งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ ๕ คณะกรรมาธิการ 1/20/2009.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ ๕ คณะกรรมาธิการ 1/20/2009."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ ๕ คณะกรรมาธิการ 1/20/2009

2 คณะกรรมาธิการ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Commissioner หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อให้กระทำกิจการหรือพิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๕ ที่บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจ เลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมี อำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงาน ต่อสภา 1/20/2009

3 ประเภทของคณะกรรมาธิการ
สามารถจำแนกคณะกรรมาธิการได้เป็น ๔ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการเต็มสภา 1/20/2009

4 ๑. คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นกรรมาธิการที่แต่ละ สภาตั้งขึ้นตามข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภา โดย คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน ๓๕ คณะแต่ละคณะประกอบไปด้วยกรรมาธิการมีจำนวน ๑๕ คน คณะกรรมาธิการประจำวุฒิสภามีจำนวน ๒๒ คณะ แต่ละคณะประกอบไปด้วยกรรมาธิการจำนวนไม่ น้อยกว่า ๙ คนและไม่เกิน ๑๕ คน 1/20/2009

5 องค์ประกอบของคณะกรรมาธิการสามัญ
๑. มาจากการเลือกและแต่งตั้งจากบุคคลผู้เป็นสมาชิกของแต่ละสภาเท่านั้น ๒. กรรมาธิการสามัญ ต้องแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ตามจำนวนหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ใน สภาผู้แทนราษฎร ๓. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน คณะกรรมาธิการสามัญอาจตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำ คณะกรรมาธิการก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำหนด ด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมกันของประธานคณะกรรมาธิการ สามัญ 1/20/2009

6 ๒. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกบุคคลผู้ เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ วิสามัญ เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษา เรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อ สภา โดยมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจะต้องระบุกิจการ หรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกับคณะกรรมาธิการ ที่มีอยู่แล้ว 1/20/2009

7 องค์ประกอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
๑. การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้ตั้งจากบุคคลที่ คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวน กรรมาธิการทั้งหมด จำนวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจาก รายชื่อที่สมาชิกเสนอโดยให้มีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับ อัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่ม พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา ๒. วาระของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะสิ้นสุดลงเมื่อได้ปฏิบัติ กิจการที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลง 1/20/2009

8 ๓. คณะกรรมาธิการร่วมกัน
เป็นกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น เพื่อ พิจารณาปัญหาร่วมกัน โดยแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็น สมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากัน ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ แล้วรายงานต่อรัฐสภา ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบด้วยร่าง พระราชบัญญัตินั้น ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อประกาศในราช กิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมาย 1/20/2009

9 ๔. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งจากสมาชิกทุกคนในที่ ประชุมสภา โดยประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็น ประธานคณะกรรมาธิการ 1/20/2009

10 การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เป็นทั้งการพิจารณาขั้น คณะกรรมาธิการและการพิจารณาของวุฒิสภาในวาระที่สองเรียง ตามลำดับมาตรารวมกันไป การพิจารณาในวาระที่สอง ให้ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง หรือกรรมาธิการเต็มสภา ตามปกติให้พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง การพิจารณา โดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดย มีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ และใน การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภานั้น วุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาใดโดยเฉพาะที่ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นก็ได้ 1/20/2009

11 คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๘๒ กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง คณะกรรมาธิการสามัญขึ้นสามสิบห้าคณะ แต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมาธิการมีจำนวนสิบห้าคน โดยได้ระบุ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในแต่ละคณะ เอาไว้ ดังนี้ 1/20/2009

12 ๑. คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษา เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวนโยบายด้าน กฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองสิทธิ ชุมชนในกระบวนการยุติธรรม 1/20/2009

13 ๒. คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่อง ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบและปรับปรุงการดำเนินกิจการ ของสภาผู้แทนราษฎร คำร้องเรียน ข้อเสนอแนะของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการ ของสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งเรื่องใด ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ สภาผู้แทนราษฎรและองค์กรรัฐสภาระหว่างประเทศ ตลอดจน ตรวจสอบรายงานการประชุมพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการ เปิดเผยรายงานการประชุมลับ และติดตามผลการปฏิบัติตามมติ ของสภาผู้แทนราษฎร 1/20/2009

14 ๓. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ การดำเนินงานของ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการบริหารจัดการขององค์การ มหาชน และกองทุนต่าง ๆ 1/20/2009

15 ๔. คณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ แก้ปัญหาและการพัฒนาชายแดนไทย 1/20/2009

16 ๕. คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชนสตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศ ต่างประเทศ ประชาคมนานาชาติ เกี่ยวกับแนวทาง ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการคุ้มครอง สิทธิ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ 1/20/2009

17 ๖. คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหนี้สินทุก ระดับ ได้แก่ ปัญหาหนี้สินของประเทศ หนี้สินภาค ธุรกิจ หนี้สินภาค อุตสาหกรรม หนี้สินข้าราชการ ตลอดจนหนี้สินเกษตรกร 1/20/2009

18 ๗. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร การสหกรณ์ การพัฒนาการผลิต และการตลาด 1/20/2009

19 ๘. คณะกรรมาธิการการคมนาคม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคมนาคมทั้งการจราจร ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางอวกาศ การขนส่ง มวลชน การขนส่งสินค้า และการพาณิชย์นาวี 1/20/2009

20 ๙.คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ โดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุน และการ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดินแดนและความมั่นคงของ ประชาชน 1/20/2009

21 ๑๐.คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค 1/20/2009

22 ๑๑. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การ ธนาคาร ตลาดเงิน ตลาดทุน และสถาบันการเงินของ ประเทศ 1/20/2009

23 ๑๒. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาพลักษณ์ของ ประเทศ รวมทั้งกระทำกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับ ชาวไทยซึ่งตั้งถิ่นฐานหรือไปประกอบอาชีพใน ต่างประเทศ 1/20/2009

24 ๑๓. คณะกรรมาธิการการตำรวจ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย การป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 1/20/2009

25 ๑๔. คณะกรรมาธิการติดตามการ บริหารงบประมาณ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในด้าน งบประมาณ ติดตามและประเมินผลการรับ การใช้ จ่ายเงินงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ 1/20/2009

26 ๑๕. คณะกรรมาธิการการทหาร
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการทหารการ ป้องกัน การรักษาความมั่นคง และการพัฒนา ประเทศ 1/20/2009

27 ๑๖. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน การแก้ไขปัญหาอุปสรรค และการพัฒนาการ ท่องเที่ยวและการกีฬาของไทยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ 1/20/2009

28 ๑๗. คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดินการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1/20/2009

29 ๑๘. คณะกรรมาธิการการปกครอง
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ แผ่นดินส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การพัฒนา ระบบราชการและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

30 ๑๙. คณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการและ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1/20/2009

31 ๒๐. คณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และยาเสพติด
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด 1/20/2009

32 ๒๑. คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและ มาตรการการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การ แจ้งเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ รวมทั้งติดตามการให้ความ ช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัย ดังกล่าว 1/20/2009

33 ๒๒. คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการและมาตรการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ 1/20/2009

34 ๒๓. คณะกรรมาธิการการพลังงาน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา การจัดหา การใช้ การอนุรักษ์พลังงาน และผลกระทบ จากการจัดหาและการใช้พลังงาน 1/20/2009

35 ๒๔. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของ ประชาชน การส่งเสริมและเผยแพร่การเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วิถีคิดและวิถีปฏิบัติที่เป็น ประชาธิปไตย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน เสรีภาพและความรับผิดชอบในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและ สื่อมวลชน การคุ้มครองผู้เสียหายจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจน ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และการ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ 1/20/2009

36 ๒๕. คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อการเศรษฐกิจ ของชาติ ธุรกิจภาคเอกชน ประชาชน สถานการณ์ทาง เศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจของภูมิภาคต่าง ๆ ในสังคมโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐ 1/20/2009

37 ๒๖. คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการค้าการส่งออก ดุลการค้า ลิขสิทธิ์ ตราสาร ทะเบียน การประดิษฐ์หรือ การค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่และพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งการให้ความ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 1/20/2009

38 ๒๗. คณะกรรมาธิการการแรงงาน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวในประเทศ รวมทั้งแรงงานไทย ในต่างประเทศ 1/20/2009

39 ๒๘. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและการพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1/20/2009

40 ๒๙. คณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมราคาผลิตผล ทางการเกษตรให้สามารถคุ้มต่อต้นทุนการผลิตของ เกษตรกรทุกประเภท และสามารถแข่งขันได้ในตลาด การค้า ตลอดจนมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอาชีพ 1/20/2009

41 ๓๐. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการอุปถัมภ์ทำนุบำรุงและ คุ้มครองศาสนาและโบราณสถาน การอนุรักษ์และ ส่งเสริมศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ท้องถิ่น วัฒนธรรมประชาธิปไตย ภูมิปัญญาชาวบ้าน เอกลักษณ์ และแบบวิถีชีวิตไทย 1/20/2009

42 ๓๑. คณะกรรมาธิการการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของชาติ และการส่งเสริม วัฒนธรรมประชาธิปไตย รวมทั้งแนวทางการปรับฐาน การเรียนรู้ของประชาชนสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์ 1/20/2009

43 ๓๒. คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมไม่ น้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐาน การสงเคราะห์ดูแลเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะผู้ยากไร้ในเมือง และชนบท และผู้ด้อยโอกาสในสังคม 1/20/2009

44 ๓๓. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแพทย์การ สาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพตลอดจน การพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนและชุมชน 1/20/2009

45 ๓๔. คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสาร สารสนเทศ และโทรคมนาคม 1/20/2009

46 ๓๕. คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งศึกษาผลกระทบอันเกิดจากอุตสาหกรรม 1/20/2009

47 คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๗๗ กำหนดให้ วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาขึ้น เพื่อ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่าง พระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่อง ใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาหรือตามที่วุฒิสภา มอบหมาย คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาแต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบ ห้าคน และให้มีจำนวนยี่สิบสองคณะ โดยได้ระบุขอบเขตอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมาธิการในแต่ละคณะเอาไว้ ดังนี้ 1/20/2009

48 ๑. คณะกรรมาธิการการกีฬา
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬา ของชาติ รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการ พัฒนาการกีฬาของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

49 ๒. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเกษตร อาหาร การสหกรณ์ การพัฒนาการผลิต การแปรรูป และธุรกิจการเกษตร แนวทางการแก้ไข ปัญหาอุปสรรคทางการพัฒนาการเกษตร อาหาร การ สหกรณ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

50 ๓. คณะกรรมาธิการการคมนาคม
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการคมนาคม ทั้งการจราจรทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางอวกาศการขนส่งมวลชน การขนส่ง สินค้า การพาณิชยนาวี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

51 ๔. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การธนาคาร ตลาดเงิน ตลาด ทุน สถาบันการเงินของประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

52 ๕. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คนไทยโพ้นทะเล สถานการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันอาจ ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ รวมทั้งภาพลักษณ์ของ ประเทศและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

53 ๖. คณะกรรมาธิการการทหาร
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับกิจการทหาร การป้องกัน การรักษาความ มั่นคง การปกป้องผลประโยชน์ของชาติ การพัฒนา ประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

54 ๗. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการ พัฒนาการท่องเที่ยวของไทยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

55 ๘. คณะกรรมาธิการการปกครอง
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ บริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการปกครองรูปแบบพิเศษ การ พัฒนาระบบราชการ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง การกระจายอำนาจ พิจารณาศึกษานโยบายในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

56 ๙. คณะกรรมาธิการการพลังงาน
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการบริหาร การส่งเสริมพัฒนา การจัดหา การ ใช้ การอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก การศึกษาผลกระทบและแนว ทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการจัดหาและการใช้ พลังงาน ความมั่นคงด้านพลังงาน และอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

57 ๑๐. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการเมืองและการดำเนินการอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวาง แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

58 ๑๑. คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คน พิการ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศ ต่างประเทศ ประชาคมภายในประเทศและนานาชาติ และองค์กรปกครอง ท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมศักยภาพ ของชุมชนด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การคุ้มครองและดูแลผู้ยากไร้ การพัฒนาสังคม การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล การสร้างหลักประกันความมั่นคง และการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยรวม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

59 ๑๒. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการบริหารงาน ยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม การตำรวจ อัยการ และ ราชทัณฑ์ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

60 ๑๓. คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในประเทศ ทั้งในและนอกระบบแรงงานไทยในต่างประเทศ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ การให้สวัสดิการ การ ประกันสังคม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

61 ๑๔. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการบริหาร การส่งเสริมและการพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การ สื่อสาร การสื่อสารสาธารณะ โทรคมนาคม และอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

62 ๑๕. คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับศาสนา การอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา การอนุรักษ์และการสืบสานศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน การส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม เอกลักษณ์และ อัตลักษณ์ไทย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

63 ๑๖. คณะกรรมาธิการการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบของชาติ การ ให้บริการทางการศึกษาสำหรับประชาชน โดยคำนึงถึงความเป็น มาตรฐาน เป็นธรรมและทั่วถึง เน้นความเป็นเลิศทางปัญญา วินัย คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ ความเป็นไทยบน พื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และความเป็นอิสระทางวิชาการของ สถาบันอุดมศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

64 ๑๗. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ สาธารณสุข การพัฒนาระบบสุขภาพ การบริการ สาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยรวมถึงการ รักษาพยาบาล การควบคุมและป้องกันโรค การฟื้นฟู การ ส่งเสริมสุขภาวะและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

65 ๑๘. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการ บริหารจัดการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และนโยบายของ รัฐบาลในด้านงบประมาณ ติดตามและประเมินผลการรับการใช้ จ่ายเงินงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

66 ๑๙. คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน การจัดการทรัพยากรน้ำ การ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตลอดจนการ ส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศึกษาปัญหาการใช้ การป้องกัน การแก้ไข การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

67 ๒๐. คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาศึกษา และตรวจสอบเรื่องการกระทำ การทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานอื่น การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร ราชการแผ่นดิน และศึกษาเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับกลไก กระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตประพฤติมิชอบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

68 ๒๑. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม
๒๑. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำ กิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม การส่งเสริมพัฒนา เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1/20/2009

69 ๒๒. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค
๒๒. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วย ราชการ องค์กรเอกชน และองค์กรในด้านสิทธิมนุษยชน ติดตาม ตรวจสอบการกระทำหรือการละเว้นการกระทำอัน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ การคุ้มครอง ผู้บริโภค ปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคและอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง 1/20/2009

70 แบบฝึกหัด ๑. คณะกรรมาธิการ (Committee) หมายถึง
๒. จุดเริ่มต้นของระบบกรรมาธิการไทย เริ่มมาตั้งแต่เมื่อใดอธิบาย ๓. มีความสำคัญและประโยชน์ของคณะกรรมาธิการอย่างไร ๔. คณะกรรมาธิการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง อธิบาย ๕. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กรรมาธิการสามัญประจำสภา 16 คณะ มีอะไรบ้าง เพื่อทำหน้าที่ พิจารณาร่างกฎหมาย สอบสวน หรือศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านแล้ว โดยแต่ละคณะนัดประชุม ทันที เพื่อเลือกประธาน และผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญประจำคณะ 1/20/2009


ดาวน์โหลด ppt บทที่ ๕ คณะกรรมาธิการ 1/20/2009.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google