ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การรับการประเมิน JEE (Joint External Evaluation) ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26-30 มิย. 2560
2
JEE (Joint external evaluation) คือ
เป็นการประเมินร่วมกันระหว่างผู้ประเมินจากภายนอก และผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศในด้าน ต่างๆที่เป็นสมรรถนะซึ่งถูกกำหนดในกฎอนามัยระหว่างประเทศ ทั้งหมด 19 ด้าน (รวม 48 ตัวชี้วัด) เพื่อดูศักยภาพในการ prevent, detect, response ต่อภัยต่างๆที่อาจทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ผลการประเมินแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 1 ไม่มีสมรรถนะ, 2 มีสมรรถนะอย่างจำกัด, 3 อยู่ระหว่าง การพัฒนา, 4 มีสมรรถนะชัดเจน, 5 มีสมรรถนะอย่างยั่งยืน
6
การเตรียมตัวเพื่อรับการประเมิน JEE (1)
การตอบคำถามในเอกสาร (JEE Tool Self Evaluation_Workbook) โดย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศ ประสานผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละ technical area (19 หัวข้อ) ให้รับรู้และประสานทีมงานเพื่อ ร่วมกันตอบคำถาม จัดประชุมเพื่อให้ทุก technical area มาระดมสมองในการตอบคำถาม จัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน และนำเสนอผลการตอบคำถาม (จัดสองครั้งโดยทีมเลขาของงาน IHR และแต่ละ technical area อาจจัดเองนอกรอบเพิ่มเติม) ส่งเอกสารให้ทีมเลขาฯ เพื่อรวบรวมทั้งหมดส่งให้ WHO อย่างน้อย 1 เดือนก่อนวันประเมิน
12
การเตรียมตัวเพื่อรับการประเมิน JEE (2)
การเตรียมเนื้อหาเพื่อนำเสนอในวันรับการประเมิน WHO แจ้งมาภายหลังว่าหัวข้อการนำเสนอต่างจากรูปแบบที่เขียนในเอกสารส่งไปก่อน หน้านี้ (เน้นเรื่อง strength, best practice, area need to be strengthen, challange) จัดประชุมเพื่อให้ทุก technical area ร่วมจัดทำเนื้อหาสำหรับนำเสนอ และซ้อม นำเสนอ ร่วมกับจัดหาพี่เลี้ยงในการให้ความเห็นในการนำเสนอ (จัดสองครั้งโดยทีมเลขา ของงาน IHR) รวมทั้งแก้ไขภาษาอังกฤษในสไลด์ ส่งไฟล์นำเสนอให้ทีมเลขาฯ เพื่อส่งให้ WHO ประมาณ 1 สัปดาห์ หรืออย่างช้า 2 วัน ก่อนวันประเมิน
13
ผู้ให้ความช่วยเหลือ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค และอดีตผู้ทรงฯบางท่าน โดยเฉพาะ อ.ศุภมิตร ศิษย์เก่า FETP ที่เคยทำงานองค์กรต่างประเทศ เช่น อ.ครรชิต อ.สมชาย ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการร่วมเตรียม หรือร่วมทีมประเมิน JEE ของประเทศอื่นๆ ได้แก่ อ.ภาสกร นสพ.คเชนทร์ (FAO) พญ.วราลักษณ์ ให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับเอกสารที่น่าจะใช้ประกอบในการเตรียมตัวเพื่อรับการประเมิน WHO country office ช่วยแปลเอกสาร(หลักฐาน) บางส่วนเป็นภาษาอังกฤษ และช่วยรับงาน บริหารจัดการอีกหลายส่วน นักวิชาการในสำนักระบาดวิทยา เป็นผู้ประสานของแต่ละ technical area ในการประสานหน่วยงาน ที่ผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละหัวข้อระบุว่าควรเชิญเข้ามาร่วมให้ข้อมูลในวันรับการประเมิน ทีมบริหารจัดการของสำนักระบาดวิทยา และคณะทำงานต่างๆ
14
คนสำคัญในความสำเร็จของงาน
ผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละ technical area และคณะทำงาน (POE เป็นทีมใหญ่ที่สุด) รวมทั้งผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน ผู้บริหารกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และทุกกระทรวงที่ เกี่ยวข้อง ทีมงาน IHR
15
ผู้ประเมิน (12 คน) ยุโรป - ฝรั่งเศส 2 คน (OIE, FAO) สวีเดน 1 คน เนเธอร์แลนด์ 1 คน (FAO) อังกฤษ 1 คน อเมริกา 1 คน (CDC) แอฟริกา – เคนยา 1 คน เอเชีย – บังคลาเทศ พม่า (WHO, SEARO) เนปาล (WHO, HQ) จีน (WHO, HQ) ประเทศละ 1 คน ตะวันออกกลาง – อิสราเอล 1 คน
16
บรรยากาศในวันรับการประเมินฯ
การนำเสนอในห้องประชุม (4 วัน) การลงตรวจเยี่ยมพื้นที่ (1 วัน)
17
ผลการประเมิน
18
Prevent – 7 technical areas
Indicators – score National legislation, policy and financing P P IHR coordination, communication and advocacy P Antimicrobial resistance P P.3.2 – 3 P.3.3 – 3 P.3.4 – 2 Zoonotic diseases P P P Food safety P Biosafety and biosecurity P P Immunization P P ปัญหาของ P.3.4 Antimicrobial stewardship activities คือไม่มี national plan สำหรับ Antimicrobial stewardship ในผู้ป่วยใน แต่กรณีของผู้ป่วยนอกคะแนนอยู่ที่ระดับ 4 ส่วนในสัตว์ก็มีแผนแต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนมายืนยันกับกรรมการ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ประเทศไทยยังไม่ได้บังคับให้มีการจำกัดการขายยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมตามร้านขายยาทั่วไป ปัญหาของ P.3.3 Health care-associated infection (HCAI) prevention and control programmes คือมีหลายหน่วยงานที่ทำเรื่องการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่ไม่มีที่ไหนได้รับการยอมรับเป็นหน่วยงานหลักและทำเป็นแผนชาติ ปัญหาของ Food safety คือยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยที่ทำงานด้านอาหาร และหน่วยเฝ้าระวังสอบสวนโรค และไม่ได้มาร่วมกันประเมินความเสี่ยงและคิดแนวทางแก้ไข P.3.2 AMR surveillance P.3.3 Health care-associated infection (HCAI) prevention and control programmes P.3.4 Antimicrobial stewardship activities P.5.1 Mechanisms for multisectoral collaboration are established to ensure rapid response to food safety emergencies
19
Detect – 4 technical areas
Indicators – score National laboratory system D.1.1 – 4 D.1.2 – 4 D.1.3 – 4 D.1.4 – 3 Real-time surveillance D.2.1 – 4 D.2.2 – 4 D.2.3 – 4 D.2.4 – 4 Reporting D.3.1 – 3 D.3.2 – 3 Workforce development D.4.1 – 4 D.4.2 – 5 D D.1.4 Laboratory quality system – ขาดการบังคับใช้ระบบคุณภาพสำหรับห้องแลป (โดยกฎหมาย) แต่เป็นระบบสมัครใจ แต่ในทางปฏิบัติมีลักษณะบังคับทาอ้อม โดยผ่านมาตรฐานต่างๆที่ห้องแลปต้องถูกประเมิน D.3.1 System for efficient reporting to FAO, OIE and WHO – ไม่สามารถส่งรายงานเหตุการณ์ที่สงสัยจะเข้าเกณฑ์ PHEIC (ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ) ให้องค์การอนามัยโลกหรือ OIE (กรณีของสัตว์) ได้ภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากบางเหตุการณ์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมสูง จึงต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารหลายส่วน D.3.2 Reporting network and protocols in country - ไม่สามารถส่งรายงานเหตุการณ์ที่สงสัยจะเข้าเกณฑ์ PHEIC (ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ) ให้องค์การอนามัยโลกหรือ OIE (กรณีของสัตว์) ได้อย่างรวดเร็วตามมาตรฐานที่กำหนดภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อ D 3.1 D.4.3 Workforce strategy – กระทรวงฯมีแผนพัฒนากำลังคน 20 ปี แต่เน้นบุคลากรกลุ่มที่ทำหน้าที่ด้านรักษา แต่ไม่มีกลุ่มที่เป็นด้านสาธารณสุข เช่น ระบาดวิทยา D.1.4 Laboratory quality system D.3.1 System for efficient reporting to FAO, OIE and WHO D.3.2 Reporting network and protocols in country D.4.3 Workforce strategy
20
Response – 4 technical areas
Indicators – score Preparedness R.1.1 – 4 R.1.2 – 2 Emergency response operations R.2.1 – 3 R.2.2 – 3 R.2.3 – 3 R.2.4 – 3 Linking public health and security authorities R.3.1 – 4 Medical countermeasures and personnel deployment R.4.1 – 4 R.4.2 – 4 Risk communication R.5.1 – 4 R.5.2 – 4 R.5.3 – 4 R.5.4 – 4 R.5.5 – 4 R.1.2 Priority public health risks and resources are mapped and utilized R.2.1 Capacity to activate emergency operations R.2.2 EOC operating procedures and plans R.2.3 Emergency operations programme R.2.4 Case management procedures implemented for IHR relevant hazards
21
Others IHR related hazards and point of entry – 3 technical areas
Indicators – score Points of entry PoE.1 – 4 PoE.2 – 3 Chemical events CE.1 – 4 CE.2 – 4 Radiation RE.1 – 4 RE.2 – 4 PoE.2 Effective public health response at points of entry
22
ผลการประเมิน ในภาพรวม ระดับคะแนนในแต่ละด้านส่วนใหญ่อยู่ที่ ระดับ 4 (30 ตัวชี้วัด) ระดับ 2 จำนวน 2 ตัวชี้วัด เชื้อดื้อยา 1 และการเตรียมความพร้อม 1 ระดับ 3 จำนวน 12 ตัวชี้วัด เชื้อดื้อยา 2, อาหารปลอดภัย 1, ระบบทางห้องปฏิบัติการของประเทศ 1, การรายงาน เหตุการณ์ 2, การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน 4, การพัฒนากำลังคน 1 และช่องทางเข้าออก ระหว่างประเทศ 1 ระดับ 5 จำนวน 4 ตัวชี้วัด กฎหมาย นโยบาย และงบประมาณ 1, วัคซีน 2 และการพัฒนากำลังคน 1
23
สิ่งที่ต้องพัฒนาในลำดับต้นๆ
เชื้อดื้อยา (AMR) จัดทำแผนชาติในด้าน antimicrobial stewardship เพื่อให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง เหมาะสม โดยให้ครอบคลุมทั้งการใช้ในคน สัตว์ และอื่นๆ ตามแนวคิดของสุขภาพหนึ่งเดียว จัดทำแผนชาติในด้านการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล อาหารปลอดภัย (Food safety) พัฒนาการเก็บและรายงานข้อมูลด้านอาหารปลอดภัยเพื่อให้มีการเชื่อมข้อมูลจากหลายภาคส่วน เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนี้มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนากำลังคน (Workforce development) เพิ่มบุคลากรด้านระบาดวิทยา ป้องกัน และควบคุมโรคในแผนพัฒนากำลังคนของกระทรวง สาธารณสุข (แผน 20 ปี) AMR - จัดทำแผนชาติในด้าน antimicrobial stewardship เพื่อจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม โดยให้มีความครอบคลุมทั้งการใช้ในคน สัตว์ และด้านอื่นๆ ตามแนวคิดของสุขภาพหนึ่งเดียว (what is already implement is “abt. Smart use”: URI, diarrhea, clean wound) ซึ่งเป็นการใช้ยาในผป.นอก สำหรับการใช้ยาในแผลผ่าตัด (clean wound) ของตปท.จะใช้ยาแรงช่วงแรก และลดเป็นยาที่อ่อนลงในช่วงถัดไป แต่ของไทยใช้ยาแรงตลอด - จัดทำแผนชาติในด้านการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล Food safety - พัฒนาการเก็บและรายงานข้อมูลด้านอาหารปลอดภัยเพื่อให้มีการเชื่อมข้อมูลจากหลายภาคส่วน เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนี้มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น Workforce development ในแผนพัฒนากำลังคนของกระทรวงสาธารณสุข ควรให้มีเรื่องการพัฒนากำลังคนในด้านต่างๆของงานในสายสาธารณสุขด้วย (เพราะในฉบับที่กำลังจัดทำอยู่เน้นแต่สายรักษา)
24
สิ่งที่ต้องพัฒนาในลำดับต้นๆ (ต่อ)
การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Preparedness & EOC) จัดให้มีการทำ national resource mapping ในด้านที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เป็น priority ต้นๆ ตามผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในระดับประเทศ เพิ่มเอกภาพและประสิทธิภาพในด้านการจัดการและการแจกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ (stockpile) ทั้งด้าน ชีวภาพ เคมี และรังสี เพิ่มทรัพยากรในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในระดับจังหวัด เพิ่มความรับรู้เกี่ยวกับแนวทางการรักษาในด้านเคมี รังสีแก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ (Point of Entry) พัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถตรวจประเมินเครื่องบิน เรือ และการออก ship sanitation certificates แก่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศให้ครอบคลุมทุกภัยที่เกี่ยวข้องกับ IHR Preparedness & EOC จัดให้มีการทำ national resource mapping ในด้านที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรค/ภัยต่างๆที่เป็น priority สูงๆ ตามที่ได้มีการจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในระดับประเทศมาแล้วก่อนหน้านี้ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและการแจกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินสำหรับทั้งด้านชีวภาพ เคมี และรังสี (จากการประเมิน พบว่าโครงสร้างงานพัสดุของกระทรวงและกรมคร.ค่อนข้างกระจายในหลายหน่วยงาน และขาดผู้ที่มองภาพองค์รวม รวมถึงกำลังคนที่ทำงานด้านนี้ค่อนข้างจำกัด แม้แต่ในภาวะปกติยังทำงานได้ไม่ค่อยเพียงพอ) เพิ่มทรัพยากรในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ (ในปีงบฯนี้เรามีตัวชี้วัดให้ทุกจังหวัดมี EOC & SAT แต่ไม่มีทั้งงบประมาณ อุปกรณ์ และบุคลากรสนับสนุน ในปีงบฯใหม่ก็ทราบจากผอ.สธฉ.ว่างบฯที่ตั้งไว้ร้อยกว่าล้านเพื่อจะโอนให้จังหวัดถูกตัด เหลืองบทั้งหมดไม่ถึงสิบล้าน) ในด้านแนวทางการรักษา เรามีมากในด้านโรคติดต่อ แต่ในด้านภาวะฉุกเฉินจากเคมี รังสี ก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้อยู่ในเวปไซด์ของกรมการแพทย์ เนื่องจากด้านเคมีมาจากทีมรพ.นพรัตน์ ซึ่งแพทย์ที่จบด้าน EP (แพทย์ฉุกเฉิน) ทั่วประเทศได้รับการอบรม ส่วนด้านรังสีก็จะมีแนวทางสำหรับแพทย์ด้านรังสีรักษา แต่เมื่อสุ่มถามตามโรงพยาบาลอำเภอ จะไม่ทราบว่ามีแนวทางนี้อยู่ ทั้งๆที่ในแผนของแพทย์ฉุกเฉิน จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพรพ.อำเภอเรื่องแนวทางรักษาด้านสารเคมี ดังนั้นข้อเสนอแนะจึงเน้นเรื่องการเพิ่มความรับรู้เกี่ยวกับแนวทางการรักษาในด้านเคมี รังสี ในผู้ที่ทำงานในด้านการแพทย์และสาธารณสุขในระดับต่างๆ Point of Entry - พัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถตรวจประเมินเครื่องบิน เรือ และการออกใบ ship sanitation certificates แก่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศให้ครอบคลุมทุกภัยที่เกี่ยวข้องกับ IHR (biological, chemical, radiological)
25
สิ่งที่ต้องพัฒนาในลำดับต้นๆ (ต่อ)
ระบบทางห้องปฏิบัติการของประเทศ (National laboratory system) พัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างห้องปฏิบัติการและข้อมูลทางระบาดวิทยา ให้มีระบบการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการทั้งในคนและในสัตว์ (licensing process) National laboratory system พัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแลปและระบาดฯ (ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่ผู้ประเมินจากต่างประเทศพูดถึงทุกครั้งที่มีการประเมินระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย) เพื่อให้การเฝ้าระวัง การประเมินความเสี่ยง และการตรวจจับความผิดปกติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้มีการบังคับใช้ระบบควบคุมคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการทั้งในคนแลในสัตว์ เพื่อให้สามารถกำกับติดตามคุณภาพของห้องปฏิบัติการ
26
12 November 2018 PoE. Points of Entry PoE.1 Routine capacities established at points of entry 4 PoE.2 Effective public health response at points of entry 3 Strengthen the workforce, through training, for aircraft inspection, ship inspection and issuance of ship sanitation certificates, and for detection and preliminary response by border health officers, in all-hazard approach. Develop individual points of entry action plans based on the results of points of entry self-assessment and national monitoring, in order to request committed budget to close capacity gaps. Integrate points of entry public health emergency planning into the National Disaster Risk Management Plan 2015. Joint External Evaluation l Sri Lanka
27
ผลกระทบของการประเมิน และการดำเนินงานหลังจากการประเมิน
เป็นลักษณะการประเมินเพื่อพัฒนา ไม่มีผลด้านการกีดกันทางการค้าหรืออื่นๆ แต่เป็นผล ทางอ้อมในแง่ความน่าเชื่อถือของประเทศ ผู้ประเมินจากภายนอกอาจมาประเมินทุก 5 ปี นำเสนอผลการประเมินต่อผู้บริหาร ที่ประชุม EOC กรมควบคุมโรค ต่อท่านอธิบดี รองอธิบดี และหัวหน้าหน่วยงาน ที่ประชุมผู้บริหารประจำเดือนของกรมควบคุมโรค ที่ประชุม WM ต่อท่านรัฐมนตรี อธิบดี รองอธิบดีทุกกรม ผู้ตรวจราชการ ผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละด้านควรดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาส่วนที่ ยังเป็นปัญหาเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉิน ด้านต่างๆ (รวมถึงด้านที่ได้ผลการประเมินระดับ 4)
28
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.