การจัดการพัสดุคงคลัง Inventory Management
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีความเข้าใจถึงหน้าที่ และประเภทของพัสดุคงคลัง สามารถแบ่งแยกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัสดุคงคลังได้ สามารถหาพัสดุคงคลังเฉลี่ยได้ เข้าใจถึงตัวแบบต่าง ๆ ของพัสดุคงคลัง สามารถเข้าใจปัญหา และใช้วิธีเชิงปริมาณในการแก้ปัญหาพัสดุคงคลัง
เนื้อหา บทนำ ประเภทและหน้าที่ของพัสดุคงคลัง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพัสดุคงคลัง พัสดุคงคลังถัวเฉลี่ย กรณีอัตราการใช้สม่ำเสมอ กรณีอัตราการใช้ไม่สม่ำเสมอ
เนื้อหา (ต่อ) ตัวแบบพัสดุคงคลัง แบบจำลองปริมาณการสั่งประหยัดสุด กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้หรือการสั่งผลิตและจำหน่ายไปพร้อมกัน กรณีมีพัสดุคงคลังสำรอง กรณีที่ยอมให้พัสดุคงคลังขาดมือ กรณีได้รับส่วนลดราคา
บทนำ การจัดการพัสดุคงคลังเฉพาะวิธีการเชิงปริมาณสำหรับให้ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจเท่านั้น โดยจะตอบคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับพัสดุคงคลัง คือ ควรสั่งซื้อปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม เมื่อใดจึงจะสั่งซื้อ ตัวแบบพื้นฐาน การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อหรือการสั่งผลิตที่ประหยัดที่สุด การหาจุดสั่งซื้อใหม่ การสั่งซื้อกรณีได้รับส่วนลด การกำหนดระดับพัสดุคงคลังสำรอง และ การกำหนดระดับพัสดุคงคลังกรณียอมให้เกิดพัสดุขาดมือ
บทนำ ซึ่งจะไม่ครอบคลุมถึงระบบต่าง ๆ ที่ใช้จัดการพัสดุคงคลัง เช่น การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP : material requirements planning) การวางแผนทรัพยากรการผลิต (MRP II : manufacturing resource planning) ระบบทันเวลาพอดี ( JIT : just-in-time)
ประเภทและหน้าที่ของพัสดุคงคลัง วัตถุดิบ และชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เช่น เหล็กแผ่น ยางรถยนต์ หม้อน้ำ แบตเตอรี่ สินค้าระหว่างผลิต คือ รถยนต์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในสายการผลิตของโรงงาน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คือ รถยนต์สำเร็จรูปรอการจำหน่ายให้ลูกค้า ชิ้นส่วนของเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อะไหล่ของเครื่องจักรในโรงงาน ประแจไขควง ปืนลม วัสดุสิ้นเปลือง เช่น กระดาษ น้ำมันหล่อลื่น ลวดเชื่อม ดอกสว่าน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพัสดุคงคลัง มูลค่าของพัสดุคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลัง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (ordering cost) หรือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อผลิต (set up cost) ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง (holding cost) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายเมื่อพัสดุคงคลังขาดมือ (shortage cost)
พัสดุคงคลังถัวเฉลี่ย กรณีอัตราการใช้สม่ำเสมอ สินค้าเฉลี่ยของบริษัทเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ซื้อพอดี หรือเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ ดังนี้ พื้นที่ใต้กราฟ = ½ ฐาน สูง = ½ 1 Q = Q/2 พัสดุคงคลังเฉลี่ยต่อปี = Q/2 หน่วย ปริมาณ Q เวลา (ปี) 1
พัสดุคงคลังถัวเฉลี่ย กรณีที่อัตราการใช้สินค้าไม่สม่ำเสมอ Q เวลา (ปี) 1 สินค้าเฉลี่ย
ตัวแบบพัสดุคงคลัง D = ปริมาณความต้องการพัสดุคงคลังต่อปี (demand) Q = ปริมาณการสั่งพัสดุคงคลังต่อครั้ง (quantity) Co = ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อครั้ง ซึ่ง ส่วนมากจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต (ordering cost) Ch = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง (holding cost) คิดเป็น บาท/ หน่วย/เวลา หรือร้อยละของมูลค่าพัสดุคงคลังเฉลี่ย Cb = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังขาดมือ (backorder cost) คิดเป็น บาท/หน่วย/เวลา หรือร้อยละของมูลค่าพัสดุคงคลังขาด มือเฉลี่ย
ตัวแบบพัสดุคงคลัง (ต่อ) R = จุดสั่งซื้อเพิ่ม (reorder point) L = ระยะเวลาสั่งซื้อหรือสั่งผลิต (lead time) C = ต้นทุนของพัสดุคงคลังต่อหน่วย (cost) N = จำนวนครั้งที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตต่อปี (number of order) T = ระยะเวลาในการใช้พัสดุคงคลังจนหมด หรือรอบเวลา ในสั่งซื้อหรือผลิตแต่ละครั้ง
ตัวแบบพัสดุคงคลัง (ต่อ) TIC = ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มของพัสดุคงคลังทั้งหมดต่อปี TC = ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของพัสดุคงคลังต่อปี TCo = ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อปี TCh = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังต่อปี TCb = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังขาดมือต่อปี
แบบจำลองปริมาณการสั่งประหยัดสุด (Economic Order Quantity Model : EOQ) กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้ หรือการสั่งผลิตและจำหน่ายไปพร้อมกัน กรณีที่ยอมให้เกิดพัสดุคงคลังขาดมือ กรณีที่มีพัสดุคงคลังสำรอง กรณีได้รับส่วนลดราคา
กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ สมมติฐานที่สำคัญ อัตราการใช้พัสดุคงคลังสม่ำเสมอ ทราบ หรือสามารถประมาณความต้องการพัสดุต่อปี ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง และค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลัง คงที่ พัสดุคงคลังจะได้รับเต็มจำนวนพร้อมกัน โดยไม่ก่อให้เกิดกรณีขาดแคลน TC = CD + TCo + TCh + TCb
กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ ต้นทุนของพัสดุคงคลังรวม = ต้นทุนของพัสดุคงคลังต่อหน่วย ปริมาณความต้องการพัสดุคงคลังต่อปี = C D ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อปี = ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลังต่อครั้ง จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ TCo = Co N = Co D/Q ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังต่อปี = ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลังต่อหน่วย พัสดุคงคลังเฉลี่ย TCh = Ch Q/2
TCh = TCo Ch Q/2 = Co D/Q Q.Q/2 = Co D/ Ch Q2 = ( 2 Co D)/Ch TIC Co EOQ Q
ตัวอย่าง ถ้าต้องการสั่งซื้อสินค้า A ซึ่งมีความต้องการปีละ 2,400 หน่วย โดยมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อครั้งละ 200 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า เท่ากับ 1.50 บาทต่อหน่วยต่อปี ให้หา ถ้าอัตราความต้องการคงที่ ควรสั่งครั้งละเท่าใดจึงจะประหยัดที่สุด (EOQ) ถ้าสั่งซื้อตามข้อ 1. จะสั่งปีละกี่ครั้ง ถ้าสั่งซื้อตามข้อ 1. จะใช้ได้นานเท่าใด จุดสั่งซื้อเพิ่มเท่ากับเท่าใด ถ้าระยะเวลาในการสั่งซื้อเท่ากับ 45 วัน จากโจทย์จะได้ D = 2,400 หน่วย/ปี Co = 200 บาท/ครั้ง Ch = 1.50 บาท/หน่วย/ปี L = 45 วัน
จากโจทย์จะได้ D = 2,400 หน่วย/ปี Co = 200 บาท/ครั้ง Ch = 1.50 บาท/หน่วย/ปี L = 45 วัน ดังนั้น ข้อ 1. จากสูตร = = 800 หน่วย ต้องสั่งซื้อสินค้า A ครั้งละ 800 หน่วย จึงจะประหยัดที่สุด
ข้อ 2. จาก จำนวนครั้งที่สั่งซื้อต่อปี = ข้อ 2. จาก จำนวนครั้งที่สั่งซื้อต่อปี = N = = = 3 ครั้งต่อปี ข้อ 3. จาก ระยะเวลาในการใช้ EOQ = = ปี = 4 เดือน = 120 วัน =
ข้อ 4. จาก ระยะเวลาในการใช้ EOQ = 120 วัน และ L = 45 วัน ดังนั้น จุดสั่งซื้อใหม่สามมารถหาได้จาก มีระยะเวลาในการใช้ 120 วัน ใช้สินค้าจำนวน 800 หน่วย มีระยะเวลาในการใช้ 45 วัน ใช้สินค้าจำนวน = 300 หน่วย จุดสั่งซื้อใหม่ = 300 หน่วย
กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้หรือการสั่งผลิต และจำหน่ายไปพร้อมกัน สมมติฐานที่สำคัญ พัสดุคงคลังจะไม่เข้ามาพร้อมกันทั้งหมด แต่จะทยอยเข้ามาด้วยอัตราคงที่จนครบตามจำนวนที่สั่ง อัตราการใช้พัสดุคงคลังสม่ำเสมอ ทราบ หรือสามารถประมาณความต้องการพัสดุต่อปี ค่าใช้จ่ายเมื่อมีพัสดุคงคลัง และค่าใช้จ่ายในการเตรียมการเพื่อให้มีพัสดุคงคลัง คงที่ ไม่ก่อให้เกิดกรณีขาดแคลน
กรณีสั่งซื้อเป็นปริมาณคงที่ แต่ได้รับในลักษณะที่ทยอยส่งให้หรือการสั่งผลิต และจำหน่ายไปพร้อมกัน กำหนดให้ Q = ปริมาณพัสดุคงคลังที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิต I = ปริมาณพัสดุคงคลังที่สูงที่สุด A = อัตราการมา หรืออัตราการผลิตของพัสดุคงคลัง T = ระยะเวลาในการใช้พัสดุคงคลังจนหมด หรือรอบเวลาในสั่งซื้อหรือผลิตแต่ละครั้ง TA = ช่วงเวลาในการมาหรือการผลิตของพัสดุคงคลัง EOQ = TCh = Ch
ตัวอย่าง โรงงานแห่งหนึ่งประมาณการความต้องการตลาดของสินค้า X ในปีหน้า คือ 1,000 หน่วย ซึ่งนำมาคิดเป็นค่าเฉลี่ยของความต้องการต่อวันได้เท่ากับ 4 หน่วย และโรงงานมีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า X ได้วันละ 8 หน่วย ให้หาปริมาณการสั่งผลิตที่ประหยัดที่สุดของโรงงานนี้ และปริมาณพัสดุคงคลังสูงสุด ถ้ากำหนดให้ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อการผลิตครั้งละ 10 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า X เท่ากับ 0.50 บาท/หน่วย/ปี
จากโจทย์ D = 1,000 หน่วย/ปี = 4 หน่วย/วัน A = 8 หน่วย/วัน Co = 10 บาท/ครั้ง Ch = 0.50 บาท/หน่วย/ปี EOQ = EOQ = = 282.84 หน่วย 282 หน่วย I = (A - D) = (8 - 4) = 141 หน่ วย
กรณีที่มีพัสดุคงคลังสำรอง การที่ธุรกิจกำหนดให้มีพัสดุคงคลังสำรอง (safety stock:SS) TC = CD + Co + Ch ( + SS)
จากตัวอย่างเดิม ถ้ากำหนดให้พัสดุคงคลังสำรองมีไว้ให้เพียงพอขาย 2 วัน ให้หา ระดับพัสดุคงคลังสำรอง และค่าใช้จ่ายรวมในกรณีที่มีพัสดุคงคลังสำรอง อัตราการใช้พัสดุคงคลังต่อวัน = 48 ลูก ดังนั้นระดับของคงคลังสำรอง = 48 2 = 96 ลูก TC = CD + Co + Ch ( + SS) = (14 12,000) + (11 25) + (0.24 14 (240 + 96)) = 168,000 + 275 + 1,128.96 = 169,403.96 บาท
กรณีได้รับส่วนลดราคา คำนวณหา EOQ โดยใช้ราคาสินค้าต่อหน่วยต่ำที่สุด พิจารณาจำนวน EOQ ที่คำนวณได้ ว่าสามารถซื้อสินค้า ณ ระดับราคาดังกล่าวตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าซื้อได้ ปริมาณที่คำนวณได้จะเป็นปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และไม่ต้องทำการคำนวณต่อ แต่ถ้าระดับสินค้าในข้อ 1. ซื้อไม่ได้ ให้คำนวณหาค่าใช้จ่ายรวม โดยให้ใช้ปริมาณการสั่งซื้อน้อยที่สุด ณ ระดับราคาตามข้อ 1. จะซื้อได้ คำนวณหา EOQ โดยใช้ระดับราคาที่สูงกว่าเดิม โดยที่ ถ้าค่า EOQ เป็นไปได้ ให้คำนวณหาค่าใช้จ่ายรวม ณ ระดับ EOQ แล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับค่าใช้จ่ายรวมในข้อ 2. ค่าใดต่ำสุดแสดงว่าปริมาณสินค้าดังกล่าวเป็นปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ถ้าค่า EOQ เป็นไปไม่ได้ ให้ทำการคำนวณซ้ำในข้อ 2. และข้อ 3.1 จนกระทั่งได้ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด
ปริมาณการสั่งซื้อ (รีม) ตัวอย่าง บริษัทแห่งหนึ่งมีความต้องการกระดาษสำหรับเครื่องโรเนียวเอกสารสัปดาห์ละ 10 รีม ราคาของกระดาษโรเนียวจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณที่สั่งซื้อดังนี้ ปริมาณการสั่งซื้อ (รีม) ราคาต่อรีม (บาท) 0 – 99 100 – 249 250 – 499 500 ขึ้นไป 40.00 39.60 39.00 38.00
D = 10 รีมต่อสัปดาห์=10 52= 520 รีมต่อปี Co = 100 บาทต่อครั้ง Ch = 18% ต่อปี ของต้นทุนค่ากระดาษโรเนียว บริษัทประมาณการค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อกระดาษโรเนียวครั้งละ 100 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษากระดาษโรเนียวคิดเป็น 18% ต่อปี ของต้นทุนกระดาษโรเนียว ให้หาปริมาณการสั่งซื้อกระดาษโรเนียวที่ประหยัดที่สุด จากโจทย์
ขั้นที่ 1 คำนวณหา EOQ ที่ระดับราคา 38 บาทต่อรีม = = 123.31 รีม ไม่สามารถซื้อได้ที่ราคา 38 บาท/รีม ขั้นที่ 2 หาค่าใช้จ่ายรวมเนื่องจากไม่มีพัสดุสำรอง และพัสดุขาดมือ ประกอบกับพัสดุเข้ามางวดเดียวจึงใช้สมการ TC = CD + Co + Ch = (38 520) + 100 + 0.18 38 = 19,760 + 104 + 1,710 = 21,574 บาท/ปี
ขั้นที่ 3 คำนวณหา EOQ ที่ระดับราคา 39 บาทต่อรีม = = 121.72 รีม ไม่สามารถซื้อได้ที่ราคา 39 บาท/รีม ขั้นที่ 4 หาค่าใช้จ่ายรวม TC = CD + Co + Ch + 0.18 39 = (39 520) + 100 = 20,280 + 208 + 877.50 = 21,365.50 บาท/ปี
ขั้นที่ 5 คำนวณหา EOQ ที่ระดับราคา 39.60 บาทต่อรีม = = 120.79 รีม สามารถซื้อได้ที่ราคา 39.60 บาท/รีม ประมาณ 120 รีม ขั้นที่ 6 หาค่าใช้จ่ายรวม TC = CD + Co + Ch = (39.60 520) + 100 + 0.18 39.60 = 20,592 + 433.33 + 427.68 = 21,453.01 บาท/ปี ควรสั่งกระดาษโรเนียวครั้งละ 250 รีม รีมละ 39 บาท เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด คือ 21,365.50 บาท
คำถาม