ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฏหมายสำหรับนักศึกษาพยาบาล
โดย นางวารุณี สุรนิวงศ์ อดีตที่ปรึกษากฎหมายของสภาการพยาบาล โทรศัพท์ ๐๘๑ ๘๑๗ ๗๔๒๐
2
ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป
กฎหมาย คือ กฏเกณท์ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของมนุษย์ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษ * ลักษณะหรือองค์ประกอบที่สำคัญของกฎหมาย 1. ต้องเป็นระเบียบ กฎเกณท์ ข้อบังคับที่ใช้บังคับโดยทั่วไปในสังคม 2. กำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจในองค์กร 3. เพื่อควบคุมความประพฤติ / บังคับพฤติกรรมของมนุษย์ 4. ต้องมีสภาพบังคับ
3
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ต่อ)
ระบบของกฎหมาย 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law ) เป็นการจัดระบบโดยนำคำพิพากษาของศาลและ การตีความนักปราชญ์ทางกฎหมายจนได้กฎหมาย ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ไทย ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส
4
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ต่อ)
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมายลายลักษณ์อักษร - รัฐธรรมนูญ - ประมวลกฎหมาย - พระราชบัญญัติ - พระราชกำหนด - พระราชกฤษฏีกา - กฎกระทรวง - ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง - กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เช่น ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ
5
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ต่อ)
2. จารีตประเพณี ( Commmon Law ) - มีระบบพิพากษาอาศัยจากคดีที่คล้ายกันและผู้พิพากษาคนก่อนตัดสินใว้ - สร้างเกณฑ์พิจารณาคดีโดยจัดตั้งศาลและส่งผู้พิพากษาไปตัดสินคดีทั่วประเทศ จนเกิดเป็นเกณฑ์ / บรรทัดฐาน - เป็นคำตัดสินของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่นอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐฯ
6
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ต่อ)
ประเภทของกฎหมาย 1. กฎหมายมหาชน (public law) เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐ/หน่วยงานของรัฐกับประชาชนที่รัฐมีอำนาจปกครองและอยู่เหนือประชาชน เพื่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่งคงของประเทศ 2. กฎหมายเอกชน (Private law) เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน หรือรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน(การท่องเที่ยว ฯ การบินไทย) มีอำนาจเท่าเทียมกัน
7
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (ต่อ)
3. กฏหมายระหว่างประเทศ (International law) เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอกราช โดยมีข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
8
การบังคับใช้กฏหมาย ใช้กับประชาชนทุกคนและคนต่างด้าวที่อยู่ในอาณาเขตไทย ยกเว้น พระมหากษัตริย์ ประมุขของรัฐต่างประเทศและข้าราชบริพารที่เยี่ยมเยียนทางการทูต สมาชิกในสถานทูตและบริวาร ครอบคลุมราชอาณาจักรไทย (ผืนดิน พื้นน้ำ ทะเล อากาศ เรือไทยและอากาศยานไทย) กรณีปกติใช้บังคับตามวันที่ที่ระบุไว้ในกฎหมายนั้น ถ้าไม่ระบุให้ถือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กรณีเร่งด่วน ให้ใช้บังคับได้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจาฯ
9
การยกเลิกกฏหมาย การยกเลิกโดยชัดแจ้ง เช่น ยกเลิกตามวันที่กฎหมายระบุ / ยกเลิกโดยกฎหมายใหม่ที่มีศักดิ์เท่ากันหรือสูงกว่า / รัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด การยกเลิกโดยปริยาย เช่น กฎหมายเรื่องเดียวกันสองฉบับ แต่มีข้อความขัดแย้งกัน - ถ้าศักดิ์เท่ากัน กฎหมายเก่าก็จะถูกยกเลิก - ถ้าศักดิ์ต่างกัน กฏหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะถูกยกเลิก
10
กฏหมายแพ่ง 1. กฎหมายแพ่ง 2. ลักษณะของกฎหมาย
- เป็นกฎหมายเอกชน - ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด - ความเสียหายเป็นเรื่องเฉพาะตัว 2. ลักษณะของกฎหมาย - กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน - เกี่ยวข้องกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
11
กฎหมายแพ่ง (ต่อ) 3. ความผูกพันทางแพ่ง - ความสมัครใจของคู่กรณี
- นิติกรรมสัญญา 4. ความรับผิดทางแพ่ง - ความรับผิดตามสัญญา - ความรับผิดจากการละเมิด - พรบ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ
12
กฎหมายแพ่ง (ต่อ) - ความสมัครใจของคู่กรณี - นิติกรรมสัญญา
3. ความผูกพันทางแพ่ง - ความสมัครใจของคู่กรณี - นิติกรรมสัญญา 4. นิติกรรม คือการกระทำของบุคคลด้วยความสมัครใจและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
13
กฎหมายแพ่ง (ต่อ) ความสามารถของบุคคล
ผู้เยาว์ (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (บิดามารดาหรือผู้ปกครอง) - ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจะเป็นโมฆียะจนกว่าผู้เยาว์หรือผู้แทนโดยชอบธรรมจะบอกเลิกนิติกรรมในภายหลัง - ถ้ารู้เห็นการทำนิติกรรมของผู้เยาว์แล้วไม่ทักท้วง ถือว่าให้ความยินยอมโดยปริยาย
14
ผู้เยาว์ทำนิติกรรมเองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆ เช่น รับของที่มีผู้ให้โดยเสน่หา นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว เช่น การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะและจำเป็นแก่การดำรงชีพ เช่น การซื้ออาหาร เครื่องดื่มและของใช้ในชีวิตประจำวัน การว่าจ้างรถไปโรงเรียน การจำหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้าหรือสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้อนุญาตหรือยินยอมผู้เยาว์กระทำต่อเนื่องได้
15
กฎหมายแพ่ง (ต่อ) คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริต (บุคคลที่สมองพิการหรือจิตใจผิดปกติโดยมีอาการหนักขนาดเสียสติพูดไม่เข้าใจและไม่รู้ผิดชอบชั่วดี) หรือบุคคลที่อยู่ในภาวะผัก หากทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลก่อนถือว่าเป็นโมฆียะ นิติกรรมบางอย่าง (การสมรส และการทำพินัยกรรม) หากคนไร้ความสามารถหรือผู้อนุบาลทำก็เป็นโมฆะ
16
กฎหมายแพ่ง (ต่อ) คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานได้เอง หรือจัดกิจการในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนหรือครอบครัว หรือไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากมีเหตุบกพร่อง คือกายพิการ(พิการทางสมอง / อัมพาต) จิตฟั่นเฟือน ประพฤติ สรุ่ยสุร่าย เสเพล เสพสุรามึนเมาหรือยาเสพติดจนเป็นนิสัยและเลิกไม่ได้ มีอาการมึนเมาไม่เหลือสภาพปกติ ทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ถือว่าเป็นโมฆียะ
17
กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
1. ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น 2. ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย 3. ค่าขาดแรงงาน
18
กรณีผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย
1. ค่ารักษาพยาบาล 2. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย 3. ค่าเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคต 4. ค่าเสียหายอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน
19
กฏหมายอาญา 1.กฎหมายอาญา - เป็นกฎหมายรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- เป็นกฎหมายมหาชน - เป็นกฎหมายรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง - เป็นกฎหมายที่ควบคุมบุคคลมิให้ละเมิดสิทธิผู้อื่น - เป็นกฏหมายว่าด้วยการกระทำผิดและกำหนดโทษ
20
กฎหมายอาญา (ต่อ) 3. ความผิดทางอาญา - เป็นกฎหมายที่ชัดแจ้ง
2. ลักษณะความผิดทางอาญา - เป็นกฎหมายที่ชัดแจ้ง - เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง 3. ความผิดทางอาญา - ความผิดต่อแผ่นดิน - ความผิดต่อส่วนตัว
21
กฎหมายอาญา (ต่อ) 4. โทษทางอาญา - ประหารชีวิต - จำคุก - กักขัง - ปรับ
- ริบทรัพย์สิน
22
6. ข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดทางอาญา
กฎหมายอาญา (ต่อ) 5. ความรับผิดทางอาญา - การกระทำโดยเจตนา - การกระทำโดยประมาท 6. ข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดทางอาญา - การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย - ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ - กฎหมายประเพณี - กฏหมายอื่น
23
กฎหมายอาญา (ต่อ) 7. การปฏิบัติการพยาบาลกับความผิดทางอาญา
การไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการประกอบวิชาชีพ มาตรา 374 (1 เดือน / 1,000 บาท ) เห็นผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายแห่งชีวิต ตนอาจช่วยได้โดยไม่กลัวอันตรายแก่ตนหรือผู้อื่น ไม่ช่วยตามความจำเป็น
24
ประกอบวิชาชีพโดยผู้ป่วยไม่ยินยอม มาตรา 309 (3 ปี / 6,000 บาท)
ประกอบวิชาชีพโดยผู้ป่วยไม่ยินยอม มาตรา (3 ปี / 6,000 บาท) บังคับข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำหรือไม่กระทำหรือจำยอมต้องกระทำการรักษา ทำให้กลัวว่า จะเกิดอันตรายต่อชีวิต เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน หรือ ใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำ/ไม่กระทำการนั้น/จำยอมต่อสิ่งนั้น
25
ประกอบวิชาชีพโดยผู้ป่วยไม่ยินยอม (ต่อ) มาตรา 310 (3 ปี / 6,000 บาท)
หน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง ปราศจากเสรีภาพ ถ้าตายหรืออันตรายสาหัส(อาจมีโทษฐานทำร้ายร่างกายอีก)มาตรา 290 มาตรา 297หรือมาตรา 298
26
ความผิดฐานทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลยผู้ป่วย
มาตรา ปี/ 6,000 บาท มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญา ต้องดูแลผู้ที่พึ่งตนเองไม่ได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ/จิตพิการ ทอดทิ้งโดยน่าจะเกิดอันตรายถึงชีวิต มาตรา 373 (500 บาท) ปล่อยปละละเลยให้ผู้วิกลจริตออกไปเที่ยวโดยลำพัง
27
ความผิดฐานเปิดเผยความลับ มาตรา 323 (6 เดือน / 1,000 บาท)
ล่วงรู้ความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่ประกอบวิชาชีพ เปิดเผยความลับในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
28
ความผิดฐานประมาท กระทำโดยไม่เจตนา
มาตรา 59 วรรค 4 กระทำโดยไม่เจตนา กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
29
ความผิดฐานประมาท (ต่อ)
ผู้ป่วยได้รับอันตรายเล็กน้อย มาตรา 390 ( 1 เดือน/ 1,000 บาท กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ผู้ป่วยได้รับอันตรายสาหัส มาตรา 300 (3 ปี / 6,000 บาท) - ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาดหรือเสียฆานประสาท - เสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์
30
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่น - หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว - แท้งลูก - จิตพิการอย่างถาวร - ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงชีวิต - ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุขเวทนาเกินกว่า 20 วันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน
31
ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย มาตรา 291 (10 ปี / 20,000 บาท)
- กระทำโดยประมาท - เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
32
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ
ทำคำรับรองเป็นเท็จ มาตรา 269 (2 ปี / 4,000 บาท) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ ปลอมเอกสาร มาตรา 264 วรรคสอง ( 3 ปี / 6,000 บาท) กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด มีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่รับความยินยอม/ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่น นำไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด/ประชาชน
33
ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
มาตรา 301 (3 ปี / 6,000 บาท) ทำให้ตนเองแท้งลูก หรือ ยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก
34
ความผิดฐานทำให้แท้งลูก(ต่อ)
มาตรา 302 ทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม (5 ปี / 10,000 บาท) ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย (7 ปี / 14,000 บาท) ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย( 10 ปี / 20,000 บาท)
35
มาตรา 305 (ไม่มีความผิด) แพทย์กระทำตามมาตรา 301และมาตรา 302 โดย - จำเป็นต้องทำเพื่อสุขภาพของหญิงนั้น หรือ - หญิงมีครรภ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตาม มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283หรือมาตรา 284
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.