ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKamchana Sripituksakul ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
กรอบความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างกรอบการเจรจาความตกลงด้านมาตรฐานและการตรวจสอบและรับรองของอาเซียน วันที่ 28 กันยายน 2553 ณ โรงแรมสยามซิตี้
2
ขอบเขตงานของคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
(TERMS OF REFERENCE OF THE PRODUCT WORKING GROUP ON PREPARED FOODSTUFF)
3
วัตถุประสงค์ : ขจัดข้อกำหนดทางเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า
แลกเปลี่ยนข้อมูลมาตรฐาน กฎ ระเบียบ ตั้ง ASEAN Consultative Network บนเครือข่ายกลางด้านความปลอดภัยอาหารของอาเซียน 2. ทบทวน วิเคราะห์ และ เปรียบเทียบกฎหมาย ตั้งคณะทำงานด้านการปรับประสาน (Task Force on Harmonization) 3. ระบุ area ที่จะทำการปรับประสาน ข้อกำหนดเทคนิคฯ และ MRA เริ่มการปรับประสานข้อกำหนด.. ทำ MRA – อาหารกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน... 4. จัดทำ MRA นำไปใช้ และตรวจติดตาม ตั้งคณะทำงานการจัดทำ MRA (Task Force on Development of MRA) 5. ระบุ infrastructure ที่จำเป็นและ สร้างความเชื่อมั่นในผลการตรวจและทดสอบ โครงการความร่วมมือ EC-ASEAN, ตั้ง ASEAN Reference Laboratories
4
ระบุ area ที่จะทำการปรับประสาน ข้อกำหนดเทคนิคฯ และ MRA
เริ่มการปรับประสานข้อกำหนดทางเทคนิค ASEAN Common Requirement 3 เรื่อง HACCP (ไทย- อยู่ระหว่างดำเนินการ) Food Registration (อินโดนีเซีย- อยู่ระหว่างดำเนินการ) Harmoniztion of Food Safety Standards MRA สำหรับ Low risk products (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
5
“พิกัดอัตราภาษีศุลกากร 16-23 ”
ขอบเขตของการเจรจา ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่มีการผลิตและค้าขายภายในภูมิภาคอาเซียน การเลือกสินค้าที่จะลงนามระหว่างคู่ภาคีจะเน้นสินค้าที่เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศ “พิกัดอัตราภาษีศุลกากร ”
6
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการเจรจา
เพื่อจัดทำความตกลงยอมรับร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของอาเซียนที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขจัดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของไทยในภูมิภาคอาเซียน ปรับประสานมาตรฐานความปลอดภัยและข้อกำหนดด้านเทคนิคเข้าหากันเพื่อลดอุปสรรคทึ่เกิดจากมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบโดยทางตรงหรือทางอ้อมต่อการค้าและการเข้าถึงตลาด (เป้าหมาย) เจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมกับประเทศ คำนึงถึงความพร้อมของกฎหมายภายในประเทศ มีระยะเวลาในการปรับตัวและมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
7
อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
วัตถุประสงค์ เน้นให้ใช้เฉพาะมาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคที่สอดคล้องกับองค์การการค้าโลกมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบระหว่างกัน เพื่อให้จัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8
ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกทางการค้า
ส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางด้านวิชาการและพัฒนาความร่วมมือทางการค้าระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนโดยการยอมรับผลการตรวจสอบรับรองร่วมกัน และใช้กฎระเบียบทางเทคนิคและทางด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล หรือเท่าเทียมกันระหว่างคู่ภาคี
9
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (2558) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 วรรค 2 รัฐสภาให้ความเห็นชอบ การจัดทำความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมสำหรับ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของอาเซียน คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
10
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.