โครงเรื่อง
โครงเรื่อง คือ ลำดับ หรือทิศทางของเหตุการณ์ของเรื่อง ที่วางไว้เป็นกรอบ หรือเป็นแนวทางในการสร้างเรื่อง
โครงเรื่อง มักแสดงความขัดแย้งที่เป็นเหตุของเรื่องราวต่างๆ อาจเป็นความขัดแย้งระหว่างตัวละครฝ่าย หนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น พระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร ขุนช้างกับขุนแผน ขุนช้างกับพลายงาม อิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง เป็นต้น
หรือ อาจเป็นความขัดแย้งในตัวละครเอง เช่น ความรู้สึกสับสนในใจของนางวันทอง
การเขียนโครงเรื่อง ก่อนจะทำการเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนจะต้องทำการเขียนโครงเรื่องก่อน เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจ และคิดว่าจะเขียนประเด็นใดบ้าง แล้วจึงนำมาเรียบเรียงจัดลำดับ
ความสำคัญของการเขียนโครงเรื่อง ๑. ช่วยให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียน ๒. ทำให้งานมีเอกภาพไม่ปะปนและออกนอกเรื่อง ๓. ช่วยให้งานเขียนมีสัมพันธภาพมีการลำดับความอย่างมีเหตุผลต่อเนื่อง
ประเภทของโครงเรื่อง ๑.โครงเรื่องแบบคร่าวๆ : เป็นเพียงแค่การจดและรวบรวมข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่เท่านั้น ๒.การเขียนโครงเรื่องที่เขียนหัวข้อเป็นคำนาม คำกริยา หรือวลี : ประกอบด้วยหัวข้อประเด็นสำคัญโดยใช้คำหรือวลีสั้นๆเพื่อเสนอแนวคิดอย่างกว้างขวาง
ประเภทของโครงเรื่อง ๓.การเขียนโครงเรื่องด้วยหัวข้อที่เป็นประโยค : เขียนทั้งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยเป็นประโยคชัดเจน ซึ้งให้รายละเอียดมากกว่าการเขียนเป็นวลีสั้นๆ นิยมใช้ในการเขียนวิทยานิพนธ์หรือ ภาคนิพนธ์
ประโยชน์ของการเขียนโครงเรื่อง ผู้เขียนสามารถอธิบายจุดประสงค์ในการเขียน รวมทั้งได้รวบรวมข้อมูลเพื่อได้บรรลุจุดประสงค์นั้นได้อย่างชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและจัดระเบียบเนื้อหา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเนื้อหา และใจความสำคัญได้ดีขึ้น
ตัวอย่าง เรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน โครงเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน ไม่อาจตัดสินใจได้ว่าจะไปอยู่กับชายใด เพราะคนหนึ่งก็รักมาก ส่วนอีกคนก็ดีกับตนมาก
โดย นายศิรวัชร จรัสโชค เลขที่ ๒ นายนพกร วงศ์หนองเตย เลขที่ ๓ นายปิยวิช ตันบุรินทร์ทิพย์ เลขที่ ๗ นายธฤต วิประกษิต เลขที่ ๑๓ นายวริศ ศรีทรัพย์ เลขที่ ๓๑ นายนพวงศ์ อานุภาพเสถียร เลขที่ ๓๗ นายกันต์ชญานิน ตันปิชาติ เลขที่ ๓๘