ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
December 2012
2
หัวข้อน่ารู้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มทรู
เรื่องน่ารู้ หน้า วัตถุประสงค์ 3 สิทธิประโยชน์ทางภาษี 5 ทางเลือกการลงทุน (Investment Guideline) 11 ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ 12 2 :
3
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร
วัตถุประสงค์ 1. สวัสดิการให้กับพนักงานเมื่อลาออกจากงานหรือเกษียณอายุ 2. ส่งเสริมการออมทรัพย์ 3. ส่งเสริมการระดมเงินออมเพื่อพัฒนาประเทศ 3
4
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วยอะไรบ้าง?
4
5
ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกองทุน
ประโยชน์สำหรับสมาชิก ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 3 ชั้น E1 E2 E3 สมาชิกใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึงปีละ 50,0000 บาท เงินสะสมในแต่ละปี ผลประโยชน์จากการลงทุนในกองทุน ได้รับข้อยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี เงินที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อเกษียณ ทุพพลภาพ เสียชีวิต ไม่ต้องเสียภาษีได้รับเงินเต็มจำนวน * เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ 5
6
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
E1 สมาชิกใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึงปีละ 50,0000 บาท เงินสะสมในแต่ละปี 6
7
สิทธิประโยชน์ทางภาษี (ต่อ)
E2 E3 ผลประโยชน์จากการลงทุนในกองทุน ได้รับข้อยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี เงินที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อเกษียณ ทุพพลภาพ เสียชีวิต ไม่ต้องเสียภาษีได้รับเงินเต็มจำนวน - เงินที่สมาชิกได้รับจากกองทุนจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี หรือ ยกเว้นภาษี หรือไม่ อย่างไร ดังตัวอย่างใน 3 กรณีต่อไปนี้ 7
8
สิทธิประโยชน์ทางภาษี (ต่อ)
8
9
สิทธิประโยชน์ทางภาษี (ต่อ)
9
10
สิทธิประโยชน์ทางภาษี (ต่อ)
หมายเหตุ* : เกษียณอายุ หมายถึง ครบอายุเกษียณตามข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง โดยที่ 1. เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ทั้งนี้ ไม่ว่าจะรับเงินทั้งหมดครั้งเดียว หรือทยอยรับเป็นงวด 10
11
ทางเลือกการลงทุน (Investment Guideline)
ความเสี่ยง น้อย มาก 11
12
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ
คุณสมบัติของการเป็นสมาชิกกองทุน ผู้ที่จะเป็นสมาชิกกองทุนได้นั้นจะต้องเป็นลูกจ้างที่พ้นระยะทดลองงานแล้ว เงินสะสมของสมาชิก สมาชิกต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างของสมาชิกมีรายละเอียดดังนี้ จำนวนปีที่ทำงาน อัตราเงินสะสม (ร้อยละ) น้อยกว่า 3 ปี 3% ครบ 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี 3% หรือ 4% ครบ 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี 3% หรือ 4% หรือ 5% ครบ 8 ปีขึ้นไป 3% หรือ 4% หรือ 5% หรือ 6% หรือ 7% ทั้งนี้ การเลือกอัตราจ่ายเงินสะสมของสมาชิกให้กระทำได้ปีละครั้ง และเฉพาะในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยทำเป็นหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการกองทุนทราบ ซึ่งจะมีผลบังคับในเดือนถัดไป เงินสมทบของนายจ้าง นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราเดียวกับอัตราเงินสะสมของสมาชิก 12
13
เงินสมทบพร้อมทั้งส่วนเฉลี่ย ผลประโยชน์สุทธิ (ร้อยละ)
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ (ต่อ) การจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง เว้นแต่จะมีการระบุไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับกองทุนนี้ เมื่อสมาชิกคนใดสิ้นสุดสมาชิกภาพ สมาชิกจะได้รับเงินสมทบของนายจ้าง รวมทั้งส่วนเฉลี่ยผลประโยชน์สุทธิตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ จำนวนปีที่ทำงาน เงินสมทบพร้อมทั้งส่วนเฉลี่ย ผลประโยชน์สุทธิ (ร้อยละ) น้อยกว่า 1 ปี 0% ครบ 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี 25% ครบ 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี 50% ครบ 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี 75% ครบ 8 ปี ขึ้นไป 100% 13
14
เงินสมทบพร้อมทั้งส่วนเฉลี่ย ผลประโยชน์สุทธิ (ร้อยละ)
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ (ต่อ) การจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง (ต่อ) ในกรณีที่สมาชิกลาออกจากกองทุนโดยมิได้ลาออกจากกงาน และกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกในภายหลัง สมาชิกจะได้รับเงินสมทบของนายจ้าง รวมทั้งส่วนเฉลี่ยผลประโยชน์สุทธิตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ จำนวนปีที่ทำงาน เงินสมทบพร้อมทั้งส่วนเฉลี่ย ผลประโยชน์สุทธิ (ร้อยละ) น้อยกว่า 1 ปี 0% ครบ 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี 25% ครบ 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี 50% ครบ 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี 75% ครบ 8 ปี ขึ้นไป 100% 14
15
เงินสมทบพร้อมทั้งส่วนเฉลี่ย ผลประโยชน์สุทธิ (ร้อยละ)
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ (ต่อ) การจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง (ต่อ) ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกรายใดสิ้นสุดเพราะเหตุครบเกษียณอายุการทำงานกับนายจ้างแต่บุคคลนั้นยังคงเป็นลูกจ้างต่อไปหลังครบเกษียณอายุและได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกในทันทีที่สิ้นสุดสมาชิกภาพดังกล่าว สมาชิกจะได้รับเงินสมทบของนายจ้าง รวมทั้งส่วนเฉลี่ยผลประโยชน์สุทธิตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ จำนวนปีที่ทำงาน เงินสมทบพร้อมทั้งส่วนเฉลี่ย ผลประโยชน์สุทธิ (ร้อยละ) น้อยกว่า 1 ปี 0% ครบ 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี 25% ครบ 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี 50% ครบ 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี 75% ครบ 8 ปี ขึ้นไป 100% “จำนวนปีที่ทำงาน” ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ หมายความถึง จำนวนปีที่ทำงานของลูกจ้างนั้นติดต่อกันทั้งก่อนและหลังครบเกษียณอายุการทำงาน 15
16
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ (ต่อ)
การจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง (ต่อ) สมาชิกจะได้รับเงินสมทบของนายจ้าง รวมทั้งส่วนเฉลี่ยผลประโยชน์สุทธิเต็มจำนวน หากสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ - ทุพพลภาพ หรือวิกลจริต ซึ่งได้รับเป็นหนังสือจากแพทย์ที่นายจ้างเลือก - ครบเกษียณอายุการทำงานกับนายจ้าง โดยจะต้องเป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพครั้งแรกเท่านั้น - เสียชีวิต การจ่ายเงินสมทบของนายจ้างรวมทั้งผลประโยชน์ของเงินสมทบ ถ้าเป็นการจ่ายเงินในกรณีที่สมาชิกได้รับเงินไม่เต็มร้อยละ 100 แล้ว ส่วนที่เหลือจากการจ่ายให้สมาชิกกองทุนให้ตกเป็นของกองทุน เพื่อเฉลี่ยให้แก่สมาชิกทุกคนที่ยังคงสมาชิกภาพอยู่ในกองทุนเฉพาะส่วนของนายจ้างเดียวกับผู้สิ้นสุดสมาชิกภาพนั้น โดยจะทำการจัดสรรตามส่วนได้เสียของสมาชิกแต่ละราย ซึ่งจะแสดงไว้ในส่วนของผลประโยชน์ของเงินสมทบของสมาชิกรายเช่นว่านั้น 16
17
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ (ต่อ)
การคงเงินไว้ในกองทุนภายหลังจากการสิ้นสุดสมาชิกภาพ ในกรณีที่สมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด สมาชิกสามารถคงเงินทั้งหมดที่สมาชิกมีสิทธิได้รับไว้ในกองทุนได้โดยไม่จำกัดระยะเวลา นับแต่วันสิ้นสุดการทำงานกับนายจ้าง โดยยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนในระยะเวลาที่คงเงินดังกล่าวไว้ โดยที่สมาชิกที่ขอคงเงินไว้ในกองทุนนั้นจะต้องเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามอัตราและภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกำหนด รวมทั้งสมาชิกผู้นั้นและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้งนี้ คณะกรรมการกองทุนจะต้องแจ้งข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ของสมาชิกพร้อมกับการแจ้งสิ้นสุดสมาชิกภาพแก่บริษัทจัดการให้ถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์ตามแบบที่บริษัทจัดการกำหนด 17
18
ข้อบังคับกองทุนที่ควรทราบ (ต่อ)
การคงเงินไว้ในกองทุนภายหลังจากการสิ้นสุดสมาชิกภาพ อย่างไรก็ดี หากนายจ้างของสมาชิกที่คงเงินไว้ในกองทุนนั้น ถอนตัวออกจากกองทุนหรือกองทุนเลิก โดยที่มิได้โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่นใด ให้บริษัทจัดการนำเงินตามที่สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิได้รับเข้าบัญชีของสมาชิกตามที่เคยแจ้งความประสงค์ไว้ หรือดำเนินการใด ๆ ตามที่ได้ตกลงไว้กับบริษัทจัดการในหนังสือแจ้งความประสงค์ขอคงเงิน โดยสมาชิกจะต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินดังกล่าว นอกจากนี้ หากนายจ้างของสมาชิกที่คงเงินไว้ในกองทุนนั้น ถอนตัวออกจากกองทุนหรือกองทุนเลิก โดยมีการโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่นใด ให้บริษัทจัดการส่งมอบเงินตามที่สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิได้รับไปยังกองทุนใหม่ด้วย 18
19
Thank you
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.