งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ
1.นาย กษิดิ์เดช นามสกุล ธูปบูชา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ

2 ความหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยความฉลาดและใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์มากที่สุด โดยหลีกเลี่ยงให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อให้มนุษย์ที่เกิดมาในรุ่นต่อไปได้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ในการดำรงชีวิต   Menu

3 หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีหลักการดังนี้ 1.การใช้ให้นานที่สุด การใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดต้องรู้จักถนอมรักษาเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้รวดเร็วเกินไปและทำให้สภาพแวดล้อมปรับสมดุลได้ทัน 2.การใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้มากที่สุดและมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวนมากนั้น จะช่วยลดปริมาณความต้องการทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลงและช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย Menu Next

4 หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีหลักการดังนี้ 1.การใช้ให้นานที่สุด การใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดต้องรู้จักถนอมรักษาเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้รวดเร็วเกินไปและทำให้สภาพแวดล้อมปรับสมดุลได้ทัน 2.การใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้มากที่สุดและมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวนมากนั้น จะช่วยลดปริมาณความต้องการทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลงและช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย Menu Next

5 หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.การนำกลับมาใช้ใหม่ ของใช่หลายชนิดที่นำมาใช้จนเก่าหรือหมดสภาพการใช้งานแล้วถ้าสามารถนำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนสภาพให้วัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าใหม่จะช่วยลดการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติและลดการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 4.การทดแทน ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดหายาก มีอยู่น้อย การแสวงหาวัสดุอื่นที่มีอยู่มากหรือมีค่าน้อยกว่ามาใช้แทน จะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่หายากลงได้และยังช่วยให้วัสดุที่ไม่มีค่ากลับมามีค่าเพิ่มขึ้นด้วย Back Menu Next

6 หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของเครื่องใช้หลายชนิดถ้าได้รับการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ขัดข้องหรือสึกหรอให้กลับสู่สภาพที่ใช้งานได้ จะช่วยยืดอายุการใช้งานและลดอัตราการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรวมลงได้ 6.การฟื้นฟูความเสื่อมโทรม ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้หากมีการเร่งฟื้นฟูเพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และเพื่อรักษาความสมดุลของธรรมชาติด้วย เช่นการเร่งรัดปลูกป่าเพิ่มขึ้น การบำบัดน้ำเสีย และการไม่ลักลอบตัดต้นไม้ Back Menu

7 การอนุรักษ์ป่าไม้ 1. ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือการลักลอบตัดไม้เพื่อนำไม้ไปใช้ประโยชน์นั้น มีส่วนทำให้ปริมาณป่าไม้ลดลงจำนวนมาก และการบุกรุกทำลายป่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายและการไม่เข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่า จึงเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้อีกวิธีหนึ่ง 2. การเลือกตัดต้นไม้ การตัดไม้ทั้งในป่าที่ได้รับสัมปทานหรือไม่ก็ตาม ถ้าหากมีการเลือกตัดต้นไม้โดยคำนึงถึงการให้สภาพป่ายังคงอยู่ หรือทำลายระบบนิเวศของป่าไม้ให้น้อยที่สุด จะทำให้ป่าสารมารถดำรงสภาพอยู่ได้ Menu Next

8 การอนุรักษ์ป่าไม้ 3. การป้องกันไฟป่า ในแต่ละปีป่าไม้ถูกทำลายทั้งโดยธรรมชาติและการจุดไฟเผาเพื่อทำการเกษตรกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูแล้งทำให้ต้นไม้ทุกชนิดถูกทำลายและสัตว์ป่าขาดที่อยู่อาศัย การร่วมมือป้องกันและสกัดกั้นไม่ให้เกิดไฟป่า จะเป็นผลดีที่จะทำให้ต้นไม้ในป่าได้เจริญเติบโตเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ 4. การปลูกป่า การปลูกป่าและการดูแลป่าไม้เพื่อให้ฟื้นสภาพป่าขึ้นมาใหม่นั้นจะเป็นการช่วยเร่งรัดให้มีป่าไม้เกิดขึ้นทันกับความต้องการได้ และในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการปลูกป่าอยู่ทั่วไป Back Menu

9 การอนุรักษ์สัตว์ป่า 1.กำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ 2. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง Menu Next

10 การอนุรักษ์สัตว์ป่า 3. การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองเพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมากทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ 4. การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้วยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย Back Menu

11 การอนุรักษ์พลังงาน 1. ลดการสูญเสียพลังงาน เช่นไม่เปิดไฟฟ้าหรือน้ำทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น ไม่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้โดยไม่ใช้รถ 2.การใช้พลังงานให้น้อยลง เช่น การใช้เตาหุงต้มอาหารในสถานที่ที่มีลมพัดอยู่ตลอดเวลา 3. การลดกิจกรรมบางอย่าง เช่น การลดการใช้ป้ายโฆษณาสินค้าในเวลากลางคืน การลดเวลาในการออกอากาศของสถานีวิทยุและโทรทัศน์ Menu Next

12 การอนุรักษ์พลังงาน 4. การเพิ่มปะสิทธิภาพของเครื่องใช้ เช่น ตู้เย็นที่สิ้นเปลืองไฟมาก หลอดไฟฟ้าที่ไม่ทำความสะอาด 5. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประชาชนทุกคนควรจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ไปยังสถานีต่างๆอย่างทั่วถึง 6. มาตรการและนโยบายของรัฐ เช่น การส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลังงาน การกำหนดนโยบายการเสียค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า Back Menu Next

13 การอนุรักษ์พลังงาน 7. การแสวงหาแหล่งพลังงาน โดยการหาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานเดิมที่กำลังจะหมดไปหรือการหาแหล่งพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการนำเข้าจากต่างประเทศ 8. การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแกลบ อ้อย มันสำปะหลัง มะพร้าว Back Menu Next

14 การประยุกต์ใช้หลัก 7R ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เรียกว่า หลัก 7R นอกจากจะไม่ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสินค้าแล้ว ยังช่วยลดภาวะโลกร้อน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ด้วย ซึ่งนักเรียนสามารถนำหลัก 7R มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดังนี้ 1.การปฏิเสธการใช้ ( Reject) เป็นการงดใช้สิ่งของที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป เช่น หากเดินทางในระยะทางที่ไม่ไกลเกินไป ควรเดินหรือขี่จักรยานแทน Menu Next

15 การประยุกต์ใช้หลัก 7R ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.การนำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรลงได้มาก เช่น นำชุดนักเรียนที่ไม่ใส่แล้วให้น้อง หรือบริจาคให้คนยากจนไว้ได้ใส่อีกเป็นต้น 3.การใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Reduce) จะช่วยลดปริมาณความต้องการทรัพยากรโดยไม่ต้องจัดหาสิ่งใหม่มาใช้ เช่น ถ้าบ้านของนักเรียนและเพื่อนอยู่ทางเดียวกัน ก็ให้นั่งรถไปคันเดียวกัน จะช่วยประหยัดน้ำมันและประหยัดการใช้รถโดยไม่จำเป็น เป็นต้น Back Menu Next

16 การประยุกต์ใช้หลัก 7R ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. การซ่อมแซมฟื้นฟู (Repair) โดยซ่อมสิ่งของเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ จะช่วยยืดอายุการใช้งานและลดการใช้วัตถุดิบลงได้ เช่น ชุดนักเรียนที่ฉีกขาดหรือชำรุด อาจนำมาซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้อีก เป็นต้น 5. การนำไปผลิตขึ้นใหม่(Recycle) เพื่อประหยัดการใช้ทรัพยากร เช่น นำถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ หนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้วไปขายต่อให้พ่อค้ารับซื้อของเก่า เพื่อจะได้นำไปผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้ใหม่ เป็นต้น Back Menu Next

17 การประยุกต์ใช้หลัก 7R ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
6. การเสริมแต่งของเก่า (Renewal) เพื่อให้ดูสวยงาม หรือใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วดูเก่าไม่ทันสมัย ก็ให้นำไปตกแต่งทำสีใหม่ เป็นต้น 7. การถนอมรักษา (Recovery) เช่น กระเป๋าเดินทาง ควรเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพดี เพื่อไว้ใช้ครั้งต่อไปได้นานๆ เป็นต้น Back Menu

18 การเพิ่มอุณหภูมิ ฤดูร้อนในแต่ละปีจะร้อนกว่าปีก่อนๆ บางพื้นที่อุณหภูมิไม่เคยร้อนจัดมาก่อนก็กลับร้อนเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดอุดรธานีในช่วงหลังสงกรานต์ปี พ.ศ.2533 อุณหภูมิร้อนขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียสอยู่หลายวัน อุฯหภูมิความร้อนสูงขึ้นที่ผิดปกติอย่างนี้ ตามหลักแล้วก็เกิดขึ้นจากการที่บรรยากาศหรืออากาศที่อยู่โดยรอบผิวโลกมีสารชนิดต่างๆ ล่องลอยเข้าไปแทรกซึมอยู่มากกว่าแต่ก่อน จนทำให้ความร้อนที่โลก ได้รับจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันนั้นนถูกสะสมเอาไว้มากขึ้น จนทำให้อากาศร้อนขึ้นที่เรียกกันว่า การเกิดสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) โดยสภาวะเรือนกระจกนั้นเกิดขึ้นเนื่องมาจาก

19 1.การเผาไหม้พลังงาน ทั้งโรงงานนอุตสาหกรรม เครื่องยนต์ทุกชนิด เครื่องทำความร้อน เครื่องทำความเย็น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และการหุงต้มอาหารด้วยกรรมวิธีต่างๆ การเผาผาญพลังงานเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเปผ้นพลังงานปรมาณู ถ่านหิน น้ำมัน ฟืน ถ่าน ฯลฯ จะทำให้พลังงานความร้อนถูกปลดปล่อยเข้าสู่อากาศที่ห่อหุ่มโลกอยู่ดยรอบและการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงทุกชนิดที่ว่ามานี้ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งจากสถิติการช้หรือการซื้อขายพลังงานเหล่านั้นในแต่ละปี 2.การสูญเสียป่าไม้ ปริมาณป่าไม้ของโลกถูกทำลายไปกว่าเดิม โดยเฉพาะในประเทศแถบร้อนที่เคยมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของโลกมาก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้พื้นดินหรือผิวโลกขาดความชุ่มชื้นแล้ว ป่าไม้หรือพืชยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาสไปใช้ เมื่อป่าไม้ลดลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศก็จะถูกพืชนำไปใช้น้อยไปด้วย ความจริงแล้วสภาวะเรือนกระจกได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยมีการปฎิวัติอุตสาหกรรมจึ้น คือเริ่มมีการใช้พลังงานจากแหล่างต่างๆ และในขณะเดียวกันป่าไม้ก็ถูกทำลายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน สภาวการณ์ที่อุณหภูมิของอากาศโดยรอบโลกในปัจจุบันสูงขึ้นจนรู้สึกได้อยู่อย่างนี้ จึงเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดสะสมขึ้น ป่าไม้ที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้พิทักษ์โลกหรือธรรมชาติให้เกิดความสมดุลนั้น ก็ได้ถูกบุกรุกทำลายมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้วเช่นกัน จนกระทั่งมีป่าไม้เหลืออยู่น้อยจนก่อให้เกิดความร้อนและแห้งแล้งขึ้นในทุกภาคของโลก

20 การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ นอกจากจะเกิดจากฝีมนุษย์ในเรื่องการทำลายป่าไม้และสภาพแวดล้อมแล้ว ยังเกิดจากการกระทำของธรรมชาติอีกด้วย อย่างเช่น ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "เอลนิโน" ซึ่งเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของทิศทางของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรที่เกิดจากลมประจำที่พัดอ่อนกำลังลงหรือพัดกลับทิศทางตรงกันข้ามและจะมีผลทำให้เกิดคลื่นในมหาสมุทร ซึ่งจะพัดสวนทางกับทิศทางลม เมื่อคลื่นนี้พัดไปถึงฝั่งชายทะเลของทวีปแล้วก็จะพัดเอาผิวน้ำทะเลที่อุ่นมาแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดมาจากใต้มหาสมุทร ซึ่งมีอยู่เดิมในบริเวณนี้ แต่ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิโน ในแต่ละบริเวณจะได้รับไม่เหมือนกัน เช่น บางแห่งจะเกิดความร้อนแห้งแล้ง บางแห่งอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง

21 3.จากการทำลายธรรมชาติ เช่น การตัดต้นไม้ หรือการทำลายป่าไม้ผิดหลักวิชา เช่น ตัดเพียงเพื่อเอาไม้มาปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำฟืน ทำไร่ ฯลฯ ทำให้ฝนไม่ตก อากาศแห้งแล้ง หรือการทิ้งสิ่งของลงแม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดการตื้นเขิน น้ำไม่มีการระเหยกลายเป็นเมฆหรือฝน หรือการทิ้งระเบิดไฮโดรเจน เช่น ที่ทิ้งเมืองฮิโรชิมา ซึ่งทำให้คนตาย พิการ ตลอดจนพื้นดินอาศัยปลูกพืชผลและเป็นที่อยู่อาศัยไม่ได้เป็นเวลานานหลายปี อันตรายของมลพิษทางอุณหภูมิ ความร้อนทำให้เพลียง่าย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ทำงานขาดสมาธิ หงุดหงิดและโมโหง่าย


ดาวน์โหลด ppt มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google