ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงการออกแบบวางผังแม่บท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิศวกรรมโยธา โครงการออกแบบวางผังแม่บท เขตการศึกษาสวนดอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
หมุดควบคุมถาวร ในพื้นที่โครงการ ๑๘ หมุด
แผนที่ภูมิประเทศจากการสำรวจรังวัด มาตราส่วน ๑ : ๒,๐๐๐ ที่มีรายละเอียดทางราบของอาคารสิ่งปลูกสร้าง สาธารณูปโภคต่างๆ 320.50 312.70 หมุดควบคุมถาวร ในพื้นที่โครงการ ๑๘ หมุด พื้นที่สำรวจ เนื้อที่รวมประมาณ ๔๐๕-๓-๙๑ ไร่ ค่าระดับพื้นที่ทั่วไป ๓๑๓.๐-๓๒๐.๐ ม.รทก.
3
ถนนในพื้นที่โครงการ ยาวทั้งสิ้น ๘
ถนนในพื้นที่โครงการ ยาวทั้งสิ้น ๘.๗๘ กิโลเมตร เป็นถนนประเภทและขนาดต่างๆ ดังนี้ -ถนนคอนกรีต ขนาดกว้าง ๕ - ๖ เมตร ยาวรวม ๒.๒๐ กิโลเมตร คิดเป็น ๒๕ %ของความยาวถนนรวม -ถนนคอนกรีต ขนาดกว้าง ๗ - ๘ เมตร ยาวรวม ๐.๖๘ กิโลเมตร คิดเป็น ๘ % ของความยาวถนนรวม -ถนนลาดยาง ขนาดกว้าง ๔ - ๕ เมตร ยาวรวม ๔.๖๐ กิโลเมตร คิดเป็น ๕๒ % ของความยาวถนนรวม -ถนนลาดยาง ขนาดกว้าง ๖ - ๘ เมตรยาวรวม ๑.๑๐ กิโลเมตร คิดเป็น ๑๓ % ของความยาวถนนรวม -ถนนชั่วคราว ผิวหินคลุก-ลูกรัง ขนาดกว้าง๔ –๕ ม.ยาวรวม๐.๒๐ ก.ม.หรือ๒% ของความยาวถนนรวม
6
เกณฑ์การวิเคราะห์ทางอุทกวิทยา Q = ciA
การประมาณการน้ำท่าในพื้นที่โครงการ ใช้วิธี Rational method ซึ่งมีสูตรการคำนวณ ดังนี้ Q = ciA เมื่อ Q = อัตราการไหลสูงสุดเป็น ลบ.ม. c = สัมประสิทธิ์ของน้ำท่า i = ความเข้มข้นของฝนเป็น มม./ชม. A = พื้นที่รับน้ำหรือพื้นที่ระบายน้ำเป็น ตร.กม. เกณฑ์การคำนวณทางชลศาสตร์ การคำนวณการไหลของน้ำในท่อแบบไม่เต็มท่อและการไหลในรางเปิด ใช้สูตรของ Manning ดังนี้ Q = 1/n A R2/3 s1/2 เมื่อ Q = อัตราการไหล เป็น ลบ.ม./วินาที A = พื้นที่หน้าตัดของการไหล เป็น ตร.ม. R = รัศมีทางชลศาสตร์ของหน้าตัดของการไหล เป็น ม. (R =A/P) P = ความยาวของเส้นรอบเปียก เป็น ม. s = ความลาดชันของเส้นลาดพลังงาน เป็น ม./ม. n = สัมประสิทธิ์ของการไหล
7
-ค่า n สำหรับท่อหรือรางคอนกรีต ใช้ ๐.๐๑๕
-ความลาดชันของเส้นลาดพลังงานจะมีค่าเท่ากับ ความลาดชันของท้องคลอง ท่อ หรือท้องรางเปิด - ความเร็วต่ำสุด ของการไหลในท่อหรือในรางเปิด กำหนดให้มีค่าไม่ต่ำกว่า ๐.๙๐ เมตรต่อวินาที เมื่อน้ำไหลเต็มท่อพอดี เพื่อป้องกันการตกตะกอนในท่อ - ระดับน้ำในท่อและรางเปิด กำหนดให้ไหลเต็มท่อพอดีที่อัตราการไหลสูงสุดที่คำนวณได้จาก Rational method ส่วนระดับน้ำในรางเปิดจะกำหนดให้อยู่ต่ำกว่าขอบตลิ่งไม่น้อยกว่า ๑๕% ของความลึกของน้ำที่ออกแบบ ทั้งนี้ได้พิจารณาความลาดเอียงของทางน้ำเดิมที่จะทำการปรับปรุงประกอบด้วย - ในกรณีที่ท่อมีการเปลี่ยนขนาด จะกำหนดให้สันบนของท่อ (Crown) อยู่ในระดับเดียวกัน ส่วนในกรณีของรางเปิดจะกำหนดให้ระดับน้ำในรางเปิดที่จุดเปลี่ยนขนาดหรือความลาดชัน อยู่ในระดับเดียวกัน - ขนาดเล็กสุดของท่อระบายน้ำกำหนดให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า ๐.๔๐ เมตร และ ความกว้างน้อยที่สุดของรางระบายน้ำแบบเปิด กำหนดไว้ให้ไม่ต่ำกว่า ๐.๓๐ เมตร - การคำนวณการไหลของน้ำผ่านท่อลอด สะพาน หรืออาคารทางชลศาสตร์อื่นๆ เช่น Drops , Chute , Transition และอื่นๆ ใช้เกณฑ์การคำนวณออกแบบตามเอกสารอ้างอิง ดังต่อไปนี้ USBR Design Standard No.3 , USBR , Denver , Colorado , 1960 USBR Design of Small Dam , USBR , Washington DC , 1974 USBR Design of Small Canal Structure , USBR , Denver , colorado , และ Handbook of Hydraulics , by King , H.W. , New York , 1954 ข้อกำหนดอื่นๆ - การกำหนดระดับต่ำสุดของท้องรางระบายน้ำ ที่บริเวณจุดระบายน้ำออกสู่อ่างหรือหนองน้ำจะต้องสอดคล้องกับระดับท้องท่อลอดและสะพานและสอดคล้องกับระบบระบายน้ำทางด้านท้ายน้ำ - ระดับท้องท่อหรือรางระบายน้ำจะต้องอยู่ต่ำกว่าดินเดิม และระดับดินถมหลังท่อต้องไม่น้อยกว่า ๐.๖๐ เมตร การเลือกชนิดโครงสร้างการระบายน้ำ พิจารณาจากประสิทธิภาพการใช้งานที่ดี , อายุการใช้ งานที่ยาวนานและราคาที่ต่ำที่สุดหรืออีกนัยหนึ่งคือการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
8
ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาการไหลของน้ำบนผิวดิน - ความลาดชันเฉลี่ย – ลักษณะพื้นผิว - ระยะการไหล
ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้น – ช่วงเวลานาน – ความถี่ของฝน อ.เมืองเชียงใหม่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.