ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 8 ทิศทางและแนวโน้ม
การใช้สารสนเทศในอนาคต
2
แนวคิด ทิศทางและแนวโน้มของ เทคโนโลยีและสารสนเทศที่มี การ เปลี่ยนแปลง อย่าง รวดเร็ว มีพัฒนาการที่ก้าว กระโดดและตอบสนองต่อ ความสะดวกสบายการใช้ชีวิต ของมนุษย์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้น มาและมียังคงมีแนวโน้มอย่างนี้ต่อไปอีกในอนาคตข้างหน้า
3
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคาดการณ์ ได้ถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างรู้เท่าทัน
4
บทนํา เนื้อหาในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงแนวโน้ม ทิศทางในอนาคตของเทคโนโลยีสารสนเทศ ใน 5 ด้านคือ ทิศทางและแนวโน้มของฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทิศทางและแนวโน้มของซอฟต์แวร์ (Software) เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต การปฏิรูปการทํางานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
5
ทิศทางและแนวโน้มของฮาร์ดแวร์(Hardware)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับหน่วยประมวลผลกลาง CPU “กฏของมัวได้มีการคาดว่า ทรานซิสเตอร์จะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี” ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นไปตามกฎของมัวอย่างเห็นได้ชัด แสดงดังภาพ ที่มา:
6
ทิศทางและแนวโน้มของฮาร์ดแวร์(Hardware)
2. เทคโนโลยีสำหรับหน่วยบันทึกข้อมูล 2.1 หน่วยความจําสํารองฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) หรืออุปกรณ์ประเภท Magnetic Recording โดยฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเพิ่งมีอายุครบ 50 ปีมาเมื่อไม่นานนี้ ฮาร์ดดิสก์เริ่มต้นใช้งานในปี 1956 และมีอายุครบ 50 ปี เมื่อปี 2006 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด แสดงดังภาพ ที่มา:
7
ทิศทางและแนวโน้มของฮาร์ดแวร์(Hardware)
2. เทคโนโลยีสำหรับหน่วยบันทึกข้อมูล 2.2 หน่วยความจำสำรองเทคโนโลยีโซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive, SSD) ทิศทางและแนวโน้มในอนาคต ขนาด ความจุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่ราคาก็ต่ำลง ดูรูปภาพประกอบ
8
ทิศทางและแนวโน้มของฮาร์ดแวร์(Hardware)
2. เทคโนโลยีสำหรับหน่วยบันทึกข้อมูล 2.3 เทคโนโลยีแผ่นบันทึกข้อมูล แนวโน้มทิศทางของแผ่นบันทึกข้อมูลด้วยแสงนี้ ในอนาคตจะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า เทคโนโลยี Blue-ray และ HD-DVD ในปัจจุบันถึง 10 เท่า ด้วยเทคโนโลยีใหม่คือ HVD (Holographic Versatile Disc) ดังภาพที่แสดงการเปรียบเทียบแผ่นบันทึกข้อมูล
9
ทิศทางและแนวโน้มของฮาร์ดแวร์(Hardware)
3. เทคโนโลยีการแสดงผล ข่าวสารด้านเทคโนโลยี และข่าวการจำหน่ายสินค้าด้านการแสดงภาพ เราคงเริ่มเห็นคาว่า 4k หรือ 8k กันบ้างแล้ว ซึ่งตัวเลขทั้งสองเป็นตัวเลขที่ทำให้ความละเอียดของภาพมีค่าสูงขึ้น โดย 4 k หมายถึง ความละเอียด 3840 x 2160 และ 8 k หมายถึง ความละเอียดระดับ 7680 x 5320 แสดงได้ดังภาพ ที่มา:
10
ทิศทางและแนวโน้มของซอฟต์แวร์ (Software)
1. Software as a Service (SaaS) คือ การใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นเหมือนกับการรับบริการ ซึ่งไม่ต้องมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใดๆ แต่สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ตามที่ต้องการ มีลักษณะการทำงานภายใต้แนวคิด Cloud Computing เนื่องจากแนวคิด Cloud Computing เป็นการแบ่งปันการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่ง SaaS ก็มีการทำงานที่คล้ายกันคือเป็น การเปิดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงทรัพยากร ที่มา:
11
ทิศทางและแนวโน้มของซอฟต์แวร์ (Software)
2. คุณสมบัติหลักของซอฟต์แวร์ Software as a Service (SaaS) 1. สามารถเข้าใช้ผ่านเว็บ Browser ผ่านอุปกรณ์ 2. ระบบหลักของ SaaS จะถูกควบคุมจากผู้ให้บริการ SaaS เอง 3. SaaS คิดค่าบริการตามจำนวนผู้ใช้งานและระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน 4. การปรับแต่งซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งานสามารถทำได้ผ่านโปรแกรม 5. มีลักษณะการใช้งานที่ง่าย มีคู่มือการใช้งานที่ละเอียดและมีหลายภาษา เพื่อรองรับผู้ใช้งานจากทั่วโลก
12
โมบายแอพพลิเคชั่น (mobile application)
เปรียบเทียบการใช้งานแอพพลิเคชั่นบนมือถือปี ที่มา:
13
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
14
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) ซึ่งมีอยู่ 2 ระดับด้วยกัน 1.1 ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับบุคคล ประกอบด้วย 3 สิ่งได้แก่ การเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และการตัดสินใจที่วางใจได้ ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออก 2.2 ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) หมายถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสังคม
15
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากความรับผิดชอบต่อสังคมแล้วการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งในอนาคตจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ “กรีนไอที” หรือ “เทคโนโลยีสีเขียว” ซึ่งมีเป้าหมายของการพัฒนา ตัวอย่างของกรีน และสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
16
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
3.การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต การทำงานในอนาคตจะทำให้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเป็นอย่างมาก คือ อยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา (work anywhere, anytime by anyone) มีการทำงานที่มีการแข่งขันสูงในเวทีโลก รวมถึงเป็นงานที่ต้องใช้ “ความรู้” และ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็นพื้นฐานในการทำงาน อีกทั้งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
17
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต
4. การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกในอนาคตเป็นยุคแห่งการเรียนรู้ ซึ่งข้อมูลข่าวสารทั่วทุกมุมโลกมีมากมายให้เราได้รับรู้อย่างรวดเร็ว ง่าย กระชับ ฉับไว จนตามแทบไม่ทัน การทำงานก็เช่นกันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัว เรียนรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นักศึกษาต้องพัฒนาตัวเองให้เป็นบุคคลที่มี ความรู้และทักษะอย่างเพียบพร้อม มีความสามารถในการแก้ปัญหาพร้อมเสมอที่จะรับข้อมูลอย่างชาญฉลาด รู้เท่าทันสถานการณ์ของโลกใบนี้
18
สรุป แนวโน้มและทิศทางของสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีแนวโน้มการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว เพิ่มปริมาณมากขึ้นทวีคูณในทุกๆปี แน้วโน้มและทิศทางที่น่าจับตามองอย่างยิ่งคือ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ CPU, หน่วยความจ าส ารอง, แผ่นบันทึกข้อมูล, จอภาพและไฟล์ ภาพความละเอียดสูง และสุดท้ายคือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียง บางส่วนของเทคโนโลยีที่ส าคัญ แต่ก็ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่จะได้รับการพัฒนาเพิ่ม ประสิทธิภาพขึ้นอีกมากมาย และจะส่งผลให้ธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ต้องปรับตัว และ เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างมีนัยส าคัญ ต้องวางแผนยุทธศาสตร์รองรับที่ถูกต้อง และในส่วนของผู้ใช้งานหรือผู้สืบค้นสารสนเทศทั่วไปเองก็ต้องปรับตัวตามไปด้วยเพราะในอนาคต โลก ยุคใหม่ จะเข้าสู่ “สังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้” อย่างสมบูรณ์แบบ การต่อสู้ แข่งขัน ทางด้าน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะเข้มข้นตามไปด้วย หากผู้ที่ไม่เตรียมพร้อมและวางแผน ปรับตัว อาจตกเป็นผู้แพ้ หรือเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีที่แอบแฝงและหาผลประโยชน์จากเทคโนโลยีใน อนาคตได้
19
เอกสารอ้างอิง 1.เศรษฐชัย ชัยสนิท และคณะ, วิวิฒันาการและแนวโน้มของเทคโนโลยสีารสนเทศ The evolution and Trends of Information Technology. URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ 2. ทิพยา จินตโกวิท, แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต. URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ 3. พรรณี สวนเพลง, แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต. URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ 4.ฐิติยา เนตรวงษ์, แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต, URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 5. เอกภพ อินทรภ่, ทิศทางและแนวโน้มการใช้สารสนเทศในอนาคต. URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 6. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, คู่มือการเลือกใช้ 20Cloud Computing. URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 7. ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์, 2022 วิวัฒนาการการสื่อสารแห่งโลกอนาคต(The evolution of communication in the future, 2022). URL: สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.