ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ ปี พ. ศ.2533 ทิม เบิร์นเนอร์ส - ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบการสื่อสารข้อมูล ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่ เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ ทำให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ ในการส่งสารสนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ใน รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) การสื่อสารและสืบค้น สารสนเทศในรูปแบบนี้จะทำให้เราสามารถทำได้ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
บิดาแห่ง www คือ Tim Berners-Lee โดยทิมได้คิด โครงการเชื่อมโยงข้อมูล ข่าวสารขึ้นมา โดยใช้ระบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ โครงการของเขาได้รับความ นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเขา กลายเป็นผู้สร้าง ประวัติศาสตร์ไป ปัจจุบันทิมทำงานอยู่ที่ World wide web consortium หรือ W3C ซึ่งเป็นองค์กร ศูนย์กลางของเครือข่ายใย แมงมุมทำหน้าที่รับรอง มาตรฐานต่างๆของระบบ ทั้งหมด
www คือ เน็ตเวิร์คที่มี การเชื่อมต่อกันไปทั่ว โลก เรียกย่อว่า “ เว็บ ” ( Web ) ในเว็บมี อะไรหลายอย่างที่ น่าสนใจเก็บรวบรวม ทำ ให้สามารถดูเอกสารหรือ ค้นหาสารสนเทศที่ ต้องการได้ โดยผ่านทาง บราวเซอร์ ( Browser ) ซึ่งจะแสดงผลออกมาที ละหน้า แต่ละหน้า เรียกว่า “ เว็บเพจ ” ( Web Page )
WWW ถือเป็น ส่วนที่น่าสนใจ ที่สุดบน อินเทอร์เน็ต เพราะ สามารถแสดง สารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือ หนังสือพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่ง สามารถนำเสนอ ได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึง ภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิ ทัศน์หรือ ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์
เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ ว่า วิลด์ไวด์เว็บ หมายถึง เครื่องบริการ เว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมี ข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้า กับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพ จะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วย การเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุด เชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีก หน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติม
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการ สืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้า เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งใน ลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
การเข้าสู่ระบบ จะต้องใช้โปรแกรม ทำงาน ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ปัจจุบัน ได้แก่ 1. เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), 2 อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) 3. มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วยให้การใช้เว็บใน อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ ถือ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเว็บ เนื่องจากเมื่อเข้าไปในเว็บแล้ว สารสนเทศหรือข้อมูล ต่างๆ ที่ต้องการสืบค้นก็คือหน้าของ เอกสารที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
นิรุธ อำนวยศิลป์ (2542) กล่าวถึงเว็บไซต์ ว่า เป็นชื่อเรียก Host หรือ Server ที่ได้จด ทะเบียนอยู่ใน เวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่ง ก็คือชื่อ Host ที่ ถูกกำหนดให้มี ชื่อใน เวิลด์ไวด์เว็บ และขึ้นต้นด้วย http และมี โดเมน หรือนามสกุล เป็น.com,.net,.org หรือ อื่นๆ
กิดานันท์ มลิทอง, (2542) ได้กล่าวถึงเว็ป ไซต์ว่า เว็บไซต์ ก็คือแหล่งที่รวบรวมเว็บเพจ จำนวนมากมายหลายหน้า ในเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน และ สามารถเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมสารสนเทศ บนเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา และแต่ละเว็บเพจ จะมีการเชื่อมโยง กันภายในเว็บไซต์หรือ ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถ อ่านได้ในเวลาอันรวดเร็ว
เว็บเพจ คือ หน้าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บ ที่เจ้าของเว็บเพจ ต้องการจะ ใส่ลงไปในหน้าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำ ตัวเอง ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ ต้องการให้ผู้อื่นได้ทราบ หรือข้อมูล ที่น่าสนใจ เป็นต้น โดยที่ข้อมูลที่ แสดง เป็นได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลที่ นำเสนอสามารถเชื่อมโยงในรูปของ ไฮเพอร์เท็กซ์ คือ เชื่อมโยงไปยัง เว็บเพจอื่นได้
โฮมเพจ หรือ หน้าต้อนรับ (welcome page) ซึ่งปรากฏเป็นหน้า แรก เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา เปรียบเสมือนกับสารบัญและคำนำ ที่ เจ้าของเว็บไซต์สร้างขึ้นเพื่อใช้ ประชาสัมพันธ์ องค์กรของตนว่าให้บริการในสิ่ง ใดบ้าง นอกจากนี้ภายในโฮมเพจก็ อาจมีเอกสาร ข้อความที่เชื่อมโยง ต่อไปยังเว็บเพจอื่นได้อีก ซึ่งโฮมเพจ สามารถเชื่อมโยงกับเว็บเพจและ เว็บไซต์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากได้
ที่มา d61f052 oresongmin&monyh= &date=07&group=2&gblog=32 le.asp?id= e_search.php?select=1&q=World+Wide +Web
สมาชิกกลุ่ม 1. น. ส. วรงค์พร มาฆะสิทธิ์ เลขที่ น. ส. ศุภรัตน์ มุจรินทร์ เลขที่ น. ส. อารยา เถื่อนบุญ มี เลขที่ 63 ชั้นปีที่ 1 ห้อง ข