งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความขัดแย้งทางการเมืองไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความขัดแย้งทางการเมืองไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความขัดแย้งทางการเมืองไทย
ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

2 ประวัติ ปัจจุบัน ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีต ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง) วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการท้องถิ่น) วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

3 การศึกษา รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยรังสิต

4 ระดับความขัดแย้งทางการเมืองไทย
ระดับประเทศ ประชาชนเกิดความแตกแยกทางความคิด เกิดการแบ่งข้างทางการเมือง เช่น เหลือง VS แดง / กปปส. VS นปช. เกิดเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐ มองรัฐเป็นปฏิปักษ์ แสดงออกด้วยการต่อต้านรัฐบาล เช่น พธม. VS รบ.ทักษิณ, รบ.สมัคร, สมชาย / นปช. VS รบ.อภิสิทธิ์ / กปปส VS รบ.ยิ่งลักษณ์ ระดับองค์การ หน่วยงานต่างๆ เกิดการรวมกลุ่มภายในแบ่งแยกเป็นหมู่เป็นพวกตามความเชื่อและอุดมการณ์ทาง การเมือง เช่น เหลือง / แดง / ขาว / หลากสี (สลิ่ม) ระดับปัจเจกบุคคล ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ทำให้แต่ไม่สามารถยอมรับ หรืออดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองได้ เช่น ความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ facebook / lines/ panthip

5 มูลเหตุความขัดแย้งทางการเมืองไทย
ปัจจัยภายในประเทศ ผู้นำและชนชั้นนำทางการเมือง : พฤติกรรมการใช้อำนาจ และการชี้นำทางการเมือง หรือการกล่อมเกลา ทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น นโยบายทางการเมือง การพูดโน้มน้าว คู่ขัดแย้งทางการเมือง : การแสดงออกของฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์ หรือสูญเสียอำนาจในการเข้าถึง ทรัพยากร เช่น การปลุกระดมหรือการรุกเร้าให้เกิดการรวมกลุ่มเข้าไปทวงคืนอำนาจทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมในสังคม : การยอมรับผู้มีอำนาจ ผู้อุปถัมภ์ ผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยปราศจากการไตร่ตรองถึงความชอบธรรมของการใช้อำนาจ ความล้มเหลวของระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ : การปล่อยปละละเลยต่อการมีส่วนร่วมทางการ เมือง เมินเฉย ละเลยถึงสิทธิและหน้าที่พลเมือง พอใจกับการเป็นผู้ตามหรือผู้รับมากกว่าเข้าไปเป็นตัวแสดง ในการผลักดันหรือติดตามกระบวนการนโยบายสาธารณะ ปัจจัยภายนอกประเทศ การแทรกแซงทางการเมืองของต่างชาติ : ทั้งในทางตรงผ่านนโยบายการต่างประเทศ และในทางอ้อม ผ่านองค์การระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ

6 โครงสร้างความขัดแย้งทางการเมืองไทย
มูลเหตุ ปัจจัยภายในประเทศ ผู้นำและชนชั้นนำทางการเมือง คู่ขัดแย้งทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมในสังคม ความล้มเหลวของระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ปัจจัยภายนอกประเทศ การแทรกแซงทางการเมืองของต่างชาติ : ระดับความขัดแย้ง ระดับประเทศ ระดับองค์การ ระดับปัจเจกบุคคล ผลกระทบจากความขัดแย้ง สังคมขาดความสงบสุข เกิดความแตกแยก ง่ายต่อการถูกแทรกแซง และอาจสูญเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจและการเมือง

7 แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
การสร้างค่านิยมและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ฝังรากลึกในจิตใจ มิใช่ทำเพียงบางด้าน ได้แก่ 1)ปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) 2)เสรีภาพ (Liberty or Freedom) 3)เหตุผล (Reason) 4)ความ เสมอภาค (Equality) 5)ขันติธรรม (Toleration) อดทนต่อความคิดเห็นของผู้อื่น 6)ฉันทานุมัติ (Consent) และ 7)รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) การค้นหามูลเหตุและความจริงของความขัดแย้งที่แท้จริง การสร้างการยอมรับในความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรม

8 กรณีศึกษามาเลเซีย แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 20ปีแล้วก็ตาม แต่กลิ่นอายของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คน หลากหลายที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพในมาเลเซียยังคงเป็นเสน่ห์ชวนให้ศึกษาค้นคว้าในเชิงลึก โดยเฉพาะปัญหาของพหุสังคมอันเกิดจากการอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่าง วัฒนธรรม โดยมีประเด็นการเมืองและผลประโยชน์แทรกซึมอยู่ในทุกวงการ ทุกสาขาวิชาชีพอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งปัญหาลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียแต่พบเห็นได้ทั่วโลก ตามการพลวัตของ วัฒนธรรมและการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน ปัญหาดังกล่าวค่อย ๆ บ่มเพาะความขัดแย้งขึ้นมาจนกระทั่งเกิด จลาจลเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ รัฐบาลมาเลเซียในขณะนั้น แก้ปัญหานี้โดยใช้การศึกษาเป็นตัว ประสานเพื่อลดทอนความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้งนี้ภาษาคือกุญแจสำคัญ ที่รัฐบาลมาเลเซียใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในมาเลเซีย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มาเลเซีย 2020 ที่ว่า มาเลเซีย คือ หนึ่งเดียวกัน ข้อมูลจาก วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ : 8 ฉบับที่ : 3 เลขหน้า : ปีพ.ศ. : 2559

9 กรณีศึกษากัมพูชา ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของกัมพูชาถือว่าเป็นโศกนาฏกรรม จนนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อว่า David Chandler ตั้งชื่อหนังสืออันโด่งดังของเขาว่า The Tragedy of Cambodian History สงครามอินโดจีนระหว่างกึ่งที่สองแห่ง ศตวรรษที่ 20 มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อกัมพูชา ต้องขอขอบคุณตำแหน่งในภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของกัมพูชาที่ ทำให้กัมพูชาหลีกไม่พ้นจากการถูกดึงให้ไปพัวพันกับข้อขัดแย้งซึ่งอยู่ในสงครามของตัวแทนแห่งคู่แข่งที่มีอำนาจอัน ยิ่งใหญ่ระหว่างสงครามเย็น ระหว่างปี ค.ศ และ 1993 กัมพูชาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง มากมายซึ่งไม่มีการปกครองระบบไหนมีสันติสุขเลย ในปี ค.ศ กลุ่มที่เป็นคู่แข่งในสงครามกลางเมืองกัมพูชา ได้ลงนามยอมรับสันติภาพในฝรั่งเศส ซึ่งได้ทำให้เกิดหนทางให้กับทูตสันติภาพของสหประชาชาติในปีต่อมาและการ เลือกตั้งแห่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติในปี ค.ศ เมื่อสิ้นสุดการต่อสู้แบบ กองโจรของกลุ่มเขมรแดงคอมมิวนิสต์ในท้ายปี ค.ศ กัมพูชาได้รับสันติสุขและความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี แม้ว่าปัจจุบันนี้จะไม่มีสงครามแล้ว กัมพูชายังไม่สามารถเพลิดเพลินกับสันติภาพได้อย่างเต็ม ความหมายเลย ถึงแม้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะได้ถูกลดระดับลงไปในระหว่างสองทศวรรษที่ผ่านมาแล้วก็ ตาม แต่การจะมีสันติภาพที่มั่นคงทางการเมืองก็ยังคงเป็นคำถามต่อประชาธิปไตยอยู่ ข้อมูลบางส่วนจาก: วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ : 4 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า : ปีพ.ศ. : 2559

10 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ความขัดแย้งทางการเมืองไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google