ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ณ ห้องประชุม สสอ.เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
การประชุมเตรียมความพร้อมรับ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ 2012 (MERS-CoV) จังหวัดสุรินทร์ วันอังคาร ที่ 23 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุม สสอ.เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
2
ระเบียบวาระการประชุมเตรียมความพร้อมรับ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ 2012 (MERS-CoV)
3
เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
4
วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เนื่องจากขณะนี้ได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโคน่า สายพันธุ์ 2012 หรือ Middle East Respiratory Syndrome หรือ MERS -CoV จังหวัดสุรินทร์มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคนี้ได้เนื่องจาก 1. นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด และมาประเทศไทย 2. แรงงาน/นักธุรกิจที่เดินทางไปทำงานในประเทศระบาด 3. ประชาชนชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาประเทศ ซาอุดิอารเบีย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับการระบาดโรคดังกล่าว จึงเชิญทุกท่านประชุมเพื่อปรึกษาหารือวางแผนพร้อมรับการระบาดของโรคดังกล่าว
5
รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว -ไม่มี
6
เรื่องติดตามจากการประชุมครั้งที่แล้ว
วาระที่ 3 เรื่องติดตามจากการประชุมครั้งที่แล้ว - ไม่มี
7
เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบและพิจารณา
วาระที่ 4 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบและพิจารณา
8
4.1 ลักษณะโรคของทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (MERS)
เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 (MERS – CoV) อาการ : มีไข้ ไอ เจ็บคอ หรือน้ำมูก บางรายมีอาการท้องเสีย อาเจียน ถ้าหากมีอาการรุนแรงจะทำให้หายใจลำบาก หอบ ปอดอักเสบ ไตวาย เสียชีวิต ระยะฟักตัว : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน การแพร่ของโรค : แพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล/การสัมผัสสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอูฐ การรักษา : รักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน ยารักษาที่จำเพาะ
9
4.2 สถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012
4.2 สถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 สถานการณ์โลก -พบผู้ป่วยรายแรกในประเทศแถบตะวันออกกลาง ปี 2555 ที่ประเทศจอร์แดน และซาอุฯ -ตั้งแต่เม.ย มิ.ย.58 มีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1288 ราย เสียชีวิต 498 ราย ส่วนใหญ่มาจาก ซาอุดิอาระเบีย (80%) -เดือน พ.ค.58 มีรายงานพบผู้ป่วยใหม่จากจีนและเกาหลีใต้
10
4.2 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์2012 (MERS-CoV) ต่อ
-ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2558 มีทั้งสิ้น 7 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรต กาตาร์ โอมาน จีน และเกาหลีใต้ สถานการณ์จีนและเกาหลีใต้ -พบผู้ป่วยยืนยันรายแรก 20 พ.ค.58 ที่เกาหลีใต้ -19 มิ.ย.58 มีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 176 ราย เสียชีวิต 24 ราย
11
4.2 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์2012 (MERS-CoV) ต่อ
สถานการณ์ประเทศไทย -พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่ รพ.บำราศนราดูร อาการโดยรวม ดีขึ้น ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดที่เป็นญาติ 3 คน อาการปกติ การติดตามผู้สัมผัสพบแล้ว 94 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ และได้รับการดูแลตามมาตรฐานแล้ว -ส่วนผู้สัมผัสที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ร่วมโดยสารเครื่องบิน มีประวัติป่วยก่อนเดินทาง รับไว้รักษาในรพ. ผลตรวจเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล -ส่วนผู้เดินทางจากตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ที่อยู่ในเกณฑ์สอบสวนโรค ตั้งแต่ 1ม.ค.-20 มิ.ย.58 จำนวน 46 ราย เป็นเกาหลีใต้ 27 ราย ตะวันออกกลาง 19 ราย ผลตรวจเป็นลบ -จังหวัดสุรินทร์ ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยัน
12
4.3 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
4.3.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยงเกาหลีใต้ - การระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการแพร่โรคจากบุคคล การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล - การระบาดยังอยู่ในวงโรงพยาบาลที่สามารถเชื่อมโยงกับผู้ป่วยราย แรกได้ ยังไม่ใช่วงกว้างในชุมชน แต่อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกได้ บ่งชี้ว่าเกิดการระบาดในรุ่นที่ 3 แล้ว - ความเสี่ยงในการเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค ขณะนี้ ยังไม่มีข้อห้ามในการเดินทางไปประเทศ นั้นๆ
13
4.3 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
4.3.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงทั่วไป ถึงแม้ประเทศไทย จะพบรายงานผู้ป่วยโรคเมอร์ส เพียง 1 ราย ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม โดยการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน รวมถึงเน้นย้ำ - มาตรการป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายของโรค -ส่วนของสถานพยาบาล ต้องเน้นเรื่อง การคัดกรอง เพื่อที่จะทราบถึงประวัติเสี่ยง และทำการรักษาตามแนวทางของกรมการแพทย์อย่างเคร่งครัด
14
4.4 คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
- ให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรค ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Acute Respiratory Infection) และติดตามรูปแบบความผิดปกติต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประวัติเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง - มาตรการควบคุมการติดเชื้อ มีความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่า ในผู้ที่ทำการดูแลผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ ให้ปฏิบัติตามหลักป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
15
4.5 การเฝ้าระวังโรคเมอร์ส (MERS)
ผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด ผู้เดินทาง นักท่องเที่ยวผ่านประเทศที่มีการระบาด คัดกรองที่ท่าอากาศยาน เมื่อผ่าน ด่าน ตม./ด่าน ตป. และติดตามรายวัน ค้นหา วินิจฉัย ที่โรงพยาบาล เมื่อผู้เดินทางมีอาการป่วย ค้นหา และแจ้งเหตุ ในชุมชนโดยความร่วมมือของ อสม. ผู้ประกอบการ ประชาชน ฯลฯ
16
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข
4.6.1 การประเมินความเสี่ยง และการป้องกัน - มีการติดตามสถานการณ์ การระบาด และสถานการณ์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งวิเคราะห์และทำการประเมินความเสี่ยง การเฝ้าระวัง และคัดกรอง - การเฝ้าระวังคัดกรองที่ช่องทางเข้าออกประเทศ/การติดตามกลุ่มเสี่ยง - การเฝ้าระวังในโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชน:เตรียมบุคลากร อุปกรณ์ ให้พร้อม เรื่องควบคุมการติดเชื้อ และวินิจฉัยให้รวดเร็ว - จัดทีมดูแลที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงก่อนเดินทาง และหลังกลับจากเดินทาง
17
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ)
4.6.3 การวินิจฉัยดูแลรักษา/การส่งต่อ/การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - ดำเนินการตามแนวทางรักษาของกรมการแพทย์/ระบบป้องกันการติดเชื้อ - พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วย ส่วนภูมิภาค รพศ. ทั่วประเทศ มีห้อง Negative pressure อย่างน้อยแห่งละ 1 ห้อง กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล : สถาบันบำราศฯ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.ทรวงอก - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 เขต ทั่วประเทศ สามารถตรวจได้ภายใน 5-8ชม.
18
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข
4.6.4 การสื่อสารความเสี่ยง - ทำการสื่อสารความเสี่ยง ถึงกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากแสวงบุญ ผู้ป่วยสงสัย ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งในรูปแบบ Infographic ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ - บุคลากรทางการแพทย์ และญาติ - จัดทำข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์/เตรียมแผนการสื่อสารความเสี่ยงตามฉากทัศน์ โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงเป็น Focal Point การบริหารจัดการ ประชุม ติดตาม สั่งการ - เตรียมพร้อมการบริหารจัดการ EOC ในกรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผน BCP - พิจารณาประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย โดยประเมินจากความรุนแรงของสถานการณ์
19
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ)
4.6.6 ให้คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค -ปฏิบัติตามสุขอนามัย โดยหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัด -หากไปสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น ควรสวมหน้ากากอนามัยและหากไม่จำเป็น -ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานพยาบาลในประเทศที่มีการระบาดของโรค -กลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคเมอร์ส -ในช่วงสองสัปดาห์ (14วัน) หลังการเดินทางกลับแล้ว ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง
20
การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโรคเมอร์ส (MERS)
22
4.7 มาตรการการดำเนินงานของจังหวัดสุรินทร์
4.7.1ดำเนินการตามข้อสั่งการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ -การเฝ้าระวังสถานการณ์ -การติดป้ายประชาสัมพันธ์ -มีระบบ One stop service -มี Guide line สำหรับแพทย์และบุคลากร -สำรวจและเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง PPE -ประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมาในการตรวจตัวอย่าง -สำรวจและเตรียมความพร้อมห้องแยกโรค ชนิด Negative Pressure -สื่อสารความเสี่ยงให้ความรู้กับประชาชน อสม. และบุคลากรทางการแพทย์ -หากมีผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย ให้เจ้าหน้าที่ดูแลเสมือนเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันทุกราย
23
4.7 มาตรการการดำเนินงานของจังหวัดสุรินทร์
ระบบเฝ้าระวัง ป้องระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 สำหรับสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
24
4.7.3 การติดตามผู้สัมผัสในชุมชน
สัมผัสผู้ใกล้ชิด High risk Low risk Index case Patient under investigation (PUI) 1.การแยกตัวเพื่อสังเกตอาการ(Self isolation) 2.ติดตามโดยไปเยี่ยมที่บ้าน สอบถามอาการทางเดินหายใจ และวัดไข้ 1.การแยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการ(Self isolation) 2.ติดตามโดยการโทถามอาการป่วยทางเดินหายใจ Probable/ Confirmed MERS 1.การรับไว้เพื่อสังเกตอาการในสถานที่ที่จัดไว้ (Quarantine) 2.ติดตามโดยการไปสอบถามอาการทางเดินหายใจ และวัดไข้วันละ 2ครั้ง ในสถานที่กักกันที่เตรียมไว้ 1. การแยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการ(Self isolation) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องปฏิบัติโดยการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด สวมถุงมือ หน้ากากป้องกันโรค ไม่สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ใ ช้Hand – thermometer และล้างมือทันทีหลังจากตรวจอาการของผู้สัมผัส
25
นิยามสัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูง (High risk closed contact)
1. High risk closed contact ในชมชน สถานพยาบาล และโรงเรียน 1.1 สมาชิกในครอบครัว ญาติ ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยขณะที่มีอาการป่วย 1.2 ผู้สัมผัสอื่นๆ ผู้ร่วมเดินทาง ที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วยขณะที่มีอาการป่วย เช่นเพื่อนบ้านเพื่อนบ้านที่ช่วยหามผู้ป่วยขณะขึ้นรถมา รพ. 1.3 บุคคลกรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้อง Lab ที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรงหรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย โดยไม่ได้ใส่ PPE ที่เหมาะสม 1.4 ผู้ป่วยหรือผู้ที่มาเยี่ยมในแผนกและช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1.5 เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนของผู้ป่วย และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยขณะมีอาการ
26
2. High risk closed contact ในเครื่องบิน 2
2.High risk closed contact ในเครื่องบิน 2.1ผู้โดยสารและลูกเรือที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย 2.2ผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ป่วยในระยะ 2แถว หน้าและหลัง 2.3เจ้าหน้าที่ทุกรายในเครื่องบินที่ผู้ป่วยโดยสาร 2.4ผู้ร่วม group tour เดียวกับผู้ป่วย 3. High risk closed contact ในรถหรือในเรือโดยสาร 3.1ผู้โดยสารและพนักงานที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยขณะมีอาการ 3.2ผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ป่วยที่มีอาการในระยะ 2 แถมหน้าและหลังในรถโดยสารหรือเรือขนาดใหญ่ 3.3ผู้โดยสารหรือคนขับรถทุกรายที่โดยสารมาพร้อมกับผู้ป่วยมีอาการในรถตู้หรือรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถโดยสาร
27
4.7.4 ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นผู้ป่วย MERS ในโรงพยาบาล
1.บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็น Pneumonia 2.คนไข้ Pneumonia ทุกรายมีประวัติ ญาติ หรือสัมผัสผู้ป่วย Admitที่เกิดจากโรคติดเชื้อระบบหายใจ 3.กลุ่ม ARDS ที่หาสาเหตุไม่ได้ ให้ตรวจหา MERS ทุกรายเพื่อแจ้ง SRRT ลงสอบสวน ทั้ง 3 กลุ่มนี้ให้แจ้ง SRRT และส่งตรวจหาการติดเชื้อ MERS
28
เลิกจากการแยกโรค/เลิกจำกัดการเดินทาง/เลิกการกักกันได้เมื่อ
ผู้ป่วย index case มีผลการตรวจห้องปฏิบัติการให้ผลลบตามนิยามตัดออกจาการเป็นผู้ป่วย (Excluded) ติดตามจนครบ 14 วัน กรณีผู้ป่วย index case เป็นผู้ป่วยยืนยันหรือน่าจะเป็น
29
วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ -การเก็บตัวอย่างไปส่งศูนย์วิทยฯ
วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ -การเก็บตัวอย่างไปส่งศูนย์วิทยฯ -ทักษะการตามผู้สัมผัสยังไม่เป็นระบบ -ระบบการคัดกรอง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.