งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสำรวจปากแม่น้ำปัตตานีท่าเทียบเรือ อบต.บานา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสำรวจปากแม่น้ำปัตตานีท่าเทียบเรือ อบต.บานา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสำรวจปากแม่น้ำปัตตานีท่าเทียบเรือ อบต.บานา
๑. วันที่สำรวจ ๐๘๑๖๐๐ ก.ค. ๕๔ สำรวจโดยเรือ ต.๙๕ ๒. ลักษณะน้ำ/ลม/มาตราน้ำ/ข้างขึ้น-แรม น้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ ๔.๒ เมตร ระดับน้ำลงต่ำสุดตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ทะเลเรียบ ลมสงบ ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข ๒๓๐ (อศ.) ตำบลที่ ร่องน้ำปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี ทุ่นไฟปากร่อง แลต ๐๖ องศา ๕๕.๙ ลิปดา น. ลอง ๑๐๑ องศา ๑๔.๒ ลิปดา อ.

2 รูปที่ ๑ ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณปากแม่น้ำปัตตานี

3 รูปที่ ๒ ภาพถ่ายแผนที่บริเวณปากแม่น้ำปัตตานี

4 ลักษณะร่องน้ำ ร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำปัตตานีมีความลึกโดยเฉลี่ย ๔-๕ เมตร ที่ระดับน้ำขึ้น สูงสุด (๑.๒ เมตร) บริเวณปากร่องน้ำจนถึงบริเวณคุ้งน้ำก่อนเข้าบริเวณท่าเรือ อบต. ฯ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๘– ๓ เมตร บริเวณคุ้งน้ำหน้าท่าเรือ อบต. ฯ มี ความลึกเฉลี่ย ๒ – ๒.๕ เมตร บริเวณท่าเรือ อบต. ฯ มีการสร้างเขื่อนกันคลื่น ฝั่งทิศเหนือเป็นเขื่อนปูนยาวประมาณ ๓๐๐ เมตรมีทุ่นเขียวกำกับร่องน้ำที่ ปลายเขื่อน(ปัจจุบันเขื่อนปูนได้พังลง เหลือเพียงซากให้พอเห็น มีทุ่นไฟปาก ร่องจำนวน ๑ ทุ่น และเข็มหลักในการนำเรือเข้าร่องน้ำ เข็มประมาณ ๑๑๐ ตามรูปที่ ๑ และ รูปที่ ๒

5 รูปที่ ๓ ภาพถ่ายปากร่องบริเวณทุ่นไฟปากร่อง

6 รูปที่ ๔ ภาพถ่ายทุ่นแดง ทุ่นเขียว

7 ที่หมายเวลากลางคืน มี ทุ่นไฟปากร่อง ๑ ทุ่น มีไฟกำกับร่องน้ำที่แนวสันทราย(ทุ่นแดง หมายเลข ๒) ,ทุ่นเขียว ,ทุ่นแดงหมายเลข ๔ และทุ่นเขียวปลายเบรก ลักษณะท่าเรือ ท่าเทียบเรือ อบต.บานา ปัตตานี มีความลึก ประมาณ ๑.๘-๓ เมตร ท่าเรือเป็นคอนกรีต รูปตัว L ขนาดโดยประมาณ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐๐ เมตร ภาพร่างบริเวณท่าเทียบเรืออบต.บานา จ.ปัตตานี แสดงใน รูปที่ ๕ และ ๖

8 รูปที่ ๕ ภาพถ่ายบริเวณท่าเทียบเรือ อบต.บานา

9 รูปที่ ๖ ภาพร่างบริเวณท่าเทียบเรือ อบต.บานา
รูปที่ ๖ ภาพร่างบริเวณท่าเทียบเรือ อบต.บานา

10 พื้นท้องทะเล โคลนปนเลน การนำเรือเข้าเทียบ/ออกจากเทียบ การนำเรือเข้าร่องน้ำปัตตานีจะมีทุ่นกำกับร่องน้ำจำนวน ๔ ทุ่น เมื่อถึง บริเวณทุ่นไฟปากร่อง เข็มหลักในการนำเรือเข้าร่องน้ำ คือ เข็ม ๑๑๐ ระยะทางประมาณ ๘๐๐ หลา จะมีทุ่นแดงหมายเลข ๒ กำกับบริเวณแนว สันทรายแหลมตาชี และเมื่อผ่านทุ่นแดงหมายเลข ๒ แล้วให้เปลี่ยนเข็ม ไปทางขวาประมาณ ๓๐ องศา จะพบทุ่นเขียวกำกับร่องน้ำด้านขวาและ ทุ่นแดงหมายเลข ๔กำกับร่องน้ำด้านซ้าย ช่วงนี้มีระยะทางประมาณ ๗๐๐ หลา เข็มประมาณ ๑๕๕ เมื่อผ่านทุ่นแดงหมายเลข ๔ ทางกราบซ้ายแล้ว จะพบทุ่นเขียวปลายเบรกทางกราบขวาและจะพบท่าเทียบเรือ อบต.บานา อยู่ทางด้านซ้าย

11 ข้อควรระมัดระวัง ช่วงทุ่นไฟปากร่องถึงทุ่นแดงหมายเลข ๔ น้ำยังลึกอยู่ เมื่อถึงทุ่นแดง หมายเลข ๔ แล้วให้ชิดร่องด้านซ้ายให้ห่างทุ่นแดงหมายเลข ๔ ประมาณ ๕๐ หลาเพราะร่องด้านขวาตื้นเป็นระยะทางยาวตั้งแต่ทุ่นเขียวถึงบริเวณท่า เทียบเรือ อบต.บานา และเมื่อถึงท่าเทียบเรือ อบต.บานาแล้วช่วงบริเวณที่ เรือน้ำมันจอดและบริเวณที่เลยท่าเทียบเรือไปน้ำจะตื้น

12 รูปที่ ๗ ภาพบริเวณร่องน้ำด้านขวา และข้อระมัดระวัง

13 รูปที่ ๘ ภาพบริเวณท่าเทียบเรือ และข้อระมัดระวัง

14 ๔. การติดต่อ วิทยุ ไม่มี โทรศัพท์ คุณ วงษ์เทพ ตระกูลมณี รายชื่อ คุณ วงษ์เทพ ตระกูลมณี เบอร์ติดต่อสำคัญในพื้นที่ ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำ ไม่มี(ต้องเข้าไปรับน้ำจากแพปลา) ไฟฟ้า ไม่มี โทรศัพท์ ไม่มี


ดาวน์โหลด ppt การสำรวจปากแม่น้ำปัตตานีท่าเทียบเรือ อบต.บานา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google