วิจัย Routine to Research ( R2R ) ระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายของประชาชนในอำเภอควนกาหลง และ มะนัง จังหวัดสตูล Epidemiology of Suicide Attempts in Khuankalong and Manang District , Satun Province .
ความเป็นมา ( Background ) การฆ่าตัวตายเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อทั้งผู้กระทำ ผู้ใกล้ชิดและสังคมนั้นๆ การฆ่าตัวตายก่อความสูญเสียในด้านต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาความเจ็บป่วยทางร่างกายจากการทำร้ายตนเอง และการมีผลกระทบต่อจิตใจของญาติและผู้ใกล้ชิด อาจทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานหรือหย่อนประสิทธิภาพลง
ด้านความสูญเสียแก่ประเทศในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งวัยที่พบการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี ซึ่งเป็นวัยหลักในการก่อผลผลิตให้แก่ประเทศ การฆ่าตัวตายในวัยนี้ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของครอบครัวอย่างสูง เนื่องจากเป็นวัยเริ่มมีครอบครัวหรือลูกยังอยู่ในวัยเรียน หากหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ครอบครัวก็ขาดที่พึ่งไป พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายแต่ละครั้งมีผลกระทบต่อคนใกล้เคียงอย่างน้อย 6 คน ( World Health Organization , 2000 ) หากเหตุการณ์เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือโรงงานก็จะมีผลกระทบต่อคนได้เป็นจำนวน ร้อย แม้ในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแต่ยังไม่ถึงแก่ชีวิต ก็ยังมีความสูญเสียจากการที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือพิการทุพพลภาพ ตลอดจนปัญหาสุขภาพจิตของครอบครัวและผู้ใกล้ชิด ในระดับสังคมจัดว่าเป็นการสูญเสียทั้งแรงงานการผลิตและค่าใช้จ่ายในการรักษา
ประเทศที่คนฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ฮังการี ( 38.6 ต่อ แสนคน) รองลงมาคือ ศรีลังกา ไทย อยู่อันดับที่ 26 ( 6.9 ต่อ แสนคน ) ประมาณ 5,000 คนต่อปี หรือวันละ 13 คน หรือ 2 ชั่วโมงต่อ 1 คน
“ พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ( Suicidal Behavior )” ( Diekstra , 1993 ) คำจำกัดความ ( Definition of Terms ) “ พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ( Suicidal Behavior )” ( Diekstra , 1993 ) 1. การคิดอยากฆ่าตัวตาย ( suicidal ideation ) หมายถึง การมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย 2. การพยายามฆ่าตัวตาย ( suicide attempts ) หรือ ปัจจุบันนิยมเรียก parasuicide หมายถึงผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย แต่ในที่สุดยังไม่ถึงแก่ชีวิต ศัพท์อีกคำหนึ่งที่ใกล้เคียงกันคือ deliberate self harm ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ทำร้ายตนเองโดยเจตนา ไม่ว่าจะทำไปเพื่อต้องการ ตายหรือไม่ 3. การฆ่าตัวตายสำเร็จ ( completed suicide ) หมายถึง ผู้ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย
การพยายามฆ่าตัวตาย ( Suicide attempts , deliberate self- harm , parasuicides ) จะพบบ่อยกว่าการฆ่าตัวตายและเสียชีวิต โดยพบได้ตั้งแต่ 6 : 1 ถึง 25 : 1 โดยเฉลี่ยทั่วโลกประมาณ 18 : 1 ( Diekstra , 1993 ) ผู้ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายนั้นประมาณร้อยละ 30-60 เคยมีการพยายามฆ่า ตัวตายมาก่อน และในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายเมื่อติดตามไประยะยาวพบว่า ร้อยละ 10-14 เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในที่สุด ( Diekstra , 1993 ; Schmidtke et al , 1996 ; Tejedor etal , 1999 )
จำนวนผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มารับการรักษา แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลควนกาหลง สตูล พ.ศ 2548 - 2554
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบสถานการณ์การฆ่าตัวตายของประชาชน ในเขตอำเภอ ควนกาหลง และมะนัง จำแนกตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ อาชีพ การนับถือศาสนา สถานะภาพสมรส ภูมิลำเนา สาเหตุการ ฆ่าตัวตาย ลักษณะการฆ่าตัวตาย การมีภาวะซึมเศร้า ประสบการณ์ การพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน สถานที่ฆ่าตัวตาย และฤดูกาลของการฆ่าตัวตาย
วิธีการศึกษา ( The Method of Study ) ใช้วิธีการศึกษาแบบ Cross-Sectional Study เก็บข้อมูลจากรายงานการพยายามฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิต ระหว่าง พ.ศ 2548 -2554 ซึ่งบันทึกข้อมูลการมารับบริการของผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ จำนวนทั้งสิ้น 33 ราย ณ แผนกผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลควนกาหลง
วิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis ) ใช้สถิติเชิงพรรณนา ( Descriptive Statistics ) เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่ามัธยฐาน ใช้สถิติ Non Parametric คือ Mann-Whitney U test เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ รายงานการฆ่าตัวตาย กรมสุขภาพจิต รง.506 DS
จำนวนและร้อยละ ของ Suicide Attempts จำแนกตามเพศ ปัจจัย ควนกาหลง มะนัง ( n=21 ) ( n=12 ) ชาย 4 ( 19.05 ) 3 ( 25 ) หญิง 17 ( 80.95 ) 9 ( 75 ) Ratio ชาย : หญิง 1 : 4.25 1 : 3
ผลการวิจัย ( The Result of Study ) สถานภาพสมรส ควนกาหลง มะนัง ( n=21 ) ( n =12 ) โสด 7 ( 33.33 ) 5 (41.67 ) คู่ 14 ( 66.67 ) 6 ( 50 ) แยกกันอยู่ 0 1 ( 8.33 ) Ratio โสด : คู่ 1 : 2 1 : 1.2
จำนวนและร้อยละ ของ Suicide Attempts จำแนกตามอาชีพ อาชีพ ควนกาหลง มะนัง ( n=21 ) ( n=12 ) นักศึกษา 6 ( 28.57 ) 3 ( 25 ) เกษตรกร 5 ( 23.81 ) 4 ( 33.33 ) รับจ้าง 4 ( 19.05 ) 3 ( 25 ) แม่บ้าน 3 ( 14.29 ) 1 ( 8.33 ) ค้าขาย 2 ( 9.52 ) 1 ( 8.33 ) ครู 1 (4.76 ) 0
จำนวน และ ร้อยละ ของ Suicide Attempts จำแนกตามกลุ่มอายุ อายุ ควนกาหลง มะนัง ( n=21 ) ( n=12 ) < 15 0 1 ( 8.33 ) 15-19 7 ( 33.33 ) 2 ( 16.67 ) 20 -34 10 ( 47.62 ) 7 ( 58.33 ) 35-44 4 ( 19.05 ) 2 ( 16.67 ) Max , Min 43 , 15 41 , 13 Median 22 23
จำนวน และ ร้อยละ ของ Suicide Attempts จำแนกตามกลุ่มอายุ อายุ ชาย หญิง ( n= 7 ) ( n=26 ) < 15 0 1 ( 3.85 ) 15-19 1 ( 14.29 ) 8 ( 30.77 ) 20 -34 5 ( 71.43 ) 12 ( 46.15 ) 35-44 1 ( 14.29 ) 5 ( 19.23 ) Max , Min 43 , 15 41 , 13 Median 22 23
ทดสอบความแตกต่างของอายุ ด้วย Mann –Whitney U test Area Number Mean Rank Sum of Rank P-value Khuankalong 21 16.50 346.50 0.699 * Manang 12 17.88 214.50 * No significant difference between median age in Khuankalong and Manang District
จำนวนและร้อยละของ Suicide Attempts จำแนกเป็นรายตำบล 2548 -2555 อำเภอควนกาหลง จำนวน ร้อยละ ทุ่งนุ้ย 3 14.29 ควนกาหลง 12 57.14 อุไดเจริญ 6 28.57 อำเภอมะนัง จำนวน ร้อยละ นิคมพัฒนา 7 58.33 ปาล์มพัฒนา 5 41.67
จำนวนและร้อยละของ Suicide Attempts จำแนกตามศาสนา 2548 -2555 อำเภอควนกาหลง จำนวน ร้อยละ พุทธ 20 95.24 อิสลาม 1 4.76 อำเภอมะนัง จำนวน ร้อยละ พุทธ 11 91.67 อิสลาม 1 8.33
จำนวนและร้อยละของ Suicide Attempts จำแนกตาม ประสบการณ์การเคยฆ่าตัวตาย ปัจจัย ควนกาหลง มะนัง ( n =21 ) ( n =12 ) เคยฆ่าตัวตายมากกว่า 1 ครั้ง 0 2 ( 16.67 ) ไม่เคยฆ่าตัวตาย 21 ( 100 ) 10 ( 83.33 )
จำนวนและร้อยละของ Suicide Attempts จำแนกตามการมีภาวะซึมเศร้า ปัจจัย ควนกาหลง มะนัง ( n =21 ) ( n =12 ) มีภาวะซึมเศร้า 7 ( 33.33 ) 3 ( 25 ) ไม่มีภาวะซึมเศร้า 14 ( 66.67 ) 9 ( 75 )
วิธีการฆ่าตัวตาย
จำนวนและร้อยละของวิธีการฆ่าตัวตาย วิธีการฆ่าตัวตาย ควนกาหลง มะนัง รับประทานยาเกินขนาด 15 ( 71.43 ) 8 ( 66.67 ) แขวนคอ 3 ( 14.29 ) 1 ( 8.33 ) รับประทานสารกำจัดแมลง 2 ( 9.52 ) 1 ( 8.33 ) รับประทานสารเคมี 1 (4.76) 1 (8.33) ใช้วัตถุมีคมแทงตามร่างกาย 0 1 ( 8.33 )
สาเหตุการฆ่าตัวตาย
จำนวนและร้อยละของสาเหตุ Suicide Attempts สาเหตุ ควนกาหลง มะนัง ผิดหวังและทะเลาะกับคู่รัก 10 (47.62) 6 ( 50 ) ทะเลาะกับบิดา มารดา 5(23.81) 2 (16.67 ) ความยากจน รายได้ไม่พอรายจ่าย 2 ( 9.52) 1 ( 8.33 ) เครียดและความโดดเดี่ยว อ้างว้าง 1 (4.76 ) 0 ทะเลาะขัดแย้งกับ สมาชิกครอบครัว 1 ( 4.76 ) 2( 16.67 ) ผิดหวังในรักและถูกต่อว่าโดยสมาชิกครอบครัว 0 1 ( 8.33 ) ผิดหวังในรักและถูกต่อว่าโดยบิดา มารดา 1( 4.76 ) 0 ผิดหวังในรักและถูกต่อว่าโดย บิดา มารดา 1( 4.76 ) 0 และสมาชิกครอบครัว
ปัจจัยด้านเพศกับวิธีการฆ่าตัวตาย เพศ รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี ชาย 3 3 0 0 1 หญิง 20 1 3 2 0
ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสกับวิธีการฆ่าตัวตาย ปัจจัย รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี โสด 10 2 0 0 0 คู่ 13 2 3 2 0 แยกกันอยู่ 0 0 0 0 1
ปัจจัยด้านอาชีพกับวิธีการฆ่าตัวตาย ปัจจัย รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี เกษตรกร 6 1 1 1 0 รับจ้าง 2 3 1 0 1 นักเรียน 9 0 0 0 0 แม่บ้าน 3 0 1 0 0 ครู 1 0 0 0 0 ค้าขาย 2 0 0 1 0
ปัจจัยด้านถิ่นที่อยู่กับวิธีการฆ่าตัวตาย ปัจจัย รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี ทุ่งนุ้ย 3 0 0 0 0 ควนกาหลง 8 2 1 1 0 อุไดเจริญ 4 1 1 0 0 นิคมพัฒนา 6 0 0 1 0 ปาล์มพัฒนา 2 1 1 0 1
ปัจจัยด้าน อายุ กับวิธีการฆ่าตัวตาย ปัจจัย รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี < 15 1 0 0 0 0 15-19 8 0 0 1 0 20-34 11 2 2 1 1 35-44 3 2 1 0 0
ปัจจัยด้านภูมิลำเนา กับ วิธีการฆ่าตัวตาย ปัจจัย รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี ควนกาหลง 15 3 2 1 0 มะนัง 8 1 1 1 1
ปัจจัยด้านการมีภาวะซึมเศร้า กับ วิธีการฆ่าตัวตาย ปัจจัย รับประทาน แขวนคอ รับประทาน รับประทาน ใช้วัตถุมีคมแทง ยาเกินขนาด สารกำจัดแมลง สารเคมี มี 7 1 1 0 1 ไม่มี 16 3 2 2 0
อภิปรายผลการวิจัย ( Discussion ) Ratio ชาย : หญิง ของ Suicide Attempts ในอำเภอควนกาหลง เท่ากับ 1 : 4 และอำเภอมะนัง เท่ากับ 1 : 3 ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาของ นพ.ประเสริฐ ( 2541 ) ที่พบว่า ratio ชาย : หญิง เท่ากับ 1 : 1 กลุ่มอายุที่พบว่ามีการพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุด ในอำเภอควนกาหลง คือ 20 -34 ปี ( ร้อยละ 47.62 ) รองลงมา คือ 15-19 ปี ( ร้อยละ 33.33 ) และ 35-44 ปี ( ร้อยละ 19.05 ) ส่วนในอำเภอมะนัง พบการพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุด ในกลุ่มอายุ 20 -34 ปี ( ร้อยละ 58.33 ) รองลงมา คือ 15-19 ปี (ร้อยละ 16.67 ) และ 35-44 ปี (ร้อยละ 16.67 ) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ นพ.ประเสริฐ ( 2541 ) ที่พบว่า การพยายามฆ่าตัวตาย พบใน วัยผู้ใหญ่ อายุ 21 ปีขึ้นไปมากที่สุด
อภิปรายผลการวิจัย ( Discussion ) วิธีการฆ่าตัวตายในอำเภอควนกาหลง และมะนัง ที่พบมากที่สุด คือ การรับประทานยาเกินขนาด ( ร้อยละ 71.43 ) และ ร้อยละ 66.67 ในมะนัง ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาของ มาโนช ( 2545 ) ที่พบว่าคนไทย มักใช้วิธี แขวนคอมากที่สุด รองลงมา คือ การรับประทานสารเคมีทางการเกษตร Ratio ผู้พยายามฆ่าตัวตาย ในอำเภอควนกาหลง โสด : สมรส คือ 1 : 2 และในมะนัง คือ 1 : 1 ซึ่งขัดแย้งกับการศึกษาของ ( Kposowa 2000; Pescosolido & Wright 1990 ; Stack 1996 ) ที่พบว่า การเป็นโสด หรือ หย่าร้าง จะยิ่งมีอุบัติการฆ่าตัวตายสูงขึ้น
อภิปรายผลการวิจัย ( Discussion ) พบภาวะซึมเศร้าในผู้พยายามฆ่าตัวตาย ในอำเภอควนกาหลง และ มะนัง เท่ากับ ร้อยละ 33.33 และ ร้อยละ 25 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ( Dilsaver etal. 1994 ; ประเวช และ สุรสิงห์ , 2541 ) ที่พบว่า ประมาณร้อยละ 20-35 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า
ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย ควรเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ำในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยมีประวัติฆ่าตัวตายไม่สำเร็จมาก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษา กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มลูกจ้าง สมควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะจากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีอุบัติการของการพยายามฆ่าตัวตายสูง ควรมีการทำครอบครัวบำบัด( Family Therapy ) กรณีปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายเกิดจากความขัดแย้งของสมาชิกในครอบครัว ควรมีการให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส ( Couple Couselling ) ในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจากปัญหาความขัดแย้งในชีวิตคู่ ควรเน้นเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า เป็นกรณีพิเศษเพราะจากการวิจัย ภาวะซึมเศร้า เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ หากไม่ได้รับการบำบัดรักษา
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาปัจจัยเสี่ยง ( Risk Factors ) และปัจจัยเชิงป้องกัน ( Protective Factors ) ของ Suicide Attempts ในกลุ่มของนักศึกษา เกษตรกร และ ผู้มีอาชีพรับจ้าง ควรศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมในการลดความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายในกลุ่มนักศึกษา เกษตรกร และ ผู้ที่มีอาชีพรับจ้าง ควรศึกษาความชุกของความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ของประชากร ในอำเภอควนกาหลง และมะนัง สตูล
กิตติกรรมประกาศ ( Acknowledgement ) ขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนกาหลง ที่ได้สนับสนุนและส่งเสริมกระผมในการทำวิจัย R2R ครั้งนี้จนประสบผลสำเร็จ ขอขอบคุณคณะผู้จัดงานมหกรรม R2R , CQI และ Innovation ที่ได้ให้โอกาสผู้วิจัยได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบคุณผู้ป่วย Suicide Attempts ทั้ง 33 ราย ในอำเภอควนกาหลง และมะนัง ที่ได้ให้ข้อมูลประกอบการวิจัยในครั้งนี้ จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้