งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คู่มือการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คู่มือการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คู่มือการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
ความเสี่ยง คืออะไร? (โอกาส x ความ รุนแรง) ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์/การกระทำ ใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้ สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและจะส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหาย (ทั้งในด้าน ยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงิน และ การบริหาร) หรือก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือ ลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายตาม ภารกิจหลัก ที่กำหนดในกฏหมายจัดตั้งส่วน ราชการ และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติ ราชการประจำปี ของส่วนราชการ การบริหารความเสี่ยง คืออะไร การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบ และต่อเนื่องเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความ เสียหาย ให้ระดับความรุนแรง และขนาด ของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ ในระดับที่ยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยง มี 7 ขั้นตอน (ใช้ตามมาตรฐาน COSO) คือ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายการบริหาร ความเสี่ยง เพื่อให้โครงการสำคัญที่มีนัยสำคัญต่อการ บรรลุความสำเร็จสามารถดำเนินการได้บรรลุ เป้าหมาย 2. การระบุความเสี่ยง ค้นหา และระบุความเสี่ยงสำคัญๆ ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายของ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 3. การประเมินความเสี่ยง วิเคราะห์หาสาเหตุ ปัจจัย ที่จะทำให้เกิดความ เสี่ยง โดยวิเคราะห์จากการควบคุมที่มีอยู่เดิมใช้ ประเมินเกี่ยวกับโอกาส ความถี่ รวมทั้งขนาด ความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยงนั้นๆ โดยประเมินค่าระดับคะแนนของความเสี่ยง (Risk Model) โดยพิจารณา 2 มิติ คือ ความรุนแรงของ ผลกระทบความเสี่ยง (Consequence – C) และในด้านโอกาสหรือความถี่ของการเกิดความ เสี่ยง (Likelihood – L) โดยแบ่งระดับของ คะแนน เป็น 5 ระดับ คือ 1 = น้อยที่สุด = น้อย 3 = ปานกลาง 4 = มาก = มากที่สุด

2 ระดับโอกาสในการเกิดโอกาสหรือเหตุการณ์ ต่างๆ ของความเสี่ยง
การวัดระดับความรุนแรงของความเสี่ยง ระดับโอกาสในการเกิดโอกาสหรือเหตุการณ์ ต่างๆ ของความเสี่ยง ระดับโอกาสในการเกิดโอกาสหรือเหตุการณ์ ต่างๆ ของความเสี่ยง ระดับ ผลกระทบ คำอธิบาย 5 รุนแรงมากที่สุด มีการสูญเสียทรัพย์สินอย่างมหันต์ มีการบาดเจ็บถึงชีวิต 4 รุนแรงมาก มีการสูญเสียทรัพย์สินมาก มีการบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพักงาน 3 รุนแรงปานกลาง มีการสูญเสียทรัพย์สินมาก มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน 2 รุนแรงน้อย มีการสูญเสียทรัพย์สินพอสมควร มีการบาดเจ็บรุนแรง แต่ยังทำงานต่อได้ 1 รุนแรงน้อยที่สุด สูญเสียทรัพย์สินเล็กน้อย ไม่มีการบาดเจ็บรุนแรง ระดับ โอกาสที่จะเกิด คำอธิบาย 5 มีโอกาสมากที่สุด มีโอกาสในการเกิดเกือบทุกครั้ง 4 มีโอกาสมาก มีโอกาสเกิดค่อนข้างสูงหรือบ่อยๆ 3 มีโอกาสปานกลาง มีโอกาสเกิดบางครั้ง 2 มีโอกาสน้อย มีโอกาสเกิด แต่นานๆ ครั้ง 1 มีโอกาสน้อยที่สุด มีโอกาสเกิดในกรณียกเว้น (ภัยพิบัติ น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น)

3 5. กิจกรรมการบริหารความเสี่ยง กำหนดรายละเอียด วิธีการ มาตรการ / กิจกรรมการควบคุมความ เสี่ยง ผู้รับผิดชอบ และกรอบเวลา 6. ข้อมูลและการสื่อสารด้านบริหารความ เสี่ยง ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงสร้างความ เข้าใจกับบุคลากรในหน่วยงาน เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง มาตรการ/กิจกรรมการควบคุมที่ หน่วยงานต้องปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบที่ ได้รับมอบหมาย กำหนดเวลา ล้ว เสร็จ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงาน รับทราบ และให้ความร่วมมือในการ ปฏิบัติตามมาตรการ/กิจกรรมการ ควบคุม 7. การติดตามผล และเฝ้าระวังความ เสี่ยงต่างๆ ติดตาม ตรวจสอบ การปฏิบัติแล้ว รวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลบริหารความเสี่ยง 4. กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับความเสี่ยง ทางเลือกวิธีการ/กลยุทธ์จัดการกับ ความเสี่ยง กำหนดไว้ 4 วิธี คือ รับ (TAKE) : โดยการขออนุมัติ ยอมรับความเสี่ยง หรือ ไม่ต้อง กระทำการใดๆ ถ่ายโอน (TRANSFER) : โดยการ ทำประกันภัย หรือการจ้าง บุคคลภายนอก เลี่ยง (TERMINATE) : โดยการ หยุด เลิกกิจกรรมนั้น หรือ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ ลด (TREAT) : โดยการควบคุม ภายใน หรือใช้กลยุทธ์ มาตรการอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบ และ/หรือลดโอกาสที่จะเกิดของความ เสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

4 การนำการบริหารความเสี่ยงไปใช้กับข้อเสนอการปฏิบัติราชการ
กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการเรื่องการ บริหารความเสี่ยง เพื่อแสดงถึงการกำกับดูแล องค์กรที่ดี ตามแนวทางแห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารจัดการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ และกำหนดการ บริหารความเสี่ยงลงในการจัดทำข้อเสนอการ ปฏิบัติราชการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ กำกับดูแลให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนด การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ การบริหารจัดการให้การปฏิบัติงานบรรลุ วัตถุประสงค์ และเป็นกรอบการดำเนินงาน ทำให้สามารถผลักดันกิจกรรมที่จะดำเนินการ ในอนาคตให้สอดคล้องและสามารถควบคุมได้ ตลอดจนส่งผลให้เกิดการวางแผนและการจัด ความสำคัญของการดำเนินงาน ทำให้การ ปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล โดยมีกระบวนการ ขั้นตอนที่ เป็นระบบ การดำเนินการบริหารความเสี่ยงเป็นการ ติดตามและประเมินแผน – ผล ของการ ดำเนินงานในรายตัวชี้วัด โดยแบ่งการ ประเมินเป็นรายเดือน และรอบการประเมิน 4 เดือน 10 เดือน และ 12 เดือน เพื่อให้การ ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้ง ไว้ การบริหารความเสี่ยง บรรจุลงในข้อเสนอปฏิบัติราชการ ในด้านที่ 4 การพัฒนาองค์การ ตัวชี้วัดที่ 4.1 ระดับความสำเร็จของการบริหารความ เสี่ยงในการบรรลุผลสำเร็จด้วยข้อเสนอการปฏิบัติราชการ ในหน่วยงาน ตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตาม Action Plan ภายใต้ตัวชี้วัดที่ 4.1 การดำเนินการบริหารความเสี่ยง ใช้แบบฟอร์ม 4.1 – 01 ถึง แบบฟอร์ม 4.1 – 03 แบบฟอร์ม ถึง แบบฟอร์ม เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยง ให้การ ดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้

5 แบบฟอร์ม 4.1-01 แบบฟอร์มการรายงาน รายตัวชี้วัด
ขั้นตอนการดำเนินการ ใส่ ชื่อหน่วยงาน กลุ่ม/ส่วน/ฝ่าย ให้ถูกต้องชัดเจน ใส่เลขตัวชี้วัดที่ และชื่อของตัวชี้วัดนั้นๆ ประเมินความเสี่ยงในตัวชี้วัดนั้น วิเคราะห์ถึง ความรุนแรงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากผลการดำเนินงานในตัวชี้วัดนั้นไม่บรรลุวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ ความถี่ของโอกาสที่จะเกิดขึ้นของความเสียหายนั้น และลากเส้นความสัมพันธ์ของความเสี่ยง จากนั้นใส่คะแนนประเมินตนเอง ก่อน และคะแนนที่คาดว่าจะได้หลังการมีการควบคุมบริหารความเสี่ยง กำหนดกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ Action Plan กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม(แผน) และระยะเวลาแล้วเสร็จของกิจกรรมนั้น (ผล) 1 2 3 3 4

6 แบบฟอร์ม 4.1-02 แบบฟอร์มการรายงาน ประจำเดือน
ขั้นตอนการดำเนินการ 1 ใส่เลขตัวชี้วัดที่... ประจำเดือน.... และชื่อของตัวชี้วัดนั้นๆ เขียนแผนงาน แผนดำเนินการ เป้าหมาย ในเดือนนั้น ผลงานของการดำเนินงาน ตามแผน เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร เมื่อผลงานไม่เป็นไปตามแผนงาน (ได้น้อยกว่า) ให้ระบุถึงปัญหาอุปสรรค 2 ถ้าผลงานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ระบุมาตรการควบคุม เป็นเพียงพอ/เฝ้าระวังแต่เมื่อผลงานไม่เป็นไปตามแผนงาน (ได้น้อยกว่า) มีปัญหาอุปสรรค ให้ระบุมาตรการควบคุม เป็น เพิ่มมาตรการควบคุมภายในและเขียนแผนการดำเนินงานในการควบคุม ให้สอดคล้องกับเนื้องานของตัวชี้วัดนั้น ระบุ วันนัดประชุม ได้ผลหารือ ความคาดหวัง ให้ครบถ้วน 3 4 ลงลายมือชื่อผู้ประเมิน ตำแหน่ง และวัน/เดือน/ปี ให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อผู้บังคับบัญชา (ผู้อำนวยการกลุ่ม/ส่วน/ฝ่าย) ตำแหน่ง และ วัน/เดือน/ปี ให้ครบถ้วน 5 ลงลายมือชื่อผู้กำกับตัวชี้วัด (ผู้อำนวยการสำนัก) ตำแหน่ง และวัน/เดือน/ปี ให้ครบถ้วน 6

7 แบบฟอร์ม 4.1-03 แบบฟอร์มรายงาน ตามรอบ 4, 10, 12 เดือน
แบบฟอร์ม แบบฟอร์มรายงาน ตามรอบ 4, 10, 12 เดือน ขั้นตอนการดำเนินการ 1 ใส่เลขตัวชี้วัดที่... รอบ....(เช่น รอบ 4 เดือน) และชื่อของตัวชี้วัดนั้นๆ เขียนสรุปแผนงาน แผนดำเนินการ เป้าหมาย ในช่วงเวลาของรอบการรายงานนั้น เขียนสรุปผลการดำเนินงาน ตามแผน เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร วิธีแก้ปัญหา ดำเนินการเรียบร้อยแล้วหรือไม่ ในรอบการประเมินนั้นๆ 2 ถ้าผลการดำเนินงานในรอบนั้นเป็นไปตามกำหนด หรือมีปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหานั้นเรียบร้อยแล้ว ระบุมาตรการควบคุม เป็นเพียงพอ/เฝ้าระวังแต่ถ้าผลการดำเนินงานมีปัญหาอุปสรรค หรือดำเนินการแก้ปัญหาต่อเนื่องไม่แล้วเสร็จ ให้ระบุมาตรการควบคุม เป็น เพิ่มมาตรการควบคุมภายในและเขียนแผนการดำเนินงานในการควบคุม ให้สอดคล้องกับเนื้องานของตัวชี้วัดนั้น ระบุ วันนัดประชุม ได้ผลหารือ ความคาดหวัง..... ให้ครบถ้วน 3 4 ลงลายมือชื่อผู้ประเมิน ตำแหน่ง และวัน/เดือน/ปี ให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อผู้บังคับบัญชา (ผู้อำนวยการกลุ่ม/ส่วน/ฝ่าย) ตำแหน่ง และวัน/เดือน/ปี ให้ครบถ้วน 5 ลงลายมือชื่อผู้กำกับตัวชี้วัด (ผู้อำนวยการสำนัก) ตำแหน่ง และวัน/เดือน/ปี ให้ครบถ้วน 6

8 ตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง
1. ระบุหน่วยงาน ... กลุ่ม/ส่วน/ฝ่าย ... ตัวชี้วัดที่..... ชื่อตัวชี้วัด 2. ลากเส้น เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ของความรุนแรง / ความถี่ของโอกาสที่จะเกิดของความเสี่ยงนั้น และระบุ คะแนน ก่อน และหลัง การควบคุมภายในได้ถูกต้อง (คะแนนความคาดหวังที่จะได้เมื่อควบคุมภายในแล้วเสร็จ ต้องมีคะแนนมากว่าคะแนนก่อนการควบคุมภายใน) 3. กำหนดกิจกรรมและกำหนดระยะเวลาให้สอดคล้องกับการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม (แผน-ผล) อีกทั้งมีการรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ

9 ตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง
1. ระบุตัวชี้วัดที่ .... ประจำเดือน .... ชื่อตัวชี้วัด ได้อย่างชัดเจน 2. ระบุ แผนงาน ผลงาน ได้ถูกต้องตามแผนปฏิบัติการ Action Plan ในแบบฟอร์ม และมีเนื้อหาสอดคล้องกับการดำเนินงานในตัวชี้วัดนั้นๆ 3. เมื่อผลงานไม่เป็นไปตามแผนงาน มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ต้องระบุ มาตรการควบคุมภายในที่มีอยู่ เป็น เพิ่มมาตรการควบคุมภายใน และเขียนแผนงานการดำเนินการควบคุมภายในได้สอดคล้องกับเนื้อหาและการดำเนินงานของตัวชี้วัดนั้นๆ 4. ระบุ วันเวลา สถานที่ ประชุม ความคาดหวังในผลงานที่จะทำได้ ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

10 ตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ถูกต้อง – ระบุ คะแนน ก่อน และหลัง การควบคุมภายในไม่ถูกต้อง คะแนนประเมินตนเอง ได้ 4 แต่คะแนนความคาดหวังได้ 1 ซึ่งผิดในหลักการ

11 ตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ถูกต้อง - พบการชำรุดของสายทาง แต่ไม่ระบุปัญหา ระบุมาตรการควบคุมภายใน เป็น เพียงพอ/เฝ้าระวัง เป็นการระบุที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ถูกต้องคือจะต้องระบุให้เพิ่มมาตรการควบคุมภายใน และเขียนแผนการดำเนินการควบคุม แก้ปัญหาตามสาเหตุนั้นๆ

12 ตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ถูกต้อง - เป็นการเขียนรายงานในเดือนนั้นๆ มากกว่าเป็นการสรุปรายงานในรอบระยะเวลา 10 เดือน ที่ผ่านมา


ดาวน์โหลด ppt คู่มือการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google