งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อุดมการณ์และระบอบการเมืองร่วมสมัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อุดมการณ์และระบอบการเมืองร่วมสมัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อุดมการณ์และระบอบการเมืองร่วมสมัย
กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 Constitution? The system of beliefs and laws by which a organization is governed The mode in which a state or society is organized อุดมการณ์ทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ต้องถูกค้นคว้า

3 อุดมการณ์และระบอบการเมือง
รัฐสมัยใหม่ เป็นชุมนุมทางการเมือง (การเมือง = ที่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจภายในชุมนุมนั้นเอง; ผู้ปกครอง-ผู้อยู่ใต้ปกครอง) ถือหลักการปกครองและให้บริการประชาชนที่อยู่ในปริมณฑลของรัฐนั้น เพื่อ อ้างอิงความชอบธรรมในการใช้อำนาจแห่งรัฐ “การปกครองและให้บริการ” อย่างไร? ความรู้สึกนึกคิด วิถี และวิธีการในการ “ปกครองและให้บริการ” เป็นสิ่งที่อวตารมาจาก “อุดมการณ์ทาง การเมือง” และอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นกำกับการออกแบบโครงสร้างและสถาบันการเมืองให้เกิด “รัฐ” ในรูปแบบ หนึ่งๆ เรียกว่า “ระบอบการปกครอง”

4 อุดมการณ์และระบอบการเมือง (2)
“รัฐธรรมนูญ” ด้วยตัวของมันเองเป็นการนำระบอบการปกครองมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมาย ทั้งนี้ เพราะสังคมสมัยใหม่เชื่อมั่นในตัวอักษร (เป็นหลักการ/ความรู้/ภาววิสัย- “ความเป็นศาสตร์” (science-positivism)) มากกว่าตัวบุคคล เราจึงถือกฎหมายเป็นใหญ่ (the rule of Law) ความเปลี่ยนแปลง-อุดมการณ์ทางการเมือง-ระบอบการปกครอง-รัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งที่หนีกันไม่พ้น ประวัติศาสตร์-ปรัชญา-รัฐศาสตร์/บริหารรัฐกิจ-กฎหมายรัฐธรรมนูญ (-กฎหมายอื่นๆ ฯลฯ) จึงหนีกันไม่ พ้นเช่นกัน การทำความเข้าใจเรื่อง “อุดมการณ์ทางการเมือง” ในเบื้องต้น ย่อมช่วยให้เห็นภาพและความหมายของ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้ชัดเจนขึ้นเช่นกัน

5 “อุดมการณ์ทางการเมือง”
“อุดมการณ์” (Ideology) ถูกใช้เป็นครั้งแรก โดย เดสตุท เดอ ทราซี่ (Destutt de Tracy) ในฐานะ ที่เป็น “Philosophy of mind” ใน ค.ศ. 1796 ความหมายของว่า “ideology” ไม่สู้จะนิ่งนัก มีการหยิบไปใช้หลากหลายรูปแบบตามรสนิยม อย่างไรก็ตาม ในความหมายของวิชานี้ จะใช้ในความหมายว่า “ชุดของความคิดที่มีความสอดคล้องกัน ซึ่ง ใช้เป็นรากฐานให้กับการจัดการกิจกรรมทางการเมือง” โดยทั่วไปอุดมการณ์จะประกอบไปด้วย การอธิบายสภาวะแห่งสังคมการเมือง หรือโลกทัศน์ (world view) การนำเสนอรูปแบบการเมือง (model) หรือให้ญาณทัศน์ (vision) หรือสังคมในอุดมคติ การนำเสนอวิถีและวิธีในการมุ่งสู่งสังคมในอุดมคตินั้น อุดมการณ์การเมืองต่างจากปรัชญาการเมืองตรงที่ อุดมการณ์มีนัยในเชิงปฏิบัติการมากกว่า

6 อุดมการณ์การเมืองสำคัญในโลกปัจจุบัน
อุดมการณ์การเมืองมีควาเมป็นพลวัติ เพราะมุ่งเน้นที่ปฏิบัติการและการออกแบบ “ระบบ” ในเชิง รายละเอียดจึงมีความหลากหลาย เช่น สังคมนิยมสหกรณ์, สังคมนิยมมารกซิสต์, สังคมนิยมประชาธิปไตย หากพิจารณาเฉพาะหัวขบวนของอุดมกาณ์แขนงต่างๆ เราสามารถพบได้ว่ามีอยู่ 6 แขนงด้วยกัน การเมืองแบบเสรีนิยม (liberalism) การเมืองแบบอำนาจนิยม (authoritarianism) การเมืองแบบประโยชน์นิยม (utilitarianism) การเมืองแบบชุมชนนิยม (communitarianism) การเมืองแบบคอมมิวนิสต์ (communism) การเมืองแบบประชาธิปไตย (democracy)

7 1. อุดมการณ์เสรีนิยม (Liberalism)
การคิดว่ารัฐถือกำเนิดมาเพื่อรับใช้ปัจเจกบุคคล เสรีภาพของปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องยึดถือไว้เป็นอันดับแรก เสรีภาพของปัจเจกบุคคลย่อมแปรผกผันกับอำนาจของรัฐ อุดมการณ์นี้จึงเชื่อว่ารัฐควรจะมีอำนาจน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความสงบ และดำเนินกิจการที่ เอกชนไม่ยอม/ไม่สามารถทำได้เท่านั้น อุดมการณ์ชุดนี้เติบโตขึ้นมาก่อนอุดมการณ์การเมืองอื่นในยุคสมัยใหม่ทั้งหมด นักคิดสำคัญที่อยู่ในกลุ่มเสรีนิยม ได้แก่ อดัม สมิท, จอห์ท ล๊อค, มองเตสกิเออ, จอห์น สจ๊วต มิลล์

8 “Liberal” Liberal ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคกลางของยุโรป ในช่วงแรกโดยมีความหมายสองนัย ประการแรก หมายถึง การศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก ประการที่สอง หมายถึง การศึกษาของสุภาพบุรุษ หรือเสรีชน (Liber) เชื่อกันว่าการศึกษาแบบลิเบอรัลจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะปลูกฝังขัดเกลาผู้เรียนให้เหมาะสม แก่การเป็นสุภาพบุรุษหรือเสรีชน ได้แก่ ความใจกว้าง (broadmindedness) ขันติธรรม (tolerance) ความเมตตา (generosity)

9 “Liberal” (2) ปลายศตวรรษที่ 16 เสรีนิยมหมายถึง ความหย่อนยานทางศีลธรรมจรรยา เช่น “Libertine” คือการไม่ คำนึงถึงศีลธรรมทางเพศและศาสนา จนปัจจุบัน เสรีนิยมเป็นคุณธรรมชุดหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วย ขันติธรรม ความก้าวหน้า ปัจเจกชนนิยม ในทางการเมือง “เสรีนิยม” (Liberales) ถูกเรียกขึ้นครั้งแรกในสเปน หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านผู้นิยม เจ้า ทีได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส 1789 ที่ต้องการสถาปนารัฐธรรมนูญที่ปลอดอิทธิพล ของศาสนา โดยเรียกร้องเสรีภาพในกิจการหนังสือพิมพ์ (Freedom of press: ปัจจุบันมักเรียกกันว่า Freedom of expression) โดยคำว่า “Liberales” เป็นคำที่กลุ่มผู้นิยมเจ้าเรียกพวกนิยมการปฏิรูปที่เป็นอันตรายต่อบ้านเมือง จึงมีความหมาย เชิงลบ

10 กำเนิดความคิดแบบเสรีนิยม
เสรีนิยม เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาของรัฐสมัยใหม่ รัฐชาติ โดยได้อิทธิพลจากความคิดในยุค แสงสว่างแห่งปัญญา (enlightenment : บางครั้งถูกเรียกว่ายุครู้แจ้ง, ยุคภูมิธรรม) ที่เกิดขึ้นจากบริบททางสังคมปลายยุคกลางของยุโรป การฟื้นฟูกฎหมายโรมัน, การปฏิรูปศาสนา ดังที่ควรจะทราบกันแล้ว เสรีนิยมกับความคิดรัฐธรรมนูญนิยมในยุคแรกแทบจะเป็นสิ่ง เดียวกัน ให้ความสำคัญกับ สิทธิของปัจเจกบุคคล, เสรีภาพของปัจเจก, ฉันทานุมัติ, การแบ่งแยกเรื่อง ส่วนตัวกับเรื่องสาธารณะ, การทำสัญญา, การปกครองแบบอำนาจจำกัด, อำนาจอธิปไตย ของปวงชน ฯลฯ

11 Core ideas ปัจเจกบุคคลนิยม: ปัจเจกบุคคลมีความสำคัญสูงสุด สำคัญกว่าสังคม เพราะมนุษย์คือปัจเจกโดย ธรรมชาติ หากไม่สามารถเป็นปัจเจก ชีวิตมนุษย์ก็หมดความหมาย เสรีภาพ: ที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำตามที่ตนปรารถนา โดยถือว่าเป้นเสรีภาพตามกฎหมาย ความเสมอภาค: ความเสมอภาคในสิทธิและโอกาส ไม่ได้รับประกันว่าจะต้องเสมอภาคกันในทางสังคม ขันติธรรม: ความใจกว้างอดทนต่อความคิดเห็นของผู้อื่น ฉันทานุมัติ: อำนาจของผู้ปกครองมาจากความยินยอมของผู้ใต้ปกครอง รัฐธรรมนูญนิยม: รัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นที่ชั่วร้ายในการประกันความสงบเรียบร้อยในสังคม แต่นักเสรีนิยมจะ ระวังเสมอว่ารัฐจะเปลี่ยนไปทรราชย์เสมอ จึงต้องให้กฎหมายเป็นผู้ปกครอง กลไกในการตรวจสอบและ ถ่วงดุลอำนาจ

12 ขีดจำกัดของอำนาจรัฐ เนื่องจากเสรีนิยมให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล ซึ่งสิทธิและเสีรีภาพของปัจเจกชนจะมากขึ้นได้ก็ด้วย อำนาจของรัฐมีน้อยลง  ขีดจำกัด ของรัฐจึงสำคัญ ถ้าจะให้ดี รัฐตามคติของเสรีนิยมจะต้องเป็น “รัฐขั้นต่ำ” (the minimal state) เสรีนิยมจะถือว่ารัฐต้องมีขีดจำกัดสองด้าน ด้านแรก คือ ขีดจำกัดในด้านอำนาจ (limit of state power) ด้านที่สอง คือ ขีดจำกัดในด้านหน้าของรัฐ (limit of state function)

13 ขีดจำกัดในด้านอำนาจ การจำกัดอำนาจรัฐด้วยกฎหมาย
หลักนิติรัฐ (legal state) : การกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมของกฎหมาย (inner morality of law) : กฎหมายต้องสอดคล้องกับ กฎเกณฑ์เชิงศีลธรรมของกฎหมาย กฎหมายห้ามมีผลย้อนหลัง กฎหมายต้องประกาศ กฎหมายต้องชัดเจน กฎหมายไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย กฎหมายต้องใช้เป็นการทั่วไป กฎหมายต้องไม่ขัดแย้งกันเอง กฎหมายต้องอ่านเข้าใจ กฎหมายต้องไม่บังคับให้ทำเรื่อวพ้นวิสัย กฎหมายต้องสามารถบังคับใช้ได้ หลักการแบ่งแยกอำนาจ และให้อำนาจตรวจสอบถ่วงดุลกัน

14 ขีดจำกัดในด้านอำนาจ (2)
เพิ่มอำนาจของปัจเจกบุคคลในการท้าทายและงัดข้ออำนาจรัฐ การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมาย = หน้าที่ของรัฐ สิทธิเสรีภาพทุกอย่างในรัฐธรรมนูญเป็นขีดจำกัดในด้านอำนาจรัฐ เพราะทำให้รัฐมีอำนาจน้อยลง กฎหมายรับรองให้บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุม = รัฐไม่มีอำนาจในการห้ามการชุมนุม กฎหมายรับรองให้บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงออก = รัฐไม่มีอำนาจในการเซนเซอร์ ฯลฯ สิทธิของประชาชนจึงเป็นข้อจำกัดของอำนาจรัฐโดยสภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมืองในรัฐธรรมนูญ (Civil and Political rights)

15 ขีดจำกัดในด้านหน้าของรัฐ
รัฐตามคติของเสรีนิยมจะต้องจำกัดบทบาทของตนเองให้เล็กที่สุด และปล่อยให้เอกชนดำเนินการ ขีดจำกัดด้านหน้าที่ของรัฐ ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากอดัม สมิธ และจอห์น สจ๊วต มิลล์ อย่างสำคัญ อดัม สมิธ (Adam Smith: ) เสนอเรื่อง ความมั่งคั่งแห่งชาติ (the Wealth of Nation) ว่าความมั่งคั่งมีกลไกในการจัดการตัวเองตาม ธรรมชาติ เรียกว่า มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) คือ กลไกตลาดที่ทำให้เกิดความมั่งคั่งขึ้น หน้าที่ของรัฐ คือ อย่าพยายามจัดการตลาด เพราะตลาดมีความสามารถในการจัดการตนเองอย่างเหลือเชื่อ 1) รักษาความสงบ 2) ดำเนินกิจการยุติธรรม และ 3) บริการสาธารณะที่เอกชนจะไม่ทำ หรือถ้าเอกชนทำจะ ก่อให้เกิดความเสียหาย จอห์น สจ๊วจ มิลล์ (John Sturt Mills) ในทางวัฒนธรรมและศีลธรรม รัฐมีหน้าที่เดียวคือการป้องกันการกระทำที่ก่อให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลอื่น

16 หัวใจของเสรีนิยม จุดเน้นที่สุดของเสรีนิยม คือ การคุ้มครองเสรีภาพของปัจเจกชน โดยมองว่า ศัตรูแห่งเสรีภาพของปัจเจกที่สำคัญที่สุด นอกจากโจรผู้ร้ายแล้ว คือตัวรัฐเอง รัฐจึงต้องมีอำนาจน้อยที่สุด คือแค่เพียงพอในการห้ามปรามไม่ให้คนฆ่ากัน กิจการที่เหลือรัฐ ต้องปล่อยให้เอกชนดำเนินการ สรุป คือ รัฐเสรีนิยม คือ รัฐที่มีทั้งอำนาจและหน้าที่จำกัด

17 การเมืองของเสรีนิยมในประเทศไทย
การรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น ตลอดจนการจัดตั้งองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ การกระทำของรัฐอย่างเข้มงวดขึ้น การเปิดการค้าเสรี (Free trade) และการทลายกำแพงภาษีสินค้าขาเข้า เริ่มตั้งแต่สัญญาเบาวริ่งจนถึง ปัจจุบัน การแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (Privatization of state function) การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย การสนับสนุนของรัฐให้มีกลไกในการลดหย่อนภาษีโดยเชื่อกับกิจการของบริษัทเอกชน ขบวนการเสรีนิยมในทางวัฒนธรรม เช่น การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย การทำให้สารเสพติดบาง ประเภทถูกกฎหมาย ฯลฯ

18 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

19 Privatization in Thailand

20 การเปิดเสรีทางการค้า+AEC

21 2. การเมืองแบบอำนาจนิยม (authoritarianism)
อุดมการณ์แบบอำนาจนิยม มุ่งเน้นการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐไว้ โดยเชื่อว่า “รัฐ” เป็นฐานที่มั่นของความดีงามและอารยธรรมของมนุษย์ มนุษย์อยู่ในรัฐที่เลวร้ายอย่างไร, ก็ยังดีกว่ามนุษย์ที่ไม่ได้อยู่ในรัฐ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ความคิดเรื่องสัญญาประชาคมแบบสวามิภักดิ์ของ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ที่เสนอว่า “สันติภาพคือกฎหมายอันดับหนึ่ง” ฮอบส์ เชื่อแบบนี้ เพราะวิเคราะห์ว่า สภาพธรรมชาติ (state of nature) ของมนุษย์นั้นเลวร้าย ไม่สงบ เป็นสงครามที่ทุกคนทำกับทุกคน (state of war of all against all) --- world views ด้วยวิธีคิดดังกล่าว ฮอบส์จึงเสนอว่า รัฐคือชั่วร้ายที่จำเป็น (necessitous evil) รัฐ สำหรับฮอบส์ คือ ลิเวียธั่น (Leviathan)

22 Leviathan Meriam-Webster Dictionary: “Something that is very large and powerful” Leviathan also refer to “a sea monster defeated by Yahweh” Hobbes names his book as ‘Leviathan’ for disguised meaning of the state and the governor. The state is a monster who conflict with God. (separation of secular and religion) The state is not one of humankind, but it’s form the sea where is no man. The state is evil and powerful by nature. In spite of evilness, powerfulness and otherness of the state, human society invites the state to themselves for making peace and getting out of the state of nature

23 การเมืองแบบอำนาจนิยม (2)
World view ของนักการเมืองแบบอำนาจนิยม คือ มนุษย์ต้องได้รับการจัดการโดยรัฐ มิฉะนั้นจะ นำไปสู่ความโกลาหล อำนาจของรัฐ มีไว้เพื่อรักษาอำนาจของรัฐ และรัฐย่อมทำทุกวิธีทางที่จะรักษาอำนาจดังกล่าวไว้ สิทธิเสรีภาพของประชาชน ย่อมมีความสำคัญน้อยกว่าการรักษาอำนาจรัฐ การดำรงอยู่ของอำนาจทางการเมืองแบบอำนาจนิยม ด้านหนึ่งคือต้องเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้อำนาจ รัฐ และลดความสำคัญและมั่นใจของผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองลง การเมืองแบบนี้จึงดำรงอยู่ได้ด้วย “ความกลัว-ความไม่มั่นใจ” ของประชาชน จึงเทอำนาจทั้งหมดให้รัฐ หรือ ทำให้ประชาชนอยู่ในวิสัยจะคัดค้านรัฐได้ เช่น ปิดบังข้อมูล โฆษณาชวนเชื่อ ห้ามการแสดงออก การสร้างและผลิตซ้ำความกลัวจึงเป็นเทคนิควิธีหลัก ของนักการเมืองแนวอำนาจนิยม

24 การสร้าง “ภัยคอมมิวนิสต์”

25 ผังล้มเจ้า?

26 วาทกรรมเสียดินแดน

27 วาทกรรมความน่ารังเกียจของคนยิว?

28 ผลของการสร้างศัตรูของชาติเป็นว่าเล่น

29 การเมืองแบบอำนาจนิยมในประเทศไทย
วิถีทางแห่งการเมืองที่สร้างอำนาจรัฐด้วยความหวาดกลัวต่อ “ศัตรูของรัฐ” อยู่ในสังคมไทยทุกยุคสมัย การทำให้อาณานิคมตะวันตกเป็น “ภัยอันน่าหวาดกลัว” เพื่อสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย ทั้งๆ ที่ด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ชนชั้นเห้นตะวันตกเป็นแบบอย่างที่ศิวิไลซ์ ความกลัวต่อภับกบฎต่อต้านการปฏิวัติและภัยสงครามในช่วงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ความกลัวฝ่ายซ้าย คอมมิวนิสต์ ในช่วง การสร้างความกลัว ภัยทางเศรษฐกิจและภัยยาเสพติด ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ความกลัวเรื่องล้มเจ้าในรัฐบาลประชาธิปัตย์-ประยุทธ การสร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในสังคม เพื่อให้รัฐมีอำนาจพิเศษในการรักษาความสงบต่างๆ

30 3. อุดมการณ์การเมืองแบบประโยชน์นิยม
อุดมการณ์การเมืองแบบประโยชน์นิยม นำฐานคิดมาจากความคิดของลัทธิอรรถประโยชน์นิยม มาใช้เป็น พื้นฐานในการดำเนินกิจการของรัฐ หลักการอย่างกว้าง คือ “หลักมหสุข” : การยึดถือประโยชน์สูงสุดของคนจำนวนมากที่สุด ความคิดชุดนี้ไม่ให้ความสำคัญกับอดีต โดยถือว่าเป็นเรื่องที่แก้ไขอะไรไม่ได้ (by gone is gone) ฐานคิดสำคัญของประโยชน์นิยม คือ การนิยมความก้าวหน้าในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม การยึดถือ “ประโยชน์” “สูงสุด” ของคน “จำนวนมากที่สุด” เป็นหลักการที่นิยามได้ไม่ง่าย เพราะเราจะถือว่า อะไรคือ “ประโยชน์” และ อะไรคือ “มากที่สุด”

31 วิถีการเมืองแบบประโยชน์นิยม
หลัก “มหสุข” : ความสุขสูงสุดของคนจำนวนมากที่สุด (the greatest happiness of the greatest numbers) อุดมการณ์นี้ใช้ “ความมีประโยชน์” เป็นฐานความชอบธรรมในการใช้อำนาจการเมือง รัฐจะใช้อำนาจได้ต่อเมื่ออำนาจก่อให้เกิด “ประโยชน์” เช่น หากการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจะช่วยคลี่คลายวิกฤติพลังงานให้กับคนทั้งประเทศได้ รัฐควรลงทุนให้เกิด โครงการดังกล่าว แม้ว่าจะกระทบสิทธิของคนในชุมชนก็ตาม เช่น โครงการจำนำข้าวหากเป็นเพียงการนำงบประมาณของรัฐทั้งหมดไปอุ้มชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ย่อมเป็น นโยบายที่ไม่มีความเหมาะสม เพราะไม่ใช่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โดยมองว่าเป็นเรื่องที่ คนส่วนน้อยต้องสละให้ “ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่”

32 วิถีการเมืองแบบประโยชน์นิยม (2)
กิจการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมาก รัฐก็ไม่ควรสนับสนุน การจัดสวัสดิการสำหรับแรงงานอพยพเป็นเรื่องของ “คนนอก” ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม การตั้งบาเรียเออร์รอบกรุงเทพฯ และพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อปกป้องพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ มากกว่า การเลือกสนับสนุนกิจกรรมอุตสาหกรรมหนัก (heavy industry) แทนที่จะสนับสนุน กิจกรรมเชิงสิ่งแวดล้อม ประโยชน์สาธารณะต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตน

33 เนื้อแท้และข้อจำกัดของอุดมการณ์แบบประโยชน์นิยม
การเมืองแบบประโยชน์นิยมมีสาระสำคัญอยู่ที่การนิยามสิ่งที่เป็น “ประโยชน์” เอาเข้าจริงการบอกว่าสิ่งใดเป็น “ประโยชน์” มากน้อยกว่ากันเป็นเรื่องที่วินิจฉัยลำบากมาก ประโยชน์ของชาวนาที่ได้จากการจำนำข้าว กับผลเสียที่จะเกิดกับรัฐหากมีการจำนำขาว อะไรมากกว่า? ประโยชน์ของการสร้างรถไฟความเสร็วสูงกับการสร้างถนนลาดยางทั่วประเทศ? ประโยชน์ของกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับประโยชน์จากอุตสาหกรรมหนัก? ประโยชน์ของเหมืองแร่ทองคำกับสุขภาพของประชาชนรอบเหมือง? ประโยชน์ของการทำลายล้างยาเสพติดกับคุณค่าของหลักนิติธรรม? ประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับประโยชน์ทางคุณภาพชีวิต?

34 เนื้อแท้และข้อจำกัดของอุดมการณ์แบบประโยชน์นิยม (2)
ในอุดมการณ์แบบประโยชน์นิยม การช่วงชิงความหมายของ “ประโยชน์” เป็นเรื่องสำคัญมาก ในประเทศอื่นๆ อุดมการณ์แบบประโยชน์นิยมมักขับเคลื่อนผ่านการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะจะเปรียบเทียบว่าอะไรมากกว่าอะไรได้ ต้องตีความประโญชน์เหล่านั้นให้กลายเป็นตัวเลข เช่น ประโยชน์ของอุตสาหกรรมหนักเทียบกับประโยชน์ของประชาชนในระแวก ได้ด้วยการ นำ GDP จาก ภาคอุตสาหกรรมหนัก มาเปรียบเทียบกับ GDP ภาคการท้องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และบวกด้วยการประมาณ ค่าบำรุงรักษาสุขภาพ หรือการย้ายออกของคนในพื้นที่ เข้าใจได้ไม่ยากว่าในกรณีดังกล่าว อำนาจการเมืองไทยย่อมอยู่ในมือของภาคอุตสาหกรรมหนักยิ่งกว่า ประชาชนทั่วไป เช่น การทำสงครามยาเสพติดมีคนค้ายาตายเพียง 2,000 กว่าคน ย่อมเทียบอะไรไม่ได้กับประโยชน์ของ คน 16 ล้านเสียงที่เลือกตนเข้ามา?

35 เนื้อแท้และข้อจำกัดของอุดมการณ์แบบประโยชน์นิยม (3)
ประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ เกิดขึ้นมากมายกับคนจำนวน มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลเสียของการละเมิดสิทธมนุษยชน/การทุจริต? (หากมีจริง) ฯลฯ เมื่อพิจารณาจากอุดมการณ์การเมืองแบบประโยชน์นิยม เราจะสังเกตได้ว่ามีข้อจำกัด ได้แก่ ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ประโยชน์จากอำนาจรัฐมาก เพราะเป็นคุณค่าที่สามารถประเมินออกมาใน ตัวเลขได้ และมักมีปริมาณมากกว่า ภาคสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ศิลปะ ฯลฯ การใช้อำนาจรัฐมีแนวโน้มจะสนใจที่ผลลัพท์มากกว่าวิธีการ โดยเฉพาะอย่างวิธีการที่สิ้นเปลืองงบประมาณ การใช้อำนาจรัฐมักมองประโยชน์ของสาธารณชนเป็นภาพรวม โดยมองข้ามสิทธิของคนส่วนน้อย

36 การเมืองแบบประโยชน์นิยมในประเทศไทย
การทำสงครามยาเสพติดในช่วงรัฐบาลทักษิณ การอ้างประโยชน์ของคนส่วนมาก เพื่อวิสามัญพ่อค้ายาเสพ ติดจำนวนไม่น้อย โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม โครงการรถคันแรกที่ใช้อำนาจเชิงนโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภค เพื่อผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ โดยนโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งตรงและอ้อมกับบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์บางยี่ห้อ การละเลยสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ทั้ง 40/50 เพราะสิทธิชุมชนจะก่อให้เกิดอะนาจต่อรองมหาศาลแก่ ประชาชนในฐานะชุมชน ในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดผล ประโญชน์ทางเศรษฐกิจน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม การสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ในด้านกิจการพลังงาน โดยละเลยการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่อาจ ได้รับผลกระทบจากโครงการ

37 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต
นอกภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการขยายตัวของทุกสาขา การผลิต ที่ส าคัญ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม สาขา ขนส่งและคมนาคม สาขาการค้า สาขาไฟฟ้าและ ประปาฯ สาขาโรงแรม และภัตตาคาร สาขาบริการ ชุมชนฯ สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ สาขาการก่อสร้าง สาขาบริหาร ราชการฯ สาขาบริการด้านสุขภาพ และ สาขาการท า เหมืองแร่และย่อยหิน จังหวัดระยอง ค่ามีค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดสูงสุดที่ 1,058,293 บาทต่อคนต่อปี กับ จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดที่ 46,804 บาทต่อคนต่อปี มีความ แตกต่างกันถึง 22.6 เท

38 ราคาที่แลกกันมา อัตราการเจ็บป่วยที่พบมากที่สุดคือ โรคระบบ หายใจ ที่มีประวัติผู้ป่วยนอกอยู่ถึง 21,223 ราย รองลงมาคือ โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคใน ช่องปาก 13,388 ราย อันดับที่ 3 โรคระบบ ไหลเวียนเลือด 8,196 ราย อันดับที่ 4 อาการแสดง และสิ่งผิดปกติที่พบได้จากการตรวจทางคลินิก และทางห้องปฏิบัติการ ที่ไม่สามารถจำแนกโรคใน กลุ่มอื่นได้ 7,123 ราย

39 4. อุดมการณ์ชุมชนนิยม (Communitarianism)
ความคิดชุดนี้มีรากฐานมาจาก ความคิดนิยมโรแมนติก (Romanticism) และการชื่นชมความแตกต่าง ระหว่างชุมชนต่างๆ (Beautiful of Diversity) มนุษย์ในแต่ละสังคมล้วนแต่มีลักษณะเฉพาะ (uniqueness) และลักษณะเฉพาะนั้น เป็นสิ่งที่สวยงามและควรค่าแก่การหวนแหนไว้ เช่น วิถีทางวัฒนธรรม ศรัทธาทางศาสนา ประวัติศาสตร์ ฯลฯ อำนาจรัฐที่อิงตามอุดมการณ์นี้มักอ้างความชอบธรรมของการใช้อำนาจจากวัตถุโบราณ ไม่ว่าจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ จารีต ประวัติศาสตร์ของชนชาติ และลักษณะเฉพาะของชนชาติตนเอง

40 Communitarianism กับ ชุมชนนคร
สตีเว่น ลุ๊กค์ บรรยายทัศนะต่อ “ชุมชนนคร” โดยชาวชุมชนนคร เพื่ออธิบายลักษณะทางสังคมของชุมชน นคร ว่า “กวีและปราชญ์แห่งชุมนมนครชมชอบการอุปมาอุปมัยในทางกสิกรรม เพราะทำให้เห็นว่าชาวชุมชนนครนั้น ยึดติดอยู่กับ ผืนดิน ปลูกฝัน รกราก ของตน และรู้สึกเกี่ยวโยงเหมือนเป็น องคายพ ของกันและกัน พวกเขา เลือกพึ่งพาและอาศัยความเข้าใจที่ไม่ต้องพูดออกมา ประเพณีที่ไม่ต้องตรวจสอบ และธรรมเนียมที่ วิวัฒนาการมาอย่างเชื่องช้าเป็นหลักปฏิบัติ” “ชุมชนนครเป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกันมาก เธอจะรู่สึกจิตใจตัวเองสงบมั่นคงเมื่อได้พบงานที่ลงตัวกับเธอ เรือนตายของเธอ บ้านทางวัฒนธรรมของเธอ เธอจะมั่นคงในเอกลักษณ์ของเธอ บุคลิกของเธอ ตัวตนของ เธอ เหมือนชาวชุมชนนครคนอื่นทั้งหมดนั้นแหละ” “ฉันก็คืออะไรก็แล้วแต่ที่ชุมชนของฉันปั้นให้ฉันเป็น การซื่อตรงต่อตัวเองคือการซื่อตรงต่อชุมชนของตัว และ การซื่อตรงต่อชุมชนของตัวก็คือการซื่อตรงต่อตัวเองนั่นแหละ”

41 Communitarianism กับ ชุมชนนคร (2)
“เราไม่อาจอดกลั้นต่อการแสดงความไม่เคารพสิ่งที่เรานับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ได้...ปัญหาอยู่ที่การก้าวร้าว ล่วงเกิน สิ่งที่เรียกว่าความอดกลั้นน่ะ เท่าที่เราเข้าใจ ก็คือการยอมให้คนอื่นก้าวร้าวล่วงเกินโดยไม่คัดค้าน ขณะที่การเคารพก็คือการอย่าไปทำอะไรที่ก้าวร้าวล่วงเกินคนอื่นเข้า สังคมของเราทั้งหมดยึดถือประการ หลัง ไมใช่ประการแรก” “สิทธิ นั่นเป็นภาษาของศัตรูเรา มาพูดเรื่องการล่วงละเมิดดีกว่า ปัจเจกบุคคลไม่มีสิทธิหรอก ถ้าเราจะพูด เรื่องสิทธิ เราควรพูดว่าบุคคลล่วงละเมิดเรานั่นมันเป็นการล่วงล้ำสิทธิอันสมบูรณ์ในการได้รับความเคารพ ของเรา” “นกนางแอ่นเป็นผู้ทรยศที่ตั้งเป้าจะทำลายล้างเราและทุกอย่างที่เราดำรงชีพอยู่เพื่อธำรงรักษาไว้ถ่ายเดียว ...ที่ท่านแสดงความเห็นอกเห็นใจมันนันนับเป็นการไม่แสดงความเคารพเรา”

42 วิถีทางการเมืองแบบชุมชนนิยม
วิถีการใช้อำนาจสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของรัฐ ให้ความสำคัญกับ “ชุมชน” “ชาติ” ก่อนคุณค่าอันเป็นสากล (universal value) การเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเหตุผลของการเป็น “คนอื่น” ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การรักษาลักษณะเฉพาะของรัฐและชาติไว้เป็นอันดับแรก โดยอ้างอิงประวัติศาสตร์และประเพณี เอกลักษณ์แห่งรัฐ ความเป็นชาติ ประวัติศาสตร์ ประเพณีเป็นความเชื่อที่ศักดิ์สิทธิ (dogma) หวาดระแวงวิธีคิด วัฒนธรรม ค่านิยม และอุดมการณ์การเมืองที่มาจากภายนอก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถูกจัดกัดโดยกฎหมายอย่างเปิดเผย และถูกต้องข้อรังเกียจจากสังคม

43 วิถีการใช้อำนาจสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของรัฐ
ประชาธิปไตยแบบไทย? คำอธิบายกฎหมายมหาชน สำนักบวรศักดิ์ การใช้ ประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัริย์เป็นประมุข? พระมหากษัตร์ย์ทรงเป็นพุทมามกะ และทรงเป็น อัครศาสนูปถัมภก การพิจารณาคดีของศาลต้องดำเนินการตาม รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และในพระปรมาภิไธย

44 “ชุมชน” “ชาติ” ก่อนคุณค่าอันเป็นสากล (universal value)
การทำหนังสือสัญญาใดๆ นอกจากให้สัตยาบันกับ ประชาคมระหว่างประเทศแล้ว ต้องมีการออก กฎหมายภายในรับรอง (เอกนิยมในกฎหมาย ระหว่างประเทศ) (190 รธน. 2550) การแยะ “สิทธิพลเมือง” ออกจาก “สิทธิมนุษยชน” ในร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ที่ตกไป ความไม่ไว้วางใของค์กรระหว่างประเทศ ICC

45 การรักษาลักษณะเฉพาะของ “รัฐ” และ “ชาติ”
การเน้นหน้าที่ของ “คนไทย” (ไม่ใช่พลโลก) รักชาติ ศาสนา พระมหากศัตริย์ กตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ รักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ ไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา รักษา วินัย กฎหมายไทย ปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัว ไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้

46 เอกลักษณ์แห่งรัฐ ฯลฯ เป็นความเชื่อที่ศักดิ์สิทธิ
ลักษณะเฉพาะของรัฐสำคัญกว่าคุณค่าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าส่วนบุคคลหรือคุณค่าอันเป็นสากล คุณค่า ทัศนคติ โลกทัศน์ส่วนบุคคลไม่อาจเทียบกับคุณค่าของรัฐได้ เพราะเป็นเพียงเรื่องส่วนตัว คุณค่า ทัศนคติ โลกทัศน์สากลก็ไม่อาจเทียบกับคุณค่าของรัฐได้ เพราะรัฐมีลักษณะเฉพาะ “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้” ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการด้วยตนเอง .... ผู้พิพากษาเป็นข้าราชการฝ่ายเดียวที่ทำหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

47 5. อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ (Communism)
คอมมิวนิสต์ เป็นสังคมในอุดมคติของ คารล์ มารกซ์ (Karl Marx) การทำความเข้าใจสังคมคอมมิวนิสต์อย่างลึกจึงจำเป็นต้องเข้าปรัชญามารกซิสเสียก่อน โดยรวม มารกซ์ เชื่อว่าสังคมมนุษย์ตั้งแต่บรรพกาลจนถึงปัจจุบัน คือ “ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งทาง ชนชั้น” (History of class struggle) หมายถึง ตลอดเวลาที่ผ่านมาสังคมมีชนชั้น และมีความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และชนชั้น คือ การแบ่งแยกมนุษย์ออกด้วย การครอบครองปัจจัยการผลิต ซึ่งแปรผันกันไปตามวิถีการผลิต ในแต่ละช่วงเวลา

48 Karl Marx ( ) a philosopher, economist, sociologist, journalist and revolutionary socialist. He published numerous books during his lifetime, the most notable being The Communist Manifesto (1848) and Das Kapital (1867–1894).

49 Friedrich Engels ( ) a German philosopher, social scientist and journalist, who founded Marxist theory together with Karl Marx he published The Condition of the Working Class in England, based on personal observations and research in Manchester. In 1848 he co-authored The Communist Manifesto with Karl Marx, though he also authored and co-authored (primarily with Marx) many other works, and later he supported Marx financially to do research and write Das Kapital. After Marx's death, Engels edited the second and third volumes.

50 “Communism” A way of organizing a society in which the government owns the things that are used to make and transport product and there is no privately owned property A theory advocating elimination of private property A system in which goods are owned in common and are available to all as needed. Commune: ชุมชน (ไม่ใช่รัฐ) : a group of people who live together and share responsibilities, possessions.

51 วิวัฒนาการทางสังคมแบบคอมมิวนิสต์
จุดที่สังคมมนุษย์ยังไม่เคยไปถึง วิถีการผลิตกำกับปัจจัยการผลิต การปฏิวัติของชนชั้นกรรมชีพ สังคมทาส แรงงานเป็นปัจจัยการผลิต นายทาส-ทาส Spatacus สังคมศักดินา ที่ดินเป็นปัจจัยการผลิต เจ้าของที่ดิน-ผู้เช่าที่ดิน ฟิวดัลในยุโรป สังคมทุนนิยม ทุนเป็นปัจจัยการผลิต นายทุน-กรรมกร Modern Time สังคมนิยม รื้อถอนอุดมการณ์แบบทุนนิยม รัฐเตรียมคอมมิวนิสต์ ประโยชน์ของสังคมมาก่อนประโยชน์ของเอกชน รัฐสวัสดิการ สังคมคอมมิวนิสต์

52 คอมมิวนิสต์กับการวิพากษ์สังคม
คอมมิวนิสต์วิจารณ์อุมดมการณ์อื่นๆ ว่าไม่ได้นำไปสู่งสังคมที่ดี เป็นเพียงมายาภาพที่คอยปิดบังการกดขี่ และขูดรีดทางชนชั้น “อรรถประโยชน์นิยม เป็นเพียงความสัมพัน์ทางการค้าและการเงินภายใต้อีกชื่อหนึ่ง ความเป็นประโญชน์ เป็นเพียงอุบายของชนชั้นกระฎุมพีเท่านั้น” “ชุมชนนิยม ให้ความสำคัญกับอภิชนบางกลุ่มที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา ตัวแทน เหล่านี้ทำในสิ่งที่กินใจประชาชน เอาการบูชาเทวรูปและมายาคติบุพกาลมาใส่หัวประชาชนจนเต็ม ศาสนา อาจเป็นหัวใจของโลกที่ไร้น้ำใจ แต่มันก็เป็นยาฝิ่นของประชาชนด้วย และนั้นเป็นอุบายที่พร่ามัวบิดบังการ รีดเอามูลค่าส่วนเกินจากประชาชน”

53 อุดมคติของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ มองว่าประวัติศาสตร์/ภูมิปัญญาทั้งหมดของมนุษยชาติ คือประวัติศาสตร์แห่ง ความขัดแย้งและกดขี่ทางชนชั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดสังคมในอุดมคติที่เสมอภาคขึ้นภายใต้สังคมที่มี รากฐานอันพิกลพิการดังกล่าว ทางออกเดียว คือ ทำให้ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของมนุษย์หลุดพ้นจากชนชั้นและการขูดรีด ทางดังกล่าว คือ การต่อสู้ปฏิวัติของชนชั้นกรรมชีพ สตีเว่น ลุ๊กค์ บรรยายโลกหลักการปฏิวัติตามจินตนาการของ มารกซ์และเองเกลไว้ ดังนี้ “เราตกปลาในชุดขี่ม้า เพราะเมื่อเช้าเราไปล่าสัตว์มา แล้วตอนนี้เรากำลังตกปลาอยู่ เย็นนี้เราจะไปเลี้ยงวัว และตั้งใจว่าจะตั้งวงวิจารณ์กันหลังอาหารเย็น แต่ข้อสำคัญที่ต้องตระหนักก็คือเราไม่ใช่ทั้งนายพรานหรือนัก ตกปลา หรือเกษตรกร หรือนักวิจารณ์ เรานึกอยากทำสิ่งเหล่านี้ก็ทำ ไม่มีใครในกรรมชีพนครถูกจำกัดให้ทำ เฉพาะกิจกรรมอันใดอันหนึ่ง”

54 อุดมคติของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ (2)
สังคมอุดมคติของคอมมิวนิสต์ คือ สังคมที่ไร้รัฐ เพราะรัฐถูกยกเลิกไปแล้ว การปกครองถูกแทนที่ด้วยการบริหาร ผู้ปกครองมีหน้าที่เป็นเพียงผู้บริหาร เช่น ผู้บริหารเป็นผู้คิดว่าจะขุดสระน้ำเพื่อตกปลาที่ไหน แต่เมื่อขุดเสร็จทุกคนล้วนเป็นเของร่วมกันและสามารถตกปลา ในสระได้อย่างเสรี การปฏิวัติของกรรมชีพ นอกจากจะลบล้างนายทุน รัฐ แล้ว ยังเชื่อว่าจะลบล้างความขาดแคลน ความเห็น แก่ตัว ความไร้เหตุผล และความไม่รู้สึกอดกลั้นต่อกันไปจนหมดสิ้นแล้ว เพราะความขาดแคลนเกิดจากการขูดรีด, ความเห็นแก่ตัวเกิดจากความหลงผิดว่ามีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล, ความไร้เหตุผลงมงายมาจากการมอมเมาของศาสนาที่รับใช้ชนชั้น, ความไม่อดทนก็มาจากการสำคัญว่าตน เหนือกว่าคนอื่น

55 อุดมคติของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ (3)
เมื่อไม่มีการปกครอง กฎหมายก็ไม่จำเป็นอีก โดยคอมมิวนิสต์ ถือว่า สิทธิ ความเสมอภาค ความยุติธรรม เป็นเพียงเรื่องเหลวไหลไร้สาระทางอุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิ หรือหลักประกันให้เกิดความยุติธรรม เพราะ ผลประโยชน์ของผู้คนไม่ขัดกันอีกในสังคมคอมมิวนิสต์ คอมมิวนิสต์เชื่อว่า “เสรีภาพ” ในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย เป็นเพียงเสรีภาพในเชิงรูปแบบ ซึ่งผู้คนไม่ อาจบรรลุเสรีภาพดังกล่าวได้จริง แต่สังคมคอมมิวนิสต์ คือ อาณาจักรแห่งเสรีภาพที่แท้จริงสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่กระฎุมพี เสรีภาพแบบ คอมมิวนิสต์จะเกิดการสร้างสรรค์ (เพราะคนไม่ถูกจำกัดศักยภาพของตนอีก) และก่อให้เกิดการผลิต (เพราะผู้คนย่อมเต็มใจทำงานของตนอย่างเต็มที่ และร่วมมือกัน)

56 สังคมคอมมิวนิสต์กับเรื่องการแลกเปลี่ยน
สังคมคอมมิวนิสต์อาศัยว่ามนุษย์ทุกคนจะผลิตตามความสามารถของตนอย่างมีเสรีภาพ และ แลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ตามความสามารถและให้กับแต่ละคนตามคำวามจำเป็น ตลาดและระบบเงินตราจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในสังคมคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ในทัศนะแบบคอมมิวนิสต์ ระบบงานตราและตลาดในระบบทุนนิยมนั้นแหละที่เป็น การทำให้แรงงานของมนุษย์ซึ่งเป็น “ของจริง” ถูกแปรสภาพกลายเป็นสิ่ง “นามธรรม” และทำ ให้มนุษย์ผู้เป็นเจ้าของแรงงานนั้นกลายเป็นนามธรรมไปด้วย ซึ่งเป้นการสร้างความแปลกแยก (alienation) อย่างร้ายกาจ

57 ลักษณะโดยสังเขปของสังคมคอมมิวนิสต์
“เราได้ปลดปล่อยมวลมนุษยชาติให้พ้นจากการเป็นทาสรับจ้างในอดีต ปัจเจกบุคคลไม่ตกอยู่ใต้การแบ่ง งานอีกต่อไป ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างแรงงานสมองกับแรงงานกายเป็นอันดับสูญ การใช้แรงงานไม่ เพียงแต่กลายเป็นปัจจัยยังชีพเท่านั้น หากเป็นจุดศูนย์กลางของชีวิตด้วย พลังการผลิตได้เพิ่มพูนขึ้นควบคู่ ไปกับการพัฒนาอย่างรอบด้านของปัจเจกบุคคล และบรรดาแหล่งกำเนิดโภคทรัพย์จากความร่วมมือร่วมใจ ทั้งหลายก็สร้างผลผลิตหลั่งไหลออกมากท่วมท้นเกินกว่าเก่า บัดนี้ทุกคนมีเสรีภาพที่จะพัฒนาพรสรวรรค์ ของเขาหรือเธอออกไปทุกทิศทาง ในอาณาจักรแห่งเสรีภาพที่แท้จริงนี้ ผู้ผลิตที่จัดตั้งรวมตัวกันจะคอยกำกับ การแลกเปลี่ยนกับธรรมชาติอย่างมีเหตุผล นำเอาธรรมชาติมาอยู่ภายใต้อำนาจกการควบคุมของตนภายใต้ สภาพเงื่อนไขที่เหมาะสมคู่ควรแก่มนุษย์ แทนที่จะปล่อยให้ธรรมชาติเป็นฝ่ายบงการเอาอย่างหูหนวกตา บอด”

58 ก่อนถึงอุดมคติ: รัฐแบบสังคมนิยมกรรมชีพ
อารยธรรมของมนุษยชาติตั้งอยู่บนฐานคิดของวิธีคิดที่เน้นการผูกขาดปัจจัยการผลิต และคติแบบการผูกขาดปัจจัยการผลิตทำให้มนุษย์สูญเสียทั้งคุณค่าความเป็นมนุษย์ ไร้ประสิทธิภาพและไร้ เหตุผล เราถือว่ามีตัวเราของเรา  มารกซ์เตือนเราว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวเป็นของส่วนรวม (Common) โดย ธรรมชาติ แต่การเมืองของมนุษย์ได้บิดพริ้วความหมายของธรรมชาติให้กลายเป็นสิ่งนามธรรม กฎหมายและรัฐรับรองการขูดรีด (Exploitation) โดยรับรองการผูกขาดปัจจัยการผลิต  มารกซ์ เตือนเราว่ารัฐแบบนี้เป็นรัญนายทุนที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงเสมอ ศาสนา ระบบศีลธรรม รับรองการขูดรีดเช่นกัน โดยมอมเมาผู้คนให้ยอมรับและมองไม่เห็นการขูดรีด  มา กรซ์เตือนเราว่า ศาสนาเหล่านี้เป็นผลผลิตจากระบบความสัมพันธ์แบบนายทุน รับใช้นายทุน โลกทรรศทั้งหมดของเราคิดบนฐานนี้ทั้งสิ้น  คอมมิวนิสต์จึงท้าทายต่อทุกสิ่งที่โลกเคยรู้จัก

59 หน้าที่ของรัฐแบบสังคมนิยมกรรมชีพ
จุดยืนของคอมมิวนิสต์ คือ ในเมื่อ “โลก” มันไม่ดีต่อมนุษย์ เราต้องเปลี่ยน “โลก” เสีย อย่ายอมให้ “ธรรมชาติอันลวง โลก” (แท้จริงเป็นสิ่งที่ถูกสร้างแล้วเนียนมาบอกว่าเป็นธรรมชาติ) มาบงการชีวิตมนุษย์ คอมมิวนิสต์ วิจารณ์ว่าสังคมเสรี ที่บอกว่าทุกคนมี “สิทธิ” แท้จริงไม่ใช่ “สิทธิ” สำหรับทุกคน แต่เป็นเพียงอุดมการณ์ ที่ครอบงำกรรมกร กระฎุมฬีเท่านั้นที่มี “สิทธิ” ในโลกก่อนคอมมิวนิสต์ ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก? ทุกคนมีเสรีภาพในการเดินทาง? ทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ? ทุกคนมีสิทธิในการกระบวนการยุติธรรม? เมื่อ “สิทธิ” ไม่ใช่ประโยชน์สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง คอมมิวนิสต์ไม่สนใจเรื่อง “สิทธิ” เพระเห็นว่าเป็นของลวงโลก เช่น เดียวกับ ศาสนา ศีลธรรม กฎหมาย ฯลฯ ประโยชน์ต่างๆ ที่ปัจเจกเคยได้รับในสังคมผูกขาดฯ คือประโยชนจากการขูดรีด อันเป็นประโยชน์ที่เอาเข้าจริงแล้ว คนเหล่านั้นไม่สมควรได้รับ

60 หน้าที่ของรัฐแบบสังคมนิยมกรรมชีพ (2)
การเตรียมสังคมให้เข้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์ เป็นหน้าที่ของรัฐสังคมนิยมกรรมชีพ ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติ การทำลายกลไกในการผูกขาดปัจจัยการผลิต ยกเลิกกรรมสิทธิ์เอกชน  ยกเลิกการเก็บดอกเบี้ย, ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ รวมปัจจัยการผลิตไว้กับรัฐ และกระจายทรัพยากรให้เสมอภาคตามความจำเป็นและความสามารถของสังคม การรื้อถอนอุดมการณ์ที่ให้อำนาจในการผูกขาดปัจจัยการผลิต ทำลาย “อุดมคติลวงโลก” แบบทุนนิยม: สิทธิ, ศีลธรรม, ประเพณี, ศาสนา ปกป้องรักษารัฐของกรรมชีพอันเปราะบางในช่วงแรก ในกระบวนการนี้ รัฐสังคมนิยมกรรมชีพจะไม่สนใจสิทธิของปัจเจกชน (เพราะมันลวงโลก) แต่จะเรียกร้อง (ในทัศนคติของเรา (ที่โตมาแบบทุนนิยม) คือการ “บังคับ”) ให้เกินไปสู่สังคมที่ดีกว่า

61 วิภีการใช้อำนาจแบบรัฐสังคมนิยมกรรมชีพ
เสรีภาพของปัจเจกบุคคล ไม่สำคัญเท่าสวัสดิภาพและสวัสดิการถ้วนหน้า การทำให้การถือครอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลยากขึ้น เช่น การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า, การเก็บภาษีที่ดิน/ทรัพย์สิน, เก็บ ภาษีมรดก (เมื่อต้นทุนในการครอบครองทรัพย์สินสูงกว่าผลกำไรที่อาจเกิดขึ้น คนย่อมสละทรัพย์สินนั้นเอง) ขยายบทบาทของรัฐ/สังคม ให้มีบทบาทเหนือกว่าเอกชน (ในคติของเสรีนิยม นี่คือการที่รัฐเข้ามาแข่งขันกับเอกชน ซึ่ง เอกชนย่อมเสียเปรียบ เพราะรัฐมีอำนาจมหาชน) เช่น มหาวิทยาลัยของรัฐ, โรงพยาบาลรัฐ ฯลฯ การจัดสวัสดิการถ้วนหน้า การรวบปัจจัยการผลิตให้มาอยู่ในการบริหารจัดการของส่วนรวม คือ รัฐ เอกชนไม่สามารถเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (เช่น จีนไม่มีระบบกรรมสิทธิที่ดินสำหรับเอกชน) ต่อต้านการแปรรูปกิจการของรัฐให้กลายเป็นเอกชน (Privatization)

62 วิภีการใช้อำนาจแบบรัฐสังคมนิยมกรรมชีพ (2)
อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นจริงยิ่งกว่าคุณค่าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา ศีลธรรม หรือประเพณี การไม่อุดหนุนศาสนา หรือกระทั้งลดความสำคัญ หรือแม้แต่ทำลายศาสนาที่จรรโลงระบอบทุนนิยม เสรีภาพในการนับถือศาสนาไม่สำคัญ เพราะศาสนาเป็นเพียงยาฝิ่น การสถาปนาวัฒนธรรมแห่งความเสมอภาคขึ้นใหม่ วัฒนธรรมเพลงเพื่อชีวิต (ฉายภาพความไม่เป็นธรรมในชีวิต แทนที่จะประโลมโลกเฉยๆ เสียดสีสังคมทุนนิยม) ศิลปะที่เน้นความเสมอภาค เช่น สถาปัตยกรรมคณะราษฏร (ปรีดีเสนอระบบนารวมในเค้าโครงเศรษฐกิจ จาเป็นเหตุให้ เกิดความฉิบหายทางการเมืองแก่ฝ่ายปรีดีเป็นต้นมา) วรรณกรรมเพื่อชีวิต ที่ฉายภาพการกดขี่และขูดรีดในสังคมทุนนิยม เช่น Modern time, แม่, ปีศาจ ฯลฯ

63 จุดจบของรัฐสังคมนิยมกรรมชีพสู่ “สังคมคอมมิวนิสต์”
เป้าหมายของรัฐสังคมนิยมกรรมชีพ คือ การมุ่งไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐไม่มีความจำเป็น รัฐสังคมนิยมกรรมชีพจึงมุ่งแสวงหาความตายของตัวมันเอง การสลายตัวเองของรัฐเมื่อสังคมพ้นไปจากมายาคติของทุนนิยม (กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นเอง เพราะรัฐจะหมดหน้าที่เมื่อสังคมสามารถจรรโลกระบบเศราฐกิจ และสันติภาพเองได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสังคมไร้ความขัดแย้ง โดยมารกซ์เชื่อว่าความขัดแย้งย่อม หมดไป เพราะต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง คือ สำนึกชนชั้นและอุดมคติที่รับรองการผูกขาดขูดรีด จากปัจจัยการผลิตไม่มีอีก)

64 การเมืองของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในไทย
ควรเริ่มก่อนว่า โครงการคอมมิวนิสต์ในศตวรรษที่ 20 นั้น นับว่าไม่ประสบความสำเร็จ ประเทศใหญ่อันเป็นต้นแบบที่เกิดการปฏิวัติของชนชั้นกรรมชีพจนสำเร็จได้แก่ รัฐเซีย โดย เลนิน และจีน นำ โดยเหมา เจอ ตง นอกจากนี้ เช่น คิวบา (ฟิโดล คาสโตล + เช กูเวรา), เวียดนาม, ลาว, เกาหลีเหนือ ฯลฯ ในบรรดาประเทศเหล่านี้ หลังการปฏิวัติวิถีทางการเมืองดุเหมือนจะหลุดออกจากอุดมคติของคอมมิวนิสต์ กลายเป็นการเมืองแนวอำนาจนิยมเสียมากกว่า (ในที่นี้ อาจยกเว้นคิวบา) อย่างไรก็ตาม ด้านหนึ่งเป็นผลกระทบจากากรแข่งขันทางการเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างโลก เสรีประชาธิปไตยที่นำโดยสหรัฐฯ และสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โดยรัฐเซีย

65 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ซึ่งเปิดทาง ให้พรรคการเมืองทุดอุดมคติ (ยกเว้นกษัตริย์นิยม) เข้ามาแข่งขันทางการเมืองได้ จนทศวรรษ 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายชนะ และ ประเทศไทยอยู่ในฐานะผู้ชนะสงคราม ด้วยความรับรองของสหรัฐฯ ไทยกลายเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงความพยายามในการนำอำนาจทางการเมืองและทหารของสหรัฐฯ พึ่งพิงเพื่อประโยชน์ในด้าน การเมืองภายในด้วย (ชัยชนะของฝ่ายการเมืองต่างๆ ในทศวรรษ 2490 ชี้ขาดกันด้วยปัญหาว่าใคร สามารถทำให้สหรัฐฯ เข้าข้างฝ่ายตนได้) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงกลายเป็นพรรคนอกกฎหมายในที่สุด และเกิกการปราบปรามฝ่ายซ่า ยอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

66 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (2)
ไทยอยู่ใกล้จีนมากกว่ารัฐเซีย ด้านภูมิศาสตร์ อีกทั้งยังมีคนเชื้อสายจีนอพยพมาตั้งรกรากในไทยมาเป็น เวลายาวนาน พรรคคอมมิวนิสต์ไทยจึงมีอุดมการณ์ไปทางคอมมิวนิสต์จีนมากกว่า (ยุทธศาสตร์ป่าล้อม เมือง เน้นการระดมคนในชนบทมากกว่ากรรมกรในเมืองใหญ่) “อั้งยี่” คณะบุคคลที่ปกปิดวิธีการดำเนินการ และมีวัตถุประสงค์ในการทำผิดกฎหมายอะไรก็ได้ (เช่น พรบ ป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2496) จึงเป็นกฎหมายอาญาที่ปราบ คอมมิวนิสต์จีนโดยตรง มีการแบบวรรณกรรมฝ่ายซ้าย และวรรณกรรมเพื่อชีวิต มากมายในช่วงทศวรรษ 2500 เช่น โฉมหน้าศักดิ นาไทย ของจิตร ภูมิศักดิ์, ปีศาจ ของ เสนีย์ สาวพงษ์ ฟ้าบ่กั้น ของ ลาว คำหอม ฯลฯ

67 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (3)
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516: สังคมไทยกลับสู่บรรยากาศประชาธิปไตยอีกครั้ง ความเข้มงวดแบบ รัฐบาลทหารอำนาจนิยม ที่แสวงหาการรับรองจากสหรัฐฯ เบาบางลง ในขณะที่นักศึกษากลายมาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่เชื่อว่าตนสามารถกำหนดวิถีประวัติสาสตร์ไทยใน อนาคตได้ มีการรื้อฟื้นวรรณกรรมฝ่ายซ้าย วรรณกรรมหัวก้าวหน้าขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่เรียกร้องให้กลับไป เรียนรู้ความเดือนร้อนของชาวบ้านในชนบท กระบวนการนี้เอวที่ทำให้นักศึกษา เมื่อเห็นความลำบากของชนบทแล้ว จึงสมาทานอุดมการณ์ของฝ่ายซ้าย จนมาถึงจุดแตกหักที่ 6 ตุลา 2519 เกิดการปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างใหญ่โต โจ่งแจ้ง และโหดร้าย นักศึกษาและประชาชนเหล่านั้น ตัดสินใจจับอาวุธเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ตามยุทธศาสตร์ป่าล้อม เมืองในที่สุด

68 การเมืองของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในไทย
ถึงแม้ ป่าจะแตก และโครงการคอมมิวนิสต์ในศตวรรษที่ 20 จะล่มสลายลง แต่นั้นไม่ได้แปลว่าปรัชญาของ มารกซ์ที่จะแสวงหาสังคมที่เป็นธรรมขึ้นผิดไปทั้งหมด ในปัจจุบันยังมีการขยับปรับเปลี่ยนรัฐตามอุดมการณ์ของมารกซิสอยู่ไม่น้อย เช่น ความพยายามในการเก็บภาษีก้าวหน้า, ภาษีทรัพยสิน/มรดก ตลอดจนการลดความเหลือมล้ำและการผูกขาดปัจจัย การผลิต การต่อต้านการแปรรูปกิจการของรัฐเป็นเอกชน (แม้ว่าสำหรับไทยส่วนใหญ่ยกอุดมการณ์ของชาติก็ตาม) การจัดตั้งรัฐสวัสดิการ ซึ่งหลายๆ ประเทศในโลกดำเนินการอยู่ เช่น รัฐแถบสแกนดิเนเวีย การจัดให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และการเมืองของแรงงาน (พรบ. แรงงานสัมพันธ์) ในระดับโลก มีความพยายาในการรื้อฟื้นอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายขึ้นมาใหม่ ในชื่อ ซ้ายใหม่ (New Left) หรือ มารกซิสใหม่ (Neo Marxist) กิจกรรมเช่น การยึดวอลสตีท (Occupy Wall Street)

69 6. ประชาธิปไตย/เสมอภาคนิยม (Equality)
อุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์การเมืองที่ถูกกล่าวถึงมายาวนานที่สุด เป็นอุดมการณ์ที่เก่าที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งห้าที่กล่าวขึ้นมา อริสโตเติล (Aristotle) อ้างถึง Democracy ที่อยู่ตรงข้ามกับระบบ Polity อย่างไรก็ตาม อาจต้องเน้นไว้หนาๆ เลยว่า ประชาธิปไตยโบราณกับประชาธิปไตยสมัยใหม่นั้นไม่ได้มี ลักษณะเหมือนกัน และประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกครองมากกว่าเนื้อหา/ เป้าหมาย อุดมคติในการปกครอง ประชาธิปไตยจึงควบรวม และกลายพันธ์เข้ากับอุดมการณ์อื่นได้ง่าย

70 ประชาธิปไตยกับอุดมการณ์อื่นๆ
เสรีนิยมประชาธิปไตย (Liberal Democracy) ผู้ปกครองมาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ (Majority rule) การใช้อำนาจต้องคำนึงสิทธิของคนส่วนน้อย (Minority rights) ประชาชนใช้ majority rule ให้เกิดรัฐที่มีอำนาจจำกัด (limited government) สังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democracy) การใช้อำนาจต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม แม้จะละเมิดสิทธิคนส่วนน้อย (Public interest) ประชาชนใช้ Majority rule เพื่อสถาปนารัฐที่มีอำนาจในการทำประโยชน์สาธารณะ หมายความว่า สังคมบางสังคมอาจใช้ประชาธิปไตยในการกำหนดรูปแบบการเข้าถึงอำนาจ แต่ออกแบบ ดำเนินนโยบายตามอุดมการณ์การเมืองแบบอื่น เอาเข้าจริงแล้วไม่มีอุดมการณ์อะไรที่ขัดแย้งกับประชาธิปไตยโดยตรงเลย

71 Scandinavia: Socialism Democracy = ประชาธิปไตยที่ไม่เสรีนิยม

72

73 เสรีแต่ไม่ประชาธิปไตย

74 หัวใจของอุดมการณ์ประชาธิปไตย
การยึดถือเสียงข้างมาก (Majority rule) เป็นจุดเน้นและจุดตัดที่ประนีประนอมไม่ได้ใน อุดมการณ์ประชาธิปไตย เหตุที่ยึดถือเสียงข้างมาก เพราะความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าบุคคลเสมอหน้าเท่าเทียมกันใน ทุกระดับ อาจกล่าวได้ว่า การเชื่อมั่นในความเสมอภาคเป็นหลักการข้อเดียวของประชาธิปไตย และกล่าวได้อีกเช่นกันว่า ประชาธิปไตยใส่ใจเรื่องความเสมอภาคให้เป็นเป้าหมายแรกสุดของ การจัดระบบการปกครอง เมื่อคนเราเท่ากันอำนาจจึงอยู่ที่ตัวเลข (ของคนที่รวมกัน)

75 ความซับซ้อนของ “ความเสมอภาค”
ทุกอุดมการณ์การปกครองล้วนแต่คำนึงถึงความเสมอภาคทั้งสิ้น เสรีนิยม/ประโยชน์นิยม: เป็นอุดมการณ์ที่ไปร่วมกันประชาธิปไตยได้มากที่สุด เพราะเสรีนิยมพยายามปลด แอกตัวเอง (ซึ่งเป็นสามัญชน, เป็นกระฎุมพี) ออกจากการครอบงำของชนชั้นสูงและพระ การบอกว่า “คนเราเท่ากัน” จึงดึงพระกับเจ้าให้มาเท่ากับกระฎุมพีด้วย เสรีนิยม กับ ประชาธิปไตยไปกันได้ในแง่นี้ คอมมิวนิสต์: เป้าหมายสุดท้ายคือสังคมคอมมูนที่ทุกคนเสมอหน้า ที่เสรีภาพอย่างแท้จริง ภายใต้ระบบ วัฒนธรรมถูกคิดขึ้นใหม่ อันพ้นไปจากการครอบงำของชนชั้น ทุกวันนี้เราไม่ยังไม่เสมอภาคอย่างแท้จริง และความเสมอภาคเป็นเป้าหมายของรัฐสังคมนิยม และสังคมคอมมิวนิสต์ ชุมชนนิยม/ชาตินิยม: ทุกคนมาจากรากเหง้าเดียวกันจึงมีภารดรภาพ และจึงเสมอภาคเป็นพี่เป็นน้องกัน พี่ อาจมีอำนาจเหนือน้องในบางเรื่อง แต่น้องก็มีอำนาจเหนือพี่ในบางเรื่องเช่นกัน แม้แต่ความคิดอำนาจนิยม: ยังบอกว่าทุกคนล้วนเสมอหน้ากัน โดยอยู่ภายใต้ผู้นำเพียงคนเดียว

76 ประชาธิปไตยต่างจากอุดมการณ์อื่นตรงที่...
ยกความ “ความเสมอภาค” ไว้เป็นกฎใหญ่ข้อแรก (the First Law) “ความเสมอภาค” ต้องทำให้เกิดขึ้นที่นี่ ตรงนี้ ตอนนี้ ไม่จำต้องรอกับแปรรูปสังคมใดๆ

77 ความลื่นไหลของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีความสามารถในการปรับตัวสูงมาก เพราะไม่กำหนดเนื้อหาแห่งอุดมการณ์รัฐไว้ตายตัว กำหนดแต่กระบวนการ โดยเป็นกระบวนการที่แปรผันตามความนิยมของคนจำนวนมหึมา เกินกว่าที่ใครจะ บงการได้อย่างเบ็ดเสร็จ ประชาธิปไตย อาจรักษาสถาบันกษัตริย์ แต่ต่อมาอาจเปลี่ยนโครงสร้างของสถาบันก็ได้ ประชาธิปไตย อาจต้องการรัฐที่มีอำนาจน้อย แต่ต่อมาอาจต้องการที่รัฐที่มีอำนาจมาก ประชาธิปไตย อาจต้องการรัฐขั้นต่ำวันหนึ่ง แต่วันถัดมาอาจต้องการรัฐที่คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน ประชาธิปไตย อาจสถาปนารัฐให้กลายเป็นรัฐศาสนา หรือทำให้รัฐกลายเป็นรัฐฆารวาสก็ได้ ประชาธิปไตยอาจส่งคนไปตายในสนามรบเพื่อความรักชาติ หรือเข้าร่วมกับอุดมการณ์พลโลกก็ได้

78 เสน่ห์ของประชาธิปไตย
ทุกอุดมการณ์การเมืองมีโอกาสแข่งขัน เพื่อกำหนดวิถีแห่งรัฐได้ทั้งสิ้น ในอังกฤษมีพรรคเลเบอร์ (Labor Party) โดยปกติจะชูอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายจัดตั้งสวัสดิการและรักษา ผลประโยชน์ของแรงงาน กับพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative) ที่รักษาผลประโยชน์ของกระฎุมพี เดิน ตามแนวทางเสรีนิยม ในสหรัฐฯ มีพรรคเดโมแครต (Democract) เสนอแนวคิดเสรีนิยมทางวัฒนธรรม การรักษาสิ่งแวดล้อม และสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รีพลับบิกัน (Republican) เสนอแนวทางอนุรักษ์นิยมทาง วัฒนธรรม และเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ฯลฯ โดยตัวตัดสิน คือ อำนาจแห่งเสียงข้างมากของประชาชน พรรคการเมืองต่างๆ ต้องแข่งขันกันทำงาน ใช้เสน่ห์ของตนจูงใจประชาชน

79 เสน่ห์ของประชาธิปไตย (2)
ก่อนหน้านี้ ภายใต้สังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การต่อสู้ในด้านอุดมการณ์ทางการเมือง คือการทำสงคราม เข้าป่า ลอบสังหาร หยิบปืน อุ้มหาย แบล็คเมล์ ฯลฯ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่เกิดความรุนแรงขึ้นอย่างกว้างขวาง การตัดสินใจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกำลัง ประชาธิปไตยมีพลังในการผสานเนื้อหาของอุดมการณ์ชุดต่างๆ ให้มาแข่งขัด ชี้ขาด ตัดสินกันด้วยคูหา เลือกตั้ง ด้วยการตัดสินใจของประชาชน ภายใต้กลไกของประชาธิปไตย ฝ่ายชนะจะไม่ได้ชนะตลอดไป ฝ่ายแพ้ก็ไม่แพ้เสมอไป เพราะรัฐบาลอญุ่ใน ช่วงเวลาจำกัด และต้องรับผิดชอบต่ออ่อนไหวเรื่องความนิยมต่อมวลชน ประชาธิปไตยอาจเป็นอุดมการณ์การเมืองเดียวในโลกที่เปิดโอกาสให้มีอุดมการณ์การเมืองอื่นๆ มา แลกเปลี่ยนสนทนาด้วย และโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงต่อกันและกัน

80 สรุป รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ที่จัดตั้งรัฐ วางระเบียบกำหนดกฎเกณฑ์ และวิธีและแนวทางในการใช้ อำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ แต่ไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร กฎหมายไม่อาจเขียนมโนขึ้นเอาจากอากาศได้ เนื้อหาในกฎหมายล้วนแต่อวตารมาจากความคิด ความเชื่อ และคุณค่าทางการเมืองที่สะสมมานานนับ พันๆ ปี ซึ่งความคิดดังกล่าว ก็ไม่ได้มาจากอากาศธาตุ แต่มาจากเงื่อนไข ประสบการณ์ การประทะสังสรรค์ (action-reaction) กันทางการเมืองและความคิดย่างไม่รู้จบ การตีความกฎหมายที่เขียนขึ้นอย่างกว้างๆ ย่อมต้องอาศัยวิธีคิด วิธีตีความกฎหมาย และไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ปรัชญาและอุดมกาณ์ทางการเมืองเป็นสิ่งที่กำกับ “วิธีคิด” นั้นอยู่


ดาวน์โหลด ppt อุดมการณ์และระบอบการเมืองร่วมสมัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google