งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาทกรมอนามัยต่อการขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาทกรมอนามัยต่อการขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาทกรมอนามัยต่อการขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

2 การพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยและวัยเรียน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีสุขภาวะความรู้และมาตรฐานการครองชีพที่ดี แผน ฯ 12 ยุทธศาสตร์กระทรวง สธ. ยุทธศาสตร์ที่ 1 (P&P Excellence) พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มทุกวัย พัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทย (กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ)

3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

4

5 แผนยุทธศาสตร์กรมอนามัย
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักของประเทศ ในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนสุขภาพดี ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ ใช้ความรู้และดูภาพรวม เพื่อกำหนดนโยบายและออกแบบ ระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการประสานงาน สร้างความร่วมมือ และกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อการดำเนินงาน เป้าประสงค์หลัก ภาคีเครือข่ายและเจ้าหน้าที่มีความสุข ประชาชนสุขภาพดี ระบบอนามัยยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย 2. สร้างความเข้มแข็งระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืน 3. อภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 4. ปฏิรูประบบงานสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูงและ มีธรรมาภิบาล นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

6 เป้าประสงค์ที่ 1 ตั้งครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย 1.1 ส่งเสริมการเกิดและเติบโตคุณภาพ เป้าประสงค์ที่ 1 ตั้งครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ร้อยละ) 60 61 62 63 64 ) อัตราส่วนมารดาตาย ต่อการเกิดมีชีพแสนคน ไม่เกิน 20 ไม่เกิน 17 ไม่เกิน 15 กลยุทธ์ พัฒนาการบริการและการจัดการเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ มาตรการ 1. พัฒนาความรู้ ทักษะ การเฝ้าระวังสุขภาพและความเสี่ยงด้วยตนเองของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น 2. พัฒนาห้องคลอด ระบบเฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ 3.พัฒนาระบบส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ในภาวะฉุกเฉินและเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ทักษะบุคลากร และวัสดุ/เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

7 เป้าประสงค์ ที่ 2 เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย 1.1 ส่งเสริมการเกิดและเติบโตคุณภาพ เป้าประสงค์ ที่ 2 เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ร้อยละ) 60 61 62 63 64 2) เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85 กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมบทบาท พ่อแม่/ผู้ปกครอง ในการเลี้ยงดูเด็ก ที่ถูกต้อง เหมาะสม มาตรการ 1.1 สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง เลี้ยงดูเด็กด้วยสมุดบันทึกสุขภาพเส้นทางเดินของชีวิต (Passport health of life) 1.2 พัฒนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เป็นชุดความรู้ที่น่าอ่าน น่าใช้ เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย สะดวกด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Application) 1.3 ปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กไทยได้กินนมแม่ และส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กด้วยกระบวนการที่เหมาะสม เช่น กิน กอด เล่า เล่น นอน กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาระบบบริการและกลไกในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มาตรการ 2.1 ขับเคลื่อนกลไกการบริหารจัดการผ่านคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและคณะกรรมการส่งเสริมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ 2.2 พัฒนาระบบเฝ้าระวัง คัดกรอง และการเข้าถึงระบบบริการอย่างครอบคลุมเท่าเทียม ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น DSPM/DAIM รวมทั้งติดตามเด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้า/ล่าช้า 2..3 สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ รูปแบบ เทคโนโลยีการพัฒนาเด็กอย่างองค์รวม กลยุทธ์ที่ 3 บูรณาการและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กองค์รวม มาตรการ 3.1 สนับสนุนชุมชนและท้องถิ่นจัดทำแผนระดับตำบล รวมทั้งสร้างพื้นที่ต้นแบบ เช่น “ลานเล่นตามรอยพระยุคคลบาท”เพื่อการพัฒนาเด็กองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม 3.2 พัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 3.3 สร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching) ในการกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือการดำเนินงานของชุมชนและท้องถิ่น นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

8 เป้าประสงค์ที่ 3 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย 1.1 ส่งเสริมการเกิดและเติบโตคุณภาพ เป้าประสงค์ที่ 3 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ร้อยละ) 60 61 62 63 64 3) ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน 51 54 57 ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี ชาย 113 ซม. หญิง 112 ซม. 4) ร้อยละของเด็กอายุ 3 ปี ฟันไม่ผุ 50 52 56 58 กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาระบบและกลไกการส่งเสริมเด็ก อายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและปราศจากฟันผุ มาตรการ 1.1 ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายโภชนาการ 1,000 วันแรก และนโยบายดื่มนมเหมาะสมตามวัย 1.2 พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับในจัดบริการด้านโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่างมีคุณภาพ 1.3 พัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในการการส่งเสริมเด็กไทยสูงดีสมส่วนและการเฝ้าระวัง สุขภาพอนามัยช่องปาก 1.4 สร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching) ในการกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือการดำเนินงานของชุมชน ท้องถิ่นพัฒนา มาตรการ 2.1 ส่งเสริมการสื่อสารสาธารณะและสร้างกระแสสังคมเพื่อส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน โดยผ่าน social marketing, social media และ national champion 2.2 สร้างทักษะการจัดอาหาร เฝ้าระวังทางโภชนาการและสุขภาพอนามัยช่องปากด้วยตนเองแก่พ่อแม่หรือ ผู้ปกครอง 2.3 สร้างระบบ กลไกและเร่งรัดการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยในช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชน 2.4 สร้างบทบาทครอบครัว ชุมชน อปท.และ อสม.ส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 2.5 ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และระบบ และกลไกให้เกิดการทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแม่และเด็กปฐมวัย กลยุทธ์ที่ 2 : สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเด็ก อายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและปราศจากฟันผุ นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

9 บทบาทกรมอนามัยต่อการขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
1. ผลักดันให้เป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล 2. ขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต 3. จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต 4. จัดทำระบบติดตามและประเมินผล นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

10 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กำหนด “มหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต” เป็นนโยบายของรัฐบาล ขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต ทั่วประเทศ โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการความร่วมมือ 4 กระทรวงหลัก ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามบทบาท/ภารกิจ กำกับติดตามและประเมินผล โดยการตรวจราชการแบบบูรณาการ นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

11 การขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
(The Miracle of 1,000 Days: Maternal and Child Nutrition, Growth and Development) 1. สร้างกระแสสังคมและสื่อสารสาธารณะให้หญิงตั้งครรภ์/พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรอบรู้สุขภาพ ทุกช่องทาง 2. สร้างการมีส่วนร่วมการลงทุนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต โดยใช้งบสปสช. / สสส./ และงบประมาณในท้องถิ่น 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ 4. ขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันโดยใช้กลไก พชอ. 5. จัดทำ 6. เยี่ยมติดตาม/เสริมพลัง 1. สร้างกระแสสังคมและสื่อสารสาธารณะทุกช่องทาง ให้หญิงตั้งครรภ์/พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความตระหนักและรอบรู้สุขภาพ 2. สร้างการมีส่วนร่วมการลงทุนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต โดยใช้งบสปสช. / สสส./ และงบประมาณท้องถิ่น 5. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ (ทั้งองค์ความรู้ สถานการณ์ ผลการดำเนินงาน สื่อต่างๆ) สธ.,สปสช., สสส. สธ. สธ, สสส. ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง สมัชชาสุขภาพ สปสช. สสส. ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ขยายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต สู่ 2,500 วัน เพิ่มกลไกคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด/กทม. พัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กให้ได้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

12 จัดทำระบบติดตามและประเมินผล
1. จัดตั้งทีมติดตาม/ประเมินผล ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของกรมอนามัย 2. กำหนดรูปแบบและขั้นตอนการติดตาม/ประเมินผล 3. วางแผนและดำเนินการติดตาม/ประเมินผล 4. วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

13 ขอบคุณและสวัสดี


ดาวน์โหลด ppt บทบาทกรมอนามัยต่อการขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google