
14
ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความสุขมวลรวมของนักศึกษาในระดับชั้นอื่น ๆเพื่อพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมของวิทยาลัยฯให้นักศึกษามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมีความปลอดภัยและปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม มีความภูมิใจในตนเอง มีสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นปัจจัยผลักดันให้นักศึกษามีความสุขมากขึ้น แบบสอบถามที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้เป็นแบบสอบถามในการวิเคราะห์ความสุขมวลรวมของวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ต่อไป ควรสนับสนุนให้มีการทำวิจัยในเรื่องความสุขมวลรวมโดยใช้หลักธรรมา- ภิบาลในการปกครองของผู้นำทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.