งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สวัสดิการและสิทธิประโยชน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สวัสดิการและสิทธิประโยชน์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
สำหรับผู้เกษียณอายุ โดย. นายสายัณห์ รังสรรค์ กองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัย โทร

2 ชีวิตคนเราจะมีสิบปีสักกี่ครั้งกัน
10 ปี 7 ครั้ง สิบปีแรก หมดไปกับ ความไร้เดียงสา สิบปีต่อมา หมดไปกับ การศึกษาเล่าเรียน สิบปีต่อมา หมดไปกับ การทำงานและการใช้ชีวิต สิบปีต่อมา หมดไปกับ การสร้างฐานะสร้างครอบครัว สิบปีต่อมา หมดไปกับ การลงหลักปักฐาน รักษาสิ่งที่หามาได้ สิบปีต่อมา หมดไปกับ การดูแลรักษาสุขภาพ สิบปีสุดท้าย หมดไปกับ การปล่อยวางทุกสิ่ง รอคอยการกลับบ้าน ชีวิตคนเราจะมีสิบปีสักกี่ครั้งกัน

3 รู้จักสถานะของตัวเอง
ข้าราชการ บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมงที่จ้างไว้ปฏิบัติงานมีลักษณะประจำ โดยไม่มีกำหนดเวลาตามอัตราและจำนวนที่กำหนดไว้

4 สถานะของพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ
ประเภท A ข้าราชการปรับเปลี่ยนที่ไม่ต่ออายุสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ( กบข.) ประเภท B ข้าราชการปรับเปลี่ยนที่ต่ออายุสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ( กบข.) ประเภท C ลูกจ้างประจำปรับเปลี่ยน ประเภท D พนักงานมหาวิทยาลัยประจำที่บรรจุก่อน วันที่ 6 มีนาคม 2551 ประเภท E พนักงานมหาวิทยาลัยประจำที่บรรจุหลัง วันที่ 6 มีนาคม 2551 ประเภท F พนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราว ทั้งที่เบิกจากเงินงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้

5 สิทธิประโยชน์ ณ วัน เกษียณ
บำนาญ บำเหน็จ รด. ดำรงชีพ กบข. สะสม สมทบ กช.มช. กสจ. เงินชดเชย ข้าราช การ ลูกจ้าง ประจำ สมัคร A B C D E F ประจำ

6 ข้าราชการ+พนักงาน B วิธีคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญ กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข.
สูตร บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ สูตร บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ 50 หมายเหตุ เศษของปีถ้าถึงครึ่งปี(6 เดือน)ให้นับเป็นหนึ่งปี

7 ข้าราชการ+พนักงาน B วิธีคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญ กรณีเป็นสมาชิก กบข.
สูตร บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ สูตร บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย60เดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ 50 หมายเหตุ -เศษของปีให้ใช้ทศนิยมตามจำนวนเดือนและวัน (เดือนหารด้วย12 วันหารด้วย 360 ) - บำนาญต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

8 ข้าราชการ+พนักงาน A + B
การคำนวณเงินบำเหน็จดำรงชีพ รับครั้งแรก = บำนาญ X 15 เท่า ไม่เกิน 200,000 บาท รับครั้งที่สอง = อายุครบ 65 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป บำนาญ X 15 เท่า ไม่เกิน 200,000 บาท รวมทั้งสองครั้งต้องไม่เกิน 400,000 บาท

9 ข้าราชการ+พนักงาน A + B
ตัวอย่างการคำนวณเงินบำเหน็จดำรงชีพ บำนาญ 15 เท่า เบิกครั้งแรก 60 ปี เบิกครั้งที่สอง 65 ปีบริบูรณ์ 9,360.00 140,400.00 -- 13,333.34 200,000.00 15,000.00 225,000.00 25,000.00 22,000.00 330,000.00 130,000.00 26,666.67 400,000.00 35,000.00 525,000.00

10 ข้าราชการ+พนักงาน A + B
หลักฐานการขอรับบำเหน็จบำนาญ/เงินบำเหน็จดำรงชีพ กรณีขอรับบำเหน็จบำนาญปกติ แบบขอรับบำเหน็จ บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ (แบบ 5300) แบบแจ้งรายการลดหย่อนภาษีเงินได้ผู้รับบำเหน็จบำนาญ (แบบ สรจ.1) สำเนาคำสั่งลาออกจากราชการหรือประกาศเกษียณอายุราชการ แบบหนังสือรับรองและขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สรจ.3) หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ/บำเหน็จตกทอด แบบคำขอรับเงินผ่านธนาคารและยินยอมให้หักเงินบำเหน็จบำนาญ สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี

11 ข้าราชการ+พนักงาน B เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
กรณีขอรับบำนาญปกติจะได้เงินจาก กบข. ดังนี้ เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ เงินผลประโยชน์ กรณีขอรับเงินบำเหน็จ จะได้รับเงินจาก กบข. ดังนี้

12 ข้าราชการ+พนักงาน A + B
เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

13 ข้าราชการ+พนักงาน A + B
เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หลักฐานการขอรับเงินกองทุน กบข. 1. แบบ กบข. รง 008/1/25.. 2. สำเนาคำสั่งออก/ประกาศเกษียณ 3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี 4. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

14 ลูกจ้างประจำ วิธีคำนวณเงินบำเหน็จ/บำเหน็จรายเดือน
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X จำนวนเดือนที่ทำงาน 12 บำเหน็จรายเดือน = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X จำนวนเดือนที่ทำงาน 600 ตัวอย่าง เงินเดือนเดือนสุดท้าย 15,260 เวลาราชการ 30 ปี 3 เดือน 15 วัน บำเหน็จ = 15,260 X 364 เดือน เป็นเงิน 462, บาท บำเหน็จรายเดือน = 15,260 X 364 เดือน เป็นเงิน , บาท ( 462,886 / 50 )

15 ลูกจ้างประจำ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำ (กสจ.)
เงื่อนไข 1. ต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุน 2. ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง 3. มหาวิทยาลัยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ ได้รับเงินสะสมเงินสมทบและผลประโยชน์ทั้งจำนวน ทั้งหมดครั้งเดียวภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ หลักฐานการขอรับเงิน กสจ. 1. แบบคำขอรับเงิน (แบบ กสจ. 004/1) 2. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี 4. สำเนาคำสั่งให้ออก/ประกาศเกษียณ

16 พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ A B C D E F
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กช.มช.) อัตราเงินสะสม/สมทบ = ร้อยละ 5/5 ของเงินเดือน เงินสะสมหักจากเงินเดือนของเจ้าตัว เงินสมทบ กลุ่ม ABC มช. จ่ายจากเงินกองทุนสวัสดิการพนักงาน มช. กลุ่ม DEF ส่วนงานจ่ายจากเงินรายได้ของส่วนงาน การได้รับเงินสะสม/สมทบและผลประโยชน์ เมื่อพ้นสมาชิก ได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ทั้งจำนวน เงินสมทบและผลประโยชน์ ก. ได้รับเต็มจำนวน กรณี.- 1. เสียชีวิต ทุพพลภาพ 3. วิกลจริต/จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 4. ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 5. ครบเกษียณอายุและไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง

17 พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ A B C D E F
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กช.มช.) ก. ได้รับเต็มจำนวน กรณี.- 1. เสียชีวิต ทุพพลภาพ 3. วิกลจริต/จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 4. ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 5. ครบเกษียณอายุและไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง ข. กรณีนอกเหนือจากข้อ ก. ได้รับอัตรา.- 1. เป็นสมาชิก < 4ปี = 20% 2.เป็นสมาชิก > 4, <6 ปี = 40 % 3.เป็นสมาชิก > 6, <8 ปี = 60 % 4.เป็นสมาชิก > 8, <10 ปี = 80 % 3.เป็นสมาชิก > 10 = 100 %

18 พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ D E F เงินสะสม/สมทบพนักงานมหาวิทยาลัย
เงื่อนไข มช.หักเงินสะสมร้อยละ 4 ของเงินเดือนพนักงาน และ มช. จ่ายเงินสมทบอีกร้อยละ 5 นำไปฝากไว้ให้พนักงานเป็นเงินสะสมและเงินสมทบ การเบิกจ่าย เจ้าตัวแสดงความจำนงขอรับเงินสะสม/สมทบ ของตนเองจากส่วนงานที่สังกัด เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจะมีการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวออกจากบัญชีเงินฝากและนำจ่ายให้เจ้าตัว เต็มจำนวน 9 ส่วน บวก เงินผลประโยชน์ ยกเว้นพนักงานที่สมัครเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัย จะได้รับ 5 ส่วนบวกเงินผลประโยชน์ เนื่องจาก ณ วันที่สมัครเข้ากองทุนฯจะได้รับเงิน 4 ส่วนบวกเงินผลประโยชน์ไปก่อนแล้ว (กรณีสมัครเข้าเป็นสมาชิก กช.มช. มหาวิทยาลัยจะคืนเงินสะสมให้ส่วนเงินสมทบจะนำฝากธ.ออมสินประเภทประจำ 12 เดือน ไว้จนกว่าจะพ้นสภาพ)

19 พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ C D E F
เงินบำนาญหรือบำเหน็จ(ชราภาพ) จากกองทุนประกันสังคม เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ     -  จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะ ติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม     -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์     -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง    เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ     -  จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน     -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง     -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

20 พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ C D E F
เงินบำนาญหรือบำเหน็จ(ชราภาพ) จากกองทุนประกันสังคม ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ     -  กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง     -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน     ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ     -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด       -  กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

21 สวัสดิการหลังวันเกษียณ
สถานะหลังเกษียณ ค่ารักษา ค่าตรวจสุขภาพ เล่าเรียนบุตร บำเหน็จดำรงชีพ. 65 ปี บำเหน็จค้ำประกัน ชคบ. บำเหน็จตกทอด เงินช่วยพิเศษ ข้าราช การ บำนาญ A B ลูกจ้าง ประจำ บำเหน็จรายเดือน C D E F

22 สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
ผู้รับบำนาญ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ข้าราชการบำนาญ/ทายาทตามกฎหมาย มีสิทธิได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล หรือใช้สิทธิโครงการจ่ายตรงโดยไม่ต้องชำระเงินสดกับโรงพยาบาลที่ข้าราชการบำนาญแจ้งสิทธิ กรณีที่เลือกรับบำเหน็จจะหมดสิทธิได้รับสวัสดิการนั้น ข้าราชการบำนาญ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนหรือตามอัตราที่ กระทรวงการคลังกำหนด อันเนื่องมาจากเจ็บป่วยด้วยโรค หรือเกิดจากลักษณะอาการ ผิดปกติและแพทย์มีความเห็นว่าต้องรักษาให้คืนสู่สภาพปกติ กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนสามารถเข้าพักรักษาตัวโรงพยาบาลเอกชนได้ โดยไม่จำเป็นจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยกเว้นจำนวนค่าใช้จ่ายเกินสิทธิ กรณีต้องการเบิกค่ารักษาพยาบาล ให้ส่งหลักฐานขอเบิกเงินได้ที่งานเงินเดือนและสวัสดิการ กองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัย โทร ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ปรากฏในหลักฐานการรับเงิน(ใบเสร็จ)

23 สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
ผู้รับบำนาญ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล บุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล 1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรม - ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ - หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งอยู่ในความอุปการะ เลี้ยงดูของบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ 2 . คูู่สมรส ชอบด้วยกฎหมาย 3. บิดา มารดา ชอบด้วยกฎหมาย บุตร คู่สมรส บิดา มารดา เบิกค่ารักษาพยาบาลได้จนผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม

24 สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
ผู้รับบำนาญ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล มีดังนี้ 1. ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจนและอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค 2. ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมค่าซ่อมแซม 3. ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษและค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ 4. ค่าห้องและค่าอาหาร 5. ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ระบบโครงการจ่ายตรงในปัจจุบัน กำหนดให้ผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากรัฐต้อง เข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่มีบัตรโครงการจ่ายตรงเท่านั้น และไม่ต้องจ่ายเงินสด แต่อย่างใด เว้นแต่เข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลอื่น ด้วยมีเหตุจำเป็นตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบ จึงจะนำมาเบิกได้หลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

25 สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร
ผู้รับบำนาญ สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ผู้รับบำนาญ มีสิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม บุตรของผู้มีสิทธิที่มีสิทธิได้รับสวัสดิการการศึกษาของบุตร • บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย • ลำดับที่ ยกเว้น บุตรแฝด • อายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี บุตรที่เบิกไม่ได้  บุตรบุญธรรม บุตรซึ่งบิดามารดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น อัตราการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร

26 เงินบำเหน็จดำรงชีพอายุ 65 ปี
ผู้รับบำนาญ เงินบำเหน็จดำรงชีพอายุ 65 ปี ด้วยกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 กำหนดให้ผูู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ในอัตรา 15 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน(ไม่รวมเงินเพิ่มอื่นๆ เช่น ช.ค.บ. , ช.รบ. , ส.ป.ช.)แต่ไม่เกิน 400,000 บาท การขอรับบำเหน็จดำรงชีพ มี 2 กรณี คือ 1. ผู้รับบำนาญที่มีอายุ 60 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปี มีสิทธ์ได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ 15 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 200,000บาท (ขอรับงวดแรก) 2. ผู้รับบำนาญที่มีอายุ 65 ปี บริบูรณ์ มีสิทธ์ได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพในส่วนที่เหลือจากการจ่ายในงวดแรก แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ( เช่นขอรับไปแล้วในงวดแรก 200,000 บาท คำนวณบำเหน็จดำรงชีพได้ 450,000 จะมีสิทธ์รับเพิ่มส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท เท่านั้น(ขอรับงวดสอง)

27 เงินบำเหน็จดำรงชีพอายุ 65 ปี
ผู้รับบำนาญ เงินบำเหน็จดำรงชีพอายุ 65 ปี 3. แต่ถ้าคำนวณเงินบำเหน็จดำรงชีพได้ 350,000 ก็ให้ได้รับเพิ่มอีก 150,000 บาท (ในงวดสอง) เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้วประสงค์จะขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้ยื่นแบบขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สบง. 12) พร้อมเอกสารประกอบด้วย สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาบัญชีเงินฝากของผู้ขอรับเงิน ยื่นที่งานเงินเดือนและสวัสดิการ กองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัย

28 ผู้รับบำนาญ/ผู้รับบำเหน็จรายเดือน สิทธิการกู้เงินบำเหน็จค้ำประกัน
รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือผู้รับบำนาญ ที่มีรายได้ไม่เพียงต่อการครองชีพ โดยให้ผู้รับบำนาญสามารถนำบำเหน็จตกทอดที่เหลืออีก 15 เท่า นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับกรมบัญชีกลางเพื่อให้ผู้รับบำนาญขอกู้เงินได้ โดยข้าราชการบำนาญต้องยินยอมให้มหาวิทยาลัยหักเงินบำนาญเพื่อชำระหนี้เงินกู้คืนให้กับธนาคารตามสัญญา กรณีผู้กู้ถึงแก่กรรมต้องยินยอมให้กรมบัญชีกลางหักเงินบำเหน็จตกทอดให้กับธนาคารเป็นลำดับแรก ผู้ประสงค์จะใช้สิทธิให้ติดต่อที่กองการบริหารงานบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย พร้อมหลักฐานของทายาทตามกฎหมาย (บิดา มาดา คู่สมรส บุตร) โดยเจ้าตัวเป็นผู้เซ็นรับรองสำเนา

29 เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ชคบ.)
ผู้รับบำนาญ เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ชคบ.) เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ คือ เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพ สมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพื่อให้สอดคล้องกัน การประกาศใช้พรก.เงินช่วยค่าครองชีพแต่ละครั้งจะกำหนดอัตราไม่เท่ากัน ขึ้นกับภาวะทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา และเงินจำนวนดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเงินบำนาญ เช่น พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 15) พ.ศ กำหนดเงิน ชคบ. เท่ากับ 4% ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ เป็นต้นมา (ได้รับตกเบิกในเดือนเมษายน 2558 เรียบร้อยแล้ว)

30 ผู้รับบำนาญ / ผู้รับบำเหน็จรายเดือน
เงินบำเหน็จตกทอด เงินที่จ่ายให้แก่ทายาท โดยจ่ายให้ครั้งเดียว ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนถึงแก่ความตาย มีวิธีคำนวณดังนี้ ผู้รับบำนาญเสียชีวิต = บำนาญ+เงิน ชคบ.(ถ้ามี) X 30 เท่า –บำเหน็จดำรงชีพ (ที่รับไปแล้ว) การแบ่งจ่าย 1 บุตร 2 ส่วน มีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปได้ 3 ส่วน 2 สามีและหรือภริยา 1 ส่วน 3 บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดา 1 ส่วน ถ้าไม่มีบุคคลในลำดับข้อใด ก็ให้แบ่งตามส่วนของบุคคลในลำดับที่เหลือ ถ้าไม่มีบุคคลในลำดับข้อต่าง ๆ ให้จ่ายแก่บุคคลที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินไว้ต่อส่วนราชการก่อนตาย ถ้าไม่มีบุคคลตาม 1-3 และผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาระบุตัวไว้ ให้บำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติ

31 ผู้รับบำนาญ / ผู้รับบำเหน็จรายเดือน
เงินบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ลูกจ้างประจำ ซึ่งตายในระหว่างรับบำเหน็จรายเดือน แก่ทายาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 8) พ.ศ โดยให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ผู้มีสิทธิ คือ มีวิธีคำนวณดังนี้ บำเหน็จตกทอดรายเดือน = บำเหน็จรายเดือน X 15 เท่า การแบ่งจ่าย 1 บุตร 2 ส่วน มีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปได้ 3 ส่วน 2 สามีและหรือภริยา 1 ส่วน 3 บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดา 1 ส่วน ถ้าไม่มีบุคคลในลำดับข้อใด ก็ให้แบ่งตามส่วนของบุคคลในลำดับที่เหลือ ถ้าไม่มีบุคคลในลำดับข้อต่าง ๆ ให้จ่ายแก่บุคคลที่ผู้ตายได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินไว้ต่อส่วนราชการก่อนตาย ถ้าไม่มีบุคคลตาม 1-3 และผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาระบุตัวไว้ ให้บำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติ

32 ผู้รับบำนาญ / ผู้รับบำเหน็จรายเดือน
เงินช่วยพิเศษกรณีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเสียชีวิต - เป็นเงินช่วยเหลือในการจัดการศพข้าราชการบำนาญ/บำเหน็จรายเดือนที่ถึงแก่ความตาย จะได้รับเงินช่วยพิเศษ 3 เท่าของเงินบำนาญ/บำเหน็จรายเดือน - จ่ายให้แก่บุคคลที่ข้าราชการบำนาญระบุไว้ในหนังสือแสดง เจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษตามแบบหนังสือกระทรวงการคลังกำหนด (ระบุได้เพียง 1 คน เท่านั้น) ถ้าไม่ระบุจะจ่ายให้กับทายาทโดยธรรม 1. คู่สมรส 2. บุตร 3. บิดา มารดา

33 ให้สนุกกับการใช้ชีวิต 20 ปีที่เหลือ หมั่นเตือนตน : ชีวิตนี้สั้นนัก
ไม่เจ็บป่วย แต่ก็ต้อง บำรุง ไม่กระหาย แต่ก็ต้อง ดื่มน้ำ ว้าวุ่นแค่ไหน แต่ก็ต้อง ปล่อยวาง มีเหตุมีผล แต่ก็ต้อง ยอมคน มีอำนาจ แต่ก็ต้อง รู้จักถ่อมตน ไม่เหนื่อย แต่ก็ต้อง พักผ่อน ร่ำรวย แต่ก็ต้อง รู้จักพอเพียง ธุระยุ่งแค่ไหน แต่ก็ต้อง รู้จักผ่อนคลาย หมั่นเตือนตน : ชีวิตนี้สั้นนัก

34

35

36

37 ขอให้ทุกท่านโชคดี


ดาวน์โหลด ppt สวัสดิการและสิทธิประโยชน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google