งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบบทเรียนออนไลน์ JFK Online Course รวีวรรณ ขำพล กิตติศักดิ์ แก้วเนียม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12 กุมภาพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบบทเรียนออนไลน์ JFK Online Course รวีวรรณ ขำพล กิตติศักดิ์ แก้วเนียม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12 กุมภาพันธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบบทเรียนออนไลน์ JFK Online Course รวีวรรณ ขำพล กิตติศักดิ์ แก้วเนียม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12 กุมภาพันธ์ 2559

2 Outline บทนำ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การนำไปใช้ประโยชน์

3 บทนำ บทเรียนออนไลน์ (Online course) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม การเรียนรู้และการเรียนการสอน ช่วยให้ประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการ เรียนรู้ ทำให้ลดต้นทุนในการจัดการศึกษาได้ ผู้เรียนสามารถช่วยตนเองให้ได้รับ ความรู้และมีการจดจำที่ดีขึ้น เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจและสามารถ เชื่อมโยงไปยังจุดที่สนใจเพิ่มเติมได้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพการ เรียนรู้และการรับรู้ของตนเอง (Self-paced learning) สนองความต้องการหรือ ตอบปัญหาและคำถามของผู้เรียนได้ทันที

4 บทนำ (ต่อ) ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ซึ่งมีภารกิจในการให้บริการสารสนเทศและ ทรัพยากรการเรียนรู้แก่ผู้ใช้ทั้งที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบุคคลทั่วไป มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแก่ผู้ใช้ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สำนักวิทย บริการ หอสมุดฯ ได้จัดให้บริการสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบทั้งในรูปสื่อ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการ สืบค้นสารสนเทศ ซึ่งหอสมุดฯ ได้จัดอบรมหรือให้การศึกษาแก่ผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 – 2558 หอสมุดฯ ได้จัดการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ จำนวน 414 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 14,855 คน

5 บทนำ (ต่อ) ที่ผ่านมาหอสมุดฯ ได้จัดทำคู่มือการสืบค้นฐานข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ สิ่งพิมพ์และไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ลิงค์ไว้ที่หน้าเว็บไซต์หอสมุดฯ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ ศึกษา ทบทวนการสืบค้นได้ด้วยตนเอง แต่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้บริการได้ทั้งหมด หอสมุดฯ จึงได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ ที่มีทั้งภาพเคลื่อนไหว ข้อความและเสียง เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกและเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บทเรียนออนไลน์ยังประกอบด้วยแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังการเรียน ซึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถทดสอบความรู้ของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเรียนผ่านบทเรียน ออนไลน์ได้ รวมทั้งผู้เรียนสามารถสั่งพิมพ์ใบประกาศนียบัตรเมื่อผ่านการเรียนและ การทดสอบตามข้อกำหนดได้ด้วยตนเอง

6 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (Open Online Learning) ที่รวบรวมเนื้อหาด้านบริการสารสนเทศที่น่าสนใจ ของห้องสมุด 2. เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงและการใช้แหล่งบริการสารสนเทศ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ของผู้ใช้บริการในการเรียนรู้ แบบออนไลน์

7 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ขั้นที่ 1 ศึกษาและวางแผน ผู้รับผิดชอบ: นักวิชาการคอมพิวเตอร์และบรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศ ขั้นที่ 2 พัฒนาระบบบทเรียนออนไลน์ ผู้รับผิดชอบ: นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ขั้นที่ 3 สร้างและเพิ่มบทเรียนออนไลน์เข้าสู่ระบบ ผู้รับผิดชอบ: บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานบริการสารสนเทศ ขั้นที่ 4 ทดลองใช้ระบบและประเมินผล ผู้รับผิดชอบ: นักวิชาการคอมพิวเตอร์และบรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศ

8 ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวางแผน เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เกี่ยวกับบริการของห้องสมุด การใช้งานฐานข้อมูล และอื่น ๆ รูปแบบของระบบบทเรียนออนไลน์ที่ต้องการจะมีลักษณะที่เป็น MOOC หรือ Massive Open Online Course กล่าวคือ มีบทเรียนที่หลากหลาย สื่อการสอนหลักอยู่ในรูปแบบคลิปวิดีโอ มีเอกสารประกอบการเรียน มีการ ลงทะเบียนเข้าเรียนและจัดการข้อมูลผู้เรียน รองรับผู้เรียนได้ไม่จำกัด ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้จากทุกที่ทุกเวลา มีกระดาน สนทนาเพื่อขอคำชี้แนะหรือปรึกษาปัญหาจากการเรียน และมีการวัดและ ประเมินผลการเรียนจากการทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ

9 ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวางแผน (ต่อ) เลือก Course Builder ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สของโครงการ Google Open Online Education มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบ JFK Online Course เนื่องจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีคุณลักษณะพื้นฐานที่ ครบถ้วนในการพัฒนาบทเรียนในรูปแบบ MOOC การดำเนินโครงการถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนควบคู่กันไป คือ การออกแบบ และพัฒนาระบบบทเรียนออนไลน์ ที่รับหน้าที่โดยนักวิชาการคอมพิวเตอร์ และการสร้างบทเรียนออนไลน์โดยบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดที่ มีความเชี่ยวชาญหรือดูแลรับผิดชอบในงานต่าง ๆ ที่เหมาะแก่การทำเป็น บทเรียนให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการ

10 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบบทเรียนออนไลน์

11 ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและเพิ่มบทเรียนออนไลน์เข้าสู่ระบบ

12 ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้งานระบบและประเมินผล ในช่วงก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ห้องสมุดได้ให้กลุ่มตัวอย่างซึ่ง เป็นนักศึกษาสาขาการจัดการสารสนเทศชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน ที่มี ความคุ้นเคยกับเนื้อหาบทเรียน ทดลองใช้งานระบบบทเรียนออนไลน์ JFK Online Course (http://www.oas.psu.ac.th/onlinecourse) พร้อมทั้งทำ การประเมินการใช้งานใน 2 ประเด็น ได้แก่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วย ตนเองผ่านบทเรียนออนไลน์ และ ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ การออกแบบหน้าจอแสดงผล เมนู และฟังก์ชั่นการใช้งาน และ การใช้งานระบบ

13 ผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ขณะนี้หอสมุดฯ มีบทเรียนออนไลน์ที่เผยแพร่แล้วทั้งสิ้นจำนวน 6 เรื่อง (รวม 7 บท 16 ตอน) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าเรียนได้ที่ http://www.oas.psu.ac.th/ onlinecourse ผู้ใช้บริการสามารถทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เมื่อเรียนและทำ แบบทดสอบครบถ้วน ผู้ใช้บริการสามารถสั่งพิมพ์ประกาศนียบัตรได้ ด้วยตนเอง

14 ตัวอย่างหน้าจอหลักของระบบ

15 ตัวอย่างหน้าจอบทเรียน

16 ตัวอย่างหน้าจอขณะเข้าเรียน

17 ตัวอย่างหน้าจอจัดการข้อมูลบทเรียน

18 ผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

19

20 ข้อเสนอแนะสำหรับห้องสมุด 1. ควรจัดทำ Online Course ให้ครอบคลุมทุกบริการและทุก ฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เรียนรู้และใช้บริการอย่างมี ประสิทธิภาพและคุ้มค่า 2. ควรประชาสัมพันธ์การใช้ Online Course อย่างทั่วถึงและ ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกประเภท

21 การนำไปใช้ประโยชน์ ห้องสมุดสามารถพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาเรียนรู้ฐานข้อมูลและการใช้ห้องสมุดได้ ด้วยตนเอง อีกทั้งห้องสมุดสามารถนำผลการทดสอบของผู้ใช้มา จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้ เพื่อให้มีการใช้ ฐานข้อมูลอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพต่อไป

22 JFK Library Q & A


ดาวน์โหลด ppt ระบบบทเรียนออนไลน์ JFK Online Course รวีวรรณ ขำพล กิตติศักดิ์ แก้วเนียม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12 กุมภาพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google