ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThanit Ahunai ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
33701 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 1
ภาพรวมและแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1 1
2
สาธารณกิจ การบริหารรัฐกิจ และรัฐประศาสนศาสตร์
สาธารณกิจ การบริหารรัฐกิจ และรัฐประศาสนศาสตร์ สาธารณกิจ (Public Affairs) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับชุมชน ถูกกำหนดขึ้นและนำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การบริหารรัฐกิจ (public administration) เป็นกระบวนการในการบริหารกิจกรรมต่างๆ ของรัฐ เพื่อให้สาธารณกิจต่างๆ ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐ รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ
3
ปรัชญา ของการบริหารงานภาครัฐ
1. ระดับการยอมรับสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีของมนุษย์ 2. การยอมรับในความสามารถและ ธรรมชาติของมนุษย์ 3. อำนาจและรูปแบบการปกครอง 4. ปรัชญาหรือข้อเท็จจริงที่เป็น ค่านิยมทางการบริหาร
4
รัฐประศาสนศาสตร์กับรัฐศาสตร์
1. การเมืองเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร 2. การรับนโยบายจากฝ่ายการเมืองไปปฏิบัติ 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในทาง การบริหาร 4. การนำทฤษฎีระบบมาใช้ในการวิเคราะห์
5
รัฐประศาสนศาสตร์กับนิติศาสตร์
1. สร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่รัฐและ การบริหารภาครัฐ 2. สร้างความชอบธรรมแก่การบริหารและ ดำเนินงานภาครัฐ 3. เป็นเครื่องมือรองรับการบริหารรัฐกิจ
6
รัฐประศาสนศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์
1. นำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ของโครงการ 2. นำมาใช้ในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน 3. นำมาใช้ในการพฤติกรรมการตัดสินใจของ ประชาชน 4. นำมาใช้ในการตัดสินใจของรัฐบาล 5. นำมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าสังคม 6. นำมาใช้ในตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารภาษีอากร
7
รัฐประศาสนศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ
1. การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ กลยุทธ์ 2. การบริหารงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ 3. การบริหารงานแบบบูรณาการ 4. การแปรรูปกิจกรรมของรัฐให้เป็น เอกชน (Privatization) 5. การให้ความสำคัญต่อ ระบบคุณภาพ
8
รัฐประศาสนศาสตร์กับจิตวิทยา
1. ใช้จูงใจในการทำงาน 2. การศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 3. การศึกษาทัศนคติ 4. นำไปใช้ในการบริหารและการ ทำงานของบุคคลในองค์การ
9
รัฐประศาสนศาสตร์กับสังคมวิทยา
1. เข้าใจสาเหตุและพฤติกรรมระหว่าง บุคคลในองค์การ 2. เข้าใจเรื่องขององค์การ 3. นำไปใช้ในการบริหารสภาพแวดล้อม ภายนอกองค์การ 4. ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสถาบันต่างๆ 5. นำไปใช้ในการบริหารความขัดแย้ง
10
แนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
1. ใช้มิติของเวลา - ข้อดี ง่ายในการเห็นพัฒนาการของความรู้ที่เกิดขึ้น - ข้อจำกัด ไม่เน้นการประยุกต์ใช้ 2. ใช้มิติขอบเขตและจุดมุ่งเน้น - ข้อดี เห็นปริมณฑลและจุดเน้นของการศึกษาที่ชัดเจน และอาจใช้ทฤษฎีหลากหลายมาใช้ร่วมกันได้ - ข้อจำกัด ไม่เห็นพัฒนาการของความรู้ตามช่วงเวลา 3. ใช้มิติหน่วยวิเคราะห์ แบ่งเป็นโครงสร้าง บุคคล กระบวนการ ชุมชน ประชาชน และสภาพแวดล้อม - ข้อดี บูรณาการทฤษฎีหลากหลายมาใช้ร่วมกันได้ในหน่วยวิเคราะห์นั้น - ข้อจำกัด ไม่เห็นความชัดเจนของพัฒนาการของความรู้ในแต่ละช่วงเวลา
11
ขอบเขตและสถานภาพ ของรัฐประศาสนศาสตร์
1. นโยบายสาธารณะ - การกำหนด การนำไปปฏิบัติ และการประเมินผล 2. วิทยาการจัดการ เน้นการจัดการเชิงปริมาณ เพื่อตัดสินใจและแก้ไขปัญหา 3. ทางเลือกสาธารณะ การวินิจฉัยสั่งการโดยอาศัยความรู้ทาง เศรษศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในภาครัฐได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 4. การบริหารการพัฒนา เป็นการบริหารเพื่อการพัฒนา ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหาร เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ 5. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ นำแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการบริหาร
12
สถานภาพ ของรัฐประศาสนศาสตร์
1. เป็นศาสตร์และศิลป์ 2. มุ่งเน้นการบริหารภาครัฐ 3. เป็นสหวิทยาการมากขึ้น 4. นำไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น 5. กึ่งวิชาชีพ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.