สมุนไพรล้างพิษ รางจืด สมุนไพรล้างพิษ รางจืด ลักษณะพืช รางจืดเป็นไม้เถาสามารถเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพาดพันขึ้นคลุมต้นไม้ใหญ่ๆ ได้ทั้งต้น เถามีลักษณะกลม สีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้มผิวเกลี้ยง ออกเป็นคู่ตรงข้ามตรงข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายใบย่านางรูปขอบขนานหรือรูปไข่กว้าง ๔-๗ ซม.ยาว ๘-๑๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น เส้นใบมี ๕ เส้น ออกฐานใบเดียวกัน ดอกจะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ
การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรรางจืด รากและเถา รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและราก ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษยาฆ่าแมลง พิษผิดสำแดง พิษเมาเบื่อจากเห็ดพิษ สารหนู ฯลฯ พอกบาดแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ผดผื่นคัน เริม อีสุกอีใส แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง สรรพคุณ การสกัดด้วยการต้มทำให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถนำทั้งใบและรากของรางจืดมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น ส่วนใบ นำใบรางจืดมาต้ม ดื่มคณะอุ่น หรือนำใบมาคั้นดื่ม สามารถแปรรูปเป็นยาชง หรือ ชาชงรางจืด ส่วนราก ใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีและมีขนาดเท่านิ้วชี้ นำมาฝนกับน้ำ แล้วดื่มเพื่อเป็นการล้างพิษในร่างกายรวมทั้งบรรเทาพิษเฉพาะหน้า ก่อนนำส่งโรงพยาบาล ยอดอ่อน และดอก นำมาทำเป็นอาหารได้ เช่น ผัดยอดรางจืด ไข่เจียวดอกรางจืด การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรรางจืด
รูปแบบการใช้ประโยชน์น้ำรางจืด 1. น้ำคั้นสดจากใบสมุนไพรรางจืด นำใบรางจืดที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปจำนวน 5-7 ใบล้างให้สะอาด โคลกให้ละเอียดผสมกับน้ำดื่ม หรือน้ำซาวข้าว คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 1 ครั้ง 2. ยาฝนจากรากสมุนไพรรางจืด นำรากรางจืดที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป ขนาดเท่า นิ้วชี้ มาล้างให้สะอาด โขลกหรือฝน ผสมกับน้ำสะอาด หรือน้ำซาวข้าว รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 1 ครั้ง 3. น้ำต้มสมุนไพรรางจืด นำใบรางจืดแบบสด จำนวน 5-7 ใบ ล้างให้สะอาด นำไปต้มกับน้ำเต็มกา ( 1500 ซีซี) ดื่มคณะอุ่น ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 4-5 ครั้ง 4. ชาชงสมุนไพรรางจืด นำใบรางจืดมาล้างให้สะอาด หั่นใบรางจืดให้เป็นฝอย นำไปตากแดดให้แห้ง ใช้ 1-2 ช้อนชา นำมาชงในน้ำร้อนดื่ม 1 แก้ว ดื่มวันละ 1 ครั้ง 5. ยาชงสมุนไพรรางจืด นำใบสมุนไพรรางจืด มาล้างให้สะอาด นำไปอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จนแห้ง นำไปบด แล้วบรรจุในซองขนาด 5 x 5 เซนติเมตร จำนวน 2 กรัม ชงกับน้ำร้อน 100-200 ซีซี ดื่มเมื่อมีอาการวันละ 3 ครั้ง วิธีรับประทาน เพื่อการรักษา ควรกินติดต่อกัน 7-10 วัน ข้อควรระวัง ไม่ควรดื่มติดต่อกันเกิน 30 วัน ไม่ควรดื่มในกรณีของผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ โรคหอบหืด และหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ร่มกับยาชนิดอื่นเป็นระยะเวลานาน อาจขับตัวยาในร่างกายออกไป
การขยายพันธุ์และการปลูก นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำ (รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ก็คือรางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง ) การชำเถา ให้เลือกเถาแก่นำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณคืบเศษ (6-8 นิ้ว) ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ชำในทรายหรือแกลบที่ไม่มีดิน รดน้ำให้ชุ่มจนรากงอก จากนั้นนำไปลงถุงเพาะชำ ขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว X 7 นิ้ว ถ้าชำในฤดูฝนจะออกรากเร็วใช้เวลาราว 2 อาทิตย์ ในฤดูแล้งจะช้ากว่า เมื่อเถาชำอายุได้ 45 วัน ก็นำไปปลูกในหลุมที่รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ห่างจากค้างประมาณ 50 ซ.ม. ค้างรางจืดควรมีขนาดใหญ่ การปลูกรางจืด เมื่อเถาชำอายุได้ 45 วัน ก็นำไปปลูกในหลุมที่รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ห่างจากค้างประมาณ 50 ซ.ม. ค้างรางจืดควรมีขนาดใหญ่ การดูแลรักษา รางจืดต้องการการดูแลรักษาและให้น้ำในช่วงเริ่มปลูกมากกว่าช่วงอื่น ๆ หลังจากนั้นมีการให้น้ำบ้างในช่วงฤดูแล้งกำจัดวัชพืชบ้างเป็นครั้งคราว ให้ปุ๋ยอินทรีย์