งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคำนวณต้นทุนผลผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคำนวณต้นทุนผลผลิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคำนวณต้นทุนผลผลิต
ปีงบประมาณ 2550

2 แนวความคิดของระบบต้นทุนกิจกรรม - ABC
กิจกรรม หมายถึง งานหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของหน่วยงาน ซึ่งสามารถกำหนดขอบเขต ลักษณะ และปริมาณของงาน ตลอดจนสามารถวางแผน และควบคุมต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากงานนี้ได้ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิด ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานดังกล่าว เพื่อให้กระบวนการทำงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ฝ่ายบริหารต้องจัดหาทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการดำเนินงาน ทรัพยากร กิจกรรม ต้นทุน ผลิตภัณฑ์ / บริการ

3 การวิเคราะห์กิจกรรม ศูนย์ดำเนินกิจกรรมอะไรบ้าง ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ใช้ทรัพยากรอะไรในการดำเนินการกิจกรรม แรงงาน วัตถุดิบ / supplies อุปกรณ์ / เครื่องมือเครื่องใช้ ความรู้ต่าง ๆ ฯลฯ ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมเท่ากับเท่าใด กิจกรรมนั้นเกิดคุณค่าแก่หน่วยงานหรือไม่

4 การวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน
ตัวผลักดันต้นทุน (Cost driver) หมายถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุน Volume – based cost drivers เช่น หน่วยผลิต ชั่วโมงการทำงาน หน่วยนับปริมาณ Transaction – based cost drivers เช่น ความยากง่ายในการปฏิบัติงาน ฯลฯ นิยมวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุนตามลำดับขั้นกิจกรรมเป็น 4 ระดับดังนี้ ระดับหน่วยผลิต (Unit level) ระดับกลุ่มงาน หรือขนาดคำสั่งในการทำงาน (Batch level) ระดับกระบวนการทำงาน (Process level) ระดับกิจกรรมโดยรวม (Organizational level)

5 ขั้นตอนในการคำนวณต้นทุนกิจกรรม
กำหนดสิ่งที่จะคิดต้นทุน (Cost objects) การวิเคราะห์กิจกรรม/การจัดทำพจนานุกรมกิจกรรม การกำหนดตัวผลัดดันกิจกรรม/การลงน้ำหนักงาน หรือสัดส่วนในการทำกิจกรรม การเก็บรวบรวม และระบุต้นทุนในการทำกิจกรรม การเก็บรวบรวมปริมาณงานของกิจกรรม หรือผลผลิตของกิจกรรม การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรม/ผลผลิตของหน่วยงาน

6 ต้นทุนรวมทางตรง (Total Direct Cost)
(TDC) Labor Cost (LC) Material Cost (MC) Capital Cost (CC) *ต้องกระจายต้นทุนของหน่วยงานสนับสนุนอื่น ต้นทุนดำเนินการ (Operating Cost)

7 การกระจายต้นทุน การกระจายต้นทุน คือ การเคลื่อนย้ายต้นทุนของหน่วยต้นทุนที่ทำหน้าที่สนับสนุน มาสู่หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดผลผลิตของหน่วยงาน เหตุผลที่สำคัญคือ เพื่อให้ต้นทุนทั้งหมดมาตกอยู่ในหน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดผลผลิตของหน่วยงาน ซึ่งทำให้คำนวณต้นทุนต่อหน่วยได้อย่างครอบคลุม ไม่มีต้นทุนส่วนใดตกหล่น เพื่อสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ในการสนับสนุนซึ่งกันและกันของหน่วยต้นทุนต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพในการทำงานได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

8 ข้อควรคำนึงในการกระจาย
วิธีการกระจายที่แตกต่างกันให้ผลลัพธ์ แตกต่างกันเพียง ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 2 สิ่งสำคัญกว่าคือการใช้เกณฑ์การกระจายที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์แตกต่างกันมากกว่าวิธีการกระจาย ดังนั้น จึงควรพยายามหาเกณฑ์การกระจายที่เหมาะสมที่สุด

9 Q & A


ดาวน์โหลด ppt การคำนวณต้นทุนผลผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google