นิติกรรม และ สัญญา บทนำ สิทธิและหน้าที่ สิทธิ มีความหมาย 2 นัย นิติกรรม 1 นิติกรรม และ สัญญา ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 4 นิติกรรม มาตรา 149-193/35 = 80 มาตรา ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 2 สัญญา มาตรา 354-394 = 41 มาตรา บทนำ สิทธิและหน้าที่ (ความเคลื่อนไหวในสิทธิ) สิทธิ มีความหมาย 2 นัย อำนาจที่กฎหมายให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตจำนง หรือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้
สิทธิ และหน้าที่เป็นของคู่กัน การใช้สิทธิ และหน้าที่ นิติกรรม 2 สิทธิ และหน้าที่เป็นของคู่กัน หน้าที่ คือ การปฏิบัติให้เป็นไปตาม “อำนาจ” หรือ “ประโยชน์” ของบุคคลอื่น หรือ ให้การยอมรับและไม่รบกวนการใช้ “อำนาจ” หรือ “ประโยชน์” ของผู้มีสิทธิ การใช้สิทธิ และหน้าที่ สิทธิ ผู้มีสิทธิจะใช้สิทธิหรือไม่ใช้สิทธิก็ได้ หน้าที่ ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ หรือให้การยอมรับแก่ผู้มีสิทธิ
องค์ประกอบของสิทธิ เจ้าของสิทธิ ได้แก่ บุคคลเท่านั้น เจ้าของสิทธิ ได้แก่ บุคคลเท่านั้น วัตถุแห่งสิทธิ ได้แก่ ทรัพย์สิน และการกระทำ หรือ งดเว้นการกระทำ การก่อให้เกิดสิทธิ หรือการได้มาซึ่งสิทธิ เกิดขึ้นจาก “นิติเหตุ” และ “นิติกรรม” นิติเหตุ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำ หรือ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้ได้สิทธิมาโดยไม่เจตนา เหตุธรรมดา เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ นิติกรรม เป็นการกระทำที่มีกฎหมายรับรองให้กระทำได้ ทำให้ได้สิทธิมาโดยเจตนา นิติกรรม 3
นิติกรรม 4
การแสดงเจตนา การแสดงเจตนา คือ การแสดงออกซึ่งความในใจตามความ ประสงค์ของผู้ทำนิติกรรม เจตนา เป็นองค์ประกอบภายในของการแสดงเจตนา - เจตนาที่จะกระทำ - เจตนาที่จะแสดงออก - เจตนาที่จะทำนิติกรรม การแสดงออก เป็นองค์ประกอบภายนอกของการแสดงเจตนา ได้แก่ การที่บุคคลแสดงกิริยาอาการให้ปรากฏออกมาภายนอก นิติกรรม 5
ประเภทของการแสดงเจตนา ความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนา 1. การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง 2. การแสดงเจตนาโดยปริยาย 3. การแสดงเจตนาโดยการนิ่ง ความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนา 1. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยแท้ ย่อมสมบูรณ์เมื่อมีการ แสดงออกโดยไม่ต้องมีผู้รับ 2. การแสดงเจตนาที่ต้องมีผู้รับ (1) การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า (2) การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้มิได้อยู่เฉพาะหน้า นิติกรรม 6
การตีความการแสดงเจตนา การถอนการแสดงเจตนา มาตรา 169 “ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้นก่อนหรือ พร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล” การตีความการแสดงเจตนา มาตรา 171 ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าสำนวนหรือตัวอักษร เจตนาอันแท้จริงของบุคคลนั้น ย่อมค้นหาหรือหยั่งทราบได้จากเหตุผลในเรื่องนั้นและข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากการนำสืบของบุคคลผู้แสดงเจตนานั้นเอง ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แวดล้อมทั้งหลาย วิธีปฏิบัติตามปกติของบุคคล จุดประสงค์ ฐานะ ประโยชน์ ส่วนได้เสียของบุคคล นิติกรรม 7