งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นายกิตติพงษ์ สว่างลาภ วท.บ., บธ.บ., ศศ.บ., วท.ม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นายกิตติพงษ์ สว่างลาภ วท.บ., บธ.บ., ศศ.บ., วท.ม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นายกิตติพงษ์ สว่างลาภ วท.บ., บธ.บ., ศศ.บ., วท.ม.
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม นายกิตติพงษ์ สว่างลาภ วท.บ., บธ.บ., ศศ.บ., วท.ม. วิท วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

2 ปัญหาการวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน ที่มีการดำเนินการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ได้รับการรับรองผ่านการประเมินมาตรฐานการศึกษา จึงทำให้มีจำนวนนักศึกษาสมัครเข้ารับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) เป็นจำนวนมากในทุกสาขา ส่งผลทำให้ มีผู้สำเร็จการศึกษา (ปวช) เป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่สิ่งที่ผู้วิจัยได้ค้นพบประเด็นของปัญหา กล่าวคือ จำนวนนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษา (ปวช) มีการตัดสินใจศึกษาต่อเนื่องในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) กับวิทยาลัยฯ มีจำนวนแนวโน้มลดลง ด้วยเหตุจากประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่ต้องการศึกษาหาโอกาสความน่าจะเป็นของการตัดสินใจศึกษาต่อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักศึกษา รวมทั้งวิเคราะห์หาผลกระทบส่วนเพิ่มของปัจจัยที่มีอิทธิพลนั้น เพื่อนำผลการวิจัยในครั้งนี้ ใช้เป็นแนวทางวางแผนกำหนดนโยบายและดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดการศึกษาภายในวิทยาลัย มุ่งหวังให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม เพื่อพิจารณาหาผลกระทบส่วนเพิ่มจากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ การตัดสินใจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การคำนวณการเก็บข้อมูลจำนวนกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างประชากรมีความไม่แตกต่าง จึงใช้วิธีการคำนวณ ตามสูตรดังนี้ (Anderson, Sweeney, and Willams, 2011) n = การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

4 โดยที่ n คือ จำนวนการเก็บกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา
โดยที่ n คือ จำนวนการเก็บกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา คือ ค่าสถิติทดสอบ Z ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ P คือ สัดส่วนความน่าจะเป็นที่ตัดสินใจศึกษาต่อ P คือ สัดส่วนความน่าจะเป็นที่ไม่ตัดสินใจศึกษาต่อ E คือ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (Margin of Error )  n = ( 1.96)² 0.5 (0.5) (0.1)² n = 96 ซึ่งจากผลการคำนวณต้องเก็บข้อมูลตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 96 ราย และเพื่อเป็นการป้องกันความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา ที่อาจจะมีผลกระทบต่อต่อการวิเคราะห์ โดยในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ประกอบกับตัวแปรอิสระที่ใช้ในสมการมีความน่าสนใจและมีระดับความเป็นอิสระแตกต่างกัน ดังนั้นในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ผู้วิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเป็นจำนวน 250 ราย   การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

5 ที่มา : จากการคำนวณ การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กับนักศึกษาจำนวน 250 รายใน 5 สาขาวิชา (ตารางที่ 1) โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาที่ตัดสินใจศึกษาต่อจำนวน 125 ราย และกลุ่มนักศึกษาที่ตัดสินใจไม่ศึกษาต่อ จำนวน 125 ราย โดยการใช้แบบสอบถามข้อมูล ทำการสอบถามกับนักศึกษาในปีการศึกษา 2557 ตารางที่ 1 จำนวนสุ่มตัวอย่างนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 แยกตามสาขาวิชา สาขาวิชา จำนวนนักศึกษา ทั้งหมด (ราย) สัดส่วน จำนวนนักศึกษาที่ ตัดสินใจศึกษาต่อ จำนวนนักศึกษาที่ตัดสินใจ ไม่ศึกษาต่อ การบัญชี 182 0.6 55 คอมธุรกิจ 128 39 การขาย 44 13 คอมกราฟฟิค 38 11 การท่องเที่ยว 22 7 รวม 414 125

6 กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้กำหนดตัวแปรอิสระ (Independent Variable) จำนวน 25 ตัวแปร ที่มีผลต่อตัวแปรตาม (Dependent Variable) ที่ใช้ตัดสินใจศึกษาต่อโดยตรง สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ และได้กำหนดตัวแปรตาม ให้เป็น 1 กับ 0 คือ นักศึกษาที่ตัดสินใจศึกษาต่อกับนักศึกษาที่ตัดสินใจไม่ศึกษาต่อ ตามลำดับ ส่วนตัวแปรอิสระ มีทั้งหมด 25 ปัจจัย ดังนี้ X1 = เกรดนักศึกษา (GPA) X2 = ระยะทางห่างจากวิทยาลัย (Distant) X3 = การเข้าถึงแหล่งเงินกู้การศึกษา (Fundedu) X4 = ชั่วโมงการศึกษา (Studytime) X5 = ชั่วโมงการพบอาจารย์ที่ปรึกษา (Advertime) X6 = ชั่วโมงการทำกิจกรรม (Activitytime) X7 = ชั่วโมงการฝึกงาน (Trianingtime) X8 = ชั่วโมงการศึกษาดูงาน (Outsidetime) X9 = จำนวนอาจารย์ (Amountteacher) X1 0= จำนวนเจ้าหน้าที่ (Amountofficer) X11 = ชั่วโมงการให้บริการเจ้าหน้าที่ (Servicetime) X12 = จำนวนห้องเรียน (Amountclass) X13 = ชั่วโมงรับรู้ข่าวสารวิทยาลัย (Collegenews) X14 = ชั่วโมงการแนะแนว (Timesuggest) X15 = ชั่วโมงรับรู้ข่าวสารมหาวิทยาลัย (Uninews) X16 = ชั่วโมงบริการชุมชน (Timeservice) X17 = จำนวนประเภทกิจกรรม (Amountactivity) X18 = จำนวนคุณวุฒิของอาจารย์ (Degree) X19 = จำนวนหนังสือห้องสมุด (Amountbook) X20 = ชั่วโมงบริการห้องสมุด (Timelibrary) X21 = ชั่วโมงบริการคอมพิวเตอร์ (Timecom) X22 = ชั่วโมงบริการอินเตอร์เน็ต (Timenet) X23 = อายุนักศึกษา (Age) X24 = ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (Expense) X25 = รายได้ของนักศึกษา (Salary) การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

7 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิต (Logit Model) เป็นการวิเคราะห์สมการถดถอยที่ตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ โดยจะทำให้ได้ค่าประมาณความน่าจะเท่านั้น ซึ่งแบบจำลองโลจิตจะใช้ฟังก์ชั่นความน่าจะเป็นสะสมแบบโลจิสติก (Pindyck and Rubinfeld,1998) ดังนี้ ……( 1 ) โดยแบบจำลองสมการสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้ดังนี้คือ …….( 2 ) โดยที่ คือ โอกาสที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อ คือ ฟังก์ชันของความน่าจะเป็นสะสม คือ ค่าสัมประสิทธิ์ คือ ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเศไทย

8 เมื่อกะประมาณสมการที่ (2) แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการหาผลกระทบส่วนเพิ่ม (Marginal Effect) ของตัวแปรอิสระแต่ละตัว ( ) ที่มีผลต่อโอกาสที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งสามารถหาได้ดังนี้ โดยที่ คือ โอกาสหรือความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อ ณ ระดับค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

9 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยการใช้แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม มีลักษณะเป็นแบบคำถามปลายเปิดและแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 22 (Statistical Package for Social Science) โดยการใช้การวิเคราะห์การถดถอย โลจิสติก (Logistic Regression Analysis) จากการสร้างสมการทำนายปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยี การจัดการเพชรเกษม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

10 ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์โดยการใช้แบบจำลองสมการถดถอยโลจิสติก เพื่อใช้ในการทำนาย โอกาสความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คำนวณได้ค่า นำไปแทนค่าในฟังก์ชั่นความน่าจะเป็นสะสมแบบโลจิสติก ผลการคำนวณที่ได้ พบว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม ที่ระดับค่าเฉลี่ย ของตัวแปรอิสระและค่าของตัวแปรหุ่นเป็นศูนย์ มีค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ หรือ ร้อยละ จากนั้นค่า ที่ได้ถูกนำมาคำนวณหาค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม (Marginal Effect) ซึ่งเป็นการหาการเปลี่ยนแปลงของความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อ เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 หน่วยจากค่าเฉลี่ย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาและการหาผลกระทบส่วนเพิ่ม แสดงดัง ( ตารางที่ 2 ) แข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

11 Variable Coefficient Sig. Marginal Effect 0.081* 0.033** 0.074*
ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อและการหาผลกระทบส่วนเพิ่ม Variable Coefficient Sig. Marginal Effect GPA 0.027 0.951NS 0.0058 Distant 0.001 0.926NS 0.0002 Fundedu 0.232 0.544 NS 0.0498 Studytime -0.607 0.081* Advertime -0.771 0.033** Activitytime 0.204 0.513 NS 0.0438 Trianingtime 0.014 0.966 NS 0.0030 Outsidetime 0.436 0.197 NS 0.0936 Amountteacher 0.076 0.814NS 0.0163 Amountofficer -0.580 0.074* Servicetime Amountclass Collegenews Timesuggest -0.217 0.070 -0.134 0.960 0.488NS 0.831 NS 0.675 NS 0.002*** 0.0150 0.2062

12 ตารางที่ 2 (ต่อ) Variable Coefficient Sig. Marginal Effect Uninews
ตารางที่ 2 (ต่อ) Variable Coefficient Sig. Marginal Effect Uninews Timeservice -0.240 -0.512 0.470NS 0.121 NS Amountactivity 0.544 0.096* 0.1168 Degree 0.331 0.296NS 0.0710 Amountbook 0.159 0.622NS 0.0341 Timelibrary 0.137 0.660NS 0.0294 Timecom 0.089 0.764NS 0.0191 Timenet 0.239 0.414NS 0.0513 Age 0.243 0.229NS 0.0521 Expense 0.000 0.821NS 0.0000 Salary 0.834NS C -4.535 0.267 NS หมายเหตุ *** หมายถึง มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ ** หมายถึง มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ * หมายถึง มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.1 NS หมายถึง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่มา: จากการคำนวณ การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

13 สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัย พบว่า โอกาสความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม มีค่าความน่าจะเป็น ณ ระดับค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่ร้อยละ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ชั่วโมงการแนะแนวศึกษาต่อ และการเพิ่มจำนวนประเภทกิจกรรม เป็นปัจจัยที่ทำให้ความน่าจะเป็นในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเพิ่มจำนวนชั่วโมงการเรียน การเพิ่มจำนวนชั่วโมงการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาและการเพิ่มจำนวนชั่วโมงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ความน่าจะเป็นในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงลดลง การวิเคราะห์หาค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม ( Maginal Effect ) 1) หากนักศึกษามีจำนวนชั่วโมงการแนะแนวเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงจากค่าเฉลี่ย จะทำให้ความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวีชาชีพชั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ ) หากนักศึกษามีจำนวนประเภทกิจกรรมเพิ่มขึ้น 1 กิจกรรมจากค่าเฉลี่ย จะทำให้ความน่าจะเป็นที่นักศึกษาจะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.68 การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

14 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
3) หากนักศึกษามีจำนวนชั่วโมงเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงจากค่าเฉลี่ย จะทำให้ความน่าจะเป็นที่จะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ลดลงร้อยละ 16.56 4) หากนักศึกษามีชั่วโมงการเรียนเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงจากค่าเฉลี่ย จะทำให้ความน่าจะเป็นที่นักศึกษา จะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ลดลงร้อยละ 13.04 5) หากนักศึกษามีชั่วโมงการได้รับบริการจากเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงจากค่าเฉลี่ย จะทำให้ความน่าจะเป็นที่จะตัดสินใจศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ลดลงร้อยละ 12.46 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากผลการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้วิทยาลัย ฯ มีการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลต่อการเพิ่มจำนวนนักศึกษาในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ดังนี้ 1) ควรเน้นทำการประชาสัมพันธ์และจัดชั่วโมงการแนะแนวหลักสูตรการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ 2) ควรเพิ่มประเภทชมรมกิจกรรมใหม่ ๆ โดยเน้นกิจกรรมตามความต้องการของนักศึกษา 3) ควรสร้างความเข้าใจแก่อาจารย์ที่ปรึกษา เน้นไม่ให้ใช้เวลานานเกินไป เมื่อนักศึกษามาขอปรึกษา 4) ควรสร้างความเข้าใจและประโยชน์ที่ได้จากการจัดเพิ่มชั่วโมงการเรียนพิเศษต่าง ๆ แก่นักศึกษา เช่น การเรียนเสริมก่อนเข้ารับการทดสอบ V-NET เพื่อให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดี 5) ควรทำการศึกษาปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการทำงานของหน่วยงานที่ให้บริการ มุ่งหวังให้เกิดการบริการแก่นักศึกษาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว รวมทั้งสร้างความประทับใจให้นักศึกษา การประกวดแข่งขันงานวิจัยและนวัตกรรมการสอนครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2558 สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

15 ขอบคุณครับ จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt นายกิตติพงษ์ สว่างลาภ วท.บ., บธ.บ., ศศ.บ., วท.ม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google