ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชีววิทยา (Biology) มัธยมศึกษาตอนต้น.
Advertisements

โดย แพทย์หญิงมยุรา เทพเกษตรกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคเบาหวานและระบบต่อมไร้ท่อ คลินิกเบาหวาน ร. พ. กรุงเทพพัทยา.
สุดยอดเทคนิค (คำแนะนำ) ของฉัน
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
เอชไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้ เราอยู่ด้วยกันได้
นิยามศัพท์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษารายกรณี.
การดำเนินงานสุขศึกษา ในชุมชน
ความคลาดเคลื่อนในการให้ยา
การประเมินภาวะการใช้ยา Ceftazidime และ Imipenem
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด 2
ยินดีต้อนรับ สู่..ตึกโรคปอด.
วิธีการทางวิทยาการระบาด
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
ทะเบียนรับแจ้งข่าวการระบาด
การรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
การจัดทำ Research Proposal
ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง (รายงานเบื้องต้น) อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร.
โครงการพัฒนารูปแบบการลดทัศนคติการตีตรา/รังเกียจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากพ่อแม่ที่ติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาปี
แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
นโยบายการป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สำหรับประเทศไทย พ
โรงพยาบาลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คุณภาพมาตรฐาน บริการด้วยนำใจ สิ่งแวดล้อมสดใส ห่วงใยปวงประชา
โรงพยาบาล หน่วยบริการ.
การใช้ข้อมูลจากโปรแกรม NAP
แนวทางการสนับสนุนการจัดบริการป้องกัน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ นายแพทย์สรกิจ ภาคีชีพ ผู้จัดการ กองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การจัดการระบบการดูแลรักษา โดยผู้ประสานงานในโรงพยาบาลห้วยพลู
การติดตามการตรวจ CD4 ใน Asymtomatic patient (CD4 award)
การส่งเสริมวินัยการกินยาต้านไวรัสเอดส์
การพัฒนาคุณภาพบริการ การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
ภาพรวม/บทเรียนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพฯ HIVQUAL-T ของ รพ.ครู ก.
Adherence ภก. เสถียร วงศ์ใหญ่ โรงพยาบาลโพนพิสัย
1. ชื่อผลงาน: ส่งเสริมการเข้าถึงบริการอย่างเป็นมิตร
การพัฒนางานคุณภาพงานเอดส์
สถานการณ์และการดำเนินงานดูแลเด็กติดเชื้อเอชไอวี
การดูแล ผู้ติดเชื้อ / ผู้ป่วยเอดส์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ผลการพัฒนาการบันทึกข้อมูล HIV-QualT ในโรงพยาบาลระโนด จ. สงขลา. โดย นส
ระบบบริการดี ตรวจซีดีโฟร์ ครบตามมาตรฐาน
ผลการเฝ้าระวัง และป้องกันความล้มเหลวในการรักษาในโรงพยาบาลระโนด จ. สงขลา โดย นส.จาฤดี กองผล, นางละมัย ช่วยแดง พยาบาลประจำคลินิกยาต้านไวรัสโรงพยาบาลระโนด.
บริบาลเภสัชกรรม รวดเร็วปลอดภัย คลินิกเด็กหัวใจสีเหลือง.
System Development Lift Cycle
ตารางแสดงตัวชี้วัดที่เฝ้าระวัง หน่วยไตเทียม ก่อนทำCQI
“ ถุงมือ สะดวกใช้ – สบายใจ ผู้ตรวจ เพื่อลดการปนเปื้อน ”
บทที่ 9 โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ
ในการสอบสวนโรคกลุ่มต่าง ๆ
แนวทางการให้ยาต้านไวรัสในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกในกรณีต่างๆ
นโยบายการป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สำหรับประเทศไทย พ
นโยบายการป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สำหรับประเทศไทย พ
Case Manageme nt พิมพ์ศิริ เลี่ยวศรีสุข สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การป้องกันควบคุมไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น1 การประชุมวันที่ 19 พฤษภาคม 2552.
การพัฒนากิจกรรมเพื่อการป้องกันการเกิดเชื้อเอชไอวีดื้อยา
การให้การปรึกษาในการตรวจเอชไอวี แบบฟังผลในวันเดียว Counseling with Same Day HIV Testing 12 July 2011.
บทเรียนจากการเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อการติดตามตาม HIVDR-EWI
การตรวจเลือดเอชไอวี แบบทราบผลในวันเดียว
โรคเบาหวาน เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า.
โรคติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
แนวทางการบันทึก และตรวจประเมินคุณภาพ การบันทึกเวชระเบียน ผู้ป่วยนอก
การควบคุมผลกาปฏิบัติงาน
การสนับสนุนบทบาท อสม.ในการป้องกันควบคุมโรค
ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
การให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยนอก
อย่า ! ให้คนที่รักต้องจากไปเพราะ...
สถานการณ์และแนวโน้มการระบาด มาตรการและแนวทางการดำเนินงาน
โรคกระเพาะอาหาร Gastritis.
รายงานผลการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย อาจารย์จิตรสนา พรมสุทธิ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส การตรวจเชื้อเอชไอวี ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส วสันต์ จันทราทิตย์,ช่อทิพย์ วาทิตต์พันธุ์. คู่มืออธิบายการตรวจวินิจฉัยยีโนมเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส [Online]. ปี [cited 2009 Jun 30]. Available from: http://www.virusrama.org/genotyping/...

การดื้อต่อยาต้านไวรัสของเชื้อเอชไอวี หมายถึง ภาวะที่ยาต้านไวรัสไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป สาเหตุมาจากการ mutation ในระดับ Genome ของตัวเชื้อไวรัส ทำให้มีการสร้างเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวีผิดปกติไป เอนไซม์จะมีการแปรเปลี่ยนจนโมเลกุลของยาไม่สามารถเข้าไปจับกับเอนไซม์เหล่านี้ได้ ดังนั้นไวรัสเอชไอวีที่มีการ mutation จึงไม่ถูกกำจัดด้วยฤทธิ์ของยาและสามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้เป็นปกติ

การตรวจเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส มีความจำเป็นสำหรับการเลือกใช้ยาต้านไวรัสที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงยาที่มีแนวโน้มว่าจะใช้ไม่ได้ผล การตรวจการดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี แบ่งเป็น 2 วิธี คือ การตรวจจีโนทัยป์ (Genotypic Testing)   การตรวจฟีโนทัยป์ (Phenotypic Testing)

การตรวจจีโนทัยป์ (Genotypic Testing) ตรวจลำดับของเบสในยีนของเชื้อเอชไอวีในตำแหน่งที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ Protease และ Reverse Transcriptase

ตำแหน่งการกลายพันธุ์ของ RT gene ของเชื้อ HIV ที่เกี่ยวข้องกับยากลุ่ม NRTIs M184V M = Methionine 184 = ตำแหน่ง amino acid ของยีน Reverse Transcriptase V = Valine เมื่อเกิดการผ่าเหล่าดังกล่าวขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อเอชไอวีด้วยยา 3TC (lamivudine) ลดลง หรืออีกนัยหนึ่งอาจเรียกได้ว่าเกิดการดื้อต่อยา 3TC ขึ้น ดังนั้นหากยีน Reverse Transcriptase ของเชื้อเอชไอวีจากผู้ติดเชื้อมีการผ่าเหล่าเป็น M184V ก็มีโอกาสเป็นไปได้มากว่ายา 3TC จะไม่มีผลในการออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในผู้ติดเชื้อ 3TC

การตรวจฟีโนทัยป์ (Phenotypic Testing) เป็นการหาความเข้มข้นของยาต้านไวรัสที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ HIV ได้ โดยวิธีการตรวจสามารถทำได้โดยนำเชื้อเอชไอวีจากผู้ติดเชื้อมาเพาะเลี้ยงกับเซลในหลอดทดลอง จากนั้นจึงเติมยาต้านไวรัส ที่ความเข้มข้นต่างกันลงไป แล้วตรวจว่าเชื้อในหลอดใดที่ถูกยับยั้งการเพิ่มจำนวนได้ร้อยละ 50/90 ค่าความเข้มข้นของยาในหลอดนั้นก็คือค่า Inhibitory Concentration 50/90 (IC50/90) 50% = Inhibitory Concentration 50 (IC50) 90% = Inhibitory Concentration 90 (IC90)

ตัวอย่างเช่น ค่า IC50 ของเอชไอวีสายพันธุ์มาตรฐานเมื่อทดสอบกับยา 3TC มีค่า 100 nanomoles (nM) ส่วนค่า IC50 ของเชื้อเอชไอวีจากผู้ติดเชื้อเมื่อทดสอบกับยา 3TC มีค่า 400 nM หมายความว่า เชื้อเอชไอวีจากผู้ติดเชื้อมีความต้านทานยา 3TC สูงกว่า เชื้อเอชไอวีสายพันธุ์มาตรฐาน 4 เท่า

การตรวจจีโนทัยป์ (Genotypic Testing) ข้อดี ใช้ระยะเวลาในการตรวจค่อนข้างสั้น กระบวนการตรวจไม่ซับซ้อนมากนัก ค่าใช้จ่ายในการตรวจถูกกว่าการตรวจด้วยวิธีฟีโนทัยป์ ข้อเสีย การแปลผลต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูลจีโนทัยป์จากหลายหน่วยงานที่มีการ update ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

การตรวจฟีโนทัยป์ (Phenotypic Testing) ข้อดี แปลผลได้ง่ายกว่าวิธีจีโนทัยป์ สามารถทราบได้ทันทีว่าเชื้อ HIV ดื้อหรือไว(susceptible) ต่อยาชนิดใดบ้าง ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายสูง วิธีการตรวจมีความยุ่งยากซับซ้อน ใช้เวลานาน ต้องลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อระดับสูงสุดเพื่อป้องกันเชื้อ HIV ที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองแพร่กระจาย การแปลผลก็ยังมีความสับสนอยู่เช่นกัน ประสิทธิภาพของยาที่ลดลงเป็นกี่เท่าในยาแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีการรักษาล้มเหลว (Management of Treatment Failure)

หลักการเลือกยาต้านไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยล้มเหลวจากยาสูตรแรก หลักการเลือกยาต้านไวรัสเอชไอวี เมื่อผู้ป่วยล้มเหลวจากยาสูตรแรก หากเชื้อดื้อยา NNRTI ตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ให้หลีกเลี่ยง NNRTI ทั้งกลุ่ม พยายามหายาตัวใหม่ที่ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเอชไอวี อย่างน้อย 2 ชนิด พิจารณาจากผลตรวจการดื้อต่อยา (genotypic resistance testing) อาศัยประวัติการรักษาด้วยยาสูตรยาต่างๆ ร่วมกับผลตรวจการดื้อต่อยา และเลือกสูตรยาที่ยังไม่มีการดื้อ การเลือกสูตรยาสูตรที่ 2 ต้องสามารถควบคุมเชื้อไวรัสให้ต่ำกว่า 50 copies/ml สิ่งที่ต้องพึงระวัง การพิจารณาผลการดื้อต่อยาทุกครั้งที่ผู้ป่วยกำลังมีและเคยมีมาก่อน

ขั้นตอนสำคัญในการประเมิน และวางแผนการรักษาผู้ป่วย ทบทวนประวัติการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี และประวัติการเจ็บป่วย ตรวจร่างกายเพื่อประเมินโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและผลข้างเคียงของยา ประเมิน adherence to ARV drugs, tolerability, drug interaction, โรคร่วมอื่นๆ ตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาขณะที่ยังคงรับประทานยานั้นๆอยู่ และทบทวนประวัติผลตรวจเชื้อดื้อยาในอดีต พิจารณาหาสูตรยาใหม่ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อควบคุมเชื้อไวรัสในเลือดให้น้อยกว่า 50 copies/ml

ประเภทของการดื้อยา ประเภทของการดื้อยาต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีสูตรแรกแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ NNRTI-based regimen failure PI-based regimen failure

การล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI การดื้อยามีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาของการรักษาที่ล้มเหลว การเกิดเชื้อดื้อยา กรณีผู้ป่วยมีปัญหาล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI สามารถประมาณการณ์ได้จาก ระยะเวลาของการล้มเหลว

การล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI เพิ่งล้มเหลวภายในช่วง 3-6 เดือนแรก มักจะพบเพียงเชื้อ HIV ที่ ดื้อต่อ NNRTI เท่านั้น หากให้รับประทานยาต่อไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนสูตรยาที่เหมาะสมภายใน 3-6 เดือนแรก คาดว่าจะก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาต่อยา 3TC ในที่สุดจะก่อให้เกิดการดื้อต่อยา AZT หรือ d4T และก่อให้เกิดการดื้อยาทุกตัวในกลุ่ม NRTIs นี้ได้ (cross resistance to all NRTIs) การใช้ยาสูตรที่ 2 ควรใช้ boosted PI มากกว่า PI ที่ไม่ได้ boosted โดยเฉพาะในรายที่ไม่แน่ใจว่า 2NRTIs ที่เลือกใหม่ในสูตรยาที่ 2 จะมีฤทธิ์ต่อไวรัสมากเพียงพอเนื่องจากการใช้ boosted PI จะมีโอกาสล้มเหลวน้อยกว่า

หลักการพิจารณาสูตรยาในการรักษากรณีผู้ป่วยล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร NNRTI หากพบว่าดื้อต่อ NNRTI เท่านั้น ให้คง 2NRTIs เดิม และเปลี่ยน NNRTI เป็น boosted PI แทน หากพบดื้อต่อ NNRTI และ 3TC ให้เปลี่ยนเป็น - AZT/ddI/boosted PI - Tenofovir/AZT/boosted PI - AZT/Abacavir (ABC)/boosted PI (แต่ราคาสูงมาก จึงไม่นิยมใช้)

การล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาสูตร PI หรือ boosted PI การรักษาด้วย 2NRTIs+(boosted) PI เป็นสูตรแรก กรณีมีการล้มเหลวต่อสูตร PI-based มาไม่นาน การกลายพันธุ์จากการดื้อต่อยา PI น้อย มักจะเป็น minor mutations เลือก 2NRTIs ที่ยังมีฤทธิ์ต่อเชื้อสูง ร่วมกับ LPV/r กรณีมีการล้มเหลวต่อสูตร PI-based มานาน major mutations ดื้อต่อยา PIs มากกว่า 5-6 ตำแหน่ง จะมีสูง การใช้ boosted PI หรือ LPV/r จะมีโอกาสได้ผลน้อยลง อาจใช้ double boosted PIs + 3TC (เพื่อหวังผลการลด viral fitness จาก M184V mutation ที่ดื้อต่อ 3TC) + NRTI ตัวอื่นอีก 1-2 ตัว

กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยรับประทาน d4T หรือ AZT + 3TC + Nevirapine/Efavirenz แล้วมีเฉพาะ M184V อย่างเดียว ให้ใช้ d4T หรือ AZT + ddI or tenofovir + Nevirapine/Efavirenz ผู้ป่วยรับประทาน d4T หรือ AZT + 3TC + Nevirapine/Efavirenz แล้วมีเฉพาะ NNRTI mutation เช่น L100I K103N V106A/M V108I Y181C/I Y188C/L/H และ/หรือ G190A ให้ใช้ d4T or AZT or tenofovir + 3TC + IDV/r หรือ PI ตัวใดก็ได้ ผู้ป่วยรับประทาน d4T หรือ AZT + 3TC + Nevirapine/Efavirenz แล้วมีเฉพาะ M184V กับ NNRTI mutation เช่น L100I K103N V106A/M V108I Y181C/I Y188C/L/H หรือ G190A ให้ใช้ d4T หรือ AZT + ddI หรือ tenofovir + IDV/r หรือ PI ตัวใดก็ได้

ข้อควรจำ การวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยดื้อยาตั้งแต่เริ่มดื้อยาใหม่ๆ จะทำให้การเลือกสูตรยาสำหรับผู้ป่วยดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งทางคลินิกและผลการตรวจเลือด จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยการรักษาล้มเหลวได้เร็ การรับประทานยาสูตรที่ดื้อแล้วต่อไป จะทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น และดื้อข้ามไปสู่ยาตัวอื่นในกลุ่มเดียวกันที่ผู้ป่วยยังไม่เคยรับประทานได้ด้วย หากจะต้องเปลี่ยนยา จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ยาสูตรใหม่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง คำนึงถึงผลดีผลเสียอย่างรอบด้าน มิฉะนั้นจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ยุ่งยากมากกว่าเดิม

Reference ปรีชา มนทกานติกุล, ปวีณา สนธิสมบัติ, สุทธิพร ภัทรชยากุล, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, บรรณาธิการ. คู่มือสำหรับเภสัชกร: การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน, 2551. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549/2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550. วสันต์ จันทราทิตย์,ช่อทิพย์ วาทิตต์พันธุ์. คู่มืออธิบายการตรวจวินิจฉัยยีโนมเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส. Available at: http://www.virusrama.org/genotyping/Sequencing/HIV_check_manual/HIV_check_manual.htm Accessed date: June 30, 2009.

THANK YOU For your attention