งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 การจำแนกรายการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 การจำแนกรายการบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 การจำแนกรายการบัญชี

2 องค์ประกอบของงบการเงิน
มีโครงสร้างหลักของการรายงานจากบันทึกรายการค้าของกิจการตามการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ (Double Entry Accounting) โดยมีเค้าโครงในการวิเคราะห์รายการและบันทึกมาจากสมการบัญชี (Accounting Equation) หรือ สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหมวดบัญชีทั้ง 5 หมวด สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ กำไร (ขาดทุน) = รายได้ - ค่าใช้จ่าย

3 โดยองค์ประกอบของงบการเงินทั้ง 5 หมวดนั้น สามารถแบ่งประเภทได้เป็น 2 ประเภทหลักอันได้แก่
บัญชีถาวร (Permanent or Real Accounts) เป็นบัญชีที่สะสมข้อมูลเกี่ยวกับกิจการตั้งแต่เมื่อเปิดดำเนินการ และจะยกยอดเป็นยอดต้นงวดในงวดบัญชีถัดไปเสมอจนกว่ากิจการจะเลิกกิจการไป ซึ่งโดยทั่วไปจะนำเสนอในงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ บัญชีชั่วคราว (Temporary or Nominal Accounts) เป็นบัญชีที่สร้างขึ้นระหว่างงวดบัญชีเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่งและจะถูกทำให้ยอดเป็น 0 ในขั้นตอนการปิดบัญชีเพื่อทำให้บัญชีแยกประเภทว่างสำหรับการบันทึกรายการของงวดบัญชีถัดไป ซึ่งโดยทั่วไปจะนำเสนอในงบกำไรขาดทุนของกิจการ

4 จากสมการบัญชีทั้งสองสมการ จะพบว่าองค์ประกอบของงบการเงินของกิจการประกอบด้วย หมวดบัญชี 5 หมวดดังนี้
บัญชีถาวร หมวดที่ 1 หมวดบัญชีสินทรัพย์ (Assets) หมวดที่ 2 หมวดบัญชีหนี้สิน (Liabilities) หมวดที่ 3 หมวดบัญชีส่วนของเจ้าของ (Equity) หรือส่วนทุน (Capital) บัญชีชั่วคราว หมวดที่ 4 หมวดบัญชีรายได้ (Revenues) หมวดที่ 5 หมวดบัญชีค่าใช้จ่าย (Expenses)

5 หมวดบัญชี หมวดที่ 1 สินทรัพย์
หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่ามาจากการซื้อ การผลิต หรือการรับบริจาคก็ตาม แต่ต้องไม่รวมถึง รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การทำสัญญาซื้อสินค้าล่วงหน้า เป็นต้น โดยที่กิจการที่คาดว่าจะได้ รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากทรัพยากรนั้น ทั้งนี้ ทรัพยากรนั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้

6 สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets)
การจัดประเภทสินทรัพย์ ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต โดยคาดว่าจะได้รับคืนไม่เกิน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต โดยคาดว่าจะได้รับคืนเกินกว่า 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-current asset)

7 ตัวอย่างบัญชีในหมวดสินทรัพย์ ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ
คำอธิบาย เงินสด (Cash) เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด รายการเทียบเท่าเงินสด (Cash equivalents) เงินลงทุนชั่วคราวที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อย หรือไม่มีนัยสำคัญ เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary investments) เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกิน 1 ปี เงินลงทุนชั่วคราวรวมถึง หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี ลูกหนี้การค้า (Trade receivables) เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่กิจการได้ขายหรือให้บริการตามปกติ และลูกหนี้ตามตั๋วเงินรับอันเกิดจากค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว ลูกหนี้อื่น (Other receivables) ลูกหนี้อื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้การค้า เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ เงินทดรอง เงินให้กู้ยืมระยะสั้น (Short-term loans) เงินให้กู้ยืมระยะสั้น รวมทั้งลูกหนี้ในลักษณะอื่นใด ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนนอกจากลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการและลูกหนี้อื่น สินค้าคงเหลือ (Inventories) สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อขายหรือให้บริการตามปกติของกิจการ

8 บัญชี คำอธิบาย เงินให้กู้ยืมระยะยาว (Long-term loans)
เงินให้กู้ยืมระยะยาว รวมทั้งลูกหนี้ในลักษณะอื่นใดซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment property) อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรืออาคาร หรือส่วนของอาคาร (ส่วนควบอาคาร) หรือทั้งที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง (โดยเจ้าของหรือโดยผู้เช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน) เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าหรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (Property, plant and equipment) สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต เพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่าหรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน โดยกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible assets) สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีกายภาพตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน เป็นต้น สินทรัพย์อื่น (Other assets) สินทรัพย์อื่นใดที่ไม่เข้าประเภทสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในหนึ่งรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็น สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (Other current assets) และหากกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (Other non-current assets)

9 หมวดที่ 2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีตที่การชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น การจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่น การให้บริการ การเปลี่ยนภาระผูกพันเดิมเป็นภาระผูกพันใหม่การแปลงหนี้เป็นทุน เจ้าหนี้การค้า (Account payable) ตั๋วเงินจ่าย (Note payable) และ เงินกู้ยืมระยะยาว (Long-term debt)

10 หนี้สินหมุนเวียน (Current liabilities)
การจัดประเภทหนี้สิน ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่การชำระภาระผูกพันนั้น จะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรในเชิงเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะต้องจ่ายชำระไม่เกิน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หนี้สินหมุนเวียน (Current liabilities) ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่การชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรในเชิงเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะต้องจ่ายชำระในช่วงเวลาส่วนที่เกินกว่า 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current liabilities)

11 ตัวอย่างบัญชีในหมวดหนี้สิน ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ
คำอธิบาย ตั๋วเงินจ่าย (Notes payable) ภาระผูกพันที่ทำเป็นตราสาร และกิจการมีภาระที่จะต้องชำระหนี้ตามตั๋วเงินนั้น ในทางบัญชีตั๋วเงินจ่าย หมายถึง ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued expense) ค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือให้ประโยชน์แก่กิจการในงวดบัญชีแล้ว แต่ ยังไม่มีการจ่ายเงิน เช่น ค่าน้ำค่าไฟค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ฯลฯ รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenue) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับเงินแล้วแต่ยังไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า ค่าโฆษณารับล่วงหน้า ฯลฯ เจ้าหนี้การค้า (Trade payables หรือ Account Payable) -หนี้สินที่กิจการต้องจ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือบริโภค ที่กิจการยังไม่ได้จ่ายชาระ โดยได้รับใบเรียกเก็บเงิน หรือตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ -ภาระผูกพันที่กิจการก่อขึ้นกับบุคคลภายนอกโดยอาจรับมาในรูปสินค้า หรือสินทรัพย์ โดยที่ยังไม่ได้จ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ขาย -เงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการตามปกติ และตั๋วเงินจ่ายที่กิจการออกให้เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว

12 บัญชี คำอธิบาย เจ้าหนี้อื่น (Other payables)
เจ้าหนี้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้การค้า ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (Current Income tax payable) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย เงินกู้ยืมระยะสั้น (Short-term borrowings) เงินกู้ยืมที่มีกำหนดเวลาใช้คืนในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 ปี รวมทั้งหนี้สินในลักษณะอื่นใด นอกจากหนี้สินที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการและเจ้าหนี้อื่น เงินกู้ยืมระยะยาว (Long-term borrowings) เงินกู้ยืมระยะยาว รวมทั้งหนี้สินในลักษณะอื่นใดซึ่งถึงกำหนดชำระคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ทั้งนี้ ส่วนที่จะถึงกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็น ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current portion of long-term liabilities) ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current portion of long-term liabilities) หนี้สินระยะยาวที่จะถึงกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

13 บัญชี คำอธิบาย หนี้สินอื่น (Other liabilities)
หนี้สินอื่นๆซึ่งกิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งนี้ หากมีภาระผูกพันจะต้องชำระภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนอื่น (Other current liabilities) และหากในการชำระเกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็น หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (Other non-current liabilities เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น รวมทั้งการขายหรือขายช่วงลดตั๋วเงินกับสถาบันการเงิน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน (Employee benefit obligations) หนี้สินตามโครงการผลประโยชน์พนักงาน ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน หรือประมาณการหนี้สินสำหรับผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

14 หมวดที่ 3 ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ
ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ (Capital) หมายถึง สิทธิที่ผู้ลงทุนมีในสินทรัพย์ของกิจการ หรือหมายถึง ส่วนของสินทรัพย์ที่เหลืออยู่หลังจากหักหนี้สินแล้ว ในกิจการมักเรียกส่วนของทุนนี้ว่า ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) ดังนั้นคำว่าส่วนของเจ้าของในกิจการจึงหมายถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่ลงทุนโดยผู้เป็นเจ้าของ ในทางกฎหมายนั้น สิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ต้องเป็นของเจ้าหนี้ก่อนเหลือเท่าใดจึงจะเป็นของเจ้าของผู้ลงทุนเงินลงทุนในส่วนของผู้เป็นเจ้าของ และกำไร(ขาดทุน)สะสม ทุน (Equity หรือ Capital) หมายถึง ส่วนของเจ้าของในบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และกิจการเจ้าของคนเดียวนั้น มีวิธีการแสดงในงบแสดงฐานะการเงินต่างกัน

15 การจัดประเภทส่วนของผู้เป็นเจ้าของ
สิทธิเรียกร้องจากเจ้าของที่มีต่อสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งถือเป็นส่วนได้เสียที่เหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินแล้ว โดยส่วนของเจ้าของประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน (Partners’ capital) หมายถึง เงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ทั้งนี้ ต้องแสดงเงินทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน กำไร(ขาดทุน)สะสมยังไม่ได้แบ่ง (Unappropriated retained earnings) หมายถึง กำไร(ขาดทุน)สะสมคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และยังไม่ได้แบ่งให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนสะสม ควรแสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

16 โดยชื่อเรียกและการแสดงรายการทั้งสองส่วนนั้น จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของกิจการ ดังนี้
1.สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว กิจการจะใช้ชื่อเรียกส่วนของเจ้าของนี้ว่า ส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) โดยกิจการเจ้าของคนเดียว จะแสดงส่วนของเจ้าของทั้ง 2 ส่วนนี้ไว้รวมกันในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ ภายใต้บัญชี “ทุน - (ชื่อเจ้าของ)” อย่างไรก็ตาม ส่วนของเจ้าของสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว อาจลดลงได้ด้วยการที่เจ้าของถอนเงินไปใช้ส่วนตัว 2.สำหรับกิจการห้างหุ้นส่วน กิจการจะใช้ชื่อเรียกส่วนของเจ้าของนี้ว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน (Partners’ equity) กิจการแบบห้างหุ้นส่วน จะแสดงส่วนของเจ้าของทั้ง 2 ส่วนนี้ไว้รวมกันในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ ภายใต้บัญชี “ทุน - (ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วน)” และส่วนที่เกิดจากผลการดำเนินงานเรียกว่า “กำไรสะสมที่ยังไม่ได้แบ่ง”

17 3.สำหรับกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด กิจการจะใช้ชื่อเรียกส่วนของเจ้าของนี้ว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น (Stockholders’ equity) กิจการแบบบริษัทจำกัด จะแสดงส่วนของเจ้าของ 2 ส่วนนี้แยกจากกัน 3.1 ส่วนที่เจ้าของนำมาลงทุนว่า “ทุนเรือนหุ้น” (Share capital) ตัวอย่างเช่น หุ้นสามัญ (Ordinary shares) และหุ้นบุริมสิทธิ (Preference shares) โดยแบ่งประเภทย่อยออกเป็น -ทุนจดทะเบียน (Authorized share capital) หมายถึง ทุนของกิจการที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนแต่ละชนิด -ทุนที่ออกและชำระแล้ว (Issued and paid-up share capital) หมายถึง จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ได้นำออกจำหน่ายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้วให้แสดงเป็นหุ้นแต่ละชนิด -ส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น (Share premium account/discount on issue of share) หมายถึง เงินหรือมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นในส่วนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้น หากมีทั้งส่วนเกินและส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น สามารถนำรายการดังกล่าวมาหักกลบกันและแสดงเป็นมูลค่าสุทธิได้

18 3.2 ส่วนที่เกิดจากผลการดำเนินงานไว้ภายใต้ชื่อ กำไร(ขาดทุน)สะสม (Retained earnings) หมายถึง กำไร(ขาดทุน) สะสมคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนสะสม ควรแสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ กำไร(ขาดทุน)สะสม อาจแบ่งเป็น จัดสรรแล้ว (Appropriated) ทุนสำรองตามกฎหมาย (Legal reserve) และส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated) อีกรายการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อกำไรสะสมของกิจการก็คือ การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เงินปันผลจ่ายนี้ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ถือเป็นการจ่ายคืนทุนให้กับผู้ถือหุ้น โดยจ่ายจากกำไรสะสมของกิจการ ดังนั้นเงินปันผลจ่ายจึงทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง

19 ตัวอย่างบัญชี ชื่อและคำจำกัดความ
คำอธิบาย กิจการเจ้าของคนเดียว ทุน (Capital) ส่วนที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนำสินทรัพย์มาลงทุนในกิจการ ถอนใช้ส่วนตัว (Withdrawals account) ส่วนของสินทรัพย์ที่เกินกว่าหนี้สินดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การบันทึกบัญชีมักจะบันทึกในส่วนของ “บัญชีทุน”กรณีที่เจ้าของผู้ลงทุนในกิจการเจ้าของคนเดียวนำสินค้า สินทรัพย์หรือบริการไปใช้ส่วนตัวมิได้ใช้เพื่อประโยชน์ของกิจการ กิจการห้างหุ้นส่วน ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน (Partners’ capital) เงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น

20 บัญชี คำอธิบาย บริษัท และ บริษัทจำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน
บริษัท และ บริษัทจำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน (Authorized share capital) ทุนของกิจการที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนแต่ละชนิด ทุน-หุ้นสามัญ (Ordinary shares) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ ทุน-หุ้นบุริมสิทธิ (Preference shares) เป็นตราสารที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Share premium account) เงินหรือมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ/หุ้นสามัญในส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้นบุริมสิทธิ/หุ้นสามัญ

21 บัญชี คำอธิบาย กำไรหรือขาดทุนสะสม
กำไรหรือขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน เงินปันผลจ่าย ส่วนแบ่งกำไรที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ

22 หมวดที่ 4 รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ และรายการกำไรซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ กิจการต้องควรรับรู้รายได้เมื่อกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรืออันเนื่องมาจากการลดลงของหนี้สิน และกิจการสามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ

23 การจัดประเภทรายได้ รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from sales or revenue from rendering services) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า สิทธิ หรือบริการ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินได้ ทั้งนี้ให้แยกแสดงเป็นรายได้หลักแต่ละประเภท เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ เป็นต้น รายได้อื่น (Other income) หมายถึง รายได้นอกจากที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการรายได้จากการขายหรือการให้บริการ รวมถึงผลกำไรอื่น เช่น ผลกำไรจากการขายเงินลงทุน ผลกำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น

24 ตัวอย่างบัญชีในหมวดรายได้ ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ
คำอธิบาย รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า (Revenue from sales) รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าที่กิจการผลิตหรือซื้อมาเพื่อขายต่อ รายได้จากการให้บริการ (Revenue from rendering services) รายได้ที่เกิดจากการที่กิจการได้ปฏิบัติงานตามที่ตกลงไว้ในสัญญาตลอดช่วงเวลาที่ตกลงกันซึ่งอาจเป็นการให้บริการเพียงช่วงเวลาเดียวหรือหลายช่วงเวลา

25 หมวดที่ 5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีหรือการลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง โดยที่ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับเจ้าของ และรายการขาดทุนซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลงเนื่องจาก การลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และเมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ

26 การจัดประเภทค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของกิจการแต่ละกิจการนั้น เมื่อมีเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นกิจการจะทำการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายไว้ภายใต้ ชื่อบัญชีค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไป เช่น เงินเดือน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ แต่ในการนำเสนอรายงานทางการบัญชี ในบัญชีกำไรขาดทุน จะมีการจัดหมวดหมู่หรือประเภทของค่าใช้จ่ายแต่ละตัวเพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูล เช่น ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนขาย ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

27 ตัวอย่างในหมวดค่าใช้จ่าย ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ
คำอธิบาย ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling expenses) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าสินค้าตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative expenses) ค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นในการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวม เช่น เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าวัสดุสำนักงานใช้ไป ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ (Cost of sales or cost of rendering services) ต้นทุนของสินค้า สิทธิ หรือบริการที่ขาย รวมถึงราคาซื้อ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายไปเพื่อให้สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพพร้อมที่จะขาย โดยแยกแสดงเป็นต้นทุนตามประเภทของธุรกิจหลักของกิจการตามที่ได้แสดงไว้ในรายการที่ 1.1 เช่น ต้นทุนของสินค้าที่ขาย ต้นทุนของการให้บริการเป็นต้น วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (Raw materials and consumables used) มูลค่าตามบัญชีของส่วนผสมหรือส่วนประกอบอันสำคัญที่ใช้ในการทำหรือผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น วัสดุสำนักงานใช้ไป วัสดุโรงงานใช้ไป

28 บัญชี คำอธิบาย หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Account หรือ Bad Debts Expense) ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ ซึ่งกิจการได้ติดตามทวงถามแล้ว ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (Income tax expense) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่คำนวณขึ้นตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ทั้งนี้ หากกิจการประสงค์จะเลือกรับรู้ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ให้ใช้ชื่อรายการว่า “ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้” ค่าใช้จ่ายอื่น (Other expenses) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน ผลขาดทุนจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ผลขาดทุนจากการหยุดงานของพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและหากรายการใดมีสาระสำคัญให้แยกแสดงออกมาต่างหาก ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (Depreciation and amortization expense) การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ ของสินทรัพย์นั้น ในกรณีเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ใช้คำว่า “ค่าตัดจำหน่าย” แทนคำว่า “ค่าเสื่อมราคา” ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 การจำแนกรายการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google