ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยVidura Praves ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการของบุคคลในสังคมทั้งในด้านสิ่งบริโภคและอุปโภค ในสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีระเบียบแบบแผนในการผลิต การจำหน่ายการบริโภคอุปโภคที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสังคม เช่น สังคมที่มีประชากรมากและมีทรัพยากรจำกัด อาจต้องใช้วิธีการแบ่งปันทรัพยากรกันกินและใช้
2
ความหมายของสถาบันเศรษฐกิจ
ความหมายของสถาบันเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึง แบบของการคิดการกระทำเกี่ยวกับเรื่องการผลิตสินค้าและอาหารต่างๆ รวมทั้งการแจกจ่ายสินค้าและการให้บริการต่างๆ ให้แก่สมาชิกในสังคม สถาบันเศรษฐกิจเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ลูกจ้าง นายจ้าง เจ้าของโรงงาน ธนาคารและผู้ผลิตสินค้าและบริการในเรื่องต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามจากความหมายข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึง กลุ่มของบรรทัดฐานที่นำเอามาเป็นแนวทางในการทำการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภค เพื่อก่อให้เกิดการกินดีอยู่ดี โดยมีกลุ่มสังคมต่างๆรับผิดชอบโดยปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่สังคมได้วางไว้ สถาบันเศรษฐกิจมีเป้าหมายอยู่ที่การกินดีอยู่ดีของประชาชน ดังนั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงเกี่ยวข้องกับกรรมวิธีที่จะก่อให้เกิดความมั่งมี การกินดีอยู่ดี หรืออย่างน้อยก็เพื่อการมีกินมีใช้ของประชาชน กรรมวิธีดำเนินการมักขึ้นอยู่กับปรัชญาทางเศรษฐกิจของผู้มีบทบาทอำนาจหน้าทีทางเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ เพื่อจะกำหนดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจควรจะดำเนินไปในรูปแบบใด จะให้ประชาชนมีสิทธิในการดำเนินการผลิตเอง มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน รัฐจะเข้าควบคุมหรือปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอย่างเสรี ฯลฯ เหล่านี้เป็นวิธีการซึ่งมีเป้าหมายคือการมีกินมีใช้
3
องค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญ 1. ทรัพย์สิน 2. สัญญาหรือนิติกรรม 3. อาชีพ 4. การแลกเปลี่ยน 5. ตลาด
4
1. ทรัพย์สิน ทรัพย์สิน เป็นองค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายาก เป็นสิ่งมีค่า และเปลี่ยนมือได้ สิ่งของซึ่งอาจจะถือกรรมสิทธิ์ได้นี้ อาจจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เสื้อผ้า รถยนต์ ฯลฯ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ชื่อเสียง 2. สัญญา สัญญา เป็นองค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจที่ช่วยให้ทรัพย์สินสามารถเปลี่ยนมือกันได้อย่างเป็นระเบียบ และเป็นหลักฐาน สัญญาเป็นการกำหนดคุณค่าและบรรทัดฐานซึ่งมนุษย์ยึดถือร่วมกัน เพื่อเป็นเงื่อนไขหรือขั้นตอนในการจัดระเบียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเป็นพื้นฐานร่วมกันในการต่อรองและการกำหนดขอบเขตที่บุคคลอาจจะแสวงหาผลประโยชน์ได้ในทางเศรษฐกิจ สัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น อาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มคนก็ได้สัญญาเป็นการแลกเปลี่ยนคำมั่นสัญญา หรือเป็นแลกเปลี่ยนระหว่างทรัพย์สินกับเงิน อันเป็นค่าตอบแทนทรัพย์สินนั้น สัญญาอาจจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ เช่น เมื่อแม่ค้าหยิบกล้วยส่งให้ลูกค้าหนึ่งหวี แม่ค้าผู้นั้นมีความคาดหวังว่าผู้ซื้อจะต้องให้เงินค่ากล้วยนั้นทันที ความเข้าใจเช่นนี้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเสมือนข้อตกลงหรือสัญญา ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ในตัว เป็นต้น
5
3. อาชีพ อาชีพ หมายถึง การกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่งระหว่างสมาชิกในสังคม ที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบและความชำนาญการ แล้วก่อให้เกิดผลผลิตหรือเป็นรายได้ ซึ่งมีมากมายหลายอาชีพในสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่กำหนดบทบาททางเศรษฐกิจของประชาชน เรียกว่า การผลิต การผลิต หมายถึง การสร้างและบริการประเภทเศรษฐทรัพย์ขึ้นเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ หรือเพื่อให้มนุษย์เกิดความพึงพอใจ องค์ประกอบของการผลิตและบริการแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) ที่ดิน (land) หมายถึง ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของกิจกรรมการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ติดกับที่ดิน ทั้งที่อยู่เหนือพื้นดิน บนดิน และใต้ดิน เช่น ลม ฟ้า อากาศ น้ำมันดิบ น้ำ สัตว์ป่า ป่าไม้ แร่ธาตุ ฯลฯ 2) แรงงาน (labour) หมายถึง กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อแสวงหารายได้มาเลี้ยงชีพ ผู้ใช้แรงงานจะได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทน ประเทศไทยกำหนดอายุขั้นต่ำของแรงงานในภาคเกษตรกรรมต้องมีอายุปี 13 ปีขึ้นไป เพราะมีลักษณะงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน ส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมแรงงานต้องมีอายุขั้นต่ำ 15 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 เรียกว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541
6
3) ทุน (capital) ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เพื่อผลิตสินค้าและบริการ ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง เช่น โรงงาน ถนน สะพาน ทางรถไฟ ฯลฯ เครื่องจักรเครื่องมือในการผลิตและวัตถุดิบ เรียกว่า สินค้าทุน มิได้หมายถึง ทุนที่เป็นตัวเงินหรือเงินทุน เพราะเงินทุนเป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าทุน 4) ผู้ประกอบการ (entrepreneur) หมายถึง ผู้ที่นำเอาที่ดินแรงงานและทุนมาดำเนินการผลิตสินค้าและบริการเพื่อความต้องการของมนุษย์ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตสินค้าเป็นอย่างดี สามารถคาดคะเนความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตได้ถูกต้อง เป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ปริมาณเท่าใด ใช้เทคนิคการผลิตแบบไหน ผลิตแล้วขายให้ใคร ราคาต่อหน่วยควรจะเป็นอย่างไรจึงจะได้กำไรสูงสุด ฉะนั้น ผู้ประกอบจึงมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ
7
ลำดับขั้นในการผลิต ในสมัยก่อน ครัวเรือนจะผลิตสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตขึ้นใช้เอง เช่น ชาวไร่ชาวนาจะปลูกข้าว ปลูกผักผลไม้ เลี้ยงเป็ดไก่ไว้เป็นอาหารในครัวเรือน เลี้ยงวัวไว้ไถไร่ไถนา ทอผ้าใช้เอง ทำเครื่องมือในการประกอบอาชีพเอง ฯลฯ ต่อมาจึงรู้จักแบ่งงานกันทำตามความถนัด ใครปลูกข้าวเก่งก็ให้ปลูกข้าว ใครตีมีดเก่งก็ให้ตีมีด แล้วนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน ต่อมาเพื่อให้ได้ผลิตผลมาก มนุษย์ก็เริ่มใช้เครื่องจักรเข้าช่วย ทำให้การผลิตได้มากขึ้นจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิต เปลี่ยนจากการทำเพื่อใช้ในครอบครัวมาเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในหมู่บ้าน ในเมือง ในประเทศ และขยายออกเป็นการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง และการค้าปลีก นำสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่มือผู้บริโภค
8
ลำดับขั้นในการผลิตของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นคือ
1.การผลิตขั้นต้นหรือขั้นปฐมภูมิ (primary production) เป็นกิจกรรมการผลิตขั้นแรกสุด ซึ่งเป็นกิจกรรมดั้งเดิมของมนุษย์ เช่น การเพาะปลูก การล่าสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การประมง การทำป่าไม้ ฯลฯ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์โดยการผลิตอย่างง่าย ๆ 2. การผลิตขั้นแปรรูปหรือขั้นทุติยภูมิ (Secondary production) หมายถึง กิจกรรมการผลิตในระดับสูงขึ้น และมีขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้น การผลิตในขั้นนี้มีการพึ่งพาธรรมชาติน้อยลง โดยนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่ผลิตขึ้นเองมาแปรสภาพและตกแต่งให้เกิดประโยชน์มีคุณค่าและตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้เครื่องจักรและโรงงานช่วยในการผลิต ได้แก่ หัตถกรรมและอุตสาหกรรม 3. การผลิตขั้นบริการหรือขั้นตติยภูมิ (Tertiary production) เป็นกิจกรรมการผลิตในทางเศรษฐกิจซึ่งไม่ได้มีการแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพสิ่งของ แต่เป็นกิจกรรมบริการความสะดวก เพื่อเอื้ออำนวยให้ผลิตผลที่ได้จากขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิไปสู่มือผู้บริโภค เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสาร การเงิน การธนาคาร การแสดง การเสริมสวย การสอน ฯลฯ
9
การกำหนดปริมาณการผลิต ตามปกติผู้ผลิตจะเลือกผลิตสินค้าชนิดหนึ่งในปริมาณที่เขาคาดว่าจะทำกำไรมากที่สุด โดยคำนึงถึงสินค้าที่ขาย และค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยคาดคะเนจากอุปสงค์ของผู้บริโภค และอุปทานของสินค้าในตลาด อุปสงค์ (demand) หมายถึง ความต้องการของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งด้วยเงินที่มีอยู่ กฎของอุปสงค์กำหนดว่า "ปริมาณสินค้าและบริการชนิดใดที่ผู้บริโภคจะซื้อในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ย่อมมีความสัมพันธ์ผกผันกับราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น" นั่นคือ เมื่อราคาสินค้าลดลง ความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะสูงขึ้น และเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ความต้องการซื้อสินค้านั้นก็จะลดลง เช่น เงาะตอนต้นฤดูราคาแพงถึงกิโลกรัมละ 15 บาท ผู้บริโภคอาจซื้อเพียง 1 กิโลกรัม แต่พอเงาะลดราคาเหลือเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท ผู้บริโภคอาจซื้อเพิ่มขึ้นเป็น 2 กิโลกรัม อุปสงค์มีองค์ประกอบ 3 อย่าง 1) ความต้องการซื้อ 2) ความเต็มใจหรือยินดีซื้อ 3) ความสามารถจ่ายหรือมีเงินที่จะซื้อ องค์ประกอบนี้ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ถือเป็นอุปสงค์
10
อุปทาน (supply) หมายถึง ความสามารถในการผลิต หรือเสนอขายสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งมาสนองความต้องการของผู้บริโภค ณ ระดับราคาต่าง ๆ กันในเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นสภาพการตัดสินใจของผู้ผลิตหรือผู้ขาย ว่าจะขายสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด และจะขายในราคาใด ตามปกติผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการกำไรสูงสุด กฎของอุปทานคือ "อุปทานของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งย่อมแปรผันโดยตรงกับราคา" กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณสินค้าที่ผลิตหรือเสนอขายจะมากขึ้น และเมื่อราคาสินค้าต่ำลง ปริมาณสินค้าที่ผลิตหรือเสนอขายจะลดลง เช่น ถ้าขายเงาะได้ราคาแพงถึงกิโลกรัมละ 15 บาท เขาอาจรับเงาะมาขายวันละ 30 กิโลกรัม แต่ถ้าขายเงาะได้เพียงกิโลกรัมละ 10 บาท เขาก็จะรับเงาะมาขายน้อยลงเหลือเพียงวันละ 20 กิโลกรัม การแลกเปลี่ยน (exchange) การแลกเปลี่ยน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสถาบันเศรษฐกิจปัจจุบัน นักเรียนคงจะสังเกตเห็นว่า ชาวนาชาวไร่มิได้ปลูกข้าวหรือเลี้ยงสัตว์เพียงเพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น แต่จะทำการผลิตจำนวนมากเพื่อนำไปซื้อขาย แลกเปลี่ยนเอาสินค้าอื่นมาบำบัดความต้องการของตนเองและสมาชิกในครอบครัว จึงเกิดการแลกเปลี่ยน
11
การแลกเปลี่ยน หมายถึง การเปลี่ยนความเป็นเจ้าของในสินค้าหรือบริการ โดยการโอนหรือการโยกย้ายกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของระหว่างบุคคลหรือธุรกิจ ในปัจจุบันกลไกของการแลกเปลี่ยนมีความสะดวกและรวดเร็ว เช่น เงินตรา สถาบันการเงิน พ่อค้าคนกลาง และตลาด ฯลฯ การแลกเปลี่ยนแบ่งออกเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ 1.โดยทางอ้อม เป็นการแลกเปลี่ยนของขวัญหรือการให้วัตถุหรือสิ่งของ ซึ่งถือเป็นของขวัญให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งก็จะตอบแทนด้วยของขวัญเช่นกัน 2.โดยทางตรง เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งของกันตรงไปตรงมา 3.โดยใช้สื่อกลาง เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา สินเชื่อ การให้เครดิต (เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราคราวละมาก ๆ เช่น เช็คตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต ฯลฯ) ในสังคมยุคใหม่ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนโดยใช้สื่อโดยเฉพาะที่เรียกว่า "เงินตรา" เพราะเป็นมาตรฐานแห่งค่าหรือมูลค่า ดังนั้นมูลค่าของการแลกเปลี่ยนจึงแสดงออกมาในรูปของเงินตรา
12
หน้าที่ของเงินตรา 1. เป็นสื่อของการแลกเปลี่ยน 2. เป็นมาตรฐานของมูลค่า 3. ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสะดวก 4. เป็นสิ่งที่เก็บรักษามูลค่า คือ สามารถใช้ได้เสมอในเวลาใดก็ได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นหน้าที่ของสังคมที่คอยดูแลไม่ให้มูลค่าของเงินต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 5. เป็นมาตรฐานของการที่จะต้องชำระหนี้สินในอนาคต เช่น การจำนอง การกู้ยืม ซึ่งบุคคลจะได้รับเงินในปัจจุบัน และสัญญาว่าจะจ่ายคืนหนี้สินในอัตราที่ได้ตกลงกันในอนาคต
13
ตลาด (Market) ตลาด เป็นองค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจที่ช่วยประสานอาชีพ ทรัพย์สินและสัญญา เข้าด้วยกันจนกระทั่งสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเป็นไปโดยสะดวก ตลาด หมายถึง กิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยไม่คำนึงว่าจะต้องใช้สถานที่ใด ๆ หรือไม่ เพราะการซื้อขายไม่จำเป็นต้องมาพบปะกันโดยตรง หน้าที่สำคัญของตลาด คือ ขายสินค้าและบริการ ซื้อหรือจัดหาสินค้า เก็บรักษาสินค้า และขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ตลาดและผู้บริโภค ตลาดมีหลายชนิด เช่น ตลาดท้องถิ่น ตลาดในประเทศ ตลาดต่างประเทศ ตลาดโลก ตลาดผลิตผล ตลาดกลาง ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก ตลาดเงิน ตลาดหุ้น ตลาดแรงงาน ฯลฯ
14
หน้าที่ของตลาด 1. ทำให้ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ให้บริการสามารถติดต่อกับผู้ซื้อต้องการสินค้าและบริการ 2. ตลาดเป็นแหล่งหรือสื่อกลางที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ในรูปแบบอย่างง่าย ๆ ที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค เช่น การซื้อขายทางจดหมาย โทรศัพท์ โทรสาร ฯลฯ หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญ 1. บำบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น มีการผลิต การแบ่งปันวัตถุ หรือบริการที่มนุษย์ต้องการบริโภค 2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบสินเชื่อ การใช้เงินตรา จัดให้มีการแบ่งงาน ตลาดระบบผลกำไร ค่าจ้างและดอกเบี้ย 3. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจเพื่อความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจแก่สมาชิกในสังคม 4. ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างพอเพียงและทั่วถึงให้มากที่สุด
15
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญ
1.บำบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น มีการผลิต การแบ่งบันวัตถุ 2.ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบสินเชื่อ การใช้เงินตรา จัดให้มีการแบ่งงาน ตลาดระบบผลกำไร ค่าจ้างและดอกเบี้ย 3.พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจเพื่อความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจแก่สมาชิกในสังคม 4.ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างพอเพียงและทั่วถึงให้มากที่สุด 1.ทรัพย์สิน 2.สัญญาหรือนิติกรรม 3.อาชีพ 4.การแลกเปลี่ยน 5.ตลาด องค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.