งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการจัด มาตรฐานเพื่อให้เป็นไปตามกฏกระทรวง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการจัด มาตรฐานเพื่อให้เป็นไปตามกฏกระทรวง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการจัด มาตรฐานเพื่อให้เป็นไปตามกฏกระทรวง
ภญ.เมธัสพิดา จรัสสินวิชัย เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

2 กฎกระทรวง กําหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๘ “สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน” หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทคลินิก ตามกฎกระทรวงนี้ “สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน” หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทโรงพยาบาล ตามกฎกระทรวงนี้

3 กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพและจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล พ.ศ. 2558
“คลินิกเวชกรรม” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งดําเนินการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม “คลินิกทันตกรรม” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งดําเนินการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม “คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง “คลินิกกายภาพบําบัด” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด

4 ประเภทคลินิก “คลินิกเทคนิคการแพทย์” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ “คลินิกการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ แล้วแต่กรณี “คลินิกเฉพาะทาง” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเฉพาะทางด้านเวชกรรม หรือทันตกรรม หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และผู้ประกอบ วิชาชีพนั้นต้องได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา หรือทันตแพทยสภา หรือสภาการพยาบาล แล้วแต่กรณี

5 ประเภทคลินิก “สหคลินิก” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบําบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการประกอบโรคศิลปะ ตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไป ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยผู้ดําเนินการต้องเป็นบุคคลที่ผู้อนุญาตประกาศกําหนดโดยคําแนะนํา ของคณะกรรมการสถานพยาบาล “คลินิกการประกอบโรคศิลปะ” หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขานั้น ๆ ได้แก่ กิจกรรมบำบัด, การแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย,เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก, การแพทย์แผนจีน, รังสีเทคนิค, กายอุปกรณ์ และจิตวิทยา

6 การตั้งชื่อสถานพยาบาล
คลินิกเวชกรรม ให้มีคำว่า “คลินิกเวชกรรม……” คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมให้มีคำว่า คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมต่อด้วยสาขาที่ได้รับอนุมัติเฉพาะทาง เช่น “คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คลินิกทันตกรรม ให้มีคำว่า “คลินิกทันตกรรม………” คลินิกเฉพาะทางด้านทันตกรรม ให้มีคำว่า “คลินิกเฉพาะทางด้านทันตกรรมต่อด้วยสาขาที่ได้รับอนุมัติเฉพาะทาง เช่น “คลินิกเฉพาะทางด้านทันตกรรมปริทันตวิทยา

7 การตั้งชื่อสถานพยาบาล
คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้มีคำว่า “คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์………..” คลินิกการแพทย์แผนไทย ให้มีคำว่า “คลินิกการแพทย์แผนไทย....” แต่หากมีการแพทย์แผนไทยประยุกต์ด้วย ให้กำหนดชื่อว่า “คลินิกการแพทย์แผนไทย (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) ” คลินิกการประกอบโรคศิลปะ ให้มีคำว่า คลินิกการประกอบโรคศิลปะต่อด้วยสาขาต่างๆ ไม่ต้องมีคำว่าสาขาในชื่อ เช่น คลินิกการประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีน

8 การตรวจมาตรฐานเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตสถานพยาบาล (คลินิกตั้งใหม่)
มาตรา 18 ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ สถานพยาบาลของผู้อนุญาต จะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดให้มีกรณี ดังต่อไปนี้โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว (1) มีแผนงานการจัดตั้งสถานพยาบาลที่ได้รับอนุมัติแล้วตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (2) มีสถานพยาบาลตามลักษณะที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออก ตามมาตรา 14

9 การตรวจมาตรฐานเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตสถานพยาบาล (คลินิกตั้งใหม่)
(3) มีเครื่องมือ เครื่องใช้ เวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จำเป็น ประจำสถานพยาบาลนั้น ตามชนิดและจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง (4) มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่ กำหนดในกฎกระทรวง (5) ชื่อสถานพยาบาลต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

10 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
มาตรา 17 ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (2) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (3) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วย กฎหมายถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

11 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
(4) ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ดังต่อไปนี้ (๑) โรคพิษสุราเรื้อรัง (๒) โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้อยแรง (๓) โรคจิตร้ายแรง (๔) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการสถานพยาบาล (5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (6) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือน ไร้ความสามารถ

12 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
1.เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ แต่บุคคลเช่นว่านั้นจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ ตามประเภทใด หรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใดให้เป็นไปตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง 2.ไม่เป็นผู้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง แต่ในกรณีที่เป็น ผู้ดำเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอยู่แล้วแห่งหนึ่ง จะอนุญาตให้เป็น ผู้ดำเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอีกแห่งหนึ่งไม่ได้ 3.เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดย ใกล้ชิด 4.ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ดังต่อไปนี้ (๑) โรคพิษสุราเรื้อรัง (๒) โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้อยแรง (๓) โรคจิตร้ายแรง (๔) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการสถานพยาบาล

13 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
1.กฏกระทรวงว่าด้วยการประกอบกิจการสถานพยาบาล พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 สาระสำคัญการจัดตั้งการประกอบกิจการสถานพยาบาล 1.คือ การอนุมัติแผนการจัดตั้งคลินิก ต้องทำตามแบบ ส.พ. 1, ส.พ. 2 , ส.พ. 5 , ส.พ. 6 และส.พ. 18 2.ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 17 3.ผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ให้บริการตลอดเวลาทำการ และตรงตามวิชาชีพ จำนวน 1 คน

14 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
2 กฏกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาล พ.ศ.2545 สาระสำคัญ เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลได้ แห่ง และการดำเนินการต้องแสดงให้ประจักษ์ว่าสามารถที่ควบคุมดูแลทั้งสองแห่งอย่างใกล้ชิด โดยต้องแสดงวันเวลาทำการ 3. กฏกระทรวงว่าด้วยผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามประเภทและลักษณะการให้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล พ.ศ.2545 ผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะ มีสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล 1 คลินิก 2.โรงพยาบาล

15 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
4.กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558 ลักษณะทั่วไปของคลินิก (1) ตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวก ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (2) อาคารต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่อยู่ในสภาพชำรุดและเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้สอย (3) บริเวณทั้งภายนอกและภายในต้องสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเหมาะสม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย (4) การสัญจรและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องกระทำได้โดยสะดวก

16 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ลักษณะทั่วไปของสถานพยาบาล ต่อ 5) มีห้องตรวจหรือห้องให้การรักษาเป็นสัดส่วนและมิดชิด (6) มีห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะอย่างน้อยหนึ่งห้อง (๗) มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ ไม่มีกลิ่นอับทึบ (๘) มีระบบการเก็บและกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม

17 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ลักษณะทั่วไปของสถานพยาบาล ต่อ (9) มีระบบการควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม (10) กรณีบริการเอกซเรย์ การบริการจะต้องได้มาตรฐาน และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

18 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ลักษณะเฉพาะของคลินิก (1) มีความปลอดภัย มีความสะดวก และเหมาะสมต่อ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการในการประกอบวิชาชีพนั้น (2) ได้มาตรฐานตามลักษณะวิชาชีพตามที่สภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการวิชาชีพประกาศกำหนด แล้วแต่กรณี

19 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ลักษณะเฉพาะของคลินิก ต่อ (3) พื้นที่ให้บริการจะต้องมีพื้นที่เชื่อมและเปิดติดต่อถึงกันได้ และไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือพื้นที่เดียวกับการประกอบอาชีพอื่น (4) พื้นที่ให้บริการจะต้องไม่ตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกับสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และสภากาชาดไทย ซึ่งให้บริการในลักษณะเดียวกัน

20 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ลักษณะเฉพาะของคลินิก ต่อ 5) กรณีที่มีการให้บริการในอาคารเดียวกับการประกอบกิจการอื่น จะต้องมีการแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน และกิจการอื่นต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินได้สะดวก (6) กรณีที่มีการให้บริการของลักษณะสหคลินิกหรือมีคลินิกหลายลักษณะอยู่ในอาคารเดียวกัน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้ชัดเจน และแต่ละสัดส่วนต้องมีพื้นที่และลักษณะตามมาตรฐานของการให้บริการนั้น

21 10. การโฆษณา ต้องไม่เป็นเท็จ โอ้อวด หรือสื่อให้เข้าใจผิด ในสาระสำคัญ
การแสดงรายละเอียด ชื่อ ผู้ประกอบวิชาชีพ อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการ และสิทธิผู้ป่วย ต่อ 10. การโฆษณา ต้องไม่เป็นเท็จ โอ้อวด หรือสื่อให้เข้าใจผิด ในสาระสำคัญ 11. ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่

22 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
6.กฎกระทรวงกำหนดชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล พ.ศ. 2558 ชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ ที่จำเป็น (๑) ตู้หรือชั้นหรืออุปกรณ์เก็บเวชระเบียนที่มั่นคง ปลอดภัย และต้องจัดให้เป็นระเบียบสามารถค้นหาได้ง่าย หรือถ้าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลสำรองเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายซึ่งอาจจัดแยกเป็นแผนกเวชระเบียนโดยเฉพาะก็ได้ (๒) ตู้หรือชั้นเก็บยาและเวชภัณฑ์อื่น (๓) เครื่องใช้ทั่วไปที่ใช้ในการตรวจรักษาและบริการ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่งพักรอของผู้ป่วย เตียงตรวจโรค และอ่างฟอกมือชนิดที่ไม่ใช้มือเปิดปิดน้ำ

23 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ ที่จำเป็น(ต่อ) ๔) เครื่องมืออุปกรณ์และเวชภัณฑ์สำหรับควบคุมการติดเชื้อในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำความสะอาด หม้อต้ม หม้อนึ่ง หม้อนึ่งอบความดันที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ตู้ที่มิดชิดสำหรับเก็บเครื่องมือที่ปราศจากเชื้อแล้ว และมีเครื่องมือที่พร้อมใช้งาน เช่น ภาชนะบรรจุมูลฝอยทั่วไป และภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ

24 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ ที่จำเป็น(ต่อ) (๕) อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ 1.ถุงบีบลมเพื่อช่วยหายใจพร้อมหน้ากากครอบช่วยการหายใจ 2.ยาและเวชภัณฑ์อื่นที่ใช้ในการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตามลักษณะของคลินิก

25 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ชื่อสถานพยาบาลต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 1คำนำหน้าชื่อหรือต่อท้ายชื่อสถานพยาบาลต้องประกอบด้วยลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาลที่ขออนุญาต 2 ชื่อสถานพยาบาลจะต้องไม่ใช้คำหรือข้อความที่มีลักษณะชักชวนหรือโอ้อวดเกินความจริงหรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล

26 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
ชื่อสถานพยาบาลต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต่อ 3 ชื่อสถานพยาบาลที่สื่อความหมายหรืออ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์จะกระทำมิได้เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตหรือพระราชานุญาต 4 สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนที่ตั้งอยู่ในอำเภอหรือในเขตเดียวกันและสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเดิมเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกันหรือมีหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเดิมให้ใช้ชื่อซ้ำกันได้ แต่ต้องมีตัวอักษรหรือหมายเลขเรียงลำดับหรือที่ตั้งสถานที่ต่อท้ายชื่อ

27 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดให้มีและรายงาน หลักฐานเกี่ยวกับ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและเวชระเบียน และเอกสาร อื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ 1. ป้าย ชื่อ ขนาด 40 x 120 ซม. ตัวหนังสือ 10 ซม. ตัวเลขใบอนุญาต 5 ซม. พื้นสีและตัวอักษร ตามกฎฯกำหนด 2. ติดตั้งป้ายชื่อในตำแหน่งที่เห็นชัดเจนจากภายนอก

28 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
3. ชื่อ ไม่โอ้อวด เกินจริง สื่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ 4. ชื่อไม่ซ้ำกันในจังหวัดเดียวกัน 5. แสดง วัน เวลาที่ ให้บริการ(ตรงกับที่ได้รับอนุญาต) มองเห็นชัดจากภายนอก

29 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
การจัดเตรียมทะเบียนผู้ป่วย สำหรับบันทึกการมารับบริการของผู้ป่วยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง เวชระเบียน หรือบัตรผู้ป่วย ที่สามารถบันทึกรายละเอียด ตามที่กฎกระทรวงกำหนด □ ก) ชื่อสถานพยาบาล และสถานที่ติดต่อ พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ □ ข) เลขบัตรประจำตัวประชาชนผู้ป่วย □ ค) วัน เดือน ปี ที่มารับบริการ □ ง) ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี) และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของผู้ป่วย □ จ) อาการเจ็บป่วย การแพ้ยา ผลการตรวจทางร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติชันสูตรของผู้ป่วย □ ฉ) การวินิจฉัยโรค □ ช) การรักษา □ ซ) ลายมือผู้ประกอบวิชาชีพ/ผู้ประกอบโรคศิลปะที่ให้การรักษาพยาบาล

30 การอนุมัติแผนการจัดตั้งสถานพยาบาล
มีการจัดเตรียมทะเบียนผู้ป่วยสำหรับบันทึกการมารับบริการของผู้ป่วยอย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ □ ๑) ชื่อ นามสกุล อายุ ของผู้รับบริการ □ ๒) เลขที่ประจำตัวผู้รับบริการ □ ๓) วัน เดือน ปี ที่มารับบริการ

31 กรณีต้องการแบบเอกสารต่างๆ ด้านสถานพยาบาล
fdakorat.wordpress.com  ดาวน์โหลด  แบบฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการ  สถานพยาบาล  แบบฟอร์มคำขออนุญาต  ชุดคำขออนุญาตสถานพยาบาล (สพ.1, สพ.2, สพ.5, สพ.6, สพ.18) กรณีบันทึกตรวจสาขาต่างๆ เช่น สาขาเวชกรรม เข้าที่ แบบฟอร์ม สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่  แบบตรวจมาตรฐานคลินิก  คลินิกเวชกรรม

32

33 Thank you


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการจัด มาตรฐานเพื่อให้เป็นไปตามกฏกระทรวง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google