ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 : บทนำ
2
1.2 เศรษฐศาสตร์คืออะไร ขอบเขตเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์
1.2 เศรษฐศาสตร์คืออะไร ขอบเขตเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ (Economics) คืออะไร นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ แยกตามจุดเน้นได้สองประเภท คือ 1. คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ 2. คำนิยามที่เน้นถึงความหามาได้ยากของทรัพยากร
3
คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ
“ศึกษาถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกินดีอยู่ดี” เอ็ดวิน แคนนัน (Edwin Cannan) “ศึกษาถึงสวัสดิการทางเศรษฐกิจ” อาร์เทอร์ ซี. พิกู (Arthur C. Pigou)
4
คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ
“ศาสตร์ว่าด้วยการดำรงชีวิตตามปกติของมนุษย์ โดยศึกษาการกระทำของสังคมและปัจเจกชน เฉพาะส่วนที่มี ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับความบรรลุความอยู่ดีกินดี และการใช้วัตถุปัจจัยเพื่อการอยู่ดีกินดีนั้น” อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall)
5
คำนิยามที่เน้นถึงความหามาได้ยากทรัพยากร
“ คือศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิต อันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามจุดประสงค์ อันมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ” ไลออนเนล ซี. รอบบินส์ (Lionel C. Robbins)
6
ถ้านิยามให้ครอบคลุมจุดเน้นทั้งสองด้าน อาจนิยามได้ว่า
ถ้านิยามให้ครอบคลุมจุดเน้นทั้งสองด้าน อาจนิยามได้ว่า เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้การผลิตและและการแบ่งปัน สินค้าและบริการ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสังคม จนบรรลุสวัสดิการสูงสุด
7
ความหมายของคำสำคัญๆ ในนิยาม
• สวัสดิการ • ความต้องการ • สินค้าและบริการ • ทรัพยากร
8
สวัสดิการ (Welfare) ในที่นี้หมายถึง
สวัสดิการทางเศรษฐกิจ (Economic Welfare) คือ ความพึงพอใจหรือความอยู่ดีกินดีของมนุษย์และสังคม
9
ความต้องการ (Wants) ความปรารถนาที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่จะสร้างหรือเพิ่มพูนสวัสดิการให้แก่ตน ความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปไม่มีขีดจำกัดหรือไม่มีสิ้นสุด
10
สินค้าและบริการ (Goods and Services)
คือ สิ่งที่จะสร้างความสุข ความพอใจ หรืออรรถประโยชน์ (Utility) ให้แก่มนุษย์ได้ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน อาจเรียกสั้น ๆ ว่า “ทรัพย์”
11
สินค้าและบริการ (ทรัพย์)
สินค้าและบริการ (ทรัพย์) ทรัพย์เสรี (Free Goods) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีปริมาณไม่จำกัด ไม่มีราคา ได้แก่ อากาศ แสงแดด น้ำทะเล ฝน เศรษฐทรัพย์ (Economics Goods) - มนุษย์สร้าง (ผลิต) ขึ้น มีปริมาณจำกัด มีราคา ได้แก่ หนังสือ นาฬิกา เสื้อผ้า รถยนต์
12
ทรัพยากร (Resources) ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ทรัพยากรการผลิต (Production Resources) คือ สิ่งที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการประเภทเศรษฐทรัพย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจัยการผลิต (Fact Of Production)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.