การเพาะเลี้ยงแมลงห้ำ
ข้อควรคำนึง ในการเพาะเลี้ยงแมลงห้ำ - วงจรชีวิต พฤติกรรมแต่ละระยะ /การกินกันเอง อาหาร / เหยื่อ
แนวทางการเพาะเลี้ยง วัตถุประสงค์ ในการเลี้ยง ** เลี้ยงเพื่อนำไปปล่อยควบคุมศัตรูพืช ** เลี้ยงเพื่อขยายเป็นพ่อแม่พันธุ์
การเลี้ยงเพื่อนำไปปล่อยควบคุมศัตรูพืช เป็นการเลี้ยงระยะสั้น โดยการเก็บพ่อแม่พันธุ์แมลงช้างปีกใสจากแปลง นำมาเลี้ยงให้ผสมพันธุ์และวางไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนจึงนำไปปล่อยควบคุมศัตรูพืชในแปลง
อุปกรณ์ที่ใช้ 1. ถุงเก็บยอดมันสำปะหลัง 2. ชั้น สำหรับวางยอดมันสำปะหลัง (ปูด้วยตาข่ายลวด) 3. มุ้งคลุมชั้น 4. กล่องพลาสติกใส่ตัวเต็มวัย/ ผ้าบาง สำหรับปิดกล่อง+ยางรัด 5. หลอดแก้ว (หลอดทดลอง) ขนาด Ø 2.5 ซม. ยาว 20 ซม. 6. น้ำผึ้ง 7. สำลี หรือฟองน้ำ 8. อลูมิเนียมฟอล์ย หรือฝาถ้วยพลาสติก สำหรับรองน้ำผึ้ง 9. มุ้งเล็กสำหรับเปลี่ยนกล่องตัวเต็มวัย 10. แปรงขนอ่อน (แปรงทาสี ขนนุ่มๆ สำหรับปัดตัวอ่อน) 11. ปูนขาว / จาระบี ป้องกันมด
1.เก็บยอดมันสำปะหลังจากแปลง (มีเพลี้ยแป้งและแมลงช้างปีกใสระยะต่างๆ)
2.วางบนชั้นที่มีการถ่ายเทอากาศดี
3.คลุมด้วยมุ้ง ป้องกันตัวเต็มวัยบินหนี
* ป้องกันมด โรยปูนขาวรอบๆ มุ้ง / ทา จาระบีที่สายมุ้ง
ปล่อยไว้ 1-2 วัน จะเริ่มมีตัวเต็มวัยบินออกมาเกาะในมุ้ง
เก็บตัวเต็มวัยทุกเช้า
ให้น้ำผึ้งเจือจาง 10-20 % เป็นอาหาร 4.เก็บตัวเต็มวัย ใส่กล่องพลาสติก กล่องละประมาณ 100 ตัว เพื่อนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ ให้น้ำผึ้งเจือจาง 10-20 % เป็นอาหาร
แมลงช้างปีกใส จะผสมพันธุ์และวางไข่ทั่วบริเวณในกล่อง
5.ย้ายตัวเต็มวัย ไปใส่กล่องใหม่ เพื่อให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ต่อไป (เปลี่ยนกล่อง วันเว้นวัน)
6. กล่องที่มีไข่ เตรียมนำไปปล่อยในแปลง - สุ่มนับปริมาณไข่ - รวบรวม เพื่อนำไปปล่อยในวันรุ่งขึ้นหรือวันถัดไป (ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้ว)
วิธีการปล่อย 1. สำรวจแปลง ดูการระบาดของเพลี้ยแป้ง 2. ปล่อยแมลงช้างปีกใส อัตรา 200 ตัว / ไร่ ในบริเวณที่เพลี้ยแป้งเริ่มระบาด ปล่อยเป็นจุดๆ ให้มีการกระจายคลุมบริเวณที่มีการระบาด