แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่ หิมะ และลูกเห็บ เป็นต้น แหล่งน้ำผิวดิน (Surface Water) ได้แก่ น้ำในบรรยากาศที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกลงสู่ผิวโลก ไหลลงมาขังตามแอ่งที่ต่ำ เช่น หนอง บึง แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำใต้ดิน (Ground Water) เป็นน้ำที่ไหลซึมผ่านชั้นดิน และหิน ลงไปสะสมตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างอนุภาคดินและหิน น้ำชนิดนี้มีประโยชน์มาก และเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายพรรณพืช ตลอดจนเป็นตัวทำละลาย และตกตะกอนเป็นสารประกอบหลายอย่างใต้พื้นดิน น้ำที่เป็นส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Water) ได้แก่ น้ำที่เป็นองค์ประกอบทางเคมี หรือเป็นองค์ประกอบในแร่ หิน และดิน
พลังงานน้ำ สถานการณ์ใดบ้างที่แสดงว่า น้ำเป็นพลังงาน พลังงานน้ำขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้าง
การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของน้ำ น้ำเป็นพลังงานมีความสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ พลังงานน้ำที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ปล่อยลงมา มวล อัตราเร็ว และความสูงมีผลต่อพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ของน้ำ การถ่ายโอนพลังงานศักย์กับพลังงานจลน์ของวัตถุ รวมทั้งการถ่ายโอนพลังงานของระบบกับสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน
หาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
หาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หลุก หรือระหัดวิดน้ำ ใช้สำหรับวิดน้ำเพื่อการเกษตร
หาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
กิจกรรม สว่างไสวด้วยสายน้ำ หากนักเรียนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าใช้ และต้องการผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในหมู่บ้าน ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงกับหมู่บ้านนั้นมีน้ำตกไหลตลอดทั้งปี นักเรียนจะสร้างแบบจำลองกังหันน้ำที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุดอย่างไร
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
กิจกรรม สว่างไสวด้วยสายน้ำ ลำดับกิจกรรม สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ ออกแบบชิ้นงาน 20 นาที ลงมือสร้างชิ้นงาน 60 นาที ทดสอบ 40 นาที สรุปผล 30 นาที
กิจกรรม สว่างไสวด้วยสายน้ำ การทดสอบชิ้นงาน วัดความสูงจากระดับที่ปล่อยน้ำถึงจุดที่น้ำกระทบกับกังหัน ที่ระยะ 1 เมตร และ 1.5 เมตร
กิจกรรม สว่างไสวด้วยสายน้ำ รายการวัสดุอุปกรณ์ต่อ 1 กลุ่ม วัสดุ : 1. ฝาขวดน้ำพลาสติก 2. ช้อนพลาสติก 3. พลาสติกลูกฟูก 4. ไม้เสียบลูกชิ้น 5. กระดาษเทปกาว 6. พลาสติกเจาะรูสำหรับเสียบใบพัด แบบ 6 รู และ 8 รู 7. ฐานกังหันน้ำจากไม้ 8. ชุดมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กพร้อม LED อุปกรณ์ : 1. ปืนกาว 2. กรรไกร 3. คัตเตอร์ 4. ไม้บรรทัด 5. ไขควง 6. มัลติมิเตอร์
ออกแบบชิ้นงาน มีความรู้เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง วางแผน ออกแบบ ชิ้นงาน นำเสนอแนวคิด
กิจกรรม สว่างไสวด้วยสายน้ำ ทดสอบครั้งที่ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (โวลต์) ความสูง 1 เมตร ความสูง 1.5 เมตร 1 2 3 เฉลี่ย
เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย ความต่างศักย์ไฟฟ้า (โวลต์) กับระดับความสูง (เมตร)
ตารางบันทึกผลการทดลอง กลุ่ม วัสดุ จำนวนใบพัด ค่าเฉลี่ยความต่างศักย์ไฟฟ้า (โวลต์) ความสูง 1 เมตร ความสูง 1.5 เมตร 1 2 3 4 5 6 7 8
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้า จำนวนใบพัด วัสดุที่ใช้ทำใบพัด มุมของใบพัดที่ทำกับน้ำที่ตกกระทบ น้ำหนักของใบพัด พื้นที่ที่รองรับการตกกระทบของน้ำ
คำถาม นักเรียนคิดว่า ถ้าทำการทดลองอีกครั้งที่ระดับความสูง 3 เมตร จะวัดความต่างศักย์ได้เท่าไหร่ นักเรียนคิดว่า ถ้าทำการทดลองอีกครั้งที่ระดับความสูง 100 เมตร จะวัดความต่างศักย์ได้เท่าไหร่
ขอบคุณค่ะ