สารปรุงแต่งอาหาร
* จัดทำโดย * 1. นางสาวพิณใจ ทองเจริญ รหัส 4802071 1. นางสาวพิณใจ ทองเจริญ รหัส 4802071 2. นายฤทธิรณ กันทะคำ รหัส 4802076 3. นายศิริวัฒน์ หนองคำ รหัส 4802081 4. นางสาวณัฐณี นุตโส รหัส 4802131
1. แหล่ง / ประเภท / ชนิดของอาหาร ประเภทสารเจือปนและสารปนเปื้อน สารเจือปน คือ สารที่ถูกใส่ลงในอาหาร เช่น สารชูรส สารกันบูด เป็นต้น สารปนเปื้อน คือ สารที่ปะปนอาหารอย่างไม่เจตนา แปดเปื้อนโดยธรรมชาติ เช่น สารพิษ โลหะหนัก เป็นต้น
ชนิดของสารปรุงแต่งอาหาร สารเจือปน เช่น สารแต่งสี สารกันบูด สารให้ความหวาน สารชูรส สารกันหืน สารบอแรกซ์ สารฟอกสี สารที่ทำให้เนื้อเปื่อยนุ่ม ดินประสิว เป็นต้น แหล่งที่มาของสารปรุงแต่งอาหาร สารปรุงแต่งสี สีอินทรีย์ ได้จากผงถ่านที่ได้จากการเผากาบมะพร้าว สีที่ได้จากธรรมชาติ อาจมาจากพืชหรือสัตว์
สารแต่งรสหวาน น้ำตาลเทียม เป็นสารอินทรีย์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายหลายเท่า ตัวอย่างสารที่ให้ความหวาน เช่น - แซ็กคาริน (Saccharin) หรือขันฑสกร มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 300 เท่า - อะซีซัลเฟม เค (Acesulfame K) หรือ Acesulfame Potassium มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสประมาณ 200 เท่า - แอสปาร์เทม (Aspartame) มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสประมาณ 200 เท่า จัดเป็นสารประเภทโปรตีน ที่ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม
ผงชูรส >> ผงชูรส ผงโมโนโซเดียมลูตาเมต ทำจากแบคทีเรีย ที่หมักแป้งสำปะหลังเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมรสชาติของอาหารอย่างมีประสิทธิภาพมานานเกือบศตวรรษ องค์ประกอบหลักของผงชูรส คือ กรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า "กรดกลูตามิก" หรือ "กลูตาเมต" ซึ่งเป็นส่วนประกอบตามธรรม-ชาติที่พบได้ในอาหารแทบทุกชนิด ปริมาณของผงชูรสที่อณุญาตให้ใส่ในอาหาร การเติมผงชูรสลงในอาหาร ก็คล้ายกับ การเติมเครื่องปรุงรสทั่วๆ ไป เช่น เกลือ น้ำตาล และพริกไทย โดยปริมาณ การใช้ผงชูรสอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดับ เดียวกับปริมาณกลูตาเมตในอาหารธรรมชาติ คือ 0.1 - 0.8% ของอาหาร หรืออาจกล่าวได้ ว่าประมาณผงชูรส 1 ช้อนชาเหมาะที่จะใช้ใน การปรุงอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ ปรุงอาหารจำพวกผักและซุปหรือแกงจืด 1 หม้อ สำหรับเสิร์ฟ 4 - 6 ที่
2.อันตราย / ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค - สารปรุงแต่งอาหารนั้น ได้ใช้เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน ทั้งในรูปสี กลิ่น หรือต่างๆกันไป แต่ก็ไม่ได้มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใด ดังนั้นหากได้รับมากไปอาจจะมีโทษต่อร่างกายเช่นกัน เช่น.... - สารบอแรกซ์ จะเป็นอันตรายต่อเซลล์ โดยจะไปรวมกับโปรตีนหรือไขมัน ทำให้เซลล์ไม่ทำงานและตายไปในที่สุด - สารเลนดอล เป็นยาที่มักให้สัตว์กิน เพื่อเร่งให้โตเร็วและนุ่ม รวมทั้งยังส่งผลที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค - ผงชูรส หากได้รับปริมาณมากจะเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อไต หญิงมีครรภ์ และทารก
- สารกันบูด สารที่นิยมใช้เป็นสารกันบูด ได้แก่ กรดซาลิวาลิก กรดบอริก และโซเดียมเบนโซเอตมีกรดเป็นอันตรายต่างๆ มากมายทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หานใจขัด ท้องเสีย เม็ดเลือดแดงหมดสภาพ และอาจตายได้ - ไนไตร์ท อาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง ย่าง และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือ ไนเตรท-ไนไตรต์ หรือที่รู้จักกันในนาม "ดินประสิว" หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เสี่ยงต่อเกิดมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งกระเพราะอาหาร - สารให้ความหวาน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดโรคสมองอักเสบและต่อมไร้ท่อผลิตปกติ
อันตรายของสีสังเคราะห์ผสมอาหาร !! • ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ • สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้
3. แนวทางป้องกัน / แก้ไข • ไม่ควรทานอาหารซ้ำซากจำเจ ควรปรับเปลี่ยนรสชาติของอาหารบ้างเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน • เราควรเลือกรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีสรรจัดจนเกินไป • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสมาก หากจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีสารกันบูด ก็ควรคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ และองค์ประกอบเป็นสำคัญ ไม่ควรทานลูกชิ้นที่กรอบเพราะอาจมีสารบอแรกซ์เป็นส่วนผสม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย อาหารที่ใส่สารกันหืน ควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิปกติเพื่อให้เก็บได้นาน
The end