ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย ผศ. ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา
๑หลักสูตร ๑ ชุมชน โดย ผศ. ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา
2
ความหมาย ๑หลักสูตร ๑ชุมชน
๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน คือกระบวนการบูรณาการภารกิจหลัก ๔ ประการของมหาวิทยาลัยสู่การรับใช้สังคมภายใต้หลักคิดแห่งการ “เรียนรู้คู่บริการ” (Service Learning) ผสมผสานระหว่างความเป็น “ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี” เข้าด้วยกัน โดยใช้ “ชุมชนและผู้เรียน” เป็นศูนย์กลาง ผ่านกระบวนการ “เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม” (Participatory Learning) และ “การจัดการความรู้” (Knowledge management) ร่วมกันของทุกภาคี
4
ปรัชญา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน การเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและชุมชน MSU FOR ALL
5
จากวิชาชีพสู่ชุมชน เรียนรู้คู่บริการ (service Learning) เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by Doing) เรียนรู้แบบพึ่งพิง (Collaborative Learning) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge sharing) แบ่งปันความสำเร็จ (Success Story)
6
๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน : การเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑
7
๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน กับการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑
9
ปฏิรูปการเรียน : มหาวิทยาลัยสู่ชุมชน : เรียนรู้คู่บริการ
11
๙ จังหวัด : ๒๐๔ โครงการ
12
ข้าว ปลา นา น้ำ สิ่งแวดล้อม-พลังงานทางเลือก สุขภาวะผู้สูงอายุ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา ประเพณี เศรษฐกิจ ภาษา และอาเซียน อาชีพ เศรษฐกิจพอเพียง ดนตรี ศิลปะ ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา –แปรรูป แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
13
บริหาร โครงการ และ งบประมาณ
การ จัดการ ความรู้ กลั่นกรอ ง โครงการ ติดตาม สนับสนุน สื่อสาร สร้างพลัง บริหาร โครงการ และ งบประมาณ ระบบและกลไกการ ขับเคลื่อนงานบริการ วิชาการแก่สังคมและ โครงการหนึ่งหลักสูตร หนึ่งชุมชน
14
วิทยาการสารสนเทศ : บูรณาการทุกหลักสูตรเพื่อสร้างสื่อการสอน พัฒนาห้องสมุด ส่งเสริมการอ่าน สร้างสื่อรณรงค์ สุขภาวะชุมชน (หนังสั้น) เว็บไซต์โรงเรียน ฯลฯ ณ โรงเรียนดอนจำปาดอนสวรรค์ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
15
๑หลักสูตร๑ชุมชน คณะวิทยาการสารสนเทศ
๑หลักสูตร๑ชุมชน คณะวิทยาการสารสนเทศ
16
ที่มาปัญหาและความสำคัญ
แนวคิด บทนำ หรือภาพรวมของโครงการ กระบวนการและการดำเนินการ ผลลัพธ์และความภาคภูมิใจ ผลสะท้อนจากนิสิต (ถ้ามี)
17
ที่มาปัญหาและความสำคัญ
สำรวจพื้นที่การทำงานเพื่อหาโจทย์ปัญหา ให้ตรงกับความต้องการของชุมชน ประชุมกลุ่มร่วมกันกับอาจารย์ ชุมชน และหรือนิสิต ระดมความคิดในการคัดเลือกปัญหา ร่วมกับชุมชน เขียนโครงการ กำหนดกิจกรรมในการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ ชุมชน และนิสิต อีกทั้งบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการและทำนุศิลปวัฒนธรรม
18
แนวคิด บทนำ หรือภาพรวมของโครงการ
คณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นคณะที่ตั้งขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่ประกอบด้วย สารสนเทศศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นิเทศศาสตร์ สื่อนฤมิต และภูมิสารสนเทศ
19
ตัวอย่างการทำงานทั้ง 6 หลักสูตร
“พัฒนาโจทย์ ขับเคลื่อนศักยภาพ เชื่อมประสานภูมิปัญญากับเทคโนโลยี” ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบการเรียนการสอน การพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการและการพัฒนาชุมชน ถูกคุกคามจากสิ่งเร้าภายนอก ส่งผลให้นักเรียนไม่เข้าเรียน ใช้เวลาว่างไปกับการเล่น เกม หนีเที่ยวและลอกเลียนแบบพฤติกรรมโดยไม่รู้เท่าทันสื่อ นโยบายเชิงรุกของโรงเรียนที่ต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีมาตรฐาน ต่อการเรียนรู้และผ่านการประเมินตามตัวชี้วัดทางการศึกษา
20
บูรณาการศาสตร์ทั้ง 6 หลักสูตร
การนำเทคโนโลยีไปหนุนเสริมการพัฒนาโรงเรียนและหมู่บ้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะมิติทางสังคมที่ยึดโยงกับการศึกษา ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงมุ่งปรับ ทัศนคติเด็กและเยาวชนให้มีกระบวนทัศน์และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง สร้างสรรค์ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของครูให้สามารถนำเทคโนโลยีสารเทศเข้าสู่ การยกระดับการเรียนรู้ของครูและนักเรียนหรือกระทั่งการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ควบคู่กันไป
21
ร่วมคิดร่วมทำแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน (Partnership)
เน้นการมีสวนร่วม ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ออกแบบกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ทั้งของชุมชนและศักยภาพของมหาวิทยาลัย เน้นถึงหลักคิดแห่งการเชื่อมประสานความเป็น “ภูมิปัญญากับเทคโนโลยี” ให้เป็น หนึ่งเดียวกันผ่านระบบและกลไกของ “การศึกษาเพื่อรับใช้สังคม”
22
ชื่อโครงการ การพัฒนาห้องสมุดและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
การสื่อสารเพื่อรู้เท่าทันสื่อของเยาวชน การพัฒนาสื่อประกอบการสอนแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยระบบฐานข้อมูลแบบไดนามิก การพัฒนาระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศ การพัฒนาแบบจำลองพื้นที่ให้บริการของโรงเรียนและความเสี่ยงของการเดินทางของ นักเรียนตำบลโพนงามด้วยระบบภูมิสารสนเทศ การใช้เทคนิคและเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมในการถ่ายทอดข้อมูลบริบทชุมชน การจัดทำสื่อการเรียนรู้ (หนังสั้น) การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยี สารสนเทศ
23
เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefits)
การบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน การบริการวิชา การแก่สังคมและ การทำนุศิลปวัฒนธรรม ใน ส่วนของคณะ มีการบูรณาการศาสตร์ภายในคณะ เกิดกระบวนการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของนิสิตและชุมชน ผ่านการ ปฏิบัติการ หรือกิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม
24
เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefits) (ต่อ)
นิสิต แต่ละหลักสูตรสามารถนำความรู้ภาคทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติจริงร่วมกัน เกิดความรู้ ความเข้าใจในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของหลักสูตรภายในคณะต้นสังกัดร่วมกัน ก่อให้เกิดนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ที่นิสิตและชุมชน (นักเรียน ครู และชาวบ้าน) โรงเรียน ได้ประโยชน์จากการมีโรงเรียนต้นแบบในมิติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ เรียนรู้ และหนังสั้นซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ที่นักเรียนผลิตขึ้นด้วยตนเอง และหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ แอนนิเมชั่นและเกมที่ครูผลิตสื่อการสอน ได้รับการพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
25
เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefits) (ต่อ)
ชุมชน ค้นพบพื้นที่ความเสี่ยงเกี่ยวกับการเดินทางของนักเรียนมายังโรงเรียนอย่างหลากมิติ มี ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ในชุมชนที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียนและชุมชน เช่น พื้นที่ ความเสี่ยง ปัญหาเด็กและเยาวชน สถานที่สำคัญในชุมชน
26
เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและนำไปสู่ผลงานวิชาการ (Knowledge sharing and scholarship)
นิสิต นักเรียน ครู และชาวบ้าน เกิดการเรียนรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนในหลากรูปแบบ เรียนรู้กระบวนการค้นหา “โจทย์” เพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และนักเรียนได้เรียนรู้ งาน ซึ่งเน้นให้นักเรียนได้เข้าสู่กระบวนการ เพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกรักษ์สถานศึกษาควบคู่ไป กับการบ่มเพาะค่านิยมและทักษะในการอ่าน การใช้บริการห้องสมุดและไอทีในมิติต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
27
เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและนำไปสู่ผลงานวิชาการ (Knowledge sharing and scholarship) (ต่อ)
กิจกรรมการ “พัฒนาสื่อการสอนของครู” ที่มุ่งหนุนเสริมให้ครูเกิดความรู้และทักษะ ในเรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และแอนนิเมชันและเกม นิสิตก็เกิดกระบวน การเรียนรู้ในมิติการศึกษารับใช้สังคมโดยใช้นิสิตและชุมชนเป็น ศูนย์กลาง ทั้งระบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบกลุ่ม-ทีม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.