ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (Drop in Center : DIC) สำหรับการจัดบริการเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2
ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) หมายถึง บุคคลที่มีเพศกำเนิดและเพศสรีระเป็นเพศชาย มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์กับเพศชายด้วยกัน เป็นคำที่ระบุพฤติกรรมไม่ใช่การระบุอัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งผู้มีพฤติกรรมแบบชายมีเพศสัมพันธ์กับชายอาจเป็นผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแบบชายรักเพศเดียวกัน (ชายรักชาย) ชายรักสองเพศ (ชายรักทั้งชายและหญิง) หรือชายรักต่างเพศ (ชายรักหญิง) ก็ได้ เนื่องจากพฤติกรรมและอัตลักษณ์ทางเพศไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกันตลอดเวลา
3
สาวประเภทสอง (TG) หมายถึง บุคคลที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ปัจจุบันดำเนินวิถีชีวิต ข้ามเพศจากชายมาเป็นหญิง การข้ามเพศคือการแสดงลักษณะและพฤติกรรมออกมาในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับลักษณะและพฤติกรรมของเพศหญิง ระดับของการข้ามเพศมีตั้งแต่การระบุตัวตนทางเพศ (หญิง) ของตนเองที่แตกต่างไปจากเพศกำเนิด (ชาย) การดำเนินเพศวิถีแบบสาวประเภทสอง และ/หรือ มีการปรับเปลี่ยนเพศสรีระให้ใกล้เคียงกับเพศหญิง (เพศสรีระของสาวประเภทสองมีตั้งแต่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนร่างกาย จนถึงการผ่าตัดศัลยกรรมแปลงเพศเปลี่ยนอวัยวะที่แสดงสัญลักษณ์ทางเพศภายนอกจากชายมาเป็นหญิง เช่น หน้าอก หรืออวัยวะเพศ เป็นต้น) ในสังคมไทยมีคำที่ใช้เรียกสาวประเภทสองอีกหลายคำซึ่งอาจจะมีการนิยามความหมายและให้คุณค่าในการใช้คำที่แตกต่างกันไปเช่น กระเทย ผู้หญิงข้ามเพศ เป็นต้น
4
พนักงานบริการ (Sex Worker) หมายถึง บุคคลที่ทำงานให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องเพศสัมพันธ์ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือบุคคลที่ยินยอมมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือการกระทำอื่นใด เพื่อสำเร็จความใคร่ทางกามารมณ์ หรือช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ทางเพศที่วางไว้ในใจ เช่น การเป็นคู่ควงในการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยการกระทำนั้นมีการรับค่าตอบแทนหรือสินจ้าง
5
พนักงานบริการชาย (MSW) บุคคลที่เพศกำเนิดและเพศสรีระเป็นชายที่ประกอบอาชีพพนักงานบริการ ซึ่งผู้ซื้อจะเป็นเพศใดก็ได้ พนักงานบริการหญิง (FSW) ผู้หญิงที่ประกอบอาชีพพนักงานบริการ ซึ่งผู้ซื้อบริการจะเป็นเพศใดก็ได้
6
ประชากรข้ามชาติ (Migrant)
หมายถึง ประชากรที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ได้แก่ สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอื่นๆ ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ทั้งกลุ่มที่มีการขึ้นทะเบียนและได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งผู้ติดตามที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศไทย
7
ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด (PWID)
หมายถึง บุคคลที่เสพสารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น ที่นำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีฉีดแล้วทำให้เกิด ผลต่อร่างกาย จิตใจ และทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้น เป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลายๆครั้ง
8
ผู้ต้องขัง (Prisoner) นักโทษเด็ดขาด
หมายถึง บุคคลอันประกอบด้วย นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก นักโทษเด็ดขาด หมายถึง บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ คนต้องขัง หมายถึง บุคคลที่ถูกฝากขังไว้ตามหมายขัง
9
คนฝาก หมายถึง บุคคลที่ถูกฝากให้ควบคุมไว้ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาตามอาญา หรือ กฎหมายอื่น โดยไม่มีหมายอาญา เรือนจำ หมายถึง สถานที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขังผู้ต้องขัง กับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความรวมตลอดถึงที่อื่นใดที่รัฐมนตรีได้กำหนด และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน
10
มาตรฐานศูนย์บริการชุมชน ในเรือนจำ (Drop in Center : Prisons)
11
กลุ่มประชากรเป้าหมายหลัก
การพัฒนา DICs 9 แห่ง ให้ได้ตามมาตรฐาน และการประเมินรับรอง DICs ใน 2 เรือนจำ จังหวัด กลุ่มประชากรเป้าหมายหลัก หน่วยงาน นครศรีธรรมราช PRISONER DOC ระยอง
12
วัตถุประสงค์มาตรฐานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ
เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน เครื่องมือประเมินและพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการให้บริการในศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ ให้ได้ตามมาตรฐาน เพื่อใช้สื่อสารกับผู้ประเมินจากภายนอกให้สามารถวางแผนการสำรวจและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายต่อไป
13
องค์ประกอบมาตรฐานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ
ด้านสถานที่ (25 คะแนน) ด้านบริหารจัดการ (25 คะแนน) ด้านบริการ (25 คะแนน) ด้านการติดตามประเมินผล (25 คะแนน)
14
เกณฑ์การประเมินมาตรฐานศูนย์บริการชุมชน (DIC : Drop in Center) ในเรือนจำ
15
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
ด้านสถานที่ (25 คะแนน) มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 1 สถานพยาบาลในเรือนจำ (15 คะแนน) 1. การจัดตั้งสถานพยาบาลเรือนจำทุกแห่งต้องมีความเป็นสัดส่วน สะอาด และปลอดภัยในการเข้าถึงบริการ (2 คะแนน) 1.มีสภาพแวดล้อมสะอาด อากาศ ถ่ายเทสะดวก และมีแสงสว่าง เพียงพอ (1 คะแนน) 0 = ไม่มี 1 = มี 2.มีการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยได้ อย่างเหมาะสม และเป็นสัดส่วนที่ ชัดเจน (1 คะแนน) 2.การจัดการพื้นที่การให้บริการสามารถกระตุ้นและเชิญชวนกลุ่ม เป้าหมายให้เข้า มารับบริการ (4 คะแนน) 1. จัดให้เป็นพื้นที่ผ่อนคลาย เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ (2 คะแนน) 2 = มี 2. จัดให้มีพื้นที่สำหรับ กลุ่มเป้าหมายได้รวมตัวเพื่อ ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
16
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 1.จัดให้มีบริเวณคัดกรองผู้ป่วย บริเวณตรวจรักษาหรือให้การ พยาบาล และบริเวณสำหรับ สังเกตอาการผู้ป่วยหรือที่นอน พักฟื้น(2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี 2. มีครุภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานครบ 16 รายการ (2 คะแนน) 3. มีเวชภัณฑ์ตามบัญชียาพื้นฐานที่กรมราชทัณฑ์กำหนด (2 คะแนน) 1 = มีพื้นที่จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา แต่ยังไม่ได้มาตรฐานของสถานพยาบาลเรือนจำ 3 = มีพื้นที่จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามมาตรฐานของสถานพยาบาลเรือนจำ 3. การจัดพื้นที่สำหรับให้บริการรักษาพยาบาล เบื้องต้น (6 คะแนน) 4.การจัดพื้นที่สำหรับจัดเก็บยาและเวชภัณฑ์ ที่มิใช่ยา (3 คะแนน) มีพื้นที่จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์ ที่มิใช่ยาที่ได้มาตรฐานของ สถานพยาบาลเรือนจำ (3 คะแนน)
17
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 2. มุมแกนนำหรือหน่วยบริการเคลื่อนที่ (10 คะแนน) 1. มุมความรู้ (3 คะแนน) มีบริเวณที่จัดให้เป็นมุมความรู้ สำหรับให้บริการข้อมูลข่าวสาร ด้านสุขภาพภายในแดนควบคุม ผู้ต้องขัง (3 คะแนน) 0 = ไม่มี 3 = มี 2. แกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขัง (3 คะแนน) มีแกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขัง ประจำมุมความรู้ในแดนควบคุม ผู้ต้องขัง หรือเป็นการให้ความรู้ เคลื่อนที่ (ให้เป็นไปตามบริบท ของเรือนจำแต่ละแห่ง) (3คะแนน) 3. การวางระบบให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้โดยง่าย (2 คะแนน) 2 = มี มีการแจ้งขั้นตอนและแจกเอกสารเพื่อใช้ยื่นขอเข้ารับบริการ (2 คะแนน)
18
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน มีจุดที่สามารถแจกจ่ายถุงยาง อนามัยและสารหล่อลื่น ให้แก่ผู้ต้องขังที่มารับบริการ ได้ หรือมีการประชาสัมพันธ์ จุดรับบริการถุงยางอนามัย และสารหล่อลื่น (2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี 4. การบริการแจกอุปกรณ์เพื่อการป้องกันหรือมีการประชาสัมพันธ์ จุดรับบริการแจกอุปกรณ์เพื่อ การป้องกันควบคู่ไปกับการให้ความรู้ (2 คะแนน)
19
ด้านบริหารจัดการ (25 คะแนน) เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 1. การจัดการ (10 คะแนน) 1. การจัดตั้งคณะทำงานทั้งภายในและภายนอกเรือนจำ (6 คะแนน) 1. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ภายในเรือนจำ (3 คะแนน) 0 = ไม่มี 3 = มี 2. มีการประสานความร่วมมือตามภารกิจของศูนย์บริการ กับภาคีเครือข่าย (3 คะแนน)
20
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 2. เอกสารวิชาการสำหรับ เจ้าหน้าที่ในการสืบค้น หรือการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล (4 คะแนน) 1. มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) หรือแนวทางของชุดการตรวจวินิจฉัยหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบทราบผลในวันเดียว(SDR) (1 คะแนน) 0 = ไม่มี 1 = มี 2. มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) หรือแนวทางการทำงาน แผนการจัดบริการเฉพาะ (1 คะแนน) 3. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) หรือแนวทางการจัดการข้อมูล (1 คะแนน) 4. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) หรือแนวทางการส่งต่อ
21
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 2. โครงสร้างบุคลากร (5 คะแนน) 1. ผังโครงสร้างบุคลากร (1 คะแนน) มีการจัดทำผังโครงสร้างบุคลากรในศูนย์บริการที่ตั้งอยู่ในสถานพยาบาลเรือนจำ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน (1 คะแนน) 0 = ไม่มี 1 = มี 2. พันธกิจของศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ (1 คะแนน) มีการกำหนดพันธกิจของศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำที่ถ่ายทอดมาจากนโยบาย RRTTR สู่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ หรือมีแผนการอบรม /แผนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็น แนวทางการดำเนินงานของคณะทำงาน (1 คะแนน)
22
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 3. การจัดทำทะเบียนข้อมูลแกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขัง (1 คะแนน) มีทะเบียนแกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขังไว้เป็นข้อมูลประจำที่สถานพยาบาล (1 คะแนน) 0 = ไม่มี 1 = มี 4. ระบบควบคุมกำกับการทำงานของแกนนำอาสาสมัครผู้ต้องขัง (2 คะแนน) 1. มีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก แกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขัง และขอบข่ายหน้าที่แสดงไว้อย่างชัดเจน (1 คะแนน) 2. มีแบบฟอร์มการติดตามการทำงานของอาสาสมัครผู้ต้องขัง (1 คะแนน)
23
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 3. เวชภัณฑ์ของสถานพยาบาล (5 คะแนน) 1. ระบบการบริหารยาและเวชภัณฑ์ที่มิยาที่ได้ มาตรฐานของสถานพยาบาลโดยทั่วไป (2 คะแนน) 1. มีทะเบียนควบคุมยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา (1 คะแนน) 0 = ไม่มี 1 = มี 2. ระบบการเฝ้าระวังเวชภัณฑ์หมดอายุ ( First In First Out) (1 คะแนน) 2. มาตรฐานการจัดเก็บถุงยางอนามัยและ สารหล่อลื่น (1 คะแนน) มีมาตรฐานการจัดเก็บถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นอ้างอิงตามมาตรฐานของ สอวพ. 3. ระบบควบคุมการเบิกจ่ายถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น (2 คะแนน) มีทะเบียนเบิกจ่ายถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น (2 คะแนน) 2 = มี
24
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 4. ด้านบริหารจัดการข้อมูล (5 คะแนน) 1. การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ (บันทึก วิเคราะห์ คืนข้อมูลให้กับหน่วยงาน ระดับบน/ล่าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) (4 คะแนน) 1. มีทะเบียนบันทึกการรับ บริการของกลุ่มเป้าหมาย ที่ ครอบคลุมและสามารถตรวจสอบ ได้ (2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี 2. มีระบบการจัดการข้อมูล (2 คะแนน) 2. ระบบการรักษาความลับในการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย (1 คะแนน) มีมาตรการ และ/หรือวิธีการจัดการข้อมูลที่บ่งบอกถึงการรักษาความลับของผู้รับบริการ (1 คะแนน) 1 = มี
25
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
ด้านบริการ(25 คะแนน) มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 1. การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ต้องขัง รับรู้ข้อมูลการให้บริการของศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ ทั้งที่สถานพยาบาลเรือนจำ /มุมความรู้ในเรือนจำ (2 คะแนน) - เสียงตามสาย - แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ - จากเพื่อนสู่เพื่อน - จากการสังเกต/สัมภาษณ์ผู้ต้องขัง/ เจ้าหน้าที่ (2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี 2. ขั้นตอนการขอรับบริการที่ก่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยที่จะรับบริการ ว่าปราศจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติ และรู้สึกสะดวกใจในการเข้าร่วมกิจกรรม (2 คะแนน) มีผังขั้นตอนการรับบริการติด ประกาศให้ทราบ (ตั้งแต่เข้ารับบริการจนถึงเข้ารับการรักษา) (2 คะแนน)
26
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 3. การมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน /มีการจัดเวรแกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขังให้บริการประจำวัน (2 คะแนน) มีการจัดเวรแกนนำ/อาสาสมัครผู้ต้องขัง ประจำจุดบริการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร (2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี 4. การกำหนดเวลาในการเปิด-ปิด และมีป้ายแสดงที่ชัดเจนสอดคล้องกับเวลาที่กลุ่มเป้าหมายสะดวกต่อการรับบริการ (2 คะแนน) มีป้ายแสดงเวลาให้บริการ 5. การกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนใน การรับบริการ (2 คะแนน) มีการกำหนดกฎระเบียบของสถานพยาบาล (2 คะแนน) 6. การบริการให้คำปรึกษา (2 คะแนน) มีแบบบันทึกการให้คำปรึกษา (2 คะแนน)
27
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 7. การบริการตรวจวินิจฉัยหาการติดเชื้อ เอชไอวีแบบทราบผลในวันเดียว (SDR)/การส่งเลือดไปตรวจ /การจัดหน่วยบริการเชิงรุกเข้ามาในเรือนจำ (2 คะแนน) มีแบบบันทึกการตรวจSDR/ ใบส่งต่อ/ใบนัด (2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี มีทะเบียนผู้รับบริการ (2 คะแนน) มีระบบการส่งต่อ (2 คะแนน) 8. การลงบันทึกข้อมูลการมารับบริการลงในทะเบียนบันทึกการเข้ามารับบริการ (2 คะแนน) 9. ระบบการคัดกรองและการส่งต่อเรื่องสุขภาพ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค ไปรับบริการในโรงพยาบาล และในกรณีฉุกเฉินมีแผนการ ส่งต่อผู้รับบริการที่ชัดเจน (2 คะแนน)
28
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 10. บริการที่ต้องมีในศูนย์บริการชุมชน (2 คะแนน) - สนับสนุนสิ่งที่จำเป็นต่อการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ ถุงยางอนามัย และ/หรือสารหล่อลื่น - มีพื้นที่สุขภาพเรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - มีแผนการประชาสัมพันธ์สร้าง แรงจูงใจ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการ - มีกิจกรรมรณรงค์ภายในเรือนจำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) (2 คะแนน) 0 = ไม่มี 2 = มี 11. แผนกิจกรรมการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ (mobile service) ร่วมกับโรงพยาบาลปฐมภูมิใน พื้นที่ (2 คะแนน) มีแผนกิจกรรมการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ (mobile service) ของเรือนจำ (2 คะแนน)
29
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 12. ระบบการดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจ สังคม และอื่นๆ โดยสอดคล้องกับบริบทของเรือนจำ เช่น การตรวจสอบสิทธิ การรักษา เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการรับยาต้านไวรัส (1 คะแนน) มีการมอบหมายเจ้าหน้าที่และ/หรือผู้ต้องขังช่วยดูแลเตรียมความพร้อมก่อนการทานยา TB/HIV การทำกลุ่ม (group support) 0 = ไม่มี 1 = มี 13. มีระบบการติดตามผู้มารับบริการตามชุดบริการ RRTTR (2 คะแนน) มีทะเบียนการติดตามผู้รับบริการ (2 คะแนน) 2 = มี
30
ด้านการติดตามประเมินผล (25 คะแนน) เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 1. การติดตามผลการปฏิบัติงานเพื่อ ประเมินความก้าวหน้าในการเข้าถึงเพื่อนผู้ต้องขังของแกนนำอาสาสมัครของผู้ต้องขัง (10 คะแนน) มีการติดตามการดำเนินงานของแกนนำอาสาสมัครผู้ต้องขัง ซึ่งพิจารณาจากการติดตามการทำงานของแกนนำอาสาสมัคร โดยเจ้าหน้าที่ของเรือนจำ เพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำในการพัฒนาการทำงาน (10 คะแนน) 0 = ไม่มีการติดตาม 5 = มีการติดตามด้วยวาจา แต่ไม่มีการสรุปผล เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของแกนนำ อาสาสมัครผู้ต้องขัง 10 = มีการติดตามและสรุปการทำงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร 2. ระบบการประเมินจำนวน กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ามารับบริการเป็นรายเดือน/รายไตรมาส/รายปี (5 คะแนน) มีรายงานจำนวนผู้มารับบริการ รายเดือน/รายไตรมาส/รายปี (5 คะแนน) 0 = ไม่มี 5 = มีระบบ
31
เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน
มาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน เกณฑ์และวิธีคิดคะแนน 3. มีการจัดทำรายงานการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ (5 คะแนน) มีระบบรายงานการดำเนินกิจกรรมต่างๆตามระบบการรายงาน หรือ RIHIS (5 คะแนน) 0 = ไม่มีระบบรายงาน 3 = มีหลักฐานแสดง แต่ไม่มีการส่งข้อมูลให้หน่วยงานต้นสังกัด 5 = มีหลักฐานแสดง และมีการส่งข้อมูลให้หน่วยงานต้นสังกัด 4. การประเมินความสนใจบริการ HTC (5 คะแนน) มีแบบประเมินความสนใจเข้ารับ บริการ HTC (5 คะแนน) 0 = ไม่มีการประเมินความสนใจ 3 = มีการประเมินความสนใจ 5 = มีการประเมินความสนใจและปรับปรุงตามข้อค้นพบจากการประเมิน
32
แนวทางการประเมินมาตรฐานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ (Drop in Center : Prisons)
33
เป้าหมายของการใช้มาตรฐานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ
เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และใช้ประเมินเพื่อหาโอกาสพัฒนา แนวทางการประเมินมาตรฐานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ ผู้ประเมินจากหน่วยงานสาธารณสุข 3-5 คน จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลปฐมภูมิ และองค์กรภาคประชาสังคม โดยผู้ประเมินต้องผ่าน การอบรมการประเมินมาตรฐานศูนย์บริการชุมชน
34
ความถี่ในการประเมินมาตรฐานศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ
ประเมินทุก 1 ปี สำหรับศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำที่ยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ประเมินทุก 2 ปี สำหรับศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การรับรองมาตรฐาน สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ออกใบประกาศนียบัตรรับรองเป็นระยะเวลา 2 ปี
35
ระดับการพัฒนา คะแนน ระดับ 90 – 100 เพชร (Diamond) 70 – 89 ทอง (Gold)
50 – 69 เงิน (Silver) < 50 ควรปรับปรุง (Fair)
36
เกณฑ์การให้คะแนน ให้คะแนนตามรายละเอียดหัวข้อการประเมินที่ตรวจพบ โดยใส่คะแนน ตามรายหัวข้อ และสรุปคะแนนที่ได้รวมถึงประเด็นที่ตรวจพบ
37
วิธีการตรวจประเมิน ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน
สังเกตสถานที่ สิ่งแวดล้อม ระบบการให้บริการสุขภาพ ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
38
การรายงานผลการประเมินศูนย์บริการชุมชนในเรือนจำ
ทีมผู้ตรวจประเมิน ทำการประชุม เพื่อสรุปการให้คะแนน ประเด็นที่ตรวจพบ ระดับการพัฒนา และประเด็น ที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุง พร้อมข้อเสนอแนะ ฉบับสมบูรณ์ส่งให้กับสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
39
การมอบรางวัล ระดับ เพชร (Diamond) ได้รับโล่ และใบประกาศนียบัตร
ระดับ ทอง (Gold) ได้รับใบประกาศนียบัตร
40
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.