บทปฏิบัติการที่ 4 หนวดของแมลง (Insect Antennae) หนวดของแมลงเป็นระยางค์ที่เคลื่อนไหวได้ มีตำแหน่งอยู่ระหว่างตาหรือใต้ฐานของตา มีลักษณะเป็นปล้องทำหน้าที่รับความรู้สึก หนวดของแมลงประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ สเคป (Scape) เป็นปล้องฐานที่ยื่นออกมาจากส่วนหัว มีขนาดยาวกว่าปล้องอื่นๆ เพดดิเซล (Pedicel) เป็นปล้องที่สองถัดจากสเคปขึ้นไป แฟลกเจลลัม (Flagellum) คือปล้องที่เหลือทั้งหมดของหนวด
หนวดของแมลงมีลักษณะ รูปร่างต่างกันไปในแต่ละชนิดของแมลง ความแตกต่างมักพบในส่วนของแฟลกเจลลัม หนวดของแมลงมีแบบต่างๆ ดังนี้ หนวดแบบเส้นด้าย(filiform) ลักษณะยาว เรียว ขนาดปล้องไล่เลี่ยกัน ได้แก่หนวดด้วงเสือ
หนวดแบบเส้นขน(setaceous) ลักษณะยาวเรียวเล็กลงไปทางปลายหนวด ได้แก่ หนวดแมลงปอ เพลี้ยจักจั่น
- หนวดแบบสร้อยลูกปัด(moniliform) มีขนาดกลมเท่ากัน ได้แก่ หนวดปลวก
หนวดแบบฟันเลื่อย(serrate) เป็นรูปสามเหลี่ยมเรียงกันคล้ายฟันเลื่อยได้แก่ หนวดแมลงทับ แมลงกุลา
หนวดแบบกระบอง(clavate) ปล้องส่วนปลายขนาดใหญ่ต่อกัน คล้ายรูปกระบอง ได้แก่ หนวดผีเสื้อกลางวัน
หนวดแบบแบบลูกตุ้ม(capitate) ส่วนปลายขยายใหญ่เป็นปมคล้ายลูกตุ้มได้แก่ หนวดด้วงผลไม้เน่า
หนวดแบบใบไม้(lamellate) ส่วนปลายแบนเป็นแผ่นกว้าง มีแกนติดด้านข้าง ทำ ให้มีลักษณะคล้ายก้านและใบไม้ ได้แก่ หนวดด้วงมะพร้าว
หนวดแบบฟันหวี(pectinate) ด้านข้างยื่นออกมาเป็นซี่คล้ายฟันหวี ได้แก่ หนวด ผีเสื้อยักษ์
หนวดแบบแผ่นใบไผ่(flabellate) ด้านข้างยื่นเรียวยาวคล้ายใบไผ่เรียงซ้อนกัน มีแกนติดอยู่ตรงด้านข้าง ได้แก่ หนวดด้วงสีดา
หนวดแบบข้อศอก(geniculate) ปล้องสเคปยาวกว่าปล้องอื่นๆ เพดดิเซลหักเป็นรูปข้อศอก ได้แก่ หนวดมด ผึ้ง แมลงภู่
- หนวดแบบพู่ขนนก(plumose) ทุกปล้องมีขนยาวเป็นพู่รอบๆ ได้แก่ หนวดยุงตัวผู้
หนวดแบบมีขนอะริสตา(aristate) ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่มีขน ที่เรียกว่า
- หนวดแบบเคียว(stylate) ปล้องสุดท้ายงองุ้มคล้ายเคียว ได้แก่ หนวดเหลือบ