งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้สื่อแบบฝึกทักษะภาพสาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้สื่อแบบฝึกทักษะภาพสาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้สื่อแบบฝึกทักษะภาพสาม
ชื่อเรื่อง การใช้สื่อแบบฝึกทักษะภาพสาม มิตินำเสนอโดยpower pointเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่องระบบปั๊มดีเซลแบบคอมมอนเรล วิชางานเครื่องยนต์ดีเซล รหัส ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ปีที่ 1 สาขาวิชางานยานยนต์ ชื่อผู้วิจัยนายสุรศักดิ์ สืบภู่ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง จ. ราชบุรี

2 ปัญหาการวิจัย  จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่าผู้เรียนวิชางานเครื่องยนต์ดีเซลของสาขาวิชางานยานยนต์ที่ผู้วิจัยสอนอยู่นี้มีอุปสรรคการอธิบายการทำงานและการตรวจเช็คระบบปั๊มดีเซลแบบคอมมอนเรล ทำให้ประสิทธิภาพการเข้าใจบทเรียนไม่ดีพอ ผู้วิจัยได้ศึกษาสื่อการสอนพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(power point)น่าจะนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อแบบฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้ จึงได้ทำวิจัยการใช้สื่อชุดนี้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิชางานเครื่องยนต์ดีเซล สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิชางานเครื่องยนต์ดีเซล

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนจากการใช้สื่อ แบบฝึกทักษะภาพ3มิตินำเสนอโดยpower pointเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องระบบปั๊มดีเซลแบบคอมมอนเรล วิชางานเครื่องยนต์ดีเซลรหัสวิชา 2101 – 2102 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ระดับ ปวช.ปีที่ 1 สาขาวิชางานยานยนต์

4 การใช้สื่อแบบฝึกทักษะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชางานเครื่องยนต์ดีเซล
กรอบแนวความคิดในการวิจัย การใช้สื่อแบบฝึกทักษะ ภาพ 3 มิตินำเสนอโดย power point ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชางานเครื่องยนต์ดีเซล ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้น ปวช.1/1วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 5 จังหวัดราชบุรี จำนวน 20คน

6 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ชุดๆละ 20 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ ครูผู้สอนได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ ได้แก่ ตรวจสอบความตรง ความเป็นปรนัย ความเชื่อมั่น อำนาจจำแนก และความยากง่าย

7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.ค่าสถิติการวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าสถิติดังนี้ สำหรับการทดสอบสมมติฐานการวิจัย  ค่าเฉลี่ย ใช้ในการวิเคราะห์ระดับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้ในการวิเคราะห์การกระจายของคะแนน  ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) ใช้ตรวจสอบ ประสิทธิภาพ  ค่า t-test (Dependent) ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของ คะแนนก่อน เรียนและหลังเรียน 2. ค่าสถิติสำหรับการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ค่า IC ใช้ตรวจสอบความตรงและความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ  ค่า r (วิธีสอบซ้ำ Test – retest) ใช้ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ค่า p และค่า r ใช้ตรวจสอบอำนาจจำแนกและความยากง่าย

8 การเปรียบเทียบความแตกต่างของการทดสอบก่อนการเรียนและหลังเรียนวิชางานเครื่องยนต์ดีเซล ( ) ของนักเรียนชั้นปวช.1 สาขาวิชางานยานยนต์ เรื่องระบบปั๊มดีเซลแบบคอมมอนเรล การ ประเมินผ ล N D D2 t-test ก่อนเรียน- หลังเรียน 20 213 45369 ** **ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

9 สรุปผลการวิจัย พบว่าเมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย t-test พบค่า t = ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง 99 % ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นปวช1/1 สาขางานยานยนต์ วิชางานเครื่องยนต์ดีเซล( )ที่เรียนด้วยวิธีการสอนตามความคาดหวังของนักเรียนมีความแตกต่างกัน ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สื่อแบบฝึกทักษะภาพ3มิตินำเสนอโดย power point และวิธีการสอนตามความคาดหวังของนักเรียนช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

10 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1.ครูผู้สอนควรจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่สามารถให้นักเรียนเข้าใจง่ายๆ เกิดความรู้สึกน่าเรียน 2.ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญในการเรียนกับนักเรียนทุกคนครูผู้สอนควรหาเทคนิคการสอน การบรรยายโดยการใช้สื่อ3มิติ นำเสนอโดย power point ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ และโน้มน้าวให้เห็นถึงความสำคัญของวิชางานเครื่องยนต์ดีเซล มีความกระตือรือร้น มีความคาดหวังที่จะเรียนรู้และได้เรียนรู้ตามความคาดหวัง


ดาวน์โหลด ppt การใช้สื่อแบบฝึกทักษะภาพสาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google