คำซ้อน จัดทำโดย ด.ช.นนท์ปวิธ ปลื้มอารมย์ ด.ช.ณัฐภัทร อภิธรรมใบบุญ นำเสนอ อ.ปุณณภา จงอนุกูลธนากร
คำซ้อน หมายถึง คำที่เกิดจากการสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน ตรงข้ามกัน หรือมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันในทางใดทางหนึ่งมาเขียนซ้อนกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความหมายเฉพาะหรือความหมายใหม่ขึ้นมา คำซ้อนสามารถจำแนกจุดประสงค์ของการซ้อนคำได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ซ้อนเพื่อความหมาย เป็นการนำคำที่มีความหมายสมบูรณ์มาซ้อนกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป เช่น ใหญ่ + โต = ใหญ่โต แข้ง + ขา = แข้งขา ข้าว + ปลา = ข้าวปลา เท็จ + จริง = เท็จจริง
โด่งดัง(พยัญชนะต้นเหมือนกัน สระต่างกัน) 2. ซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีเสียงคล้ายกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น คำที่นำมาซ้อนนั้นอาจมีความหมายเพียงคำเดียว หรือไม่มีความหมายทั้งสองคำก็ได้ วิธีการสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง เช่น โด่งดัง(พยัญชนะต้นเหมือนกัน สระต่างกัน) รวบรวม(พยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเหมือนกัน ตัวสะกดต่างกัน) ราบคาบ(พยัญชนะต้นต่างกัน สระเหมือนกัน ตัวสะกดเหมือนกัน) กระดุกกระดิก(แทรก”กระ”) ข้าเก่าเต่าเลี้ยง(นำคำซ้อน 4-6 พยางค์ที่มีเสียงสัมผัสภายในคำมาซ้อน)
3. ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน 3. ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน
คำซ้อนที่มาจาก ไทย+ไทย ชุก+ชุม = ชุกชุม คำซ้อนที่มาจาก ไทย+ต่างประเทศ 3.1 คำที่นำมาซ้อน เป็นคำไทยซ้อนกับคำไทย คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศ หรือคำต่างประเทศซ้อนกับคำต่างประเทศก็ได้ เช่น คำซ้อนที่มาจาก ไทย+ไทย ชุก+ชุม = ชุกชุม คำซ้อนที่มาจาก ไทย+ต่างประเทศ เงียบ(ไทย)+สงบ(เขมร) = เงียบสงบ คำซ้อนที่มาจาก ต่างประเทศ+ต่างประเทศ เหตุ(บาลี)+การณ์(สันสกฤต) = เหตุการณ์
3.2 จำนวนคำที่นำมาซ้อน คำที่นำมาซ้อนอาจมีจำนวน 2 คำ 4 คำ หรือ 6 คำ คำซ้อนเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำคู่ เช่น คำซ้อน 2 คำ ยักษ์มาร ข้าทาส ขับขี่ คำซ้อน 4 คำ กู้หนี้ยืมสิน ชั่วดีถี่ห่าง เจ้าบุญนายคุณ คำซ้อน 6 คำ อดตาหลับขับตานอน นอนกลางดินกินกลางทราย
3.3 ความหมายของคำซ้อน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 3.3 ความหมายของคำซ้อน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความหมายคงเดิม คำซ้อนบางคำมีความหมายคงตามความหมายของคำที่นำมาซ้อน เช่น แก่ชรา ซากศพ พัดวี เสื่อสาด ความหมายใหม่ คำซ้อนที่มีความหมายใหม่มีหลายลักษณะ ดังนี้ ความหมายแคบลง คือ มีความหมายที่เน้นคำใดคำหนึ่ง ซึ่งจะเป็นคำหน้าหรือคำหลังก็ได้ เช่น ปากคอ หัวหู ท้องไส้ ความหมายกว้างขึ้น คือ มีความหมายรวมไปถึงอย่างอื่นที่มีลักษณะร่วมกันหรือจำพวกเดียวกัน เช่น ถ้วยโถโอชาม หมายถึง ภาชนะใส่อาหารและสิ่งของอื่น ๆ ความหมายเชิงอุปมา คือ มีความหมายเปลี่ยนไป เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ในเชิงอุปมา เช่น ข้าเก่าเต่าเลี้ยง หมายถึง คนที่เคยรับใช้ อยู่กิน หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
3.4 ความสัมพันธ์ของเสียงสระ คำที่ซ้อนเพื่อเสียงจะมีความสัมพันธ์ระหว่างสระหลังกับสระหน้า กับสระอะ สระอา หรือสระอื่นๆ เช่น สระหลังกับสระหน้า เช่น ดุกดิก จุกจิก อู้อี้ ดู๋ดี๋ โอ้เอ้ โลเล 3.5 ตำแหน่งและความหมาย คำซ้อนบางคำ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งของคำ ความหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิมและใช้ต่างกัน แต่บางคำมีความหมายคงเดิม เช่น ความหมายเปลี่ยนแปลง เหยียดยาว ยืดตัวออกไปในท่านอน ใช้กับคนหรือสัตว์ เช่น น้องสาวนอนเหยียดยาวอยู่ใต้ต้นลีลาวดี ยาวเหยียด มีความยาวมาก เช่น รถติดไฟแดงเป็นแถบยาวเหยียด ความหมายคงเดิม แจกจ่าย แบ่งปันให้ไปทั่ว ๆ เช่น สภากาชาดมาแจกจ่ายสิ่งของให้กับผู้ประสบอุทกภัย จ่ายแจก เอาออกใช้หรือให้ เช่น คุณครูจ่ายแจกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน
เกมฝ่าป่าแห่งปีศาจ โปรดเลือกหัวหน้า เจ้าติดลม BCC Junior
ข้อใดเป็นคำซ้อนทั้งหมด ก.กีดกัน กีดขวาง แน่นหนา ข.มดแดง ผ้าลาย เสื้อลาย ค.ลูกไม้ ลมพัด ตาปล ง.ไฟฟ้า ไฟดับ ดินดำ
ชนะแล้วไปต่อSlide 14
แพ้แล้วไปด่านเดิม
ข้อใดไม่ใช่คำซ้อน ก. ดูดดื่ม ขมขื่น เบิกบาน ข ข้อใดไม่ใช่คำซ้อน ก. ดูดดื่ม ขมขื่น เบิกบาน ข. เหลียวแล เดือดร้อน ร้องรำ ค. กดขี่ แข้งขา ซื่อตรง ง.ตายใจ พ่อตา นักร้อง
ชนะแล้วไปต่อ
แพ้แล้วไปด่านเดิม
ข้อใดเป็นคำซ้อนคำเขมรกับคำเขมร แบบฉบับ หัวสมอง ดอกดวง พรรคพวก ศรีสง่า เขตแดน ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง ดลดาล ผักปลา อ่อนนุ่ม เลียบเคียง
ข้อใดไม่ใช่คำซ้อน คอหอย หมอดู บ้านพัก ปัดกวาด เช็ดถู อบรม ขำขัน ค้ำจุน เสื้อผ้า รูปร่าง แก้ไข ทรัพย์สิน
ข้อใดเป็นคำซ้อน คับแคบ คอยท่า แปดเปื้อน เบี้ยล่าง วงแขน ลูกชิ้น หวานเย็น ดูถูก ผัดเผ็ด คุณนาย คุณพระ คุณหลวง
2 3 เลือกหัวหน้า
แพ้แล้วไปด่านเดิม
ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง 1.ขัดขวาง 2.กดดัน 3.แน่นหนา 4.เซ่อซ่า
ชนะแล้วไปต่อ
แพ้แล้วไปด่านเดิม
ข้อใดเป็นคำซ้อนคำไทยกับคำไทย 1.ผักปลา อ่อนนุ่ม เลียบเคียง 2.พรรคพวก ศรีสง่า เขตแดน 3.ตรัสประภาษ สรงสนาน เสบียงอาหาร 4.เหตุการณ์ กิจการ เขตขัณฑ์
ชนะแล้วไปต่อ
แพ้แล้วไปด่านเดิม
ข้อใดคือคำซ้อนเพื่อความหมายทำนองเดียวกัน 1.ถูกผิด หนักเบา ยากง่าย 2.กักขัง ปกป้อง คัดเลือก 3.ดีร้าย เปรี้ยวหวาน สูงต่ำ
ชนะแล้วไปต่อ
แพ้แล้วไปด่านเดิม
ควรเลือกคำใดเพื่อให้กลายเป็นคำซ้อนเพื่อ ความหมายทำนองเดียวกัน เดือด____ ควรเลือกคำใดเพื่อให้กลายเป็นคำซ้อนเพื่อ ความหมายทำนองเดียวกัน 1.แล้ว 2.ละ 3.ร้อน
แพ้แล้ว
ควรเลือกคำใดเพื่อให้กลายเป็นคำซ้อน คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต กิจ____ ควรเลือกคำใดเพื่อให้กลายเป็นคำซ้อน คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต 1.กรรม 2.การ 3.ของพระ
แพ้แล้ว
พวกเราชนะแล้ว ขอบคุณครับ