ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยเยาวพา วอชิงตัน ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
2
IT สังคม เศรษฐกิจ สาธารณสุข อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา
3
การศึกษา แสดงผล ข้อมูล ประมวลผล โปรแกรมปฏิบัติการ / โปรแกรมชุดคำสั่ง
ผู้ใช้ / ผู้บริหาร / ผู้สั่งการ / นักเทคโนฯ /
4
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2538
เพื่อให้โรงเรียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้มีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
5
โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม
1 โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม 2 โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท 3 โครงการจัดตั้งตู้หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ
6
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสามารถในด้านการสื่อสาร การเก็บข้อมูลการรับส่งข้อมูล ฯลฯ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องส่งสัญญาณ เครือข่ายโทรคมนาคม มาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียน การสอน และจะเป็นตัวช่วยให้ระบบการศึกษาเกิดการพัฒนา รวมถึงทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานในด้านการศึกษามากขึ้น
7
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
8
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1 เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ 2 เทคโนโลยีซอฟท์แวร์
9
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู
1 เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู หน่วยแสดงผลข้อมูล หน่วยความจำสำรอง
10
เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ 1 2 2 ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
11
เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
ระบบโทรศัพท์ ดาวเทียม เคเบิ้ล ระบบสื่อสารอื่นๆ
12
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
ดำเนินการ การสื่อสาร ข่าวสาร
13
ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
14
ดำเนินการ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
15
การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
16
การสร้างสื่อการเรียนการสอน ในรูปแบบ e-Learning
อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
17
e-Learning หมายถึง การเรียนที่มีลักษณะเป็นการเรียนทางไกล เป็นออนไลน์และสามารถใช้สื่อ การสอนในรูปของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กทราเน็ต โทรทัศน์ ดาวเทียม ซีดีรอม หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยเฉพาะ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการบริการด้านเว็บเพจเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนมาออกแบบ จัดระบบการถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน และสามารถสอบวัดผลได้ ซึ่งผู้สอบผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดจะได้รับการรับรองความรู้เทียบเท่ากับผู้ที่เรียนในชั้นเรียนตามปกติ
18
ทฤษฎีการเรียนรู้ แบบค้นพบ
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ e-Learning ทฤษฎีการเรียนรู้ แบบค้นพบ ผู้เรียนจะต้องศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก
19
ทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบตนเอง นำตัวเอง ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
20
ทฤษฏีการสอนรายบุคคล เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิสระเลือกเนื้อหา เวลา และกิจกรรม ซึ่งเป็นรูปแบบของผู้เรียนเฉพาะราย
21
ทฤษฏีการสอน แบบร่วมมือ
ผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อนร่วมเรียน ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มีส่วนร่วมกันและกันในการเรียนได้ เช่น ช่วยในการตั้งคำถาม ชี้แนะแนวทางการหาคำตอบเป็นต้น
22
รูปแบบการสอนของกาเย (Gagne)
สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
23
รูปแบบการสอนของกาเย (Gagne)
กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
24
รูปแบบการสอนของกาเย (Gagne)
กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์ ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
25
ทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ออกแบบและสร้าง ผู้บริหารโครงการ
การจัดทำ e-Learning ประกอบด้วย ทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ออกแบบและสร้าง ผู้บริหารโครงการ
26
ทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา
1 ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ 4 ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
27
1 ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา ผู้ที่มีความรู้ด้านเนื้อหาของบทเรียน หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในการกำหนดเป้าหมาย และทิศทางของหลักสูตร
28
2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการสอนในรายวิชานั้นๆ ควรจะมีความสามารถในการจัดลำดับความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา รู้เทคนิค และวิธีการในการนำเสนอ การสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รวมถึงการวัดผล
29
3 ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการออกแบบบทเรียน จัดรูปแบบการแสดงผลการเลือกใช้กราฟิก หรือสื่อต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้น และดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
30
4 ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ จากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อที่ออกแบบไว้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา กับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนอาจจะเป็นคนเดียวกันได้ เพราะอาจารย์จะมีความเข้าใจในเนื้อหาที่สอนเป็นอย่างดี อีกทั้งยังสอนอยู่เป็นประจำมีเทคนิคการสอนที่ดีอยู่แล้ว และผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจเป็นคนเดียวกันได้ เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อหรือนักเทคโนโลยีการศึกษาจะมีความรู้ในด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยก็ได้
31
ทีมงาน ผู้ออกแบบและสร้าง
เป็นผู้ที่ออกแบบและสร้างบทเรียนโดยตรง โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์กิจกรรม ซึ่งกลุ่ม ดังกล่าวนี้ จะวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม และความสัมพันธ์กันระหว่างเนื้อหาที่ออกแบบกับวุฒิภาวะของผู้เรียน กลุ่มดังกล่าวนี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อ และผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือรวมกันในตัวคนเดียวกันเป็นนักเทคโนโลยีการศึกษาก็ได้เช่นกัน
32
ทีมงาน ผู้บริหารโครงการ
ทำหน้าที่จัดการ และบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจน ควบคุมงบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้
33
สื่อที่ใช้ ใน e-Learning
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารคำสอนอิเล็กทรอนิกส์ เทปเสียงคำสอนดิจิทัล เอกสารไฮเปอร์เท็กและไฮเปอร์มิเดีย วารสารและนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์
34
การจัดการในองค์ประกอบ e-Learning
เนื้อหาของบทเรียน ระบบบริหารการเรียน การติดต่อสื่อสาร การสอบ/วัดผลการเรียน
35
เนื้อหาของบทเรียน เนื้อหาก็ต้องถือว่าสำคัญที่สุด ดังนั้น แม้ว่าจะพัฒนาให้เป็นแบบ e-Learning ก็จะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาเป็นอันดับแรก
36
ระบบบริหารการเรียน e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผลในแต่ละบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการแก่ผู้เรียน LMS จะทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน จัดหลักสูตร เมื่อผู้เรียนเริ่มต้นบทเรียน ระบบจะเริ่มทำงาน โดยส่งบทเรียนผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไปแสดงที่ Web browser ของผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสามารถจัดทำรายงานกิจกรรม และผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร
37
การติดต่อสื่อสาร ความโดดเด่นและความแตกต่างของ e-Learning กับการเรียนทางไกลแบบทั่วๆไป ก็การนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง(Two-way communication) มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อสร้างความน่าสนใจ และความตื่นตัวของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่างบทเรียน ก็อาจจะมีแบบฝึดหัดเป็นคำถาม เพื่อเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะแบบนี้จะทำให้การเรียนรักษาระบบความน่าสนใจในการเรียนได้เป็นระยะเวลามากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงสำคัญ อีกประการของการติดต่อแบบ 2 ทางก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ
38
การสอบ/วัดผลการเรียน
สามารถทำการสอบออนไลน์ผ่าน Web browser ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินผลและสามารถในบริการได้อย่างครบวงจร สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียมาประกอบในการสร้างข้อสอบ เพื่อให้มีลักษณะเดียวกันกับบทเรียน ที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจลักษณะการใช้งานรวมถึงการตอบโต้ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางหน้าจอ
39
การเตรียมการใช้ e-Learning
40
1. จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ
จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ให้มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ทางการรับรู้ของผู้เรียน (Gradual approximation) ด้วย e-Learning ผู้เรียนจะสามารถจัดแบ่งเวลาและเนื้อหา และการเรียกดูข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนตามความต้องการของตนเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ และพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
41
2. ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง(Self Learning)
ใน e-Learning ควรจะทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงานให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ ให้ทำเพื่อเป็นการประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้
42
3. สร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็น Interactive
เนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง ผู้เรียนอาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ฉะนั้นในการออกแบบ e-Learning จึงควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็น Interactive เพื่อทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา
43
4. การประเมินผล Online เตรียมระบบที่ผู้เรียนสามารถรับทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ทำโดยทันทีที่งานเสร็จจากการเฉลยคำตอบ จากการประเมินผล Online ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตั้งใจมากขึ้น
44
5. เตรียมการนำเข้าสู่บทเรียน
5. เตรียมการนำเข้าสู่บทเรียน เตรียมการนำเข้าสู่บทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนที่ดี และมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อประเมินความสามารถและทักษะของผู้เรียน เพื่อเลือกระดับของเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน
45
6. เตรียมแรงเสริมในทางบวก(Positive Reinforcement)
เตรียมแรงเสริมในทางบวก ให้กับผู้เรียนด้วยการแสดงข้อความหรือเสียงชมเชย และหลีกเลี่ยงการตำหนิ การลงโทษ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ล้มเหลว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.