งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(ว 524) ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(ว 524) ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
(ว 524) ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า รัฐศาสตรบัณฑิต/รัฐศาสตรมหาบัณฑิต/MINI MASTER OF MANAGEMENT. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) การบริหารงานยุติธรรมและสังคม หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2 1. แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ให้คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบูรณาการการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดโดยการจัดประชุมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วนในจังหวัด รวมทั้งเชิญผู้แทนจากสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาค สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(ส่วนภูมิภาค) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดไปจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดไปเป็นกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของตน ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาท้องถิ่น และประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด โดยให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดกำหนดกรอบในการประสานโครงการพัฒนาให้ชัดเจน (สิ่งที่ส่งมาด้วย 3) 2

3 2. เกณฑ์การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน งานด้านการคมนาคมและการขนส่ง งานด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ งานด้านการผังเมือง และการควบคุมอาคาร 2. ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต งานด้านการส่งเสริมอาชีพ งานด้านสวัสดิการสังคม งานด้านการศึกษา งานด้านการสาธารณสุข 3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการส่งเสริม งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย 4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว งานด้านการส่งเสริมการลงทุน งานด้านการส่งเสริมการเกษตร งานด้านการพาณิชยกรรม งานด้านการท่องเที่ยว 5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 6. ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น งานด้านส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี รักษาอัตตลักษณ์ของท้องถิ่น การอนุรักษ์ ทำนุบำรุง รักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุในพื้นที่ 7. นโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง 3

4 3. กรอบ และขั้นตอนการประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรอบการประสานโครงการพัฒนา คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดอาจกำหนด กรอบการประสานโครงการพัฒนา ที่มาจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโครงการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนราชการหรือภาคธุรกิจเอกชน 1. โครงการพัฒนาที่ประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปได้ประโยชน์ และได้ทำความตกลงกันไว้ หมายถึงโครงการพัฒนาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปจะต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาในภาพรวมของจังหวัด 2. ขนาดของโครงการและงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนา หมายถึง โครงการพัฒนาที่มีขนาดของโครงการใหญ่ ใช้งบประมาณจำนวนมากและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้ โดยโครงการดังกล่าวอาจส่งผลในภาพรวมของการพัฒนาในระดับจังหวัดก็ได้ 3. ความซับซ้อนของโครงการ ที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ หมายถึง โครงการพัฒนาที่ต้องใช้เทคนิคในการดำเนินการตามโครงการค่อนข้างสูง หรือเป็นโครงการพัฒนาที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการกำกับดูแลหรือเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการถึงจะบรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ 4

5 4. โครงการที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและสภาพภูมิสังคม หมายถึง โครงการพัฒนาที่ดำเนินการแล้วอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรืออาจส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณี สภาพความเป็นอยู่ตามปกติของประชาชนในวงกว้างเกินพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาพรวมของจังหวัด หมายถึง การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดในวงกว้าง เช่นอุทกภัย วาตภัย ธรณีพิบัติ ไฟป่า ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องร่วมมือป้องกันภัยดังกล่าว หรือภัยอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ต่อชีวิตและทรัพย์สิน การก่อความไม่สงบ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ทำลายป่าหรือภัยอันเกิดจากยาเสพติด เป็นต้น 6. อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการหรืออำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึงการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด 7. องค์ประกอบอื่นๆของสภาพพื้นที่ ตามความจำเป็น หมายถึง ความแตกต่างในสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ ที่ส่งผลให้การดำเนินโครงการพัฒนาต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพดังกล่าวตามความจำเป็น 5

6 4. การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
1. ผู้เข้าร่วมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัด 2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) สมาชิกสภาท้องถิ่น 4) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5)หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด 6) นายอำเภอทุกอำเภอ 7) กำนัน /ผู้ใหญ่บ้านในเขตจังหวัด 8)ผู้แทนสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้) 9) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 10) องค์กรภาคประชาชน 11) ประธานหอการค้าจังหวัด ) ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด 13) ภาคธุรกิจเอกชน 14) ผู้แทนสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 15) ภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 6

7 2. ขั้นตอนในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
2.1 การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดโดยเป็นเจ้าภาพในการประชุมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งเชิญผู้แทนจากสำนักพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแต่ละภาค(ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานอุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7

8 2.1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนจากสำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม(ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้) และโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด เป็นผู้อภิปรายแนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แนวทางในการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การใช้ประโยชน์จากผังภาค ผังเมืองรวม และยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ผู้เข้าร่วมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดทราบ 2.1.3 ผู้เข้าร่วมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด แบ่งกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยอาจแบ่งกลุ่มตามอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบหรือสภาพพื้นที่ และอาจขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการเพื่อดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดก็ได้ 2.1.4 เมื่อผู้เข้าร่วมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด รับฟังข้อมูลยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆจากหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมประชุม พร้อมแนวคิดและเป้าหมายการดำเนินงานของภาคธุรกิจเอกชนในเขตจังหวัดแล้ว ให้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด โดยอาจแบ่งกลุ่มตามทิศทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 8

9 2.2 การใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
2.2.1 เมื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแล้ว ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนำไปจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดทราบและนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรต่อไป 2.2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวไปใช้กำหนดเป็นกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของตนให้สอดคล้องกันเพื่อให้การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยคำนึงถึงปัญหาความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย 2.2.3 เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นแล้วให้นำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปเป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปีให้สอดคล้องตามพันธกิจและเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ 9

10 3. หลักเกณฑ์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
หลักเกณฑ์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดตามนโยบายขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนภายใต้แนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการจัดทำยุทธศาสตร์ให้ไปในทิศทางเดียวกันโดยให้ใช้ข้อมูลในการพิจารณา ดังนี้ 1) นโยบายรัฐบาล 2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด / กลุ่มจังหวัด 4) ผังภาค ผังอนุภาค ผังเมืองรวมจังหวัด ผังเมืองรวมเมือง ผังเมืองรวมชุมชนหรือผังเมืองเฉพาะ 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ 6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ (Country Strategy) 7) แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือวิสาหกิจในเขตจังหวัด 8) แนวนโยบายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9) แนวทางการพัฒนาขององค์กรภาคประชาชน และภาคธุรกิจเอกชน 10) ปัญหา ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ 10


ดาวน์โหลด ppt (ว 524) ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google