ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การพัฒนาการทำแผล หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 4
2
หลักการและเหตุผล จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการติดเชื้อแผลผ่าตัด (SSI ) ผู้ป่วยตึกพิเศษร่มเย็น 4 ปี พ.ศ.2550 – 2552 พบอัตราการติดเชื้อแผลสะอาดเป็น 0.69,0.58 และ 0.49 ตามลำดับ ตึกพิเศษร่มเย็น 4 ได้เก็บรวบรวม Case มาทบทวนร่วมกันแต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ชัดเจน พบว่ามีปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อคือ ปัจจัยทางด้านผู้ป่วยและทางด้านบุคลากรซึ่งมีรูปแบบการทำแผลและการเตรียมอุปกรณ์ในการทำแผลที่แตกต่างกัน ทางหอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 4 จึงได้พัฒนารูปแบบในการทำแผลผู้ป่วยในห้องพิเศษขึ้นเพื่อลดอัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัด และเพื่อให้บุคลากรมีแนวปฏิบัติในการทำแผลที่เป็นรูปแบบเดียวกัน
3
วัตถุประสงค์ อัตราติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ( SSI )
น้อยกว่า 3 : 1000 วันนอน บุคลากรมีแนวปฏิบัติในการทำแผล / การเตรียมอุปกรณ์ในการทำแผลที่เป็นรูปแบบเดียวกัน
4
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ:
ผู้ป่วย แผลผ่าตัดไม่ติดเชื้อ บุคลากร มีรูปแบบในการทำแผลที่ สะดวกรวดเร็วและเหมาะสม รูปแบบการศึกษา เชิงทดลองและพรรณนา สถานที่ ตึกพิเศษร่มเย็น 4
5
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วย หญิงไทยอายุไม่เกิน 60 ปี
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่ตึกพิเศษร่มเย็น 4 ประเภทแผลเป็น Clean Wound เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ มิถุนายน – กรกฎาคม 2553 จำนวน 10 ราย
6
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้ป่วย โทรเยี่ยมอาการผู้ป่วยและซักถาม ลักษณะแผลผ่าตัดหลังผ่าตัด ครบ 1 เดือน เจ้าหน้าที่ แบบสำรวจความพึงพอใจของ เจ้าหน้าที่โดยใช้แบบสอบถามที่1.1
7
วิธีการเก็บข้อมูล 1. ประชุมพร้อมแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบเกี่ยวกับการทำวิจัย 2. ร่วมกันกำหนดรูปแบบการจัด Set สำหรับไปทำแผลผู้ป่วยแต่ละห้องดังนี้ 2.1 ผู้ทำแผลเตรียม Set ทำแผลโดยเติมก๊อสและสำลีให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละ Case และติดสติกเกอร์แต่ละห้องไว้ 1 Set ต่อ 1 ห้อง 2.2 นำ Set ทำแผลและอุปกรณ์ทำแผลทั้งหมดใส่ในรถ Treatment โดยนำถังทำแผลไปด้วย ดังรูป 2.2
8
2.3 ทำแผลผู้ป่วยแต่ละห้องจากแผล Clean Wound ถึง Dirty Wound โดยยึดหลัก Aseptic Technique ดังรูป 2.3
2.4 หลังทำแผลเสร็จแล้วห่อ Setให้มิดชิดนำไปเก็บในถังทำแผลหน้าห้องผู้ป่วยดังรูป 2.4
9
2.5 ล้างมือให้สะอาดโดยใช้ Alcohol Hand Rub และไปทำแผลห้องต่อไป
3. โทรเยี่ยมอาการลักษณะของแผลผ่าตัดหลังผ่าตัด แล้ว 1 เดือนว่ามีอาการติดเชื้อหรือไม่ 4. สำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่โดยใช้แบบสอบถามที่ 1.1 5. บันทึกข้อมูล
10
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด - จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ คะแนนความพึงพอใจร้อยละ 80
11
ผลการศึกษา จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำแผลและการเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแผลผู้ป่วยหลังผ่าตัดพบว่าบุคลากรซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 8 ราย พึงพอใจในการปรับเปลี่ยนการทำแผลในรูปแบบใหม่ คิดเป็นร้อยละ ในด้านการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัดจำนวน 10 ราย ไม่พบแผลผ่าตัดติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 100
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.