งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Introduction to Information and Communication Technology โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2 สารสนเทศ (Information)
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ MISA

3 สารสนเทศ คุณสมบัติ มีความถูกต้อง ความรวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
มีความสมบูรณ์ของข้อมูล มีความชัดเจนกะทัดรัด มีความสอดคล้องกับความต้องการ MISA

4 เทคโนโลยี (Technology)
เป็นการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้าง เทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ MISA

5 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล MISA

6 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญ 2 สาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือก การจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ กระบวนการจัดทำสารสนเทศประกอบด้วย การนำข้อมูลเข้าการประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล การนำข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล การแสดงผลข้อมูล MISA

7 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีโทรคมนาคม ช่วยให้การสื่อสารหรือการเผยแพร่สารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์ และควรที่จะสื่อสารได้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล (Data) ที่เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีโทรคมนาคมได้แก่ ระบบโทรทัศน์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสารสนเทศ ผู้รับสารสนเทศ MISA

8 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมืออยู่ตลอดเวลา เช่น การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การถอนเงินอัตโนมัติ (Automatics Teller Machine: ATM) ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) MISA

9 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย ทำให้สังคมมนุษย์จึงเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information Age) หรือยุคดิจิตอล (Digital Age) เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม MISA

10 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ ช่วยในการเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก ช่วยในการจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว MISA

11 เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคม
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต การสร้างความเสมอภาคในสังคม และการสร้างโอกาส การเรียนการสอนในสถานศึกษา การรักษาสิ่งแวดล้อม การป้องกันประเทศ การผลิตในอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม MISA

12 Digital Age (โลกยุคดิจิตอล)
โลกยุคดิจิตอลเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลกระทบโดยตรงกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไปทำให้ ขนาดของอุปกรณ์เล็กลง ประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น E-Commerce, E-Education MISA

13 E-Commerce การส่งข้อมูล สินค้าและบริการ หรือ การชำระเงิน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำธุรกรรม (Business Transaction) และการทำงานตามขั้นตอน (Workflow) ขององค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติ MISA

14 E-Commerce กับประโยชน์ต่อผู้บริโภค
เป็นแหล่งเลือกซื้อสินค้าและบริการนานาชนิดจากตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก ให้ความสะดวกที่จะคัดเลือกสินค้าและเปรียบเทียบราคาสินค้า และประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทาง สามารถรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหลากหลายแง่มุม เช่น รายละเอียดของสินค้า คุณภาพของสินค้า ข้อมูลผู้ผลิต รวมถึงยังสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ สินค้านั้นๆได้โดยตรงอีกด้วย ได้รับความสะดวกในการจัดส่ง เพราะสินค้าส่วนใหญ่จัดส่งถึงบ้าน MISA

15 ประเภทของ E-Commerce Business to Consumer (B to C) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค หรือ แบบขายปลีก มีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนไม่มากและมูลค่าการซื้อ-ขายแต่ละครั้งจำนวนไม่สูง การค้าแบบนี้มักชำระเงินด้วยบัตรเครดิต Business to Business (B to B) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท มีการสั่งซื้อสินค้าและมีมูลค่าการซื้อ-ขายแต่ละครั้งจำนวนสูง การค้าแบบนี้มักชำระเงินผ่านธนาคาร ในรูปของ Letter of Credit (L/C) หรือ ในรูปของ Bill of Exchange อื่นๆ MISA

16 ประเภทของ E-Commerce Business to Government (B to G) เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐ การค้าลักษณะนี้จะมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก Consumer to Consumer (C to C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลทั่วไป หรือ ระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยกันเอง ซึ่งการซื้อ-ขายนี้อาจทำผ่าน Web Site ที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เช่น การซื้อ-ขายในรูปของการประมูลสินค้า ที่ผู้ใช้แต่ละคนเอามาฝากขายไว้บน Web Site MISA

17 E-Education E-Education (การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์) คือ การส่งข้อมูลสื่อการศึกษา และการบริการ เช่น Course ware, ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และ การชำระลงทะเบียนเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) เป็นการทำงานตามขั้นตอนเป็นไปอย่างอัตโนมัติจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย เป็นเครื่องมือที่ช่วย สถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียน ลดค่าใช้จ่าย จากการใช้บริการผ่านเครือข่าย ช่วยให้ข้อมูลและการบริการที่รวดเร็ว ทันสมัย MISA

18 E-Education กับการเปลี่ยนแปลงโลกการศึกษา
ลดช่องว่างการแข่งขันระหว่างองค์กรหรือสถาบันการศึกษาทั่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้องค์กรสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนิน ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษามากขึ้น สร้างช่องทางการขยายการศึกษามากขึ้น เกิดการทำงานภายใต้คอนเซปต์ มหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น ทำให้เกิดแรงผลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น MISA

19 E-Education กับการเปลี่ยนแปลงโลกการศึกษา
เกิดการทำงานภายใต้คอนเซปต์ มหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาตลอดเวลา 24 ชั่วโมง สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น ทำให้เกิดแรงผลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น MISA

20 MISA

21 MISA

22 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-society)
การส่งเสริมสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (k - Society) และเป็นการเรียนรู้ผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e - Society) เป็นนโยบายที่จัดทำขึ้นมา เพื่อที่จะลดปัญหาช่องว่างทางดิจิตอล (Digital divide) ภายใต้โครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ให้มีความทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ สำหรับโครงการที่ดำเนินการไปแล้วนั้น อาทิ “โครงการอินเตอร์เนตตำบล” เป็นต้น MISA

23 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-society)
สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e - Society) เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย 5e ตามแผนแม่บททางเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย พ.ศ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือบริหารจัดการงานที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1. e - Government รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 2. e - Citizen ประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ 3. e - Society สังคมอิเล็กทรอนิกส์ 4. e - Education การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ 5. e - Industry อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ MISA

24 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-society)
พัฒนาสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งภูมิปัญญา” (Knowledge Base Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้มีเหตุผล มีคุณธรรม และภูมิปัญญาที่ดีเกิดขึ้นในสังคมไทย พัฒนาโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ความสามารถจากเครือข่ายสารสนเทศ อินเตอร์เนต พัฒนาโครงการอินเตอร์เนตตำบล ให้มีการขยายผล ให้มีข้อมูล และศูนย์บริการข่าวสาร ลงไปถึงระดับชุมชนและ หมู่บ้าน ดำเนินการควบคุม “เกมคอมพิวเตอร์” เพื่อให้เยาวชนมีการเล่นเกมที่เหมาะสมกับเวลา สนับสนุนให้มีการจัดระดับของ Web site เพื่อป้องกันเยาวชนจากข้อมูลที่ไม่เหมาะสม MISA

25 ความสอดคล้องระหว่าง (e - Society) กับ (e - Government)
ในการนี้ประชาชนจะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา ทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นการกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนศักยภาพของประเทศเพื่อเป็นทางลัดในการเข้าสู่การแข่งขันให้เท่าทันกับนานาประเทศ MISA

26 ความสอดคล้องระหว่าง (e - Society) กับ (e - Government)
ซึ่งหากรัฐบาลของประเทศใดขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสารสนเทศได้ช้าก็ยิ่งเสียโอกาสในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน การค้าขาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ ก็เท่ากับทำให้ประชาชนของประเทศนั้นเสียโอกาสอีกทางหนึ่ง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หากสามารถทำให้เกิดผล ปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ ก็จะสามารถเอื้อให้ยุทธศาสตร์อื่น ๆ ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น MISA


ดาวน์โหลด ppt โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google